วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: วันหนึ่งมีลูกศิษย์มาบ่นให้ท่านพ่อฟังว่า ตัวเองฝึกภาวนามาหลายปี แต่ไม่เห็นมันได้อะไรขึ้นมา ท่านพ่อก็ตอบทันที "เขาภาวนาพื่อให้ละ ไม่ภาวนานเพื่อให้เอา"ฯ
:b46: คืนวันหนึ่ง หลังจากพาลูกศิษย์ฆราวาสทำงานที่วัดท่านพ่อก็พาให้นั่งภาวนาที่เจดีย์ โยมคนหนึ่งรู้สึกเพลียมาก แต่ยังฝืนนั่งเพราะเกรงใจท่านพ่อ นั่งไป นั่งไป รู้สึกว่า ใจเหลืออยู่นิดเดียวกลัวใจจะขาด พอดีท่านพ่อเดินผ่านแล้วพูดขึ้นว่า "ตายเตยไม่ต้องกลัว คนเราก็ตายอยู่แล้วทุกลมหายใจเข้า-ออก
....ทำให้โยมคนนั้นเกิดกำลังใจที่จะนั่งต่อสู้กับความเพลียนั้นได้ต่อไปฯ

:b51: "การภาวนา ก็คือการฝึกตาย เพื่อเราจะได้ตายเป็น"ฯ

:b48: :b48: :b48: :b43: :b43: :b43: :b42: :b42: :b42: :b48: :b48: :b48: :b43: :b43: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b43: ลม :b43: :b43:

....เคยมีชาวต่างประเทศมาขอฝึกภาวนากับท่านพ่อ แต่ก่อนที่จะลงมือฝึก เขาก็ถามท่านว่า ที่เขานับถือศาสนาคริสต์นั้นจะเป็นอุปสรรคไหม ท่านก็ตอบว่า "ไม่หรอก เราจะดูลม ลมนี้ไม่ใช่ของพุทธ ของคริสต์ หรือของใครทั้งนั้น แต่เป็นของกลางในโลกที่ใครๆ ก็ดูได้ ลองภาวนาดูลมจนเห็นจิต รู้จิตตัวเอง แล้วเรื่องที่จะนับถือศาสนาอะไรจะไม่เป็นปัญหา เพราะเราเอาเรื่องจิตมาพูดกัน ไม่ได้เอาเรื่อง ศาสนามาว่ากัน อย่างนี้ก็เรียกว่า พูดกันรู้เรื่อง"ฯ
:b45: "การที่จับใจให้อยู่นั้น ก็เหมือนเราจะจับปลาไหล จะโดดลงไปในขี้เลนจับเอาเฉยๆ มันก็ดิ้นหนีต้องหาอะไรที่มันชอบ อย่างที่เขาเอาหมาเน่าใส่ไหแล้ว ฝังลงไปในขี้เลน ปลาไหลมันชอบ มันก็มาเอง ทีนี้เขาก็จับมันได้ง่าย ใจเราก็เหมือนกัน ต้องหาอะไรที่มันชอบ เช่น ทำลมให้สบายๆ จนมันสบายไปทั่วตัว ทีนี้ใจก็ชอบ ความสบายมันก็มาเอง แล้วเราก็จับมันได้ง่ายๆ"ฯ
:b46: "ต้องรู้ลมอยู่เสมอ มันก็ครองสุขได้ จะเอามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ มันก็อยู่ที่ลมนี่แหละ ถ้ามัวแต่สนุก เพลิดเพลินจนลืมลมก็จะหมดสุขได้ ฉะนั้นต้องรู้จักสังเกตลม เข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา ต้องสนใจเขาบ้างว่า เขาอยู่อย่างไร อย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว เมื่อรู้จักความเป็นอยู่ของเขาแล้ว ทีนี้แหละจะเอาอะไรก็ได้ทุกอย่าง กายก็เบา ใจก็เบา จะสุขอยู่ตลอดเวลา"
:b51: "ลม สามารถพาไปถึงพระนิพพานได้นะ"ฯ
:b53: "เริ่มแรกให้ดูลมที่มีอยู่ ไม่ต้องไปปรุงไปแต่งอะไรมากมาย"ฯ
:b45: "เวลาจิตอยู่กับลมแล้ว ไม่ต้องว่า พุทโธ ก็ได้ เหมือนเราเรียกควายของเรา พอควายมาแล้วจะเรียกชื่อมันอีกทำไม"ฯ
:b46: "ให้ลมกับจิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เอาให้เป็นหนึ่งอย่าให้มีสอง"ฯ
:b51: "ให้เกาะลมไว้ เหมือนอย่างมดแดงเวลามันกัด ถึงหัวมันขาด มันก็ไม่ยอมปล่อย"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: ศิษย์คนหนึ่ง เมื่อฟังท่านพ่อสอนให้จับลมไว้ ก็ไม่เข้าใจความหมายของท่าน กลับนั่งภาวนาเกร็งเนื้อเกร็งตัวอยู่เพื่อกักขังลมไว้ แต่ทำห้รู้สึกเหนื่อย ไม่สบาย ต่อมาวันหนึ่งในหณะนั่งรถเมล์ไปวัดมกุฏฯ เขาก็สมาธิอยู่ สังเกตได้ว่า ถ้าปล่อยลม ตามธรรมชาติ ก็รู้สึกสบายขึ้น ทั้งใจก็ไม่หนีจากลมด้วย
พอถึงวัดมกุฏฯ เขาก็บ่นกับท่านพ่อ "ทำไมท่านพ่อสอนให้จับลมไว้ ยิ่งจับก็ยิ่งไม่สบาย ต้องปล่อยตามธรรมชาติจึงจะดี"ท่านพ่อก็หัวเราะ ตอบว่า "ก็ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น"จับ"หมายความว่าเกาะ ติดตามเขาอยู่ ไม่หนีจากเขา เราไม่ต้องไปบีบบังคับ สะกดเขาไว้ เขาจะเป็นยังไงก็ดูเขาไปเรื่อยๆ"ฯ
:b45: "การที่เราสังเกตลมนั้นเป็นตัวเหตุ ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นเป็นตัวผล ต้องสนใจกับตัวเหตุให้มากๆ ถ้าเราทิ้งเหตุ ไปเพลินกับตัวผล เดี๋ยวมันจะหมด แล้วเราจะไม่ได้อะไรเลย"ฯ
:b46: "เมื่อรู้ลมแล้วก็ให้รู้จริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่ารู้เฉยๆ"ฯ
:b51: "การดูลมต้องเอาความสบายเป็นหลัก ถ้าลมสบายใจสบาย นั่นแหละใช้ได้ ถ้าลมไม่สบาย-ใจไม่สบาย นั่นแหละใช้ได้ อันนั้นต้องแก้ไข"ฯ
:b53: "เวลาภาวนาต้องใช้ความสังเกตเป็นข้อใหญ่ ถ้ารู้สึกไม่สบายให้ปรับปรุง แก้ไขลมให้สบายขึ้น ถ้ารู้สึกหนักก็นึกแผ่ลมให้มันเบาๆ ให้นึกว่าลมเข้าะออกได้ทุกขุมขน"ฯ
:b45: "ที่ท่านบอกว่าให้กำหนดในส่วนต่างๆ ของร่างกายหมายความว่า ให้กำหนดความรู้สึกที่มีอยู่ในตัว"ฯ
:b46: "ลม เราจะเอาเป็นที่พักของใจได้ เป็นที่พิจารณาก็ได้ เวลาจิตไม่ยอมลง ก็แสดงว่ามันอยากจะทำงาน เราก็หางานให้มันทำ คือให้มันเที่ยวพิจารณาลมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ว่าตรงไหนลมเดินสะดวกดี ตรงไหนมันเดินไม่สะดวก แต่อย่าให้ใจหนีออกนอกกายนะ ให้มันวนเวียนอยู่ในนั้น จนมันเหนื่อย พอเหนื่อย แล้วมันจะหาที่พักหยุดกับที่โดยเราไม่ต้องไปกดไปบังคับมัน"ฯ
:b51: "ทำลมให้เหนียว แล้วนึกให้ระเบิดออกไปในทุกส่วนของร่างกาย"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: ศิษย์คนหนึ่งชอบบริหารร่างกาย เล่นโยคะ ออกกำลังเป็นประจำ จนท่านพ่ออาจจะเห็นว่าเกินพอดี เพราะท่านก็แนะนำว่า "จะบริหารร่างกายก็ใช้ลมบริหาร นั่งภาวนาก็แผ่ลมให้ทั่วตัว อวัยวะน้อยใหญ่ทุกอย่าง จิตก็ฝึกไปด้วย ร่างกายก็แข็งแรงไปด้วย ไม่ต้องไปออกท่าออกทางอะไรมากมาย"ฯ
:b45: แล้วมีศิษย์คนหนึ่งเป็นคนขี้โรค เดี๋ยวเป็นนั่นเดี๋ยวเป็นนี่ เจ็บไข้ได้ป่วยสารพัดอย่าง ท่านพ่อจึงสอนเขาว่า "เช้าขึ้นมาทุกวัน ให้นั่งภาวนาตรวจโรคของตัวเองว่ามันเจ็บตรงไหน มันปวดตรงไหน แล้วก็ใช้ลมรักษา ที่หนักก็จะเบา ที่เบาก็จะหาย แต่จะหายไม่หายไม่ต้องเอาเป็นอารมณ์ เราก็ตรวจของเราทำลมของเราอยู่เรื่อย เพราะที่สำคัญเราจะฝึกสติของเราให้อยู่กับเนื้อกับตัว ให้มีพลังจนมันอยู่เหนือความเจ็บป่วยไปได้"ฯ
:b46: "การภาวนาของเราต้องมีปิติเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงไม่อย่างนั้นทำไปๆ มันจะเหี่ยวแห้งเกินไป"ฯ
:b51: "คนปฏิบัติพอปฏิบัติได้ ก็เปรียบเหมือน ว่าวติดลมแล้ว มันไม่อยากจะลง"ฯ
:b53: "เข้าธาตุถึงลมที่สม่ำเสมอ เมื่อเห็นแสงขาวนวลให้น้อมเข้ามาในตัว จิตก็จะนิ่ง กายก็เบา กายจะขาวสะอาดหมดไปทั้งตัว ใจก็จะเป็นสุข"ฯ
:b45: "พอลมเต็มอิ่มก็เหมือนน้ำเต็มโอ่ง ถึงจะเทเข้าไปอีกสักเท่าไร มันก็เก็บได้อยู่แคนั้น มันก็พอดีของมันเอง"ฯ
:b46: "การภาวนาต้องทิ้งเป็นขั้นๆ เหมือนเขาจะยิงจรวดในอวกาศพอพ้นจากโลก แล้วกระสวยอวกาศก็ต้องทิ้งยานแม่จึงจะไปถึงโลกพระจันทร์ได้"ฯ
:b51: "เวลาจิตอยู่ตัวแล้ว ถึงจะทิ้งลมมันก็ไม่ได้วอกแวกไปไหน เหมือนเราเทปูน ถ้าปูนยังไม่แข็งตัว เรายังทิ้งแบบไม่ได้ แต่เมื่อปูนแข็งตัวดีแล้ว มันก็อยู่ได้ โดยไม่ต้องอาศัยแบบ"ฯ
:b53: "กระจายลมแล้วจนกายเบา จิตเบา ไม่มีตัวเหลือแต่ตัวรู้ จิตก็จะใส เหมือนน้ำที่ใส เราชะโงกลงไปในน้ำก็เห็นหน้าตัวเอง จะได้เห็นจิตตัวเองว่าเป็นยังไง"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: "พอลมเต็มเราก็วางซะ แล้วนึกถึงธาตุไป ธาตุน้ำ ธาตุดิน ทีละอย่างๆ พอกำหนดธาตุได้ชัดเจน เราก็ผสมธาตุ คือรวมให้พอดีทุกอย่าง ไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป ไม่หนักเกินไป ไม่เบาเกินไป พอดีทุกส่วน แล้วก็วางอีก ให้อยู่กับอากาศธาตุ ความว่าง เมื่ออยู่กับความว่างจนชำนาญพอแล้ว เราก็ดูว่าอะไรที่ว่า"ว่าง" แล้วก็กลับมาหาตัวผู้รู้ เมื่อใจเป็นหนึ่งอย่างนี้แล้ว เราก็วางอาการของความเป็นหนึ่ง แล้วดูซิว่า อะไรที่มันยังเหลืออยู่ในนั้น
....."พอเราทำอย่างนี้ได้ เราก็ฝึกเข้า-ฝึกออกจนชำนาญ แล้วพิจารณาดูอาการของใจ ตอนที่มันเข้า-ออกอยู่นั้น ปัญญาก็เริ่มปรากฏในที่นั่น"ฯ
:b46: "การพิจารณาตัวเอง เรื่องธาตุจะต้องมาเป็นอันดับแรก เราแยกธาตุ รวมธาตุ เหมือนเราเรียนแม่กบแม่เกย ต่อไปเราจะผสมกับอะไรก็ได้"ฯ
:b51: "ฐานอันนี้ เอาให้มั่นคงก็แล้วกัน แล้วต่อจากนั้นจะสร้างกี่ชั้นๆ มันก็เร็ว"ฯ
:b53: "จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก มันก็อยู่ที่ตัวเรา"ฯ
:b45: "หลักอานาปาน์ที่ท่านพ่อใหญ่เขียนไว้ในตำราเป็นแต่หลักใหญ่ๆ เท่านั้น ส่วนปลีกย่อยนั้นเราต้องปฏิภาณของเราเอง เอาหลักวิชาของท่านดัดแปลงพลิกแพลง ให้เข้ากับจริตของเรา เราจึงจะได้ผล"ฯ
:b46: "ที่ในหนังสือเขาว่า อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่ถูกกับจริตของทุกคนนั้น ที่จริงไม่ใช่ เพราะคนที่กำหนดลมได้ผล ต้องเป็นผู้ที่มีความละเอียด"ฯ
:b51: "เคยมีครูบาอาจารย์มาว่าท่านพ่อใหญ่ "ทำไมสอนคนให้ดูลม มันจะมีอะไรให้ดู มีแต่สูดเข้า-สูดออก แล้วดูแค่นี้จะเกิดปัญญาได้อย่างไร" ท่านพ่อใหญ่ก็ตอบว่า "ถ้าดูแค่นั้น ก็ได้อยู่แค่นั้น"

.....นี่เป็นปัญหาของคนดูไม่เป็นฯ....
:b53: มีลูกศิษย์คนหนึ่งเล่าถวายท่านพ่อฟังว่า แต่ก่อนเขานึกว่าที่ท่านพ่อให้ไล่ลม ขยายลม กำหนดธาตุ เล่นธาตุ ฯลฯ เหล่านี้เป็นแค่อุบายให้ใจสงบสบายๆ เท่านั้น แต่ภายหลังจึงรู้ว่าเป็นอุบายวิปัสสนาสำหรับเกิดปัญญาด้วย ท่านพ่อ ก็ย้อนถามว่า "เพิ่งจะรู้หรือ" ๒-๓ วันต่อมา ท่านก็เล่าเหตุการณ์นี้ให้ศิษย์อีกคนหนึ่งฟังแล้วพูดตอนท้ายว่า "ดูซิ ขนาดคำสอนของพระพุทธเจ้าเขายังประมาทอยู่ได้"ฯ
:b45: "ผู้มีปัญญาย่อมใช้อะไรๆ ให้เป็นประโยชน์ได้ทั้งนั้น"ฯ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b42: :b42: :b42: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: นิมิต :b42: :b42:

.....สมัยหนึ่งท่านพ่อป่วยรักษาตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ แล้วพักที่วัดอโศการาม มีคณะอุบาสิกามาฝึกภาวนากับท่านทุกคืน คืนวันหนึ่ง มีอุบาสิกาคนหนึ่งปรารภกับท่านว่า ขณะที่นั่งภาวนาอยู่นั้นก็รู้ตัวว่าใจไม่ได้วอกแวกไปไหน อยู่กับลมตลอกเวลา แต่ทำไมไม่มีนิมิตเหมือนเขาทังหลาย ทำให้รู้สึกน้อยใจเหมือนกัน ท่านพ่อก็บอกว่า"โยมโชคดีรู้หรือเปล่า คนที่มีนิมิตเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้ามารบกวนอยู่เรื่อย ส่วนโยมไม่มีกรรมอะไรมาตัดรอน ทำใจได้เลย ไม่ต้องวุ่นวายกับเรื่องภายนอก"ฯ
:b45: "ไม่ต้องไปอัศจรรย์กับพวกที่เขามีนิมิตหรอก นิมิตก็คือฝันนั้นเอง ที่จริงก็มี ไม่จริงก็มี เอาแน่นอนไม่ได้"ฯ
:b46: โยมคนหนึ่งนั่งฟังคนอื่นพูดกันว่า การนั่งสมาธิโดยไม่มีนิมิตคือทางสายตรง พอดีโยมคนนั้นมีนิมิตบ่อยๆ จึงเกิดสงสัยว่า"ทำไมทางของเราขดๆเคี้ยวๆ" เมื่อไปถามท่านพ่อ ท่านก็ตอบว่า"เราก็เก็บไปบ้าง เพื่อมีของกินข้างหน้า เราก็ถึงเหมือนกัน ส่วนเขาอาจจะเห็นแต่ไม่เก็บ หรืออาจจะไม่เห็นก็ได้เพราะทางเขากันดาร"ฯ
:b51: "นิมิต หรือสิ่งที่มาปรากฏให้เราเห็นเวลาภาวนาจิตสงบ ไม่ใช่ว่าจะไม่ให้สนใจเอาเสียเลย เพราะนิมิตบางอย่างเราก็ต้องสนใจบ้าง ฉะนั้น เมื่ออะไรมาปรากฏ บางครั้งเราก็ต้องดูว่ามาปรากฏทำไม เพราะอะไร"ฯ
:b53: "คนที่มีนิมิต ดาบ๒คมอยู่ในมือ ต้องใช้ให้ดี สิ่งที่เข้ามาประโยชน์มันก็มี โทษมันก็มี ฉะนั้น เราต้องรู้จักคั้น เอาแต่ประโยชน์จากเขา"ฯ
:b45: ปกติถ้าลูกศิษย์คนใดนั่งภาวนาเห็นภาพตัวเอง ท่านพ่อจะให้แยกธาตัดิน น้ำ ลม ไฟ หรืออาการ ๓๒ ออกเป็นส่วนๆ แล้วเผาเป็นขี้เถ้า จากนั้นก็ให้ทำแบบนี้บ่อยๆ จนชำนาญ พอดีมีศิษย์คนหนึ่งฝึกหัดแยกอาการ ๓๒ แบบนี้ทุกวันๆ แต่พอแยกเสร็จแล้วยังไม่ทันเผา ก็มีตัวใหม่เกิดขึ้นอีกข้างๆ ตัวที่กำลังจะเผาอยู่ พอเตรียมจะเผาตัวใหม่ ก็มีตัวอื่นเกิดขึ้นเรื่อยๆ เรียงเป็นตับ เหมือนปลาที่เตรียมจะย่าง ตัวเองเห็นแล้วก็รู้สึกเบื่อในการที่จะทำต่อไป พอกลับมาเล่าให้ท่านพ่อฟัง ท่านก็บอกว่า "นี่ ที่ให้ทำก็เพื่อให้เบื่อ แต่ไม่ใช่ให้เบื่อในการทำ"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: อุบายอีกอย่างหนึ่งที่จะให้ใช้เวลาเห็นตัวเองในสมาธิคือ ให้ถอยกลับไปดูว่า เวลาอยู่ในท้องแม่เป็นอย่างไร อาทิตย์แรก อาทิตย์ที่สอง ฯลฯ จนคลอดออกมา วันแรก ๑ เดือน ๒ เดือน ฯลฯ ๑ ปี ๒ ปี ไปเรื่อยจนแก่เฒ่าแล้วตาย พอดี โยมคนหนึ่งจะปฏิบัติตามนี้ แต่เห็นว่ามันช้าเกินไป จึงกำหนดทีละ ๕ เดือนบ้าง ๕ ปีบ้าง พอท่านพ่อรู้เข้า ท่านก็ว่า "นี่ไปข้ามขั้นข้ามตอน" ท่านจึงตั้งข้อกติกาใหม่ว่า "ให้กำหนดร่างกาย แล้วถอนผมทีละเส้น วางลงไปในฝ่ามือ แล้วแต่จะให้แหว่งแค่ไหน แล้วก็ปลูกใหม่ ถ้าปลูกไม่หมด ไม่ให้ออกจากสมาธิ ถ้าจะขยุ้มออกเป็นแถวก็ได้ แต่ต้องปลูกทีละเส้นให้ได้ ต้องเอาให้ละเอียด อย่างนี้จึงจะได้เรื่อง"ฯ
:b45: ศิษย์คนหนึ่งเคยถามท่านพ่อ "ทำไมความรู้ความเห็นที่เกิดจากสมาธิ เกิดๆดับๆ ไม่ให้รู้อะไรตลอดเรื่อง " ท่านก็ตอบว่า"แผ่นเสียง ถ้ามีเข็มจี้ตลอดต่อเนื่อง ก็ดังตลอด ให้เรารู้ศัพท์เสียงตลอดเรื่องนั้นได้ แต่ถ้าเราไม่จี้ จะรู้เรื่องได้อย่างไร"ฯ
:b46: มีโยมคนหนึ่งเมื่อนั่งภาวนาแล้วมักจะเห็นนิมิตคนตาย มาปรากฏอยู่ต่อหน้า แล้วขอส่วนบุญด้วย ทำให้เขาไม่สบายใจ จึงเล่าให้ท่านพ่อฟังว่า"มีผีปรากฏ อยู่ต่อหน้าค่ะ ท่านพ่อ"
.....ท่านก็ตอบว่า"เขาไม่ใช่ผี เขาก็คน"
......แต่โยมก็ย้ำอยู่นั่น"เขาเป็นผีจริงๆ นะ ท่านพ่อ"
......ท่านจึงดุเอา "ถ้าเขาผี เราก็ผี ถ้าเห็นว่าเขาเป็นคนเราก็คน"ฯ
:b51: จากนั้นท่านก็สอนให้แผ่เมตตาในเวลามีปรากฏการณ์อย่างนี้ โยมก็ตั้งหน้าตั้งตาแผ่เมตตาใหญ่ พอมีอะไรมาปรากฏก็แผ่ทันที ท่านพ่อจึงต้องสอนอีกต่อไปว่า"เขาปรากฏในนิมิตไม่ใช่ว่า รีบแผ่ให้เขาไป ต้องพิจารณาดูก่อนว่า ทำไมเขาเกิดในสภาพแบบนั้น เขาทำกรรมอะไรไว้จึงต้องเป็นอย่างนั้น แล้วเราจะเกิดธรรมะขึ้นมาในใจเราเอง"ฯ
:b53: ต่อมาวันหนึ่ง โยมเห็นผู้หญิงผอมๆ อุ้มลูกเล็กๆ ปรากฏในนิมิต ผู้หญิงก็ใส่เสื้อขาดมอมแมมไปหมด ลูกก็ร้องไห้ไม่หยุด โยมจึงเกิดสงสารแล้วแผ่เมตตาให้ แต่แผ่เท่าไรๆ สองคนแม่ลูกนั้นรับไม่ได้ ทำให้โยมยิ่งสงสารเขาใหญ่ จึงบอกท่านพ่อว่า อยากจะช่วยสองคนนี้แต่ช่วยไม่ได้ ท่านก็ว่า"เขาจะรับได้ไม่ได้เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่ธุระของเรา วิบากกรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกันนะ เราให้แล้วก็แล้วกัน ไม่ต้องติดตามไปดูผลงาน หน้าที่ของเรามีแค่ไหนก็เอาแค่นั้น เขามาขอเราก็มีหน้าที่ให้ เขาปรากฏให้เราเห็น เราจะได้รู้เรื่องของผลกรรมแค่นั้นพอ แล้วเราก็กลับมาดูลมของเรา"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณศรีสมบัติ
สำหรับคติธรรมดีดีของ ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก

:b42: ประวัีติท่านท่านพ่อเฟื่อง โชติโก อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
viewtopic.php?f=13&t=27449&p=171694&hilit=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%81#p171694

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2010, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ และ ขออนุโมทนา กับท่าน "ลูกโป่ง" ที่กรุณานำ ภาพ และ ชีวประวัติ ของท่านพ่อ
มาเผยแพร่
ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2010, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: ต่อจากนั้นโยมก็ปฏิบัติตามคำสอนของท่านพ่อ จนกระทั่งวันหนึ่งเกิดสงสัยว่า ในเมื่อแผ่ให้เขา
ให้เขา อยู่เรื่อยอย่างนี้ ตัวเองจะมีอะไรเหลือหรือเปล่า จึงเล่าข้อนี้ให้ท่านพ่อฟัง ท่านก็มองหน้าอยู่เฉยๆ
สักครู่หนึ่ง แล้วบอกว่า "คนเราเลาใจแคบ มันก็แคบได้ทั้งนั้น" ท่านก็เลยอธิบายต่อไปว่า "เมตตานี้ไม่ใช่สิ่งของ เงินทองที่ให้แล้วหมดไป มันเหมือนเรามีเทียนจุดอยู่ในมือ คนนั้นก็ขอต่อ คนนี้ก็ขอต่อ ยิ่งต่อกันก็ยิ่งสว่างมาก แล้วเราจะต้องได้รับแสงนั้นด้วย"ฯ
:b46: มีอยู่วันหนึ่ง โยมคนนั้นนิมิตถึงคนตายมาบอกให้สั่งลูกหลานทำบุญ อย่างนั้นอย่างนี้ โยมจึงออกจากสมาธิ ขออนุญาตจากท่านพ่อที่จะไปบอกลูกหลานของคนตายให้ทราบ ท่านพ่อก็ตอบว่า "เรื่องอะไร เราไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ ถึงเป็น เขาก็ไม่มีเงินเดือนมาให้เรา เราจะเอาอะไรไปเป็นพยานหลักฐานว่า เรารู้เราเห็น ถ้าเราไปบอกแล้วเขาเชื่อ เราจะกลายป็นผู้วิเศษ ทีนี้จะเกิดการหลงตัวลืมตัว เดินไปก็ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ แต่ถ้าเขาไม่เชื่อ เขาจะว่าเราเป็นอะไรรู้ไหม"
....."อะไรละ ท่านพ่อ"
......"เขาก็ว่าเราบ้าซิ"ฯ
:b51: "นิมิตทั้งหลาย ที่จริงก็มี ที่ปลอมก็มี ฉะนั้น เราเป็นผู้ดูเขา อย่าเป็นผู้ตามเขา"ฯ
:b53: "ดูนิมิต ก็ให้เหมือนดูโทรทัศน์ คือดูเฉยๆ ไม่ต้องตามเข้าไป"ฯ
:b45: ลูกศิษย์บางคน เมื่อภาวนาแล้วเกิดมีความรู้ความเห็นถึงอดีตชาติ ของตนเองและผู้อื่น จึงรู้สึกว่าตื่นเต้นแล้วนำเรื่องนี้มาเล่าถวายท่านพ่อฟัง ท่านจึงเตือนว่า "ภพชาติที่ผ่านมา ยังไปยินดีกันอยู่หรือ
คนโง่เท่านั้นที่เข้าไปติด เราตาย-เราเกิดมานับอสงขัยไม่ถ้วน ถ้าจะเอากระดูกที่เราเคยเกิด-ตาย มากองไว้ก็จะโตยิ่งกว่าเขาพระสุเมรุ น้ำในแม่น้ำมหาสมุทรน้อยใหญ่ทั้งหลายนะ ก็ยังน้อยกว่าน้ำตาของเราที่เคยหลั่งรินเพราะความทุกข์ทั้งหลายเสียอีก ผู้มีปัญญาเมื่อเห็นเช่นนี้ ย่อมเกิดความสลดสังเวชในภพชาติ ไม่ยินดีในการเกิด มีจิตมุ่งตรงต่อพระนิพพานอย่างเดียว"ฯ
:b46: ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์คนหนึ่งนั่งสมาธินิมิตเห็นตัวเองเกิดเป็นนั่นเป็นนี่ แล้วก็ตาย แล้วก็เกิดอีกหมุนเวียนไปมา จนรู้สึกเหนื่อยต่อการเกิด-ตายของตัวเอง จึงออกจากสมาธิไปถามท่านพ่อ ท่านก็บอกว่า "ที่เหนื่อยนั้นก็เพราะเราไปรู้ไปเห็น อะไรแล้วก็รับเข้ามา สิ่งพรรค์นี้นะ มันเกิดไปแล้ว ผ่านไปแล้ว เราจะไปเก็บมันมาทำไม ให้ยกจิตสู่อารมณ์ภาวนาของเรา ให้อยู่กับลม มีอะไรมาก็ให้สักแต่ว่ารู้อย่างเดียว"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2010, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: มีช่วงหนึ่งในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่ท่านพ่อได้ลูกศิษย์ใหม่หลายคนทั้งไทยและเทศ ศิษย์คนหนึ่งเกิดสงสัยว่า ทำไมเป็นเช่นนั้น จึงนั่งภาวนาถามจิตตัวเอง แล้วได้ความว่า ชาติก่อนท่านพ่อเคยมีลูกหลายคน พอออกจากสมาธิเขาจึงถามท่าน "แหม ทำไมท่านพ่อมีลูกเยอะ" โดยคาดไว้ว่า ท่านจะต้องตอบว่า ชาติก่อนท่านเคยครองบ้านครองเมืองอะไรทำนองนั้น แต่แทนที่จะตอบตามคาดหมาย ท่านกลับหัวเราะแล้วบอกว่า "ชาติก่อนเคยเป็นปลาในทะเล ไข่ออกทีไม่รู้เท่าไหร่"ฯ
:b45: โยมผู้หญิงคนหนึ่งนั่งภาวนาที่บ้าน เกิดระลึกชาติได้ กลับไปถึงสมัยพระเจ้าอโศก นิมิตเห็นพระเจ้าอโศกตีพ่อของเขาอย่างทารุณเพราะสาเหตุเพียงเล็กน้อย พอออกจากสมาธิเขาก็ยังรู้สึกไม่พอใจกับพระเจ้าอโศก วันรุ่งเช้าไปเล่าให้ท่านพ่อฟังที่วัดมกุฏฯ เขาก็ยังแสดงอาการโกรธพระเจ้าอโศกอยู่ แต่แทนที่ท่านพ่อจะรับรองหรือปฏิเสธว่าที่เขาเห็นนั้นจริงหรือไม่ ท่านกลับชี้ตัวกิเลสที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่า "นี่จะมาถือโกรธกัน ๒,๐๐๐ กว่าปี มันได้เรื่องอะไรกัน ให้ขอขมาท่านซะ จะได้หมดเรื่อง"ฯ
:b46: "ดีนะที่คนเราระลึกชาติกันไม่ได้ ไม่อย่างนั้นก็คงจะยิ่งยุ่งกว่านี้อีก"ฯ
:b51: ลูกศิษย์คนหนึ่งที่ฝึกภาวนาใฟหม่ๆ กับท่านพ่อที่วัดมกุฏฯ เมื่อเที่ยววัดธรรมสถิตเป็นครั้งแรกไปพบพระองค์หนึ่งที่เขาเคยเห็นในนิมิตที่กรุงเทพฯ เขาจึงพูดกับท่านว่า "โยมนั่งภาวนาได้ชมบารมีของท่านที่กรุงเทพฯ มาแล้ว แหม บารมีท่านมีมากจริงๆ" ทำให้พระองค์นั้นเกิดน้อยใจขึ้นมาว่า บารมีของตัวเองมีมากน้อยแค่ไหน ตัวเองไม่เคยรู้ ทำไมคนอื่นไปล่วงรู้เอาง่ายๆ อย่างนี้ แต่เมื่อปรารภ เรื่องนี้กับท่านพ่อ ท่านพ่อก็บอกว่า "ถ้าเขาพูดอย่างนั้นอีกให้ย้อนถามเขาว่า ไปมัวแต่ดูคนอื่น ทำไมไม่กลับมาดูตัวเองบ้าง"ฯ
:b53: มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ศิษย์บางคนนั่งภาวนาเห็นยักษ์ในนิมิต คนหนึ่งเกิดสงสัย จึงกราบเรียนถามท่านพ่อ "ท่านพ่อคะ ยักษ์มีจริงไหม" ท่านพ่อตอบว่า "ยักษ์เยิกอะไร คนเราเกิดมาโมโหโทโสขึ้นในใจ นั่นคือยักษ์เกิดขึ้นในตัวเราแล้ว"ฯ
:b45: คืนวันหนึ่ง โยมคนหนึ่งนั่งภาวนาได้นิมิตว่ายักษ์กำลังก่อความวุ่นวายใน วัดธรรมสถิตเพื่อทำลายท่านพ่อ พอดีโยมคนนี้เคยเรียนคาถาอาคม ฉะนั้นจึงออกจาก สมาธิไปขออนุญาตจากท่านพ่อเพื่อใช้คาถาจัดการกับศัตรูนี้ พูดแทบไม่ขาดคำ ท่านพ่อ ก็สวนทางทันที "โยมจะสร้างภพสร้างชาติอีกหรือ"ฯ
:b46: โยมคนหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เป็นลูกศิษย์ท่านพ่อ ฝึกภาวนาเอาเองที่บ้าน แล้วเห็นนิมิตเป็นตัวหนังสือคล้ายๆภาษาบาลี แต่ไม่เชิง จึงจดไว้แล้วเที่ยวหา ครูบา อาจารย์ ขอให้ท่านแปลให้ ไปหาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านก็บอก ภาษาในนิมิตนั้นเป็นภาษาพระอรหันต์ ต้องเป็นอรหันต์จึงจะรู้จักความหมาย จากนั้นท่านก็อุตริแปลให้ แล้วสั่งไว้ว่า ถ้าโยมมีนิมิตอย่างนี้อีก ให้นำไปถวายท่านแล้วท่านจะแปลให้อีก โยมคนนั้นยังไม่แน่ใจ จึงมาหาท่านพ่อแล้วเล่าพฤติกรรมของอาจารย์องค์นั้นให้ฟังท่านพ่อก็บอกว่า "อะไร ภาษาของพระอรหันต์ จิตของท่านพ้นจากสมมุติแล้ว ท่านจะมีภาษาอะไรกันที่ไหน"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2010, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: "คนเราส่วนมากของจริงไม่ชอบ ชอบแต่ของปลอม"ฯ
:b53: บางครั้งมีลูกศิษย์นั่งภาวนาแล้วเกิดความรู้ความเห็นขึ้นมา แล้วคิดหลงตัวเองว่าเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ท่านพ่อไม่ได้ว่าอะไร จึงมีลูกศิษย์อีกคนหนึ่ง ถามท่านว่า ทำไมท่านไม่ได้ว่าเขาเลย เมื่อการปฏิบัติของเขานอกลู่นอกทางเช่นนี้ ท่านบอกว่า"การที่จะว่าคนนั้น ต้องดูสภาวะจิตใจเขาก่อน ถ้าจิตเขาโตเป็นผู้ใหญ่ก็ว่าเขาได้ ถ้าจิตเขายังเป็นเด็กอยู่ก็ปล่อยให้เขาเล่นไปก่อน เหมือนเด็กได้ของเล่น ถ้าเกิดไปค้านเขา เขาอาจจะท้อถอยแล้วไม่อยากปฏิบัติ เมื่อจิตเขาโตขึ้นแล้ว เขาจะต้องรู้ของเขาว่า อะไรควร อะไรไม่ควร"ฯ
:b45: "อดีตไม่ให้เอา อนาคตไม่ให้เอา เอาแต่ปัจจุบันอย่างเดียวก็พอ ขนาดเอา ท่านไม่ให้ยึด แล้วสิ่งที่ไม่ให้เอา จะยึดได้ที่ไหน"ฯ
:b46: "ขนาดนิมิตของเราเอง ท่านไม่ให้เชื่อแล้วเรื่องอะไรจะต้องไปเชื่อนิมิตของคนอื่น่เขา"ฯ
:b51: "นิมิตทั้งหลาย ถ้าเราไม่รู้จักวาง เราจะไม่มีทางพ้น"ฯ
:b53: ศิษย์คนหนึ่งเคยถามท่านพ่อว่า "สิ่งที่เกิดรู้เกิดเห็นในระหว่างนั่งภาวนา เราจะรู้อย่างไรว่าจริงหรือไม่จริง" ท่านก็ตอบว่า "ถึงจะจริง มันก็แค่จริงในสมมติ เราต้องทำใจของเราให้เหนือทั้งจริงและไม่จริง"ฯ
:b45: "จุดประสงค์ของการปฏิบัติก็คือ ทำใจให้บริสุทธิ์ เรื่องนอกจากนั้นเป็นแค่เรื่องเล่น"ฯ


:b48: :b48: :b48: :b42: :b42: :b42: :b43: :b43: :b43: :b42: :b42: :b42: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2010, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b48: รู้ :b42: :b48:

....."ท่านอาจารย์มั่นเคยสอนว่า ขนาดเด็กแรกเกิดยังมีตัวรู้ ตอนนั้นผมก็ยังไม่เชื่อ เด็กแรกเกิดมันจะรู้อะไร ผมคิดอยู่อย่างนี้ แต่ท่านบอกว่า ที่มันร้องแหละ ถ้ามันไม่รู้ว่ามันทุกข์ มันจะร้องยังไงกัน"ฯ
:b45: "จะรู้จะเห็นอะไรก็ให้สักแต่ว่ารู้ ไม่ให้เป็นไปตามเขา จิตดั้งเดิมของเรามันไม่มีอะไร มันรู้อยู่ทุกอย่างแล้ว แต่พอดีมีสิ่งต่างๆ มาสัมผัสทั้งภายในภายนอก ก็ทำให้เราเผลอสติปล่อยตัวรู้ ลืมตัวรู้ที่มีอยู่ดั้งเดิมเสีย ไปรับเอาสิ่งที่มาทีหลัง แล้วก็ทำไปตามเขาคือเป็นสุขป็นทุกข์ อะไรต่างๆ ที่เราเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าเราไปรับเอาสิ่งสมมุติต่างๆ เข้ามายึดมั่นถือมั่น ถ้าเราจะไม่ให้เป็นไปตามสิ่งต่างๆ เราก็ต้องรักษาตัวรู้ดั้งเดิมของเราไว้ให้ตลอด ตัวสติต้องมีไว้มากๆ"ฯ
:b46: ลูกศิษย์คนหนึ่งรู้สึกน้อยใจตัวเองเป็นกำลัง จึงเข้าไปปรึกษากับท่านพ่อเรื่องนี้ ท่านก็บอกว่า"ที่จริงมันไม่มีอะไรที่จะต้องน้อยใจ เราเองไปเอนเอียงตาม อารมณ์ที่มากระทบเท่านั้น ให้พิจารณามากๆแล้วจะรู้ว่า จิตของเราอยู่ของเรา ส่วนหนึ่ง สิ่งพวกนี้ผ่านเข้ามาแล้วก็ไป เราจะเป็นไปตามเขาทำไม ให้เราประคองจิตอยู่แค่รู้เท่านั้นว่า มันมาเดี๋ยวมันก็ไป แล้วเราจะตามมันทำไม"ฯ
:b51: "มันมีอะไรเป็นของเราบ้าง ตายไปก็เอาอะไรไปติดตัวไม่ได้ แล้วจะอยากมันทำไม ไม่ต้องอยากอะไรทั้งนั้น ทำจิตให้สงบให้เป็นหนึ่ง ไม่ต้องไปสนใจในความมี ความเป็นของตัวเราเองหรือผู้อื่น ให้สักแต่ว่ารู้อย่างเดียก็พอ"ฯ
:b53: "มีอะไรมากระทบ ก็ให้มันอยู่แค่"รู้" อย่าให้มันเข้ามาถึงใจ"ฯ
:b45: "ให้รักษาตัวรู้ของเราให้เหนียวแน่นมั่นคงอย่างเดียวก็ไม่มีอะไรจะมาครอบงำเราได้"ฯ
:b46: "ให้อยู่กับรู้ตลอดเวลา เว้นเวลาหลับ ตื่นเช้าขึ้นมาก็อยู่กับรู้ อีกหน่อยปัญญาแท้จะปรากฏ"ฯ
:b51: มีโยมคนหนึ่งปฏิบัติธรรมกับท่านพ่อ เกิดมีความรู้สึกว่า ตัวเองแบ่งเป็นสองคน คือคนหนึ่งเป็นผู้ทำ อีกคนหนึ่งเป็นผู้ดู เวลานั่งสมาธิหรือไม่นั่งก็เป็นอยู่อย่างนี้ จนไม่อยากนั่งสมาธิ เพราะรู้สึกว่านั่งกับไม่นั่งมีค่าเท่ากัน ไปกราบเรียนท่านพ่อ ท่านพ่อก็บอกว่า"ไม่ต้องนั่งก็ได้ ทำอย่างนี้ให้ตลอดเวลา การนั่งหลับตานั้นยังเป็นการลูบคลำอยู่ ให้ดูไปเรื่อยๆ เมื่อกายกับจิตมันแยกออกจากกันแล้ว กายก็ไม่สามารถทับจิต ถ้ากายทับจิต จิตก็จะเป็นไปกับกาย"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: "รู้ที่ถูก ต้องควบคู่ไปกับลมหายใจ"ฯ
:b46: "รู้ คือ รู้เท่าทันกิเลส เห็นกิเลส ไม่ทำไปตามกิเลส"ฯ
:b51: "ไม่มีอดีต อนาคต มีแต่ปัจจุบัน ไม่มีหญิงชาย ไม่มีเครื่องหมายอะไรทั้งสิ้น มันไม่มีอะไรเลยแม้แต่ตัวตน มีก็สักแต่ว่าสมมติเท่านั้น"ฯ
:b53: "เมื่อรู้แล้ว ก็ให้อยู่เหนือรู้"ฯ
:b45: "เราอยู่บนที่สูงแล้ว ก็สามารถมองเห็นอะไรๆ ได้หมด"ฯ


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

:b48: :b48: พิจารณา :b48: :b48:
....."ธรรม เราอ่านมามากแล้ว ฟังมามากแล้ว เราก็ว่าเราเข้าใจ แต่มันถึงใจหรือยัง"ฯ
:b45: "ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกิดกับเรา มันต้องมีเหตุปัจจัย เมื่อเราพิจารณาให้แยบคายจนรู้เหตุของมันแล้ว เราก็สามารถที่จะดับมันได้"ฯ
:b46: "คนเรามีสองประเภท คือชอบคิด กับไม่ชอบคิด คนไม่ชอบคิดเวลาฝึกสมาธิต้องบังคับให้พิจารณา ถ้าไม่บังคับใจจะติดสมาธิอยู่นั่น เป็นสมาธิหัวต่อไม่ยอมไปไหน ส่วนคนชอบคิด กว่าใจจะเป็นสมาธิได้ ก็ต้องบังคับให้สงบมากหน่อย แต่พอเป็นแล้วเรื่องการพิจารณานั้นไม่ต้องบังคับ มีอะไรมากระทบ ใจจะพิจารณาทันที"ฯ
:b51: "การที่ปัญญาจะเกิดนั้น ต้องเป็นเรื่องอุบายของใครของมัน จะเอามาใช้แทนกันไม่ได้"ฯ
:b53: "เมื่อปัญญาเกิดแล้ว ไม่ต้องไปจดไปจำเอาไว้ ถ้าเป็นปัญญาแท้มันจะเกิดกับเรา ถ้าไปจำเอาไว้ มันก็กลายเป็นสัญญาเสีย แล้วกั้นปัญญาใหม่ไม่ให้เกิด"ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2010, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: ชาวพุทธทางสิงคโปร์ที่กำลังฝึกจิตใหม่ๆ เคยเขียนจดหมายถึงท่านพ่อ อธิบายวิธีการปฏิบัติของเขาที่ได้คัดจากหนังสือธรรมะเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันว่า เขาจะสังเกตุอะไร ก็พยายามพิจารณาเป็น อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตาไปหมด ท่านพ่อ จึงสั่งให้เขียนจดหมายตอบเขา มีใจความว่า "สิ่งทั้งหลายเขาเคยว่าเขาเองเป็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือเปล่า เขาเองก็ไม่ได้ว่า ฉะนั้นอย่าไปโทษเขา ใครไปว่าเขา ให้ดูตัวนั้นดีกว่า เพราะโทษอยู่ที่ตัวนั้น"ฯ
:b46: "ถึงความเห็นของเราจะถูก แต่ถ้าเรายึดเข้าไว้มันก็ผิด"ฯ
:b51: "ปัญญาที่จะละกิเลสได้นั้น เป็นปัญญาส่วนพิเศษ ไม่ใช่ปัญญาธรรมดา ต้องมีสมาธิเป็นบาทเป็นฐาน จึงจะละเขาได้"ฯ
:b53: "กิเลสมันทรมานเรามามากแล้ว เราต้องหัดทรมานมันบ้าง ต้องระวังตัวของเราให้ดี"ฯ
:b45: "พวกแขกเขาบูชาศิวลึงค์ เราเห็นว่าเขาแปลก แต่ที่จริง คนทั้งโลกเขาก็บูชาอยู่ คือบูชากาม เป็นแต่พวกแขกเขาทำอย่างเปิดเผย กามนี้เป็นพระเจ้าสร้างโลก คนเราทุกคนที่เกิดมาในโลก ก็เพราะเราบูชาศิวลึงค์อยู่ในใจ"ฯ
:b46: "ไม่ต้องกลัวหรอกการตาย ให้กลัวการเกิดดีกว่า"ฯ
:b51: วันหนึ่งลูกศิษย์คนหนึ่งภาวนาอยู่ที่บ้าน เกิดความคิดที่จะด่าท่านพ่อ จะห้ามความคิดนี้ไม่ให้ปรากฏอยู่ในใจก็ไม่ได้ผล จึงรู้สึกละอายมาก วันหลังจึงมาขอขมากับท่านพ่อ ท่านก็บอกว่า "ใจเราคิดดียังคิดได้ คิดไม่ดีทำไมจะคิดไม่ได้ มีอะไรก็ดูมันไป แต่ถ้ามันไม่ดี อย่าไปตามทันก็แล้วกัน"ฯ
:b45: ลูกศิษย์อีกคนหนึ่งกราบเรียนท่านพ่อ เรื่องการคิดดี คิดไม่ดีว่า เวลาคิดดี เขาไม่สนใจ แต่เวลาคิดไม่ดีเขาไปห้าม ความคิด ท่านก็บอกว่า "ให้ดูเขาไป ดูว่าใคร เป็นผู้คิดดี-คิดไม่ดี คิดดี-คิดไม่ดีเขาก็ดับไปเอง เพราะเป็นไตรลักษณ์"ฯ
:b46: "ใจจะคิดปรุงอะไรก็ปรุงได้ แต่อย่าหลง"ฯ
:b51: "กิเลสก็เหมือนจอกแหน เราต้องคอยหมั่นปัดออก เพื่อที่น้ำจะได้ใส ถ้าไม่คอยปัดออก จอกแหนจะไหลมาปิดทำให้ไม่เห็นน้ำใส...แต่ก็ยังดีที่รู้ว่า ใต้จอกแหนนั้นเป็นน้ำใส"ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron