วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 04:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/book-pudule/4.html

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง

ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
จิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต

จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต
การที่กล่าวว่าจิตนั้น มิใช่จิตดังนี้ นั่นแหละ ย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง
สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น

เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ผูกตัดขาดไปแล้วและพฤติของจิต
ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว..

:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย นิดหนึ่ง เมื่อ 26 มิ.ย. 2010, 16:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:06
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิดหนึ่ง เขียน:
หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง

ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
จิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต :b8:


สาธุ ขอโมทนาครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:15
โพสต์: 34

แนวปฏิบัติ: สมาถะ วิปัสสนาญาน ลมหายใจมิมีสิ้นสุด มิมีประมาณ
งานอดิเรก: ธรรมะเกิดที่ใจ ไปให้ถึงธรรม จึ่งมีธรรมประจำใจ บ้านเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมะ ทุกแนว "รอยเท้าสัตว์ย่อมรวมลงในเท้าช้าง"ฉันใด ก็ฉันนั้น
ชื่อเล่น: out
อายุ: 47
ที่อยู่: จังหวัดแพร่

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:สาธุ สาธุ
อ้างคำพูด:
ธรรมชาติของจิตและนํ้า ในทัศนะของผู้ขียน
อันเป็นสภาวะโดยปกติธรรมชาติ(ปรมัตถ์)ที่เป็นจริงอยู่เช่นนี้
(เพื่อให้เห็นจิต เป็นรูปธรรมหรือภาพพจน์ได้ชัดเจนขึ้น)
ธาตุจิตนั้นเปรียบประดุจดั่งธาตุนํ้า
นํ้านั้นไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต สามารถแผ่ขยายหรือแปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมหรือภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ, ฝ่ายจิตนั้น ก็ไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต แปรปรวนไปตามอารมณ์ [สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวหรือสัมผัสในขณะนั้น ] หรือก็คือสิ่งแวดล้อมอันได้แก่อายตนะภายนอก เช่น รูป เสียง ฯ. ที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ)นั่นเอง
นํ้าอันเป็นวัตถุธาตุประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งคือ H และ O กล่าวคือมีอะตอมของ H 2 อะตอม และ O เป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เกิดสิ่งที่เราเรียกว่านํ้า, ฝ่ายจิต แม้เป็นนามธรรม แต่ก็เป็นสังขารหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเช่นกัน จึงเกิดมาแต่เหตุมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เฉกเช่นนํ้านั่นเอง และประกอบด้วยเหตุปัจจัยยิ่งมากหลายมาประชุมกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่ง จิตประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ชีวิตินทรีย์ การกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายในอันเป็นส่วนหนึ่งของกาย ตลอดจนอารมณ์(สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวหรือกระทบสัมผัส เช่น รูป เสียง กลิ่น...)และปัจจัยต่างๆอีกมากมาย
นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก, ธรรมชาติของจิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่า แต่ตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสมอบรมนอนเนื่องอยู่(อาสวะกิเลสอันเป็นปัจจัยร่วมกับอวิชชายังให้เกิดสังขารต่างๆ)หรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง, อันคือย่อมต้องหมุนไปตามภวจักรปฎิจจสมุปบาท เหมือนดังโลกย่อมหมุนรอบตัวเองนั่นเอง คือเป็นไปตามสังขารที่สั่งสมอบรมไว้อันเกิดขึ้นแต่อาสวะกิเลสร่วมด้วยอวิชชา
ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงกระทำหรือปฏิบัติฉันใด, จิตจักยกระดับให้สูงขึ้นเป็นโลกุตระ คือสภาวะเหนือจากทางโลกๆได้ ก็ย่อมต้องการการพยายามปฏิบัติฉันนั้น,
การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นต้องใช้ความคิดหาวิธีการและการปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่นคิดใช้เครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง แล้วปฏิบัติดั่งนั้น จึงย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด, จิตก็ย่อมต้องการการคิดเพื่อการปฏิบัติอย่างถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,
ธรรมชาติของนํ้า เดือดพล่านเพราะไฟอันเป็นของร้อนฉันใด, จิตย่อมเดือดพล่าน เร่าร้อน เพราะไฟ อันร้อนแรงของกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เผาลนฉันนั้น อันล้วนมักเกิดจากเวทนาของการคิดปรุงแต่ง
นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกเจือปน บดบังหรือครอบงําด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน จึงช่างพ้องเหมาะสมกับคำว่า นํ้าจิต หรือนํ้าใจ เสียนี่กระไร

เปรียบเทียบสภาวธรรมของจิตกับนํ้า
ความทุกข์ - จิตอันขุ่นมัวเศร้าหมองด้วยกิเลสและเดือดพล่านด้วยตัณหาความทะยานอยาก เปรียบประดุจ นํ้าอันขุ่นมัวที่ต้มเดือดพล่าน เมื่อดื่มเข้าไปย่อมเกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจต่อความร้อนอันเดือดพล่านนั้นเป็นธรรมดา และย่อมไม่อร่อยด้วยสิ่งเจือปนอันแสนระคาย
นิโรธ - หรือสภาวะนิพพาน หรือตทังคนิพพานหรือสภาวะจิตปลอดจากทุกข์ ปลอดจากความเผาลนกระวนกระวาย เปรียบประหนึ่ง นํ้าธรรมดาอันสะอาดบริสุทธิไร้สิ่งปรุงแต่งหรือปราศจากสิ่งขุ่นมัว เมื่อดื่มเข้าไปจึงมีแต่คุณประโยชน์ล้วนสิ้นต่อชีวิต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ความสุข - สภาวะจิตของความสุข และหมายรวมถึงฌานหรือสมาธิ อันอิ่มเอิบ ซาบซ่าน เปรียบประดุจ นํ้าอันเย็นฉํ่าอันยังมีสิ่งขุ่นมัวปะปนอยู่บ้าง แม้เมื่อดื่มเข้าไปย่อมยังความอิ่มเอิบซาบซ่านเป็นธรรมดา จึงย่อมเป็นที่ถูกใจของปุถุชน แต่ก็ยังมีโทษเพราะยังมีสิ่งเจือปนแอบแฝงอยู่นั่นเอง ตลอดจนเมื่อความเย็นซาบซ่านเหล่านั้นหายไปก็เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวาย คำนึงถึง อยากได้อีกเป็นธรรมดา ตลอดจนเมื่อบริโภคมากเกินไปหรือบริโภคในบางสภาวะก็ก่อให้เกิดโทษทุกข์ภัยจากความเย็นอันอิ่มเอิบซาบซ่านจนเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา
หมายเหตุ webmaster - คำอุปมาอุปไมย ที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หรือคำสอนของฮวงโป ได้กล่าวถึงจิตไว้ว่า
"สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้" ดังยกมากล่าวไว้ข้างต้น มักมีผู้ไปเข้าใจผิดๆ ไปคิดไปยึดความว่างนั้นอย่างเป็นอรูปฌานไปเสีย คือไปทำให้ว่างๆจากความคิดความนึกทั้งปวง ซึ่งถ้าว่างต้องว่างจากราคะ โทสะ โมหะหรือว่าว่างจากการคิดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่ง, จึงเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงตามที่หลวงปู่ได้สื่อไว้ เพราะความหมายที่แท้จริงย่อมหมายถึง แสดงจิตนี้เป็นเสมือนความว่าง เพราะความเป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตนอย่างแท้จริงหรือสภาวะอนัตตา ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยประชุมกันชั่วขณะ แล้วก็ดับไป จึงย่อมไม่มีตัวตนเป็นก้อนเป็นมวลเป็นฆนะอย่างแท้จริง จึงไร้ขอบเขตหรือรูปร่างลักษณะให้วัดหยั่งหรือจับต้องได้ ดังเช่นความว่าง ความว่างเปล่า หรือเงาทั้งปวงนั่นเอง
พุทธพจน์
“จิตนี้ประภัสสร(ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา”
มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติเดิมแท้ของมันเองนั้น ผ่องใสหรือบริสุทธิ์ มิได้แปดเปื้อนสกปรกหรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามาภายหลัง กล่าวคือ เหล่ากิเลสได้เข้ามาเจือปนเสีย ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจด จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ กล่าวคือเพียงแต่นำออกเสียซึ่งกิเลสนั่นเอง"


เป็นเช่นนั้นจริงๆ สาธุ สาธุ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร