วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 06:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

หนึ่งในคอลัมน์ของธรรมจักษุ เรื่อง

กระแสโลก กระแสธรรม


โดย...นาวาเอก (พิเศษ) วุฒิ อ่อนสมกิจ

พิมพ์ลงใน นิตยสาร “ธรรมจักษุ”
ปีที่ 88 ฉบับที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ 2547



กระแสโลก กระแสธรรม


การด่า คือการใช้ถ้อยคำว่าคนอื่นด้วยคำหยาบ
ตรงกับคำที่ใช้ในภาษาพระว่า "ผรุสวาจา" หรือ "ผรุสวาท" แปลว่า คำหยาบ
มีคำที่คล้ายกันอยู่คำหนึ่ง คือคำว่า "บริภาษ" หรือ "บริภาษณ์"
หมายถึง คำด่าเหมือนกัน ต่างกันที่ไม่ใช้คำหยาบ
ใช้คำพูดพรรณนาถึงของต่ำๆ ให้มากระทบคนที่ตนโกรธ
สรุปแล้วก็คือกล่าวคำด้วยความมุ่งร้ายผู้อื่น
ครั้งพุทธกาล มีพราหมณ์พวกหนึ่งประดิษฐ์คำด่าได้อย่างเป็นระบบ
เรียก "อักโกสวัตถุ" แปลว่า เรื่องการด่ามี ๑๐ เรื่อง
เจ้าเป็นโจร เป็นคนหลง เป็นอูฐเป็นโค เป็นลา
เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์ดิรัจฉาน คนไม่มีสุคติ มีทุคติเป็นที่พึ่ง
ถ้าพูดในสำนวนนี้ค่อนข้างสุภาพหน่อย
แต่ถ้าใส่คำว่า "ไอ้" เข้าไปนำหน้าแต่ละคำก็คงเป็นคำด่าที่หยาบ
ทำความเจ็บปวดให้มิใช่น้อยเลย
ขอยกเรื่องที่ท่านเล่าไว้ในอักโกสสูตร (สูตรว่าด้วยการด่า) มาเล่าก่อน


มีพราหมณ์ในตระกูล "ภารัทวาชะ" อีกคนหนึ่ง
พราหมณ์ผู้นี้มีนิสัยหยาบกระด้าง ไม่ชอบหน้าใครก็จะใช้คำด่าอย่างหยาบ
สามารถเรียงคำด่าได้ตามสูตรการด่า ๑๐ ข้ออย่างครบถ้วน
จึงได้สมญาว่า อักโกสภารัทวาชพราหมณ์
แปลว่า พราหมณ์ภารัทวาชะผู้ชำนาญในการด่า ว่างั้นเถอะ


พราหมณ์ได้ทราบข่าวว่า พราหมณ์ภารัทวาชะผู้เป็นพี่ชาย
เกิดความเสื่อมใสในพระพุทธเจ้า จนทิ้งครอบครัวออกบวชในสำนักพระพุทธองค์
เกิดความแค้น จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ
เมื่อได้นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ก็มิได้รีรอ
กล่าวคำด่าตามสูตรด้วยความชำนาญว่า
"เจ้าโจร เจ้าโง่ เจ้าคนหลง เจ้าอูฐ เจ้าโค เจ้าลา" เป็นอาทิ
พระพุทธเจ้ามิได้ทรงโต้ตอบแต่อย่างใด
ปล่อยให้พราหมณ์ด่าข้างเดียวจนเหนื่อย แล้วหยุดไปเอง


เมื่อพราหมณ์ด่าจนจุใจแล้ว
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเป็นเชิงสนทนากับพราหมณ์ด้วยพระอาการปกติ


"ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตขอถามความบางอย่าง
ท่านเห็นอย่างไรจงตอบอย่างนั้น
ที่บ้านท่านเคยมีมิตรอำมาตย์ญาติสายโลหิตมาเยี่ยมถึงเรือนบ้างไหม"


"เคยมีเป็นบางครั้งบางคราว ท่านพระโคดม"


"เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเช่นนั้น ท่านเคยจัดของเคี้ยวของบริโภค
หรือน้ำดื่มมาต้อนรับแขกของท่านบ้างหรือไม่?"


"เคยบ้างในบางครั้ง ท่านพระโคดม"


"ดูก่อนพราหมณ์! ก็ถ้ามิตย์อำมาตย์และญาติสายโลหิต
ผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับของเคี้ยว ของบริโภค
และเครื่องดื่มที่ท่านยกมาต้อนรับ แล้วลากลับไป ของนั้นจะตกเป็นของใคร"


"พระโคดมผู้เจริญ! ก็ถ้ามิตรอำมาตย์และญาติสายโลหิต
ผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับของเคี้ยว ของบริโภค
และเครื่องดื่มที่ท่านยกมาต้อนรับ แล้วลากลับไป ของนั้นจะตกเป็นของใคร"


"พระโคดมผู้เจริญ! ก็ถ้ามิตรอำมาตย์ญาติสานโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ
ของเหล่านั้นก็ตกเป็นของข้าพเจ้า ผู้เป็นเจ้าของบ้านเหมือนเดิม"


"พราหมณ์! ข้อนี้ก็เช่นเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าตอบ
ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธตอบ ท่านเคียดแค้นเราผู้ไม่เคียดแค้นตอบ
เมื่อเราไม่รับเรื่องมีคำด่าเป็นต้นของท่านๆนั้น
เรื่องมีคำด่าเป็นต้นนั้นก็ตกเป็นของท่านผู้เดียว"
และทรงย้ำว่า "ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีคำด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว"



พราหมณ์ผู้ได้สมญาว่านักด่า ฟังพระพุทธเจ้าตรัสย้ำหลายครั้งว่า
"เรื่องมีคำด่าเป็นต้น ตกเป็นของท่านผู้เดียวๆ"
เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงโกรธ ทั้งเกิดความกลัวว่า
ที่ทรงย้ำเช่นนั้นอาจเป็นคำสาปแบบฤาษีที่เล่าลือกันมา
จึงหมดทิฏฐิ มานะ แล้วกราบทูลว่า


"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เป็นที่รู้กันในหมู่บริษัทจนกระทั่งพระราชาว่า
พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุใดพระโคดมจึงยังโกรธอยู่เล่า"


พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"คนที่ฝึกตนมาดี มีชีวิตอย่างเรียบง่ายหลุดพ้นจากกิเลสเพราะรู้ชอบ
สงบระงับ มีจิตใจตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว จะเอาความโกรธมาแต่ไหน
คนที่โกรธตอบต่อคนที่โกรธตนก่อน ได้ชื่อว่าผู้ชนะสงครามที่พึงชนะได้โดยยาก
ผู้ใดว่าผู้อื่นโกรธ ตั้งสติระงับความโกรธของตนได้
ผู้นั้นชื่อว่าทำประโยชน์ให้แก่คน ๒ ฝ่ายคือแก่ตนเองและคนที่โกรธตน
แต่ผู้ไม่ฉลาดในเรื่องคุณธรรม ย่อมปรามาสบุคคลนั้นว่า เป็นคนโง่ฉะนั้น"



เรื่องในพระสูตรจบลงแค่นี้ ท่านผู้อ่านคงได้คติจากเรื่องมากพอสมควร
แต่เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในข้อเขียนนี้ จึงขอเสนอข้อคิดของผู้เขียนไว้ด้วย


ประเด็นคำสอนที่น่าคิดในพระสูตรมีอยู่ ๔ ประเด็น
แต่ละประเด็นล้วนเป็นคำสอนที่ทวนกระแสพฤติกรรมของเราท่านผู้เป็นปุถุชน

:b48: ประเด็นแรก เรื่องการรับคำด่า

โดยธรรมดามนุษย์ปุถุชนเช่นเราท่าน
ถ้าใครมานั่งด่าซึ่งหน้าอย่างสาดเสียเทเสียเช่นนั้น
คงยังไม่ทันจะด่าจบ ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง
ถ้าไม่ถึงตายก็ต้องรับอันตรายขั้นเลือดตกยางออก
อย่าว่าแต่ถูกด่าซึ่งหน้าเลย แม้ไม่ได้ยินใครมาด่าด้วยหูตนเอง
แต่มีคนมาเล่าว่า มีคนด่าอย่างนั้นอย่างนี้
ยังต้องสืบให้ได้ว่า "เขาด่าข้าอย่างไร" เพื่อจะตามไปเอาเรื่องให้ได้
ผิดกับพระพุทธองค์ทรงนั่งฟังพราหมณ์ด่า ณ ที่ประทับ
ทรงปล่อยให้เขาด่าจนจุใจ แล้วทรงค่อยๆสอนให้ได้สำนึกด้วยพุทธปรัชญา
ซึ่งพอจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า

"เมื่อมีคนด่า ถ้าเรารับก็เป็นของเรา เพราะมีส่วนไปร่วมวงด่ากับเขา
แต่ถ้าเราไม่รับ ก็ตกเป็นของผู้ด่าเองโดยอัตโนมัติ"



:b48: ประเด็นที่ ๒ การอดทนได้ในคำด่าที่ท่านเรียกว่าอธิวาสนขันติ
อดทนได้ด้วยการข่มมิใช่จะมีมาพร้อมการเกิด
ต้องมีการฝึกจิตใจให้มีความต้านทานเป็นเกราะป้องกันไว้ก่อน
ธรรมะที่เป็นอุปกรณ์ให้เกิดคุณธรรมข้อนี้ ท่านแสดงไว้หลายข้อ
อาทิเช่น ความข่มจิต เลี้ยงชีวิตทางชอบธรรม
ความหลุดพ้น สงบ คงที่ เป็นต้น
ถ้าฝึกฝนคุณธรรมเหล่านี้จนกลายเป็นอุปนิสัย
ก็จะเป็นคนไม่โกรธง่ายโดนอัตโนมัติเช่นกัน


:b48: ประเด็นที่ ๓ เราท่านมีความเห็นพื้นฐาน
มีความสำนึกตรงกันว่า คนด่าก่อนเป็นคนเลว เพราะเป็นฝ่ายก่อเรื่อง

คนด่าตอบถึงจะเลวบ้างก็ยังดีกว่าคนด่าก่อน
และได้รับความเห็นใจจากสังคม เพราะเป็นการป้องกันตัว
แม้หลักกฎหมายก็ระบุไว้อย่างนั้น และไม่เอาโทษแก่ผู้ทำเพื่อป้องกันตัว
แต่พระพุทะวจนะในพระสูตรนี้ตรงข้าม
ตรัสว่า คนโกรธตอบเลวกว่าคนที่โกรธก่อน
ถ้ามองในแง่โลกอาจเห็นเหตุผลไม่ชัด
แต่ในแง่การปฏิบัติธรรมต้องมองว่า คนที่ยังโกรธตอบคนอื่นอยู่
แสดงว่ายังมิได้ฝึกฝนตนเองเพื่อให้เกิดธรรมะในใจเลย
แสดงว่าในใจยังอ่อนไหว ขาดธรรมะข้อสำคัญคือขันติ ความอดทน
ขันติเป็นคุณธรรมในหมวดธรรมที่ทำให้งามคู่กับโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม
แปลว่าพระพุทธองค์สอนในแง่ให้มองตัวเองเป็นหลักคนอื่นดีชั่วอย่างไรไม่ต้องคำนึง
และยังตรัสต่อไปว่า คนที่ไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธก่อนได้ชื่อว่า
ผู้ชนะสงครามที่ชนะได้โดยยาก คำว่าสงครามในพระพุทธวจนะนี้
หมายถึงสงครามคือการสู้รบกับกิเลสสายโทสะ มีโกธะ ความโกรธ อุปนาหะ
ความผูกโกรธเป็นต้น ซึ่งเป็นสงครามภายในที่บุคคลจะพึงเอาชนะได้โดยยาก
เพราะผู้เอาชนะกิเลสสายนี้ได้จะไม่มีการโต้ตอบเชิงเอาชนะกับคนเลวอยู่แล้ว



:b48: ประเด็นสุดท้าย คนที่เอาชนะความโกรธได้
ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธก่อน ชื่อว่าบำเพ็ญประโยชน์แก่คน ๒ ฝ่าย
คือตนเองและคนที่โกรธตน

เพราะไม่ต้องสูญเสียทั้ง ๒ ฝ่าย
แต่ผู้ไม่ฉลาดเรื่องคุณธรรมกลับปรามาสผู้นั้นว่า คนโง่
หรือคนขี้แพ้ซึ่งความก็แจ้งอยู่แล้ว


หลักทั้ง ๔ ประเด็นที่ขอสรุปไว้ท้ายเรื่องนี้กล่าวได้ว่าพุทธปรัชญาที่ทวนกระแสโลก
แต่เป็นไปตามกระแสธรรมที่นำไปสู่ความสงบสุขในที่สุด



ที่มา...มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




775.gif
775.gif [ 4.15 KiB | เปิดดู 1648 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนา...สาธุ..ด้วยครับคุณลูกโป่ง smiley smiley smiley

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b12: (มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ฝากให้เก็บไปพิจารณาอ่ะค่ะ ลองดู)
...ถ้าเขามายืนชี้หน้าด่า...อย่าเพิ่งพูดอะไร...แต่ให้หยุดคิดตั้งสติว่า...
...เห็นหนอๆๆ ยินหนอๆๆๆ...เห็นก็ดับไป...เสียงก็ดับไป...แผ่เมตตา...
:b1: (ทำตาปริบๆ แบบยิ้มใจเย็นๆ ให้คนที่พูดอกอีแป้นจะแตกไปเลย)
...ใครคิดทันก็ให้ตามดูอารมณ์และดูจิตตามสิ่งที่เห็นและได้ยินมาแรงๆ...
...อุเบกขา คือพยายามปล่อยวางอารมณ์เพื่อลดโทสะภายใจจิตเราลง...
:b9: :b32: (ไม่ลองไม่รู้ เป็นสิ่งซึ่งต้องพิสูจน์ ทำได้ก็สุ๊ดยอดเลยค่ะ)
:b13:
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


Rosarin เขียน:
tongue
:b12: (มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ฝากให้เก็บไปพิจารณาอ่ะค่ะ ลองดู)
...ถ้าเขามายืนชี้หน้าด่า...อย่าเพิ่งพูดอะไร...แต่ให้หยุดคิดตั้งสติว่า...
...เห็นหนอๆๆ ยินหนอๆๆๆ...เห็นก็ดับไป...เสียงก็ดับไป...แผ่เมตตา...
:b1: (ทำตาปริบๆ แบบยิ้มใจเย็นๆ ให้คนที่พูดอกอีแป้นจะแตกไปเลย)
...ใครคิดทันก็ให้ตามดูอารมณ์และดูจิตตามสิ่งที่เห็นและได้ยินมาแรงๆ...
...อุเบกขา คือพยายามปล่อยวางอารมณ์เพื่อลดโทสะภายใจจิตเราลง...
:b9: :b32: (ไม่ลองไม่รู้ เป็นสิ่งซึ่งต้องพิสูจน์ ทำได้ก็สุ๊ดยอดเลยค่ะ)
:b13:
:b44: :b44:


สาธุสำหรับข้อคิดและเทคนิคดีดีนะคะ...คุณ Rosarin :b1:

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร