วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 21:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระเทพสิงหบุราจารย์

:b46: :b46: ไม่ยอมเรียนหรือจะรู้
:b46: :b46: ไม่ยอมดูหรือจะเห็น
:b46: :b46: ไม่ยอมฟังหรือจะได้ยิน
:b46: :b46: ไม่ยอมทำหรือจะเป็น
:b46: :b46: จะลำเค็ญย่ำแย่จนแก่ตาย


:b48: :b48: :b48: ชีวิตคือการต่อสู้...ศัตรูคือยากำลัง
...........................อุปสรรคเป็นยาชูกำลังชีวิตให้เจริญก้าวหน้า
............................โปรดอย่าได้ท้อถอย หดหู่ ท้อแท้
...........................อันธรรมดา..ว่าวจะขึ้นสูงได้ต้องโต้ลม
...........................ถ้าไม่มีลมว่าวสูงขึ้นไม่ได้

ท่านผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าพูดตามสมัยใหม่เขานิยมเรียกว่ามาพัฒนาจิต มาพัฒนาคุณธรรม ข้อเท็จจริงก็เป็นเรื่องเก่า เป็นเรื่องตั้งแต่สมัย พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่โน้น ทรงชี้แจงต่อพุทธศาสนิกชน ให้บำเบ็ญจิตภาวนา พัฒนาจิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชีวิต ใช้สติปัญญาเป็นอาภรณ์ประดับจิตนั่นเอง


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 15 พ.ค. 2010, 15:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




1.bmp
1.bmp [ 345.57 KiB | เปิดดู 5031 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




8.bmp
8.bmp [ 330.8 KiB | เปิดดู 5029 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




7.bmp
7.bmp [ 330.8 KiB | เปิดดู 5028 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ smiley smiley smiley

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน :b48:
....วิธีปฏิบัติในสติปัฏฐานสี่ ที่เราเรียกกันว่าทางสายเอกของพระพุทธเจ้านั่นเอง เรียกว่า การเจริญวิปัสสนา เป็นธุระหน้าที่ที่เราจะต้องดำเนินวิถีชีวิต โดยใช้สติปัญญาเป็นวาวุธ เพื่อไม่ให้พลาดผิดในการทำงานทุกอย่าง เพราะหน้าที่และการงานเป็นผลงานของชีวิต ที่เราจะทำโดยใช้สติปัญญาตลอดเวลา แต่การทำงานที่ประกอบไปด้วยปัญญานั้น ถ้าเราไม่ฝึก เราไม่อบรม ด้วยความอดทนอย่างยิ่งแล้ว ไม่พบความจริงดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
:b51: :b51: :b51: ยืนหนอ.... เดินจงกรม :b51: :b51: :b51:
การเดินจงกรม ยืนกำหนดจะต้องใช้สติกำหนดมโนภาพ อันนี้มีประโยชน์มาก แต่ว่านักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่ค่อยปฏิบัติจุดนี้ ปล่อยให้เลยล่วงไปเปล่า โดยใช้ปากกำหนด ไม่ได้ใช้จิต ไม่ได้ใช้สติกำหนดมโนภาพ อันนี้มีความสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติมาก ผู้ปฏิบัติต้องจับจุดนี้ คำว่า "ยืนหนอ ๕ ครั้ง" ยืนอยู่นั้นต้องหลับตาและวาดมโนภาพ เพราะจิตนี้มันวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน คิดอ่านอยู่เสมอ แต่แล้วเราใช้สติกำหนดตามจิตโดยว่า ยืนหนอ ๕ ครั้ง
:b46: :b46: :b46: กำหนดร่างกายในการเดินจงกรม :b46:
อาตมามีวิธีปฏิบัติ....ให้เอามือไพล่หลัง มือขวาจับซ้าย ก็ต้องการให้ตรงกระเบนเหน็บ หลังจะไม่งอในเมื่อเฒ่าแก่ชราลงไป บางท่านก็ถนัดเอามือไพล่ข้างหน้า ก็ใช้ได้ แต่โดยวิธีการแล้ว ทำให้ห่อตัว ทำให้หายใจไม่ปรกติ ปอดผายไม่เข้าสู่ในภาวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b51: :b51: ใช้สติในการกำหนดจิต....."ยืนหนอ" :b51:
และคำว่า"ยืนหนอ ๕ ครั้ง" ท่านทั้งหลายทำได้แล้วหรือยัง ว่ากำหนดจิต ก็คือต้องใช้สติไม่ใช่ว่าแต่ปาก.....ยืนหนอๆ ๆ ๆ แล้วก็ลืมตา ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ไม่ได้มีจังหวะ ไม่ได้ใช้สติควบคุมจิตดูแลจิต ให้มันได้จังหวะ ตัวกำหนด...ตัวกำหนดเป็นตัวฝึก อันนี้มีความสำคัญ อาตมาจึงตองขอย้ำไว้ ซ้ำข้อนี้ เน้นหลักในข้อนี้ให้มากเพราะมันมีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ เอาไปใช้ในกิจประจำวันได้อย่างดีที่สุด
คำว่ายืนหนอนี้ไม่ได้หมายความว่า กำหนดอย่างนี้เสมอไป ต้องใช้จิตปักลงที่กระหม่อม...อยู่ตรงไหน กระหม่อมของเราทุกคนอยู่ตรงไหน ตั้งสติไว้ตามจิตลงไป...ไม่ใช่ง่ายเลย แต่ต้องทำซ้ำๆ ให้เคยชิน ให้สติคุ้นกับจิต จิตคุ้นกับสติ อย่างนี้ถึงจะเกิดสามธิ ไม่ใช่หมายถึงว่าเรากำหนดได้ผลเลยนะ ยังไม่ได้ผล แต่เราทำซ้ำๆซากๆ ให้เคยชิน เราจึงต้องมีการฝึกจิตอยู่ที่กระหม่อม วาดมโนภาพลงไปให้ช้าๆ ลมหายใจนั้นก็ไม่ต้องมาดู แต่ให้หายใจยาวๆ มันจะถูกจังหวะ แล้วตั้งสติตามจิตไปว่า ยืน ที่กระหม่อมแล้วก็หนอ..ลงไปที่ปลายเท้า ดูมโนภาพ จะเห็นลักษณะกายของเรายืนอยู่ ณ บัดนี้ เห็นกายภายนอก น้อมเข้าไปเห็นกายภายใน

:b46: :b46: :b46: การปฏิบัติในอิริยาบถยืน
แต่โดยวิธีปฏิบัติแล้ว ต้องเอาข้างในออกข้างนอก จึงจะมีข้อคิดให้เกิดปัญญาได้ ถ้าเราลืมตาในขณะที่ยืนหนอ ๕ ครั้งแล้ว มันเห็นแต่ภายนอก แต่ภายใน...สภาวะธรรมมันจะเห็นได้ยากมาก จึงต้องหลับตา จะได้ไม่มองเห็นสิ่งอื่นสิ่งแวดล้อมที่เรายืนอยู่ ณ บัดนั้น แล้วไม่เห็นกายข้างนอก ให้เห็นกายภายใน
......กายภายในกายนั้น ต้องประกอบไปด้วยสติ แล้วก็จิตปักลงไปว่า ยืน...หนอ...ลงไปถึงปลายเท้า อย่ากำหนดให้มันติดกัน ยืน...ตั้งแต่ปลายผมลงไป จากกระหม่อมลงไปถึงปลายเท้า ว่า ยืน..หนอ..หรือยืนนั้น จิตปักไปถึงสะดือ แล้วหนอ จากสะดือลงไปปลายเท้า ให้ได้จังหวะอย่างนั้น ไม่ใช่ยืนหนอแล้วก็จิตไปถึงปลายเท้า อันนี้เป็นอดีตแล้ว เพราะวิธีปฏิบัตินี้ทำยาก ต้องทำให้ได้จังหวะ ได้ระบบของเขา มันจึงจะเกิดปัญญา เกิดสะสมเข้าไว้ด้วยดี โดยวิธีนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48: การปฏิบัติในอริยาบถเดิน :b48: :b48: :b48:
ขวา ยกขึ้นมา แล้วสัมปชัญญะบอกให้รู้ปัจจุบันย่าง...หนอ..ลงพื้นพอดีจิตดวงนั้นไปไหน ถ้าเห็นสภาพความเป็นอยู่ของจิต มันจะรู้ว่าวูบลงไปตรงไหนอย่างไร จิตดวงใหม่จะแสดงออกคือ บอกให้ทราบใหม่เกิดขึ้น จิตก็เกิดดับอย่างนี้
ถ้าท่านทั้งหลายทำเร็ว ท่านจะไม่มองเห็นธรรมชาติของจิตในสภาวะธรรม จึงต้องทำให้ช้าที่สุด เท่าที่จะช้าได้ ช้าได้เท่าไรยิ่งดีที่สุด โดยวิธีนี้ลมหายใจเข้าออกด้วยวิธีกำหนดนี้ มันก็ล่าช้าลงไป ทำให้เห็นสภาวะข้างในได้ชัดเจน นี้ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ ไม่ใช่กำหนดแต่ปากอย่างที่เคยกำหนดกัน เดี๋ยวเราก็ไม่มีสติเลย จิตมันก็วูบวาบไปที่โน่น คลอนแคลนไปที่นี่ เดี๋ยวแวบที่นั่น แวบที่นี่ กระสับกระส่ายอยู่เสมอ อันนี้เราทำได้จังหวะแล้ว จิตจะไม่กระสับกระส่ายแต่ประการใด
แล้วขวาย่างหนอ...ลงพื้น ซ้ายย่าง...หนอลงพื้นพอดี ทำช้าๆ เดินจงกรมไปเรื่อยๆ เราจะเห็นได้ว่า อ๋อ ขวากับซ้ายมันอันเดียวกันหรือไม่ จะเห็นชัด แสดงออกตอบได้ทันทีว่ามันเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า ตอบได้ด้วยตนเอง ประการที่สองจิตที่กำหนดซ้าย มันเหมือนกันไหม มันคล้ายคลึงกันไหม จะไม่เหมือนกันเลยนะ มันดับวูบลงไปแล้ว จิตดวงใหม่เกิดขึ้น ขณะเกิดนั้นคือสติระลึกก่อน มันจะบอกว่าซ้าย ยกขึ้นมาพอดีได้จังหวะนั่นคือตัวสติเป็นตัวกำหนดใหม่ แล้วก็ย่าง...หนอ ลงพื้นพอดี สติมา สัมปชาโน...มีสติเกิดขึ้น ระลึกก่อนปัจจุบันธรรมก็ได้ผล คือ สัมปชัญญะปัพพะ ปัญญาก็เกิดขึ้น ภาวะธรรม...สภาพความเป็นอยู่ ของการปฏิบัติก็ชัดเจนดีกว่าเดิม

:b53: :b53: :b53: อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน :b53: :b53: :b53:
ขอให้นักปฏิบัติเดินให้มากๆ ถ้าท่านผู้ใดเดินไม่ได้เพราะขาไม่ดี ปวดแข้งปวดขา เดินไม่ได้เลยก็ไม่เป็นไรนะ เราก็นั่ง เรานอนก็ได้ ทุกวิถีทางอิริยบถ ๔....ทำได้ทุกอิริยบถ แต่ถ้าเรามีอินทรีย์พร้อมมูลบริบูรณ์ดี ก็ยืน เดิน นั่ง นอนได้ ก็ทำให้เราทำได้ไว ทำให้ติดต่อกันไปได้ไวมากไม่ขาดสาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b51: :b51: อริยสัจ ๔ ในอิริยาบถ :b51: :b51: :b51:
แต่พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงแสดงไว้ว่า การปฏิบัติจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนก็ได้ ในอิริยบถ๔ ดวยกาย เวทนา จิต ธรรม ในภาคกาย ในภาค เวทนา...ต้องครบ เพราะทุกคนต้องมีเวทนาด้วยกัน นี่แหละ
อริยสัจ ๔ ก็ครบในอิริยาบถ นี่เหมือนกันโดยกาย เวทนา จิต ธรรม มันก็อยู่ตรงนั้น
:b43: กำหนดเวทนา :b43:
ต้องมีภาคกาย และภาคเวทนา ปวดเมื่อยทุกข์กายทุกข์ใจ สุขกายสุขใจ และเป็นแบบเรียนเป็นบทเรียนให้เรา ที่เราจะต้องใช้เป็นตำราอยู่ในเวทนาครบ ด้วยวิธีกำหนดฝึกกำหนดเวทนา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วอนิจจัง...ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็แก้ไขได้โดยอนิจจังคือความไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์อย่างนี้แหละหนอ
แล้วอนัตตาก็แสดงให้เราเห็นเป็นพระไตรลักษณ์...เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สูญไป ไม่มีอะไรติดตัวไป เดี๋ยวก็วนมาอีก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เรียกว่าอนัตตามันเกอดขึ้นโดยอัตโนมัติของมันเองโดยเฉพาะ เรียกตามศัพท์ภาษาธรรมะก็เรียกว่า พระไตรลักษณ์เกิดขึ้นแก่เราในขณะนั้น ปัญญา ถึงจะเกิดต่อภายหลัง จึงเรียกว่า วิปัสสนาตอนนั้น ตอนต้นก็เรียกว่าอุปาทาน ยังยึดขันธ์อยู่ ยังมีขันธ์ ในเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ มันมีขันธ์ทั้ง ๕ อยู่ที่เราครบ
ปรารภกำหนดก็มีอยู่ ๒ ประการ มีรูปกับนามเท่านั้น อย่างอื่นหาได้ไม่มี เลยก็ไม่มีตัวมีตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา แล้วจะมีทิฐิมานะต่อกันได้อย่างไรเล่า อันนี้ภาวะมันจะบอกเองโดยเฉพาะ อีกประการหนึ่ง

:b46: :b46: :b46: ผลสมบัติ :b46: :b46: :b46:
ในเมื่อขณะที่กำหนดยืนหนอ บางคนเข้าผลสมาบัติได้ ไม่จำเป็นต้องพองหนอ ยุบหนอ พอยืน..หนอ.ยืนสำรวมขึ้นมาหนอบางคนปัญญาเกิดตอนนั้น ได้ผลตอนนั้น ยืนวูบลงไปที่สะดือ วูบลงไป ๓ ชั้น จิตเป็นภาวะ ผลสมาบัติเกิดขึ้นเลยไม่รู้ภาวะภายนอก รู้ภาวะข้างใน ยืนอยู่เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ภาวะข้างนอกไม่สัมผัสก็เรียกว่าเข้าผลสมาบัติตอนยืนหนอได้ ไม่ใช่เข้าผลสมาบัติตอน พองหนอ ยุบหนอทุกคนไป
บางคนได้ตอนยืนหนอ สติสัมปชัญญะดี สมาธิดี มันจะวูบลงไปถึงสะดือ แล้ววูบอีกครั้งหนึ่ง มันจะปิดอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ในภายนอก แล้วภายในจะแสดงออกด้วยปัญญา เขาเรียกว่าพละพลังของสมาธิ ประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะภายใน เรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ขณะที่ยืนหนอได้ทันที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b51: :b51: สมาธิในอิริยาบถเดิน :b51: :b51: :b51:
ตรงนี้สำคัญนะ ผู้ปฏิบัติอย่าคิดว่ายืนหนอไม่ได้ผล ต้องเอาข้อนี้ก่อนเป็นหลัก แล้วเราก็เดินจงกรมไปเรื่อยๆ บางคนเดินจงกรมหวิวทันที เวียนศรีษะ แต่แล้วเกาะข้างฝากำหนดเสียให้ได้ คือเวทนา จิตวูบลงไป แว้บลงไปเป็นสมาธิขณะที่เดินจงกรม แต่เราหาได้รู้ไม่ว่าเป็นสมาธิ กลับหาว่าเป็นเวทนา เลยเป็นลม เลยเลิกทำไป
ข้อเท็จจริงนั้นบางอย่างมันไม่ได้เป็นลม แต่เป็นด้วยสมาธิในการเดินจงกรม มันรู้สึกวูบ มันหวิวเหมือนอย่างที่เราเดิน เวียนศรีษะ ฉะนั้นมันอาจเป็นได้หลายวิธี มันอาจเป็นด้วยเป็นลมก็ได้..ไม่แน่นอน
บางครั้งสมาธิเกิดขณะที่ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ มันจะหวิวลงไป เหมือนเป็นลม ฉะนั้นขอให้ผู้ปฏิบัติกำหนด หยุดเดินจงกรม กำหนดหวิวเสียให้ได้ กำหนดรู้หนอเสียให้ได้ เดี๋ยวท่านจะเกิดปัญญาในขณะนั้น เกิดจากการเดินจงกรมนั่นเอง อันนี้มีวิธีบอกแก้

:b48: :b48: กำหนดเวทนา แยกรูปแยกนาม :b48: :b48:
บางทีเดินจงกรมไป มีเวทนา...อย่าเดิน ให้หยุด...กำหนดเวทนาเป็นสัดส่วนให้หายไปก่อน และให้รู้จักหลักเวทนาเหมือนเป็นครูมาสอน โดยธรรมชาติของเวทนาต้องจัดเป็นรูปแบบและเป็นสัดส่วนให้เกิดปัญญา แต่ละอย่างแยกรูป แยกนามได้ เวทนาก็แยกได้ ด้วยการเดินจงกรมนั้นเช่นเดียวกัน
:b48: :b48: สมาธิมา ปัญญาเกิด :b48: :b48:
เดินไปอีกหวิว..เวียนศรีษะ คิดว่าไม่ดีหยุด กำหนดหวิวหนอซะ ตั้งสติเสียให้ได้ให้ดีเสียก่อนและเดินต่อไป ปัญญาเกิดทันที สมาธิมา ปัญญาเกิดในการเดินจงกรมทันที จะทำให้รวบรวมสมาธิ ตั้งไว้ได้นาน ดีกว่านั่ง แล้วไปนั่งติดต่อกันไปโดยวิธีนี้ประการหนึ่ง มีอะไรกำหนดไปเป็นอย่างๆ อย่าไปสับสน
ขณะเดินจงกรม จิตออกไปข้างนอก ขณะเดิน..หยุด กำหนดหยุดเสีย กำหนดจิตเสียให้ได้ที่ลิ้นปี่ กำหนดคิดหนอ คิดหนอ ยืนหยุดเฉยๆ ตั้งสติไว้เสียให้ได้ แต่ละอย่างให้ช้า เดี๋ยวสติดีปัญญาเกิด จิตนั้นกลับสู่ภาวะแล้ว ก็มีความรู้เก็บหน่วยกิตเข้าไป คือตัวปัญญาจากการกำหนดนั้นมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง นี้สำคัญมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b46: :b46: ปัญญาสะสมจากการเดินจงกรม :b46: :b46:
เดินต่อไปอีก ปัญญาก็สะสมไว้จากการเดินจงกรม ทำให้เกิดคล่องแคล่ว ทำให้ขวาย่าง ซ้ายย่าง เห็นชัด รู้จักคำว่าแยกรูป แยกนาม รู้จักคำว่าจิตคนละดวง รู้จักคำว่าซ้ายย่าง ขวาย่าง...คนละอัน และก็ย่างไปมีกี่ระยะ จิตที่กำหนดนั้นมันเป็นขั้นตอนประการใด ผู้ปฏิบัติจะแจ้งแก่ใจชัดมากในตอนนั้น ถามจะต้องตอบได้ตามญานวิถี นี่..อย่างนี้เป็นต้น
:b51: :b51: การปฏิบัติในอิริยาบถนั่ง :b51: :b51:
ขณะที่จิตออกก็กำหนด จิตฟุ้งซ่านก็กำหนด ทุกอย่างเป็นเรื่องกำหนดทั้งหมด และเราก็ได้เวลามานั่งต่อไป และขณะที่เราตั้งสัจจะว่า เราจะเดินจงกรมเพียง ๓๐ นาที แล้วเราหาที่นั่งไว้ พอได้ ๓๐ นาที ก็เกิดสัจจะ แล้วก็เดินจงกรมมานั่งที่จัดสถานที่ไว้ จะตรงไหนก็ตาม แล้วเราก็มานั่ง นั่งย่อตัวลงไปว่า นั่ง..หนอๆ ต้องปฏิบัติให้ติดต่อเหมือนด้ายกลุ่มออกจากลูกล้อ อย่าให้ขาดสาย ต้องปฏิบัติโดยต่อเนื่อง กำหนดได้ทุกระยะ อย่าไปขาดตอน ไม่ใช่เดินจงกรมเสร็จแล้วไปทำงานอื่นแล้วกลับมานั่งที่หลัง ผู้ปฏิบัติจะไม่ได้ผล จะไม่ได้ผลเลย
:b53: :b53: การปฏิบัติให้ได้ผลต้องทำติดต่อกัน :b53: :b53:
ถ้าเรานั่งติดต่อกันโดย ๗ วัน ท่านได้ผลแน่ภายใน๗วัน ได้แน่นอน เป็นการสะสมหน่วยกิตไว้ ในวันที่๗ท่านจะรู้เรื่องญานวิสุทธิ มีสติได้ดีกว่าเดิมที่ผ่านมาแล้ว มันจะเกิดขึ้นเป็นขั้นตอนของระยะของเขานั่นเอง เพราะทำติดต่อกัน ไม่ใช่ว่าวันนี้นั่งสมาธิ เดินจงกรม..พรุ่งนี้เว้น มะรืนทำต่อไป และเว้น ทำอย่างนี้จะไม่ได้ผล ถ้าเราฝึกแล้วขอให้ฝึกติดต่อกันไปโดยวิธีปฏิบัติอย่างนี้
:b48: :b48: พอง...หนอ..ยุบ...หนอ :b48: :b48:
และเรามานั่งหายใจเข้าให้ยาว หายใจออกให้ยาว ส่วนใหญ่อาตมาถามผู้ปฏิบัติ..หายใจไม่ได้กำหนด กำหนดไม่ได้จังหวะ โดยหายใจเข้า...ท้องพอง หายใจออก...ท้องยุบ หายใจยาวๆ ท้องมันจะพองระยะไหน เราก็บอก...พอง แล้วลงหนอยาวๆไว้ ยุบ...ก็ลงหนอยาวๆไว้
ถ้าเราพองยาว หนอมันก็ไม่ได้ เดี๋ยวก็ยุบ ยุบแล้วไม่ทันหนอมันก็พอง พองอย่างนี้มันจะอึดอัด ทำให้ติดขัดในการกำหนด จึงต้องกำหนดให้ช้าๆ หายใจยาวไว้ แล้วมันอึดอัดในเบื้องต้นนิดหน่อย ต่อไปก็คล่องแคล่วว่องไวขึ้นมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b46: :b46: ใช้สติควบคุมการกำหนด :b46: :b46:
กำหนด พองหนอ...ยุบหนอ..แรกใช้พลังช่วยด้วย ใช้จิตดัน...ดันพอง..ดันยุบ ใช้สติควบคุมไปก่อน หนักเข้าความเคยชินก็เกิดขึ้น ความดันเข้าดันออกก็หายไป แล้วกำหนดคล่องแคล่วและว่องไวเพิ่มเติม หายใจเข้า หายใจออก พองหนอ ยุบหนอ ก็คล่องแคล่วว่องไว สติก็ดีขึ้นปัญญาก็เกิด สมาธิก็ดี เป็นตามขั้นตอนของภาคปฏิบัติ มิฉะนั้นเรากำหนดพองหนอ ยุบหนอไม่ได้จังหวะ คือใช้กำหนดด้วยจิตไม่มีสติ คือว่าแต่ปากเท่านั้น พองหนอ ยุบหนอ นี่ว่าแต่ปาก ถ้าใช้สติควบคุมให้ได้จังหวะรับรอง ปัญญาเกิด บางครั้งพองหนอ ยุบหนอ ตามหลักวิธีปฏิบัติ เราจะรู้ขึ้นมาเอง
พองหนอ ยุบหนอ เป็นอันเดียวกันไหม มันจะแจ้งชัดขึ้นมา จิตก็คนละอันแน่ เพราะกำหนดแล้วมันก็วูบขึ้นมา จิตดวงใหม่มันก็แสดงออกมาใหม่ เหมือนแสงนีออนเกิด ดับฉะนั้น มันเป็นตามขั้นตอน มองไม่เห็นชัด
ถ้ากำหนดได้เราจะเห็นชัดว่าจิตคนละดวงกายพอง กายยุบ คนละอันแน่ ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่อาศัยเหตุที่เกิดขึ้นเป็นตัวปัจจัย ทำให้รูปนาม ขันธ์ ๕ แยกประเภทออกมาเป็นรูป ออกมาเป็นนาม ออกมาเป็นเวทนา ออกมาเป็นสัดส่วน เราจะรู้ได้ว่าแยกรูปแยกนามได้โดยธรรมชาติของมันเองโดยเฉพาะ
พองหนอ ยุบหนอ บางครั้งตื้อ ไม่พองไม่ยุบ เกิดขึ้นแล้วทำอย่างไร ปัญญาแก้อย่างไร ไม่พองไม่ยุบ และเราก็สังเกตุได้ว่าสติดี จะรู้ว่ามันหายไป ตอนพองหรือตอนยุบ พองหนอ ยุบหนอนี่มันจะต้องกำหนดได้มีจังหวะ แต่มันหายไปตอนพอง หรือตอนยุบ ปัญญาอยู่ตรงนั้น เราก็มีสติ จะรู้ได้ว่ามันตื้อ....ไม่ยุบไม่พองก็หายไป ตอนพองหรือตอนยุบ จะเห็นชัด
แล้วเราก็กำหนดรู้หนอ...แล้วให้หายใจเข้า ยาวๆๆ หายใจออกยาวๆๆ ให้ได้ที่ แล้วจึงใช้สติมากำหนดต่อไปว่า พองหนอ ยุบหนอ ปัญญาเกิด สมาธิดี ก็ทำให้พองหนอ ยุบหนอ สั้นๆ ยาวๆ แล้วทำให้แวบออกข้างๆ ทำให้จิตวนอยู่ในพองยุบ ขึ้นๆลงๆ อย่างนี้ถือว่าดีแล้ว มันเกิดภาวะเช่นนี้แล้ว ทำให้เรากำหนดต่อไป ขอให้จิตนี้วนอย่างนี้จริงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b53: :b53: ตามดูจิต :b53: :b53:
พองหนอ ยุบหนอ เดี๋ยวขึ้นลง เดี๋ยวขึ้นลง ไม่ออกทางพอง ไม่ออกทางยุบ แล้วจิตก็แวบออกไปแวบเข้ามา เดี๋ยวจิตก็คิดบ้าง ฟุ้งซ่านบ้างสับสนอลหม่านกัน อย่างนี้ถือว่าได้ประโยชน์ในการปฏิบัติ...ผู้ปฏิบัติอย่าทิ่งนะ ผู้ปฏิบัติจะต้องตามกำหนดไปว่า มันฟุ้งซ่าน จิตมันขึ้นๆ ลงๆ แล้วพองหนอยุบหนอ กระสับกระส่ายแล้วพองหนอยุบหนอไม่ชัด ตอนนั้นได้ผลแล้ว ในเมื่อไม่ชัดก็ไม่เป็นไร ตื้อขึ้นมา...ไม่พองไม่ยุบ ตื้อขึ้นมาพองยุบบนลิ้นปี่ เดี๋ยวตื้อมาพองยุบที่หน้าอก แล้วเราก็กำหนดลงไปที่ท้อง กำหนดรู้หนอๆๆเสียก่อนแล้วก็หายใจเข้าออกต่อไปใหม่ นี่เป็นวิธีที่ถูกต้อง
:b48: :b48: เมื่อมีสติจะตามจิตได้ทัน :b48: :b48:
ขอนักปฏิบัติธรรมทำตามหลักนี้ จะได้รับผลอย่างแน่นอน บางที่ทำพองหนอยุบหนอ พอจิตสงบดี จิตออกแล้วมันคอยจะเผลอ มันคอยจะพลาด จิตคอยแวบออกไป แต่เรามีปัญหาอยู่ที่ว่า จอตออกไปไม่รู้ เพราะไม่มีสติ ถ้าสติดี...จิตออกไปต้องรู้แน่ ออกไปรู้เลยว่าออกไปตอนพองหรือตอนยุบ จะเห็นชัด
บางทีขณะที่พอง ขณะที่ยุบจิตออกไปแล้ว บางคนไม่รู้เลย จิตออกไปเสียเมื่อไร ไปคิดเสียตั้งนานแล้ว นี่อย่างนี้ ก็แสดงเหตุผลให้ทราบว่าขาดสติ สติไม่พอ ถ้าสติเราพอแล้ว....จิตออกไปตอนไหนรู้ตอนนั้น หนักเข้าเรากำหนดเชี่ยวชาญชำนาญการไปแล้ว มันก็ทำให้จิตออก...รู้ตัว ทำใหม่ๆ จิตออกจะไม่รู้ตัว จิตก็พองหนอยุบหนอ สติก็กำหนดยุบหนอ พองหนอ จิตหนึ่งก็ออกไปคิดข้างนอก ไปคิดอะไรมากมายจริงๆ ในเมื่อมันเป็นเช่นนี้แล้ว ให้หยุดพองยุบ มากำหนดรู้หนอหรือคิดหนอก็ได้ แล้วแต่กำหนดอย่างไรอย่างหนึ่ง

:b51: :b51: การทำจิตสู่ภาวะพองหนอ ยุบหนอ :b51: :b51:
กำหนด คิดหนอ คิดหนอ พอสติมีปัญญาก็บอกว่าคิดเรื่องอะไร ได้ผลเป็นประการใด มันก็สะสมจิต แฝงไว้ในจิตไว้ในใจ คือตัวปัญญาต่อไป ได้แก่แสงสว่างอย่างนั้นเอง พอกำหนดไปแล้วจิตที่คิดมาก ฟุ้งซ่าน แวบไปแวบมา ทำให้เกิดเวทนาได้ ทำให้ปวดเมื่อย ทำให้ร่างกายนี้ไม่อยู่ในภาวะแห่งความปกติ เราก็ต้องกำหนดสังขาร ร่างกายที่มันปวด ปวดตรงไหน? เมื่อยตรงไหน? เกิดขึ้นโดยวิธีนั้นแล้ว มันก็จะค่อยๆ คลายหายลงไป จิตก็เข้ามาสู่ภาวะของพองหนอ ยุบหนอ ต่อไปใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b54: :b54: การแก้ปัญหา"วูบ"ขณะทำสมาธิ :b54: :b54:
บางครั้งนั่งมันวูบ วูบลงไปถึงกระดาน บางทีวูบผงะ วูบไปข้างหลัง วูบไปข้างหน้า บางทีวูบไปทางซ้าย บางที่วูบไปทางขวา บางทีพองหนอ ยุบหนอ วูบไปแล้ว มันวูบหลายอย่าง ต้องใช้สติกำหนดรู้หนอๆ เพราะมันวูบลงไป บางครั้งวูบมี ๒ อย่าง เกิดด้วยสมาธิสูงไป สติไม่พอ มันวูบลงไปโดยไม่ทันรู้ตัว เกิดตกใจอย่างหนึ่ง
:b54: :b54: อาการของสมาธิดี แต่สติน้อย :b54: :b54:
วูบอีกอย่างหนึ่งคือ วูบในช่วงถีนมิทธะเข้าครอบงำ ง่วงเหงาหาวนอน ทำให้วูบหน้าวูบหลัง ผงกหน้าผงกหลัง เกิดขึ้นได้ในขณะที่นั่งภาวนา พองหนอ ยุบหนอ อย่างนี้ถือว่าเป็นถีนมิทธะ...ง่วงเหงาหาวนอนมันเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นตัวสมาธิ ถ้าเป็นตัวสมาธิแล้ว มันจะเกิดขึ้นโดยวูบอย่างแรง แต่ไม่ใช่ง่วง รู้ตัวตลอดเวลากาลอย่างนี้ สมาธิดี แต่สติน้อยไปทำให้วูบลงไปได้อย่างหนึ่งอย่างนี้
บางครั้งกำหนดไปกำหนดมาเกิดปีติ เกิดขนลุกขนพองสยองเกล้า ก็ให้กำหนดขนลุกเสีย กำหนดขนพองเสีย เกิดปีติแล้วต้องกำหนดเสียให้ได้ พอกำหนดได้แล้วกลับมาพองหนอ ยุบหนอ ต่อไปใหม่ ปัญญาจะเกิดตอนนั้น

:b53: :b53: อุปสรรคในการทำสมาธิ :b53: :b53:
บางอย่าง สมาธิจะดีต้องมีอุปสรรค สติดีต้องมีอุปสรรค เช่น เวทนา เป็นต้น มาขัดขวางเป็นมารสำคัญทำให้เรารู้ในธรรมะ คือ เวทนา บางครั้งสมาธิจะดีทำให้เกิดฟุ้งซ่าน ถ้าเราผ่านไปได้ด้วยการใช้สติก็ดี ปัญญาดีกำหนดได้ รับรองปัญญาเกิดขึ้นหลังจากที่ผ่านทุกข์ จะเข้าสู่ภาวะของญาน
:b51: :b51: การปฏิบัติในอิริยาบถนอน :b51: :b51:
เริ่มต้นด้วยนามรูปปริเฉทญาน แยกรูปแยกนามได้ ในเบื้องต้น อย่างนี้ภาวะของธรรมด้วยการกำหนดช้าๆ อย่ากำหนดไว แล้วมานั่งแล้วนอนลงไป กำหนดได้ ๓๐ นาที หรือ ๑ ชม. ที่ตั้งใจไว้ เราก็นอนลงไป อย่าเพิ่งแผ่เมตตา นอนเปลี่ยนอิริยาบถแล้วกำหนดที่ท้องต่อไป ให้ติดต่อกันไปดูซิ จะเป็นเวลากลางวันก็ดี กลางคืนก็ตาม
ขณะที่ผู้ปฏิบัติอยู่ที่ห้องกรรมฐานได้ดีแล้ว ตัดปลิโพธกังวลมาดีแล้ว ขอให้ทำติดต่อกันไปอย่าไปนั่งคุยกัน อย่าไปนั่งสนทนา อย่าไปนั่งคิดเรื่องเก่า มาเล่ากันใหม่แต่ประการใด เราก็กำหนดนอน พองหนอ..ยุบหนอ.ยาวๆ กำหนดเรื่อยไปที่ท้องขณะนอนนั้นชัดมาก เดี๋ยวจะรู้สึกขึ้นมาว่าสมาธิดี ปัญญาเกิด เดี๋ยวมันจะวูบลงไป มันจะเพลินลงไป เผลอลงไปบางประการ สติดีจะรู้ทุกวิถีทางว่ามันวูบตรงไหน เป็นอย่างไร จับได้ทุกอย่างขณะที่นอน
ถ้าหากมันจะหลับ ไม่ใช่หลับด้วยถีนมิทธะง่วงเหงา มันหลับโดยปกติ โดยมีสติสัมปชัญญะดี มันจะรู้ตัวขึ้นมาว่าเพลิน เผลอ แวบ ไปตอนพองหรือตอนยุบ ผู้ปฏิบัติต้องจับได้ ถ้าจับได้ตอนพองหรือยุบให้จำไว้ หลับวูบไปแล้วสติดีตลอดขณะที่นอนอยู่นั่น ขณะนอนอยู่นั้นสติภายในดีมาก จิตภายในรู้ตลอดเวลา พลิกตัวกี่ครั้งรู้หมด และทำให้เราจะกำหนดตื่นเวลาไหน แม้เพียง๑๐ นาทีก็ได้ หลับอย่างสนิท แต่ภายในมีสติ คือหลับโดยใช้ปัญญาฝากไว้ในภายใน นึกจะตื่นขึ้นเวลาไหนใครเรียกขึ้นมาในเวลาใดรับปากเมื่อนั้น อันนี้ตื่นไวชวนจิตรับสู่อารมณ์ได้ไวด้วย ขณะที่นอนหลับมีสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42: ผลของการเจริญวิปัสสนาญาน :b42: :b42: :b42:
นักปฏิบัติธรรมอย่าลืม ทำให้ติดต่อกันไป ในเมื่อท่านเดินจงกรม นั่งภาวนา และนอนลงไปกำหนดเสีย ๑๐ นาที ค่อยมาเดินจงกรม เปลี่ยนอิริยาบถต่อไปใหม่ ถ้าท่านทำโดยต่อเนื่องติดต่อกันภายใน ๗ วัน รับรองเห็นผล ผลที่พึงได้จากการเจริญวิปัสสนาญาน ทำให้ญานวิถีรู้เท่าทันเหตุการณ์ของชีวิตได้โดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง

:b43: :b43: ข้อสำคัญของการเจริญวิปัสสนา :b43: :b43:
แต่ข้อใหญ่ใจความของการเจริญวิปัสสนานั้น ผูปฏิบัติธรรมอย่าลืมอีกอันหนึ่งคือ สัมผัสอายตนะ ต้องกำหนด ตา...เห็นรูปกำหนด หู ได้ยินเสียงกำหนด จมูก...ได้กลิ่นกำหนด ลิ้น...รับรส กำหนด กาย...สัมผัสต้องกำหนด เพราะที่มาของทวาร ๖ เป็นที่มาของกิเลส และเป็นที่มาของขันธ์๕ รูปนาม เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน จำเป็นต้องกำหนดตลอดเวลา ให้เชี่ยวชาญและชำนาญทุกอย่าง หูได้ยินเสียงตั้งสติไว้
การกำหนด ก็คือ ตัวตั้งสตินั่นเอง ปัญญาก็บอกได้ในการฟังจากเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดปัญญาในการฟัง ตาเห็นรูปก็ดี ตั้งสติไว้ที่หน้าผาก กำหนดเสียให้ได้ในการสัมผัส รับรองปัญญาก็เกิดสะสมเข้าไว้เป็นหน่วยกิต และมาเดินจงกรม นั่งภาวนา รับรองได้ไว

:b51: :b53: :b54: ข้อปฏิบัติในการกำหนดนิมิต :b53: :b54: :b51:
ถ้าท่านทั้งหลายกำหนดหน่วยกิตนี้ โดยอายตนะธาตุอินทรีย์ดังกล่าวแล้ว ไปเดินจงกรมนิมิตเป็นพระพุทธรูป นิมิตเป็นหมอกต่างๆ นานาประการ นิมิตให้เราเห็นต้นหมากรากไม้ก็ได้เช่นนี้ถือว่ามีสมาธิ แต่แล้ววิธีปฏิบัติต้องกำหนดเสียว่า เห็นหนอๆในนิมิตนั้น นิมิตนั้นแปรผันเป็นสภาวรูปเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นิมิตนั้นก็หายวับไปกับตา ปัญญาก็เกิดเข้ามาแทนที่
นิมิตนี้เป็นเครื่องหมายเท่านั้น แสดงให้เรารู้ถึงสภาวะของรูปที่มันเกิดขึ้นในทางนิมิต มันอาจจะเกิดขึ้น สอง ประการ กรรมนิมิต เกิดทางกรรม นิมิตเครื่องหมาย ให้เราได้ทราบจากครั้งอดีตก็ได้ หรือนิมิตเครื่องหมายบอกให้เราทราบในเรื่องของการกระทำ และมารที่เข้ามาขัดขวางก็ได้ วิธีปฏิบัติไม่ให้วิจัย ไม่ให้ประเมินผล ไม่ต้องไปดูปริยัติแต่ประการใด มีวิธีปฏิบัติอยู่อันมีผลคือ ตั้งจิตกำหนดใช้สติตลอดอย่างนี้


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 18 พ.ค. 2010, 09:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร