วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 07:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1521 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 90, 91, 92, 93, 94, 95, 96 ... 102  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีคะอาจารย์ หนูติดตามหนังสืออาจารย์ทุกเล่มที่อาจารย์ออกตีพิมพ์มันเป็นประโยชน์มากๆคะ เพราะทำให้หนูสามารถเปลี่ยนความคิดและเปลี่ยนนิสัยที่ไม่ดีของตนเองไปในทาง ที่ดีขึ้น (เท่าที่บุญพาไป) แต่หนูก็ขอพรทุกครั้งที่หนูสวดมนต์ภาวนาว่าขอให้หนูและคนที่หนูรักไปทางธรรม มากกว่าทางโลกคะ หนูพยามยามที่จะสวดมนต์และกำหนดสติทุกครั้งที่หนูรู้สึกอย่างไร เช่น กำลังหงุดหงิด , กำลังคิดไม่ดี , พูดไม่ดี (และก็สามาระหยุดการกระทำที่ไม่ดีได้คะ) ให้หนูพยายามรู้ตัวเองอยู่เสมอ พอบางครั้งหนูรู้สึกว่าจะกลับไปเป็นเหมื่อนเดิม เช่นขี้โมโห , โกรธ , หลงกับวัตถุสิ่งของ หนูพยายามเรียกสติกลับคืนมา บางครั้งได้บ้างไม่ได้บ้าง หนูอ่านหนังสือของอาจารย์หนูต้องอ่านหลายรอบ เพื่อสอนและเตือนใจหนูไม่ให้กระทำใส่งที่ไม่ดี บางครั้งหนูอ่านหนังสือของอาจารย์บางตอนมันตรงมากกับตัวหนู หนูร้องไห้ออกมาเลยคะ ยังไงหนูขอให้อาจารย์ผลิตหนังสือดีๆ ออกมาอีกนะคะ หนูมีคำถามรบกวนถามอาจารย์คะ

1. หนูเป็นคนที่มีลางสังหรณ์มาตั้งแต่วัยรุ่น เช่น ตากระตุก เหมือนมีคนมาดึงหนังตาหนูเลยคะ แล้วหนูบอกแม่ว่าเรื่องบัตรประชาชนหนูไปดูบัตรประชาชนของแม่บอกว่าแม่บัตรจะ หมดอายุแล้ว เดียวจะไปต่อบัตรเป็นเพื่อนนะแล้วคุณแม่ก็มาเสียก่อน หรือก่อนเชงเม้งและก่อนวันเกิดคุณแม่หนูจะฝันถึงท่านตลอดเหมือนเตือนหนูว่า ใกล้ถึงวันต้องต้องทำบุญแล้วหนูจะผัน , ฝัน เช่นฝันแบบนี้หนูจะเจอคนแปลกหน้า หรือแม้แต่เวลาหนูพูดอะไร(โดยไม่ตั้งใจ)ประเดียวก็จะมีเรื่องทำนองที่หนูพูด คะ บางครั้งหนูก็กลัวว่ามันจะเกิดคะ

2. หนูเคยสวดมนต์เช้าและเย็นทุกวันครั้งละเกือบ 1 ช.ม คะหนูรู้สึกสงบมากและมีความสุขในจิตขณะนั้น และขณะที่หนูสวดมนต์ในช่วงนั้นหนูจะอธิฐานว่าขอให้หนูไปที่ใดก็เป็นประโยชน์ ที่นั้น ช่วงนั้นก็จะมีแต่คนที่มาปรึกษาหนูในความทุกข์ต่างๆ พอหนูเลิกสวดมนต์เหมือนเดิมหนูสวดน้อยลงทุกครั้งที่หนูสวด หนูไม่เคยสวดได้เหมือนแต่ก่อนจิตจะไม่สงบ ไม่ค่อบมีสมาธิจิตไม่จดจ่อเหมือนก่อนคะ อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยคะ

3. หนูเป็นคนจีนหนูไม่ได้ไปไหว้ที่สุสานมาประมาณ 5 ปีแล้วหนูจะบาปไหมคะ เพราะทางบ้านสามีเขาถืองว่าต้องให้เด็กอายุ 5 ปี ก่อนถึงไปสุสานได้ แล้วพ่อกับแม่ท่านตายไปเขาจะทราบไหมคะว่า หนูมีลูกแล้วหมายถึงท่านมีหลานแล้ว แต่ก่อนหนูเริ่มตั้งท้องหนุเคยจุดธูปบอกท่านแล้วคะ บางปีที่พี่สาวไปหนูบอกพี่สาวว่าให้ฝากบอกด้วยว่าท่านมีหลานแล้ว

4. เมื่อก่อนหนูเป็นคนอารมณ์ร้อนและขี้หงุดหงิด แต่ตอนนี้เป็นน้อยมาก หนูพยายามมีสติและรู้ตัวตลอดเท่าที่ทำได้ และทุกครั้งที่หนูนอนหนูจะพยายามสวดมนต์แล้วก็หลับไปเลย ตั้งแต่หนูสวดมนต์และอ่านหนังสือของอาจารญ์ทำให้หนูทราบว่าจิตหนูตลอดมาที่ เป็นสามารถทำให้ตกนรกได้ หนูจึงกลัวมาก หนูจะถามอาจารย์ว่าตอนนี้หนูเปลี่ยนแล้วหนูยังจะตกนรกหรือเปล่าคะ เพราะสิ่งที่หนูทำไปตอนที่หนูไม่ทราบว่ามันเป็นระยะเวลานานกว่าที่หนูทำ อย่างมีสติกว่าตอนนี้

หนูขอรบกวนอาจารย์เท่านี้คะ ขอขอบคุณอาจารย์ด้วยนะคะ

คำตอบ

ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธะได้ตรัสเป็นครั้งสุดท้ายในทำนองที่ว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนเธอเป็นครั้งสุดท้ายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ”

(๑). พระพุทธะมิได้สอนพุทธบริษัทให้หนีปัญหา แต่สอนให้อยู่กับปัญหา ใช้ปัญญาเห็นแจ้งดับที่ต้นเหตุ แล้วปัญหาย่อมหมดไปแน่นอน

(๒). การสวดมนต์เป็นความดี ที่ควรกระทำและรักษาไว้ให้คงอยู่ เพราะปฏิบัติได้แล้วเป็นความดี ผู้ใดรักษาความดีไว้ได้ ผู้นั้นไม่ประมาท

(๓). บาปเกิดขึ้นที่ใจ เมื่อใดมีความไม่สบายใจเกิดขึ้น พึงรู้เถิดว่าเมื่อนั้นมีบาปเกิดขึ้นแล้ว ผู้ใดไม่ไปไหว้ที่สุสานแล้วมีความสบายใจ ก็ไม่ถือว่าเป็นบาป ตรงกันข้ามไม่ไปไหว้ที่สุสานแล้วไม่สบายใจ ต้องไปไหว้ที่สุสานจะเกิดเป็นความสบายใจ จิตก็จะมีบุญเกิดขึ้น

อนึ่ง หากผู้ถามปัญหา สามารถสื่อถึงผู้ตาย (พ่อแม่) ได้ว่าตัวเองมีลูกแล้ว ผู้ตายย่อมรับทราบได้ ตรงกันข้าม สื่อสารกับผู้ตายไม่ได้ ท่านก็ไม่รับทราบ

(๔). ผู้ใดมีอารมณ์ร้อนหรือหงุดหงิด ขณะที่จิตกำลังออกจากร่างเพื่อไปหาร่างอยู่อาศัยใหม่ พลังของโทสะ (หงุดหงิด) ย่อมผลักดันจิตวิญญาณไปเกิดเป็นสัตว์นรก ฉะนั้นผู้ไม่ประมาทพึงกำจัดสิ่งขัดใจ อันเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ร้อนหรือโทสะ ด้วยการให้อภัยเป็นทาน หรือทุกครั้งที่มีเหตุขัดใจเกิดขึ้น ให้บริกรรมว่า “ ช่างมันเถอะๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆจนกว่าความหงุดหงิดหรืออารมณ์ร้อนหมดไป หากทำได้แล้ว คุณธรรมที่เรียกว่า ความเมตตา ก็จะเกิดขึ้น แล้วถูกเก็บสั่งสมเป็นเมตตาบารมีอยู่ในดวงจิต ผู้มีเมตตาเป็นผู้ไม่มีความหงุดหงิด ไม่มีความโกรธ มีแต่อารมณ์สงบเย็น ตายแล้วยังมีพลังผลักดันจิตวิญญาณให้โคจรไปเกิดเป็นสัตว์ (รูปนาม) อยู่ในสุคติภพได้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมมีปัญหาจะถามดังนี้ครับ
- การฝึกทำสมาธิ แต่ว่าใจมันไม่เป็นสมาธิ อย่างนี้เราจะได้บุญไหมครับ แล้วถ้าเราจะอุทิศบุญจะมีผลไหมครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

คำตอบ

คำว่า “ บุญ ” มีความหมายได้หลายอย่าง เช่น หมายถึงการกระทำความดี ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ หมายถึงความสุข หมายถึงกุศลธรรม ฯลฯ

ฉะนั้น การฝึกสมาธิเป็นการกระทำความดี ผู้ใดประพฤติแล้วผู้นั้นมีบุญ การฝึกสมาธิเป็นการประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ ผู้ใดประพฤติแล้ว ผู้นั้นมีบุญ การฝึกสมาธิเป็นกุศลธรรมผู้ใดประพฤติแล้ว ผู้นั้นมีบุญ ผู้ใดฝึกสมาธิแล้วมีความสุขเกิดขึ้น ผู้นั้นมีบุญ ฯลฯ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นผมขอบรรยาย เรื่องส่วนตัวของผมเล็กน้อยนะครับ เพื่อที่จะได้เข้าใจเรื่องของกระผมได้มากขึ้น กระผมเกิดเป็นลูกคนเดียวของแม่ โดยที่พ่อของผมเขามีภรรยามาก่อน มีลูก 4 คนครับ รวมผมก็คนที่ 5 เท่ากับว่าผมมีพี่น้องต่างท้องแม่ 4 คนครับ ปัจจุบันนี้ผม อยู่กับแม่ 2 คนครับ ผมให้แม่มาอยู่กลับผมที่กรุงเทพ บ้านแม่อยู่ที่เชียงใหม่ ตอนนี้แม่ของผมป่วยทางจิตครับ(เป็นโรคหูแว่ว) ได้ยินเสียงคนเดียว พูดคนเดียว ทั้งนี้ผมไม่ทราบว่า แกไปทำกรรมอะไรมานะครับ ให้แกรักษาแกก็ไม่ยอมรักษา เลยอาการไม่ดีขึ้น ผมจึงเครียดมากๆครับ เข้าเรื่องเลยนะครับ ปัจจุบันผมอายุ 28 ปี ได้บวชตอนอายุ 26 ปีครับ หลังจากได้ฟังเทปบรรยายธรรมของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เรื่องของนรก ผมจึงคิดว่า อายุของเราไม่แน่นอน จึงขอลางานไปบวช 3 เดือน 1 พรรษา โดยตัดสินใจก่อนบวชไม่เกินสองอาทิตย์ โดยก่อนหน้านี้ผมไม่สนใจเรื่องธรรมะเลย ทั้งนี้จุดประสงค์ที่บวชครั้งแรกในชีวิต เพื่อทดแทนคุณ บิดา มารดา ครับโดยตั้งใจให้ท่านได้อานิสงค์ตอนมีชีวิต หลังจากสึกมาก็ ถือศิล 5 มาตลอด แต่ก็มีพร้อยบ้างเล็กๆน้อยๆ การดำเนินชีวิตผมจะก็รู้สึกผิดทุกๆครั้ง ที่ทำเรื่องที่ไม่ดี แต่ไม่ได้ผิดศิลห้านะครับ แต่รู้สึกว่ามันจิตตกไปมาก ในเวลาที่คิดไม่ดี ผมยังรู้สึกตัวได้ว่า ผมยังวนเวียน อยู่กับ กิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ผมมีความคิดว่าอยากจะกลับไปแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ โดยกลับไปบวชอีกครั้งเพื่อตนเองครับ อยากไปปฏิบัติกับพระอาจารย์ที่เป็นพระกรรมฐาน ครับ

ขอเรียนถามท่านอาจารย์ ครับ

1 อยากถามท่านอาจารย์ครับว่า แม่ของผมแกไปทำกรรมอะไรมาท่านถึงได้เป็นโรคทางจิต หูแว่ว ครับ

2 การที่ผมเอาแม่มาอยู่ด้วยโดยมีเจตนาดีที่อยากให้แกรักษาตัว แต่แม่มักปฏิเสธการรักษา ผมไม่อยากบังคับแกทานยา ฉีดยา แกเข้าใจว่าเป็นยาพิษ แบบนี้แกก็จะไม่หายป่วย ผมจึงปล่อย ไม่บังคับแกแบบนี้ผมเป็นลูกอกตัญญูหรอไม่

3 ถ้าผมจะขอออกบวชแบบไม่มีกำหนดโดยไม่ได้ดูแลแม่ เพื่อแสวงทางพ้นทุกข์ อยากดับกิเลส ในตนเอง ผมเหมือนเป็นลูกอกตัญญูไหมครับ อย่างเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านยังทิ้ง เรื่องต่างๆทั้งหมด เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้น พระองค์ยังทรงทิ้งภรรยา และบุตร และ ราชสมบัติ ...( ผมเป็นคนเลวไหมครับ หากทิ้งท่าน ไปบวช )

4 พระโสดาบัน นี่ต้องละสังโยชอย่างน้อง 3 ประการ และจำเป็นไหมต้องได้ฌาน ถึงจะบรรลุธรรมได้

ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เสียเวลาอ่านพร้อมตอบคำถาม และกราบขอขมาท่านอาจารย์ ที่นำปัญหาส่วนตัวมาถามอาจารย์

คำตอบ

(๑). โรคหูแว่ว เกิดได้สองทางคือ ระบบประสาททางหูทำงานผิดไปจากปกติ หรือในแนวทางที่สอง ผู้ป่วยมีขนาดความถี่ของจิต ไปตรงกับขนาดความถี่คลื่นจิตของอมนุษย์ การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้

(๒). ไม่ถือว่าเป็นลูกอกตัญญู

(๓). ผู้ใดรู้คุณและตอบแทนคุณแก่ผู้มีอุปการระ ผู้นั้นมีความกตัญญูกตเวที เช่น พระโพธิสัตว์ทิ้งพ่อ ทิ้งภรรยา ทิ้งลูกไปบวช เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโคดมแล้ว ได้กลับมาตอบแทนคุณ ให้พ่อ ลูก ภรรยาได้บรรลุอรหัตตผล และในพรรษาที่ ๗ ได้ขึ้นไปตอบแทนคุณของพุทธมารดาในเทวโลก จนบรรลุโสดาปัตติผล ตรงกันข้ามหากมิได้ตอบแทนคุณ กับผู้มีอุปการะ ถือว่าอกตัญญู

(๔). ไม่จำเป็นต้องพัฒนาจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิระดับฌาน ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนูปฏิบัติกรรมฐานแล้วเห็นอดีต(ชาตินี้)ที่หลายคนที่เกี่ยวข้องทำไม่ดี กับหนูไว้ ทำให้จิตตก ถึงขนาดคิดพยาบาท ให้เขาเหล่านั้นประสบความวิบัติบ้างทั้ง ๆ ที่แต่ก่อนหรือตอนที่เขาเหล่านั้นแสดงกริยาไม่ดี หรือทำไม่ดีต่าง ๆ หนูจะรู้สึกเฉย ๆ หรือหลายครั้งจะคิดว่าคงทำกรรมกับเขาไว้เขาถึงได้มาทำกับเราชาตินี้ หรือบางเรื่องหนูลืมไปแล้ว แต่พอมาปฏิบัติกรรมฐานหนูกับได้ยินเสียง ได้เห็นเหตุการณ์เหล่านั้นชัดขึ้นมา ในห้วงความจำไม่สามารถข่มเวทนาได้ จิตใจร้อนร้น กระวนกระวาย เมื่อมาเจอกันอีกครั้งหากเขาเหล่านั้นพูดไม่ดี ทำไม่ดีกับหนู หนูจะตอบโต้ด้วยถ้อยคำ วาจาสาปแช่ง(แต่ไม่ได้พูดหยาบคาย) พร้อมทั้งจะถามว่าหนูไปทำอะไรให้ถึงทำกับหนูอย่างที่แล้วมาหรือกระทำอยู่ขณะ นี้ ไม่ได้คำตอบหรอกค่ะนอกจากดวงตาเยาะเย้ย ถากถาง ยิ่งทำให้หนูโกรธมากยิ่งขึ้น สาบแช่งในใจต่าง ๆ นา ๆ (ซึ่งแต่ก่อนนี้หนูจะเฉยไม่โต้ตอบ ไม่รับรู้ ไม่โกรธ หรือบางครั้งถูกกระทำหนักมาก ๆ หนูโกรธ แต่จะไม่พูด ไม่แสดงออกอะไร ที่สำคัญไม่เกิดทุกข์ค่ะ)

พยายามข่มใจคิดว่าเป็นการใช้กรรมค่ะ เพียงแต่แปลกใจว่า คนอื่นเวลาปฏิบัติกรรมฐานจะรับรู้หรือระลึกได้ว่าทำผิดหรือทำไม่ดีอะไรไว้ แล้วสำนึกผิดได้ แต่หนูกลับเห็น จดจำได้ว่าใครทำอะไรไม่ดีกับหนูอย่างไร รบกวนอาจารย์กรุณาชี้แนะ ทุกวันนี้หนูทุกข์มาก จิตใจเศร้าหมองค่ะ สวดมนต์ ปฏิบัติกรรมฐานยิ่งทำให้เห็นชัดเจน หลายครั้งถึงขนาดร้องไห้ขณะนั่งเลยค่ะ คิดอยากเลิกปฏิบัติหลายครั้ง แต่เวลาไม่ได้นั่งกรรมฐานจิตจะฟุ้งซานมากได้ยิน จิตคำนึงแต่คำพูด กิริยาที่เขาเหล่านั้นทำไม่ดี พูดไม่ดีกับหนูค่ะ

หนูสงสัยมานานมากแล้ว ไม่ทราบว่าจะสอบถามใครให้ได้รับความกระจ่าง หวังความเมตตาจากท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะค่ะ

อ้อ! วิถีชีวิตหนูขณะนี้ถือว่าตกอับค่ะ ตกอับถึงขนาดถูกลดตำแหน่งโดยไม่มีความผิด (ไม่ได้เข้าข้างตัวเองค่ะ หากนับนอกจากไม่ปฏิบัติตามนายในสิ่งที่ผิดทั้งศีลธรรมและกฎหมายแล้ว หนูถือว่าไม่เคยขัดใจเจ้านาย ไม่เคยเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน อีกทั้งยังทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ส่วนตัวในการทำงานอีก และหมายรวมถึงพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง ด้วยค่ะ) ชีวิตตกอับมาเป็นลำดับถึงกับถูกลดตำแหน่งหนูเลยหันมาปฏิบัติกรรมฐานเลยเห็น อดีตดังที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ

ขอความกรุณาให้ความกระจ่างและขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

ด้วยความเคารพอย่างสูง

คำตอบ

เวร หมายถึง ความแค้นเคือง ความปองร้ายกัน ความแก้เผ็ด ฯลฯ ผู้ใดเคยทำกรรมที่เป็นเวรไว้แต่อดีต เมื่อเวรกรรมตามให้ผลทัน ผู้เคยก่อเวรไว้ต้องยอมรับความจริง และต้องชดใช้ไปจนกว่าจะหมดเวร การชดใช้หนี้เวรกรรมด้วยบุญใหม่ (ปฏิบัติธรรม) เป็นการทำให้หนี้เวรกรรมหมดเร็ว

อนึ่ง ผู้ใดมีความขัดใจเกิดขึ้น แล้วให้อภัยเป็นทานแก่ผู้เป็นต้นเหตุได้ เมตตาย่อมเกิดขึ้นกับผู้ให้อภัย ผู้ใดมีเมตตา ผู้นั้นหลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เทวดาคุ้มรักษา ฯลฯ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันได้ปฏิบัติธรรม แนว พอง-ยุบ มา 2 ปีกว่าแล้ว โดยจะไปปฎิบัติที่วัด ปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 3-7 วันค่ะ ปกติในชีวิตประจำวัน ดิฉันจะ ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา โดยฟังจาก cd บ้าง วิทยุบ้าง ฟังไปทำงานไป ตลอดทั้งวัน วันอาทิตย์ทำงานบ้านก็เปิดฟังตลอด ทั้งวัน ฟังไปทำงานบ้านไปเกือบตลอดทั้งวัน ก่อนนอนก็สวดมนต์ (แต่ไม่ทุกวัน วันไหนทำงานเครียดและเหนื่อยมากก็นอนเลย ไม่ได้สวดมนต์ ) หนังสือธรรมะดิฉันก็อ่านอยู่เกือบตลอดเวลาที่มีเวลาว่าง

มีปัญหาเกิดขึ้นกับดิฉัน ที่จะเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้คือ
1) เมื่อต้นปี ดิฉันก็ได้ไปปฎิบัติธรรมที่วัด อีก 7 วัน ดิฉันมีความตั้งใจมากในการปฎิบัติ คือสำรวมกาย วาจา ใจ ไม่พูด ไม่ คุยกับใครเลย ทานอาหารน้อน นอนน้อย ขณะปฎิบัติ จิตมีสมาธิดี เดิน-นั้ง อย่างละ 1.30 ชม. มีเวทนาเกิดขึ้นมากมายเหลือ เกิน บางวันมีเวทนามากจนถึงกับร้องไห้ แต่ดิฉันก็อดทน จนครบเวลาทุกครั้ง ปัญหาคือ สภาพจิตของดิฉันมันรู้สึก เฉยๆ ทื่อๆ ไม่เกิด ปิติ เหมือนครั้งก่อนๆ มันรู้สึก เฉยๆ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เหมือนท่อนไม้ อย่างนั้นเลยทีเดียว เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดทั้ง 7 วัน ดิฉันปฎิบัติอะไรผิดไป หรือเปล่าค่ะ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ค่ะ ดิฉันควรแก้ไขอย่างไรค่ะ

2) ที่วัด จะสอน เดินจงกรม แค่ ระยะที่ 1 เท่านั้น มีอยู่วันหนึ่ง ดิฉันง่วงนอนมาก ขณะเดินจงกรมอยู่ ยังจะหลับได้ ดิฉันจึงลองเดิน จงกรมระยะ ที่ 5 เลย เพื่อให้จิตมีสติมากขึ้น ปรากฎว่า จิตมีสติ สมาธิมาก ความง่วงหายเป็นปริดทิ้ง หลังจากวันนั้น ดิฉันก็กำหนดเดินจงกรม ในระยะที่ 5 ตลอด ( อ่านจากในหนังสือ) ดิฉันปฎิบัติข้ามขั้นตอน โดยที่ อาจารย์ผู้สอน ยังไม่ได้สอน ถือว่าผิดหรือเปล่าค่ะ ( แต่ที่วัดคงจะไม่สอนเพิ่มหรอกค่ะ เพราะไปหลายครั้งแล้ว ก็ไม่เคยสอนเพิ่มเลยสักครั้ง ได้แต่ปฎิบัติ ในระยะที่ 1 มาตลอด )

3) ดิฉันมีปัญหาอีกเรื่อง คือ ดิฉันไม่สามารถ กำหนดจิต ในขั้นตอน " ยืนหนอ " ได้ จิตมันแข็งขืน มันกำหนดไม่ได้เลย พอถึงขั้นตอนนี้ ดิฉันจะข้ามไปทุกครั้ง ดิฉันจะแก้ไขอย่างไรดีค่ะ ( จิตเคลื่อนไหวไปตามกายที่เคลื่อนไหว พอกายหยุดเคลื่อนไหว จิตมันก็แข็งขืน)

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ

คำตอบ

(๑). การปฏิบัติธรรมผิดทาง ทำให้จิตมีโมหะเพิ่ม อาการที่บอกเล่าไปจึงเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้น ต้องเอาจิตจดจ่ออยู่กับทุกขเวทนา ด้วยการกำหนดว่า “ ปวดหนอๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกขเวทนาจะหายไป แล้วกำลังของสติจะเพิ่มขึ้น

(๒). เมื่อกำหนดวิธีเดินจงกรมในระยะที่ ๕ แล้ว ทำให้จิตมีกำลังของสติมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น จงปฏิบัติต่อไปและไม่ถือว่าผิดหลักการของการปฏิบัติธรรม แต่ในทางโลกถือว่าผิดคำสอนของครู

(๓). การปฏิบัติธรรมสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม พูด ฟัง ฯลฯ ฉะนั้นจงเลือกอิริยาบถที่ถูกกับจริตของตัว อิริยาบถใดเมื่อนำมาใช้ปฏิบัติแล้ว ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ทำให้จิตเกิดปัญญาเห็นแจ้งได้ จงใช้อิริยาบถนั้นเป็นฐานในการปฏิบัติ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมี่ปัญหา 3 ข้อ กราบขอความกรุณานะครับ
1. ผู้ใดพัฒนาจิต จนสามารถกำจัดสังโยชน์ ๓ ได้ การพัฒนาคือการทำสมาธิเข้าถึงขั้นจวนแน่วแน่
จิตจะทำงานอัตโนมัติเลยใช่ไหมครับ ที่จะไตร่ตรองได้เอง โดยเราไม่ได้นึกคิดเอง
เพียงแต่เรากำหนดสติ ตามดู แต่จิตจะคิดเองด้วยตัวของจิตเองเลยใช่ไหมครับ
ฉะนั้นเราไม่สามารถคิดไปเองได้จากสมอง

2. เป็นไปได้ไหมครับว่า ลำดับขั้นสมาธิ จากขณิกสมาธิ ไป ถึง อุปจารสมาธิ
แล้วจิตไตร่ตรองเองได้เลย โดยไม่ต้องเลยไปถึงอัปปนาสมาธิก่อน
แล้วจึงถอนจิตออกมาระดับอุปจารสมาธิ แล้วจึงใช้จิตไตร่ตรองครับ

3. อยากให้ท่านอาจารย์แนะนำเสริมการทำสมาธิให้ไปได้ถึงอุปจาระสมาธิ ครับ
ผมทราบจากฟังธรรมของอาจารย์คร่าวๆว่า
1. ใช้พละธรรม 5

2. กำหนดสติโดยการตามดูลมหายใจเข้าออก

มนุษย์ทุกคนสามารถทำสมาธิเข้าถึงขั้นอุปจารสมาธิได้ไหมครับ โดยไม่คำนึงถึงบุญเก่า
หากเขาได้พยายามในภพนี้อย่างดีเยี่ยม
หรือการได้สมาธิขั้นที่จิตสามารถถูกไตร่ตรองโดยธรรม จะเกิดแก่ผู้มีบุญบารมีเดิมสะสมไว้เท่านั้นครับ

ป.ล. ผมเคยฟังท่านโชดกเล่าว่าพระเทวทัต สามารถได้อภิญญาแสดงฤทธิ์ได้
ผมสงสัยว่า การได้ฌาณ ไม่จำเป็นต้องมีศีลคุมใจหรือครับ
และฌาณไม่ใช่สิ่งที่เราจำเป็นจะได้ใช่ไหมครับ
ผมจะพยายามทำให้ได้ตามแนวทางถูกต้องที่อาจารย์สอนครับผม...

ขอบพระคุณในความกรุณาครับผม

คำตอบ

(๑). จิตมีธรรมชาติรู้ คิด นึก ฉะนั้นเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิจวนแน่วแน่แล้ว จิตจะกำหนดรู้ว่า กรรมฐาน (กาย เวทนา จิต ธรรม) ใดที่ปรากฏในจิต ย่อมดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์ แล้วปัญญาเห็นแจ้งจะเกิดขึ้น ปัญญาเห็นแจ้งมิได้เกิดที่สมอง

(๒). เป็นไปได้

(๓). การปฏิบัติสมถภาวนาเพื่อให้จิตเป็นอุปจารสมาธิ ผู้นั้นต้องมีศีลคุมใจให้ได้ก่อน แล้วใช้กำลังของสัทธาและวิริยามาเป็นแรงสนับสนุน จิตย่อมเข้าถึงอุปจารสมาธิได้ง่าย อนึ่งการกำหนดอานาปานสติ เหมาะกับผู้มีโมหจริตหรือวิตกจริต ซึ่งจะทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิง่าย บุญเก่าที่บุคคลทำสั่งสมไว้ในดวงจิตมาก่อน ย่อมมีพลังผลักดันจิตให้เกิดศรัทธา นำตัวเข้าพัฒนาบุญให้มีกำลังมากขึ้น ฉะนั้นจงอยู่กับปัจจุบันนั้น ถูกต้องแล้ว

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีข้อสงสัยอยากกราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า การทำบุญโดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารให้ทางวัด กับการนำเงินไปถวายวัดด้วยตนเอง จะได้อานิสงค์เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างครับ

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง

คำตอบ

สาธุ .... การโอนเงินไปทำบุญโดยผ่านบัญชีธนาคารกับการนำเงินไปทำบุญด้วยตัวเอง การกระทำทั้งสองแบบเมื่อประพฤติแล้ว เกิดเป็นความสุขขึ้นในใจเท่ากันย่อมได้บุญเท่ากัน หากวิธีใดทำแล้วเกิดเป็นความสุขใจมากกว่า ควรเลือกวิธีทำบุญแบบนั้น

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งนี้ดิฉันไม่มีคำถามค่ะ แต่จะขอเรียนท่านอาจารย์ว่า ทุกวันนี้ดิฉันยังระลึกถึงคุณของหนังสือ " ยิ่งกว่าสุขเมื่อจิตเป็นอิสระ " และผู้เขียนคือท่านอาจารย์อยู่เสมอที่พออ่านหนังสือเล่มนี้จบ ก็ทำให้ดิฉันตัดสินใจก้าวออกมาจากเหตุแห่งทุกข์ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะถูกกิเลส ลากลงเหวไม่ทันรู้ตัวทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่คิดว่าจะก้าว ออกมาได้ ทั้งที่เพื่อนสนิทพูดไม่รู้เท่าไหร่ทั้งที่เข้าวัดปฏิบัติธรรม (แต่ใจก็ไม่สงบ) และอ่านหนังสือธรรมะมาหลายเล่มไม่ใช่เล่มอื่นไม่ดีนะคะ เพียงแต่เล่มนี้คงจะถูกจริตกับดิฉันค่ะ

ตอนนี้ดิฉันอยากแจกหนังสือนี้เป็นธรรมทาน คิดจะไปตั้งเป็นกระทู้แจกในกระดานธรรมทาน แต่ด้วยทุนที่มีจำกัดตอนนี้ดิฉันจึงแจกทีละเล็กน้อย โดยการที่ดูว่าท่านใดที่กำลังมีทุกข์หนักๆ ( สังเกตจากการตั้งหรือตอบกระทู้) ดิฉันจะส่งข้อความไปขอที่อยู่เค้า และส่งหนังสือเล่มนี้ไปให้ ตอนนี้ให้ไป 5 ท่านแล้วค่ะ และกำลังจะส่งให้อีก 2 ท่านในสัปดาห์หน้าล้วนแต่กำลังเผชิญกับทุกข์ใจทั้งสิ้น โดยเฉพาะเกี่ยวกับความรัก (ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับที่ดิฉันเคยเจอมา)ซึ่งคนที่ได้อ่านบอกว่าเป็นหนังสือ ที่ดีมาก

ดิฉันไม่ลืมบอกเค้าว่าให้ฝึกเจริญสติไปด้วย เพราะลำพังการอ่านหนังสืออย่างเดียวไม่ใช่การถอนรากถอนโคนความทุกข์

จึงขอเรียนให้ท่านอาจารย์ทราบ และขออนุโมทนากับท่านอาจารย์ด้วยนะคะ

ด้วยความเคารพและระลึกถึงพระคุณยิ่ง


คำตอบ

การแจกหนังสือธรรมะให้ผู้อื่นได้อ่าน และเมื่อให้แล้วไม่เบียดเบียนตัวเอง การให้เช่นนี้เป็นบุญสูงสุด สิ่งที่บอกเล่าไปนั้นประพฤติได้ถูกตรงแล้ว .... สาธุ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...พี่ธรรมบุตร

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนูรับราชการในส่วนที่เกียวข้องกับงานก่อสร้าง(เป็นสถาปนิก)มีความลำบากใจใน หน้าที่การงานมาก หลายครั้งที่โดนหัวหน้าบังคับให้เซ็นต์แบบก่อสร้างที่จะนำไปก่อสร้างโดยที่ ราคาเกินสมควร แต่หนูแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่สนับสนุนวิธีการที่ไม่โปร่งใส ภายหลังจึงถูกนำชื่อ และลายเซ็นต์ไปปลอมเพื่ออนุมัติงานออกไปหลายครั้งโดยที่หนูมารู้ทีหลัง ก็ยังรู้สึกผิดอยู่ดี เพราะเป็นชื่อเรา ที่ใช้เงินภาษีของประชาชนไปสร้างความร่ำรวยให้กับคนบางกลุ่ม หนูจึงพยายามทำงานตามหน้าที่ให้ละเอียด และรัดกุมมากที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ที่จะให้ใครหาผลประโยชน์ได้ แต่ก็โดนเจ้านายบังคับให้ลดรายละเอียดลงอีก และหลายครั้งที่ให้ใช้วัสดุบางอย่างที่ราคาแพงเกินไป ไม่สมเหตุสมผล(สำหรับงานราชการ) หนูจึงมักจะขัดคำสั่งเจ้านายอยู่เสมอ โดยจะทำงานให้เสร็จแบบเวลาจวนเจียนเพื่อไม่ให้เจ้านายมีสามารถแก้ไขได้อีก

หนูอยากรู้ว่า
1. การที่หนูขัดคำสั่งเจ้านาย ถือเป็นการสร้างบาปต่อกันหรือเปล่า
2. มีคนเคยบอกว่า ทำงานราชการก็อย่างนี้แหละ ให้ทำใจ ปลงๆซะ หนูจึงไม่แน่ใจว่า การที่หนูไม่ยอมให้เงินภาษี ของประชาชนถูกใช้ไปในทางที่ผิด(ทำให้ใครบางคนได้ประโยชน์มหาศาล) คือการไม่ปลงหรือเปล่า ? หนูควรทำอย่างไรหากอยู่ในหมู่คนพวกนี้ หนูคิดว่าหากเรารู้ว่าสิ่งที่เขากำลังทำคือการโกงกินประเทศชาติ ถ้าเรานิ่งดูดายเท่ากับเรา " ปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" ใช่หรือเปล่าคะ ก็เท่ากับว่าเราต้องเหนื่อยกับการสู้รบปรบมือกับคนพวกนี้ตลอดเวลา เป็นการทำให้ใจเราเองไม่สงบหรือเปล่าคะ



คำตอบ

คนอื่นประพฤติทุจริต เป็นเรื่องของคนอื่น คนอื่นเอาชื่อของเราไปเซ็นปลอม และเรามิได้เห็นดีด้วย ไม่ถือว่าเป็นความผิดของเราผู้ถามปัญหา

เหตุที่ยังรู้สึกว่าตัวเองผิด เป็นเพราะว่า ผู้ถามปัญหายังเห็นผิด ยึดเอาชื่อที่ถูกเซ็นปลอมมาเป็นของตน ความไม่สบายใจ (บาป) จึงได้เกิดขึ้น

ผู้มีหน้าที่ออกแบบก่อสร้าง และประพฤติถูกตรงตามหลักวิชาที่ได้เล่าเรียนมา หากผู้บังคับบัญชาบังคับให้ทำผิดไปจากหลักวิชา ผู้รู้ย่อมไม่ปฏิบัติตาม และไม่ถือว่าเป็นความผิดที่ประพฤติขัดคำสั่งที่ทุจริตนั้น

(๑). การขัดคำสั่งที่ทุจริต ไม่ถือว่าเป็นบาป แต่ถือว่าเป็นการสร้างเวรให้เกิดขึ้นกับผู้บังคับบัญชา ผู้มีเจตนาทุจริต

(๒). คนที่เคยกล่าวว่า “ ทำใจปลงๆซะ ” เป็นคนที่มีจิตคล้อยตามกระแสการทุจริต คนที่บอกเช่นนั้น มีโอกาสให้บาปเข้าครองงำจิตได้ง่าย

ผู้เห็นถูกเห็นว่า ชีวิตมิได้มีอยู่เพียงชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น ผู้เห็นถูกย่อมไม่คล้อยตามคำแนะนำที่ผิด และผู้ใดไม่มีหน้าที่ป้องกันกำจัดผู้ประพฤติทุจริต ย่อมเอาผู้ประพฤติทุจริตเป็นครูสอนใจตัวเองว่า เมื่อใดที่โอกาสเปิดให้เรามีอำนาจหน้าที่เช่นเขา เราจะไม่ประพฤติอย่างเขา ตรงกันข้าม หากผู้ถามปัญหามีหน้าที่ป้องกันกำจัดคอรัปชั่น แล้วไม่ทำหน้าที่ให้ถูกตรง อย่างนี้จึงจะเรียกว่า “ ปล่อยให้คนชั่วลอยนวล ” และเหตุที่ผู้ถามปัญหามีจิตไม่สงบ เป็นเพราะผู้ถามปัญหา ไม่รู้จริงในสิ่งที่ตนสัมผัส

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเคยศึกษาธรรมจากการอ่านหนังสืออานาปนสติของท่านพุทธทาสเมื่อประมาณห้า ปีมาแล้ว และก็ได้ทดลองปฏิบัติตามวิธีการตามหนังสือของท่านพุทธทาสบ้างแต่ก็ไม่ได้ ปฏิบัติอย่างจริงจัง ต่อมาเมื่อปลายปี 2552 ประสบปัญหาจากการทำงานอย่างหนัก ผมได้มองเห็นความทุกข์ยากจากการทำงานราชการท้องถิ่น แม้ว่าผมจะยึดมั่นในการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ก็ยังต้องพบกับการ กลั่นแกล้ง บีบคั้นทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ผมทำงานโดยไม่สุจริตเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ ของบางคน ผมได้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องตามวิถีทางตามกฏหมายบ้านเมือง ยิ่งต่อสู้มากก็ถูกบีบคั้นกลั่นแกล้งมากขึ้น การทำงานจึงมีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มองเห็นความทุกข์ยากในการดำเนินชีวิตแบบคนธรรมดา จนกระทั่งเมื่อต้นปี 2553 ผมได้พบเว็บไซต์กัลยานธรรมและได้ฟังธรรมบรรยายของท่านอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร ทำให้ผมอยากใช้ธรรมในการแก้ปัญหา และได้ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐาน ทางอินเทอร์เน็ต จนมีความรู้ความเข้าใจพอสมควร และได้เริ่มเดินจงกรมและนั่งกรรมฐานด้วยตนเองที่บ้านประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2553

การปฏิบัติระยะแรกจะเดินจงกรมประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้วไป นั่งกรรมฐาน เมื่อเดินจงกรมได้ประมาณสิบวันขณะเดินจงกรมเกิดแสงวาบ ๆ คล้ายฟ้าแลบเริ่มจากวาบช้า ๆ และถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ต้องหยุดเดินและเกิดอาการมึนตื้อและอยากอาเจียน ลองค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ตแล้ว พบว่าอาจเกิดจากการตั้งใจบังคับใจให้รู้ที่เท้ามากเกินไป จึงค้นหาวิธีการเพิ่มเติม จากครูบาอาจารย์หลายท่านแล้ว นำมาทดลองปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติของตนเองเรื่อยมา ระยะหลังจะไม่ได้เดินจงกรมแต่นั่งกรรมฐานอย่างเดียว รู้สึกว่าร่างกายเป็นปกติไม่มึนตื้อ จนเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2553 หลังจากนั่งกรรมฐานนานประมาณชั่วโมงครึ่งรู้สึกว่าตัวจะค่อย ๆ สั่นแล้วโยกมากขึ้นแล้วหยุด จากนั้นก็เริ่มสั่นแล้วโยกอีกเป็นช่วง ๆ ไป ระยะเวลาของแต่ละช่วงจะไม่แน่นอน บางครั้งก็เร็ว บางครั้งก็ช้า อาการนั้นเกิดขณะอ่านหนังสือหรือขณะฟังการบรรยายในการประชุมสัมมนาด้วย ผมลองค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ตแล้วได้ความว่าสิ่งที่เกิดกับผมนั้นอาจเป็น อาการของปีติ เพื่อความแน่ใจ จึงอยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่าว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับผมนั้นเป็นอาการของปีติ ใช่หรือไม่ ถ้าใช่มีแนวทางที่จะปฏิบัติให้ก้าวหน้ามากขึ้นได้อย่างไร และหากไม่ใช่จะต้องแก้ไขอย่างไร ขอขอบพระคุณอย่างสูง



คำตอบ

ที่บอกเล่าไปเป็นอาการของปีติ ซึ่งเป็นกิเลสมารชนิดหนึ่ง ผู้ใดไม่สามารถกำจัดมารตัวนี้ได้ ความก้าวหน้าในการพัฒนาจิตให้มีสติจะไม่เกิดมากไปกว่านี้ ตรงกันข้ามผู้ใดประสงค์พัฒนาจิตให้มีกำลังของสติเพิ่มมากขึ้น ต้องกำจัดมารให้หมดไป ด้วยการกำหนดว่า “ สั่นหนอๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆ จนอาการสั่นของร่างกายหมดไป หรือหากเกิดอาการตัวโยก ต้องกำหนดว่า “ โยกหนอๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆ จนอาการตัวโยกดับไป แล้วดึงจิตกลับมาสู่องค์บริกรรมเดิมที่ทำอยู่

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันมีโอกาสได้ฟัง การบรรยายธรรมะ ของท่านอาจารย์ ทางคลื่นวิทยุไทยธรรม รู้สึกชอบและเกิดศรัทธามากค่ะ ดิฉันเพิ่งเริ่มได้มีโอกาส เข้ามาศึกษาธรรมะ แต่โดยส่วนตัวเป็นคน มีเมตตา ชอบทำบุญ ทำทาน มาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว รักษาศีล 5 ค่ะ แต่อาจจะไม่บริสุทธิ์เท่าไร และรู้สึกอยากนั่งสมาธิปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มาตลอด แต่ว่าเนื่องด้วยหน้าที่การงานและภาระครอบครัว และสามีไม่ชอบทำบุญไม่เชื่อเรื่อง บาป บุญ จึงหาโอกาสไม่ได้ แต่ในวันนี้ได้เกิดความทุกข์ครั้งใหญ่ในชีวิตของดิฉัน สามีที่คบกันมา 20 ปี นอกใจไปมีเมียน้อยและลูก และเค้าก็ขอรับผิดชอบดูแลทั้ง 2 ครอบครัว ซึ่งดิฉันเองก็ไม่มีทางเลือกเนื่องจากมีบุตรด้วยกัน 1 คนซึ่งเค้าอายุแค่ 6 ขวบ ดิฉันต้องทนอยู่ ด้วยความเจ็บช้ำใจ ซึ่งด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ดิฉันต้องหันหน้าเข้าหาพระธรรม ศึกษาพระธรรม อย่างจริงจัง ฟังเทป อ่านหนังสือ ศึกษาในเวบไซด์ ตื่นตี 4 ฝึกนั่งสมาธิทุกวันวันละ 1 ชม. ทำมาได้เกือบเดือน รู้สึกมีสมาธินิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ตัวเองผ่านความทุกข์ยากมาได้ ทุกวันนี้ก็ดีขึ้นมาก แต่ก็ยังมีความโกรธอยู่บ้าง ก็แผ่เมตตาให้เค้าทุกวันค่ะ

ดิฉันมีคำถามจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้ค่ะ
1. ดิฉันเคยทำแท้งบุตรคนแรก กับสามีคนนี้ เนื่องจากสามีพาไปทำแท้งโดยให้เหตุผลว่า ยังไม่พร้อม ดิฉันเสียใจมาก หลังจากนั้นก็ทำบุญใส่บาตรไปให้เค้า และทุกวันนี้ดิฉันก็ทำบุญและแผ่เมตตาไปให้เค้าทุกวัน ดิฉันอยากเรียนถามว่า ดิฉันจะได้รับกรรมอะไรจากเหตุนี้และต้องแก้ไขอย่างไร

2. ดิฉันไม่มีความลำบากกาย ความเป็นอยู่สบาย แต่ทุกข์ใจ ตั้งแต่เริ่มคบกับสามีคนนี้ ตั้งแต่แรกที่ดิฉันพบเค้าดิฉันรู้สึกได้เลยว่าผู้ชายคนนี้เป็นคนที่เราต้อง แต่งงานด้วยแต่จะต้องทุกข์ใจตลอดไป และดิฉันก็รู้สึกได้ว่าดิฉันจะต้องมีวันนี้วันที่เค้าไปมีลูกมีเมียใหม่ เหมือนกับดิฉันอยู่กับเค้ามาเพื่อรอความทุกข์อันนี้ ดิฉันไม่เคยมีความสุขเลย เค้าเอารัดเอาเปรียบดิฉันทุกอย่าง เนื่องจากดิฉันมีความสามารถในการหาเงินดิฉันประกอบอาชีพสุจริตนะคะ เงินเดือนดิฉันได้มากกว่าเค้า เค้าทำให้ดิฉันทุกข์ใจตลอดมา ดิฉันอยากทราบว่าเป็นกรรมอะไรของดิฉันคะและต้องแก้ไขอย่างไร

3. ดิฉันมีความรู้สึกว่าบางครั้งเหมือนตัวเองมีลางสังหรณ์ หรือคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเอง ไม่ทราบเป็นไปได้ไหมคะ

4. ดิฉันได้ตั้ง สัจจะกับตัวเองเอาไว้ว่า ดิฉันจะต้องมีดวงตาเห็นธรรมให้ได้
อยากหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่อยากเกิดอีกแล้ว รู้สึกว่า
ชีวิตนี้มีแต่ความเปลี่ยนแปลงเป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา ดิฉันมีบารมีพอที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้สำเร็จหรือเปล่าคะ

5. สามีดิฉัน และผู้หญิงที่มาแย่งสามีดิฉันเค้าจะได้รับกรรมจากสิ่งที่เค้ากระทำหรือไม่ อย่างไร ดิฉันเคยฟังธรรม ของท่านอาจารย์บรรยายว่าถ้าพ่อแม่ไม่มีศีลมีธรรมเด็กที่มา ปฏิสนธิ จะเป็นสัตว์นรกมาเกิด ไม่ทราบถูกต้องไหมคะ


คำตอบ

จิตของผู้มีเมตตาไม่มีอารมณ์โกรธ หงุดหงิด รำคาญ ฯลฯ ตรงกันข้าม มีอารมณ์สงบเย็น

ผู้เกิดเป็นมนุษย์มีงานทำอยู่สองอย่าง คืองานภายนอกที่ทำให้กับสังคม ทำให้กับครอบครัว เมื่อตายไปต้องมีบุญเป็นพลังผลักดันจิตวิญญาณให้ไปสู่ภพที่ดี จึงต้องทำงานภายใน คือพัฒนาจิตตนเองให้มีบุญสั่งสม ดังนั้นเมื่อทำงานภายนอกในรอบวันได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ต้องไม่ลืมทำงานภายในให้กับตัวเอง ด้วยการประพฤติบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ การฝึกจิตเป็นบุญกิริยาวัตถุที่มีพลังมาก เพราะให้ผลเป็นบุญใหญ่ จงฝึกสมาธิทุกวันเพื่อสั่งสมบุญให้มีพลังมากขึ้น

(๑). ผลของกรรมที่ผู้ถามปัญหาได้รับคือ ความวิบัติจากการมีครอบครัวที่ไม่สงบสุข วิธีแก้ต้องสั่งสมบุญใหญ่ ด้วยการนำตัวเข้าปฏิบัติธรรม แล้วอุทิศบุญให้กับจิตวิญญาณที่ผู้ถามปัญหาได้ทำให้เขา ต้องพลัดพรากจากร่างที่เข้าอยู่อาศัย (ทำแท้ง) ปฏิบัติบุญใหญ่อยู่เสมอ แล้วอุทิศบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวร จนกระทั่งความวิบัติในการพลัดพรากของผู้ถามปัญหากับสามีจบสิ้นลง

(๒). วิบากของกรรมเป็นได้ทั้งวิบากดีและวิบากไม่ดี วิบากเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว ผู้นั้นต้องรับตามกฎแห่งกรรม เรื่องการถูกเอารัดเอาเปรียบ ผู้มีความเห็นถูกเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะเรามีสิ่งดีๆให้คนอื่นเอาเปรียบ ตรงกันข้าม หากเราไปเอาเปรียบคนอื่น แสดงว่าตัวเองมีความด้อย มีความขาดแคลน มีความพร่อง ความไม่พอ ผู้ตอบปัญหาเห็นว่า ผู้ถามปัญหามีสิ่งดีๆอยู่ในตัว จงทำความดี จงทำสิ่งดีให้มีมากขึ้น เพื่อทำตัวเป็นผู้ให้ แล้วคุณค่าของชีวิตย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้นจงเป็นผู้มีความเห็นถูก แล้วทำตัวเป็นผุ้ให้ต่อไปเรื่อยๆ นี่คือสิ่งที่ผู้ถามปัญหาต้องปรับปรุงแก้ไข

(๓). “ ลางสังหรณ์ ” หมายถึง สิ่งที่ทำให้สังหรณ์ใจบอกเหตุล่วงหน้า ลางสังหรณ์สามารถเกิดขึ้นกับบางคนที่มีความดีสั่งสมอยู่ในจิต ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของคนดี

(๔). คำว่า “ ดวงตาเห็นธรรม ” หมายถึง ความรู้เห็น เข้าใจ ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา

ผู้ใดมีศีล ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย คุมใจอยู่ทุกขณะตื่นและมีสัจจะร่วมอยู่ด้วย หากนำตัวของเข้าพัฒนาจิต (วิปัสสนาภาวนา) ได้ถูกตรงตามธรรม โอกาสเกิดดวงตาเห็นธรรม มีขึ้นได้

(๕). ผู้มีความเห็นถูกไม่เอาจิตไปผูกติดเป็นทาสในเรื่องของผู้อื่น ตรงกันข้าม เอาจิตมาส่องดูใจตัวเอง แล้วเพียรไม่ให้มีสิ่งเศร้าหมองใหม่เกิดขึ้น เพียรกำจัดสิ่งเศร้าหมองเดิมที่มีอยู่แล้วให้หมดไป เพียรทำความดีใหม่ให้เกิดขึ้น และสุดท้ายเพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่กับใจ ผู้ใดประพฤติได้เช่นนี้ ผู้นั้นมีชีวิตเจริญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ส่วนที่ถามไปในตอนท้ายนั้นทำได้ถูกต้องแล้ว

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1. ผมได้บวชและไปฝึกสติปัฎฐาน 4 ที่วัดจอมทองกับหลวงปู่ทอง ในเดือนที่ 1 ขณะเดินจงกรมอยู่ มีความรู้สึกว่าจิตได้รับความรู้ ขึ้นมาอย่างหนึ่ง จิตนั้นบอกผมว่า ดูก้าวแต่ละก้าวสิ มันไม่เคยซ้ำกันเลยนะ แม้มันจะใกล้เคียงกัน แต่ก้าวแต่ละก้าวมันก็ไม่สามารถอยู่ที่เดิมได้แป๊ะ เหมือนเดิม มันเดินแล้วมันก็ผ่านไป ไม่เคยหวนกับมาซ้ำกันได้อีกเลย ผมรู้สึกซึ้งในคำตอบนั้นมาก น้ำตาคลอเบ้า ไม่ทราบว่าเพราะอะไร อยากเรียนถาม ท่านอาจารย์ว่า อาการเช่นนี้เป็นอาการของญาณใช่หรือไม่ และอยู่ในญาณใดครับ และอาการนี้เรียกว่าเห็นรูปนามหรือยังครับ ถ้าคำถามนี้เป็นคำถามที่ไม่สมควร ผมขอขมาท่านอาจารย์ด้วยครับ

2. ในเดือนที่ 3 ขณะที่เดินจงกรมอยู่เช่นกัน ตอนประมาณตี 2 - 3 ผมเดินอยู่ดีดี สักพักการเดินก็คล่องตัวผิดปกติ มีอาการเดินเร็วมาก เหมือนหุ่นยนต์ เดิน หรือมีล้อที่เท้า แต่ไม่รู้สึกขัดและเหนื่อยเลย กับมีความสนุกและชอบขึ้นมาเสียด้วยซ้ำ เก็บข้อสงสัยมาจนวันนี้ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นอะไร
ขอถามท่านอาจารย์เหมือนข้อ 1. ครับ และถ้าไม่สมควรถาม ผมก็ต้องขอขมาท่านอาจารย์เช่นเดิมครับ

3. น้องสาวผมก็ได้ไปปฏิบัติมา 7 วันครับ หลังจากนั้นน้องสาวผมได้ไปสิงคโปร์ 20 วัน ในวันท้ายๆได้นั่งสมาธิ ยังไม่ถึง 10 นาที น้องผมก็รู้สึกว่า มีจิตของตัวเองออกมานั่งอยู่ข้างๆตัวน้องครับ เขาบอกว่ารู้สึกจริงๆ ไม่เคยรู้สึกอย่างนี้มาก่อน ไม่น่าจะเป็นอุปทาน อาการนี้น้องสาวผมนั่ง 2 วันเป็นทั้ง 2 วันครับ และมีอีกอาการหนึ่งที่น้องสาวผมแปลกใจครับ คือกำลังคุยกับรุ่นพี่อยู่ดีดี ก็มีความรู้สึกว่าเขากำลังจะพูดคำที่น้องสาวผมคิดออกมา และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ น้อง สาวผมแปลกใจมาก ว่ารู้ได้อย่างไรว่าเขาจะพูดคำนั้นออกมา ผมจึงขอเรียนถามท่านอาจารย์แทนน้องเช่นเดียวกับข้อแรกๆครับ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงครับ

คำตอบ

(๑). น้ำตาคลอเบ้าที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม หรือพิจารณาธรรม เรียกว่า ปีติ เป็นผลที่เกิดจากจิตพัฒนาระดับหนึ่ง ไม่ใช่เป็นอาการที่เกิดจากญาณ ยังไม่ใช่ปัญญาเห็นรูปนาม ผู้ใดปรารถนาความก้าวหน้าในการพัฒนาจิต จงอย่าเอาจิตไปจินตนาการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น แต่จงกำจัดอารมณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป เมื่อมีน้ำตาคลอเบ้า ต้องกำหนดว่า “ น้ำตาไหลหนอๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆจนอารมณ์หรืออาการดังกล่าวหมดไป แล้วดึงจิตกลับมาสู่องค์บริกรรมเดิม

(๒). เกิดเป็นความสนุกและชอบกับอาการเดินเร็ว เป็นเรื่องของกิเลสมาร ต้องกำจัดมารตัวนี้ให้หมดไป ด้วยการกำหนดว่า “ เดินเร็วหนอๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆ จนอาการเดินเร็วดับไป แล้วดึงจิตกลับมาสู่องค์บริกรรมเดิม

(๓). การที่เห็นตัวเองออกมานั่งอยู่ข้างตัวเนื้อตัวหนัง เป็นเรื่องของจิตเห็น หรือจิตพัฒนาเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ และหากผู้ใดปฏิบัติสมถภาวนาแล้ว ไปรู้ความคิดล่วงหน้าของคนอื่น นั่นเรื่องของ โลกิยอภิญญา ที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ซึ่งไม่เป็นเหตุนำพาชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ ผู้รู้จึงไม่เอาจิตเข้าไปผูกติดเป็นทาสของการรู้เช่นนี้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากเรียนถามท่านอาจารย์ เกี่ยวกับ หัวข้อข้างต้นดังนี้
1. ท่านอาจารย์เคยสอน ว่า การจะมีสมาธิ และปัญญา นั้นต้องมีศีล เป็นบาท ก่อน
ทีนี้ผมสงสัยเหมือนกันว่า ห่ากผมไม่มีศีล สมาธิผมก็จะไม่มี หรือ อาจไม่ตั้งมั่นขั้นสูง ได้ ทีนี้อยากถามว่า คำว่าสมาธินั้น พวกเรียนไสยศาสตร์ หรือ มนต์ดำ พวกนี้บางคนไม่มีศีล มีธรรม ใช้วิชาทำร้าย คนอื่นนั้น เขาก็ต้องมีสมาธิเหมือนกัน และ คงมากกว่าคนธรรมดาทั่วไป ทำไมพวกเขาถึงมีสมาธิได้ ทั้งที่ศีลไม่ดี ไม่ครบ

หรือ คำว่า ศีล สมาธิ และปัญญา สมาธิในที่นี้ จะหมายถึง สมาธิ สายของ พระกรรมฐาน เท่นนั้น เป็นสมาธิ แบบ สัมมาสมาธิ

2. ตำรา หลายเล่ม สอนว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
เคยมีท่านผู้รู้ พราะสุปฎิปันโนท่านหนึ่ง สอนเน้นเรื่อง ปัญญา มากกว่า สมาธิ เน้นที่ปัญญา เพราะท่านบอกว่าปัญญาไม่ได้เกิดจากสมาธิ
เพราะปัญญามีแล้วในทุกคน เป็นธรรมชาตของคนคนนั้น แต่ปัญญาจะเพิ่มขึ้นก็ขึ้นกับการพัฒนาฝึกฝนอบรม
อบรมจาก การได้ฟังได้ยิน ได้คิด ได้ศึกษา ( สุตมยปัญญา , จินตามยปัญญา) และ ตัวสุดท้ายที่ว่าภาวยปัญญา

ตัวสุดท้ายนี่ เห็นว่าต้องมีการใช้การภาวนา จนเกิดสมาธิ
แต่การทำสมาธิแล้วจิตสงบ ยิ่งจิตสงบลึกมากถึงระดับณาน มันจะมีความคิดได้อย่างไร มีปัญญาได้อย่างไร ต้องถอนออกมาก่อน
แล้วจึงต้ังใจคิด หน้าที่ของสมาธิเป็นเพียงกำลังส่ง หนุน ให้เกิดปัญญา (ที่มากขึ้น)
แต่ต้องระวัง ถ้าหากเรามีความเห็นไม่ถูกต้อง มีความเห็นผิดอยู่ แล้วไปทำสมาธิ กำลังของสมาธิจะหนุนความเห็นผิดต่อไปได้เช่นกัน

ผมก็มาสรุปเอาเองกันว่า ไม่ได้ช่วยให้เกิดปัญญาที่แท้จริงได้เช่นกัน ช่วยให้ถลำลึกลงในความเห็นผิด ( ถ้าไม่ถูกต้องอย่างไร ขอท่านอาจารย์ช่วยแนะนำขยายความด้วย)

3. เคยได้รับฟังและจดจำจากคำบรรยายท่านอาจารย์ว่า คน 100 คน มาปฎิบัติ จะเข้าถึงธรรม มีสัก 2 คนก็โชคดีแล้ว ทีนี้อาจารย์พูดถึงความละเอียดของ ศีล เพื่อเข้าสู่ สมาธิและปัญญา การที่เราจะรักษาศีลให้เข้าถึงระดับ ไม่ด่าง ไม่ทะลุ เป็นศีลที่พระอริยะพอใจ ผมก็ว่ามันยาก เพราะเปอร์เซนต์มันต่ำจริง บางทีผมว่าผมรักษาศีลได้ครบแล้ว ฟังธรรมจากอาจารย์รู้เลยว่า เรายังทำได้ไม่ดี จะขอคำแนะนำ อุบายให้เข้าถึงศีลตัวนี้ให้ได้ครับ เอาแค่ศีล 5 ก็พอ เบื้องต้นผมว่า สติผมคงไม่ไวพอ ที่จะดึงการกระทำของเราที่ทำไป ในขณะที่ทำงานทางโลกอยู่ ซึ่งพลาดจากการทำศีลให้บริสุทธิ

4. อาจารย์เคยพูดว่า อยากพิสูจน์....เงื่อนไขมีนิดเดียว เข้าณาน ให้ได้ ก็จะพิสูจน์ ..ได้ แต่อยากทราบว่า ต้องถึง ณานระดับใดครับ ต้องณาน สี่ หรือเปล่าครับ และ การที่เราจะเข้าณานได้นั้น เราต้องสร้างเหตุอย่างไรบ้างครับ ผมเห็นคนบางคน นั่งสมาธิมาเป้นเวลานาน ยังไม่ได้เลยครับ แต่บางคนเช่นท่านอาจารย์ ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ฝึกฝนทำได้แล้ว เหตุที่สร้างนั้นต้องใช้เวลานานขนาดไหนครับ บางคนก็บอกว่่า " ของเก่า " แต่ละคนไม่เท่ากัน
สมมติว่า ผมอยากพิสูจน์ จะมีโอกาสทำได้เพียงใด เพราะ " ของเก่า " อาจไม่มี ต้องทำข้ามภพ ข้ามชาติ สะสมไปก่อนหรือเปล่าครับ ชาดิเดียวชาตินี้จะมีโอกาสไหมครับ

ขอบพระคุณครับ

คำตอบ

(๑). พระพุทธะมีความเป็นสัพพัญญู คือรู้ความจริง (เหตุผล) ของทุกสิ่งทุกอย่าง พระพุทธะตรัสว่า ศีลเป็นฐานรองรับใจให้เกิดสมาธิ ใจที่เป็นสมาธิย่อมเข้าถึงปัญญาสูงสุด ซึ่งเป็นไปตามหลักของไตรสิกขา (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) ดังนั้นผู้ใดมีศีลคุมใจมาก่อน ย่อมมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ จิตที่เป็นสมาธิเป็นจิตที่มีพลัง ผู้ใดใช้พลังสมาธิไปในทางผิด (มิจฉาสมาธิ) มีบาปเกิดขึ้นและสั่งสมอยู่ในดวงจิตของผู้ใช้ เมื่อบาปสั่งสมมากขึ้น กำลังของสมาธิย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา ดังนั้นผู้ที่นำพลังสมาธิไปใช้ในทางที่ผิด ย่อมมีผลเป็นความวิบัติของชีวิตได้เป็นเบื้องสุด ตรงกันข้าม ผู้ใดนำพลังสมาธิไปใช้ในทางที่ถูก (สัมมาสมาธิ) นำพลังสมาธิไปใช้พัฒนาจิตให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง ผู้นั้นย่อมมีความเจริญของชีวิตเป็นเบื้องสุด

(๒). คำว่า “ ผู้รู้ ” ในทางพุทธศาสนาหมายถึง ผู้มีความรู้เห็น เข้าใจ ถูกตรงตามความเป็นจริงแท้ พระพุทธโคดมสอนว่า ศีลเป็นพื้นฐานให้จิตเข้าถึงความตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิเป็นพื้นฐานให้จิตเข้าถึงปัญญาสูงสุด (ภาวนามยปัญญา) ดังนั้นปัญหาที่ถามไป จึงถือได้ว่าเป็นความเห็นถูกของเขา มิใช่เป็นความเห็นถูกตามแนวของพระพุทธโคดม

ผู้ใดพัฒนาจิต (สมถภาวนา) จนเข้าถึงความตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ (อัปปนาสมาธิ) หรือเรียกได้ว่า เป็นสมาธิระดับฌาน ผู้นั้นไม่สามารถพัฒนาจิต (วิปัสสนาภาวนา) ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งได้ ตรงกันข้าม ผู้ใดถอยจิตให้มาตั้งมั่นอยู่ในระดับจวนแน่วแน่ (อุปจารสมาธิ) แล้วใช้พลังสมาธิระดับนี้ไปพัฒนาจิตโดยพิจารณาผัสสะว่า ดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์ เมื่อผัสสะหมุนเข้าสู่ความเป็นอนัตตา ปัญญาเห็นแจ้งในผัสสะนั้นย่อมเกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ผู้ถามปัญหาได้วิเคราะห์และส่งผลไปให้ เป็นการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแล้ว

(๔). จิตเป็นพลังงานที่ละเอียดอ่อน และมีความฉับไวในการทำหน้าที่ ซึ่งระบบประสาทไม่สามารถสัมผัสได้ทัน การทำงานของพลังงานจิตที่นำเข้าสู่สภาวะความเป็นฌานได้ การเข้าถึงสภาวะความทรงฌานในระดับต่างๆได้ ต้องสั่งสมพลังสมาธิมายาวนานข้ามภพชาติ ฉะนั้นผู้เห็นถูกไม่ละความเพียรที่จะพัฒนาจิตให้เป็นสมาธิ โดยมีสัจจะเป็นแรงสนับสนุน โอกาสที่จะทำให้จิตเข้าถึงสภาวะความทรงฌานในชาตินี้เป็นไปได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยถึงพร้อม

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1. ผมได้ปฎิบัติเจริญสติมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่ผมได้ปฎิบัติผมมักจะรู้สึกได้ถึงแสงสว่างทั่วอาณาบริเวณที่เจริญสติ บางครั้งแม้ขณะไม่ได้ปฎิบัติ แต่ก็รู้สึกได้ถึงสิ่งที่เรามองไม่เห็นภายในบ้านหรือแม้แต่นอกบ้าน ไม่ทราบว่าการที่รู้สึกได้นั้นดีหรือไม่

2. ปัจจุบันไม่ได้รู้สึกถึงสิ่งเหล่านั้นอีกแล้ว โดยปัจจุบันทำได้แค่สวดมนต์ ไม่ได้เจริญสติเหมือนที่ทำอยู่ และรู้สึกเหมือนขาดอะไรไป สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะผมไม่ได้ปฎิบัติสม่ำเสมอเหมือนเช่นที่แล้วมาใช่ หรือไม่ครับ

3. ปัจจุบันนี้ผมเองก็ไม่ค่อยได้ปฎิบัติมากนัก แต่หากได้ปฎิบัติก็อยากทำไปเรื่อยๆ จนเรื่องได้ว่าเป็นความเพลิดเพลิน แต่เนื่องจากเวลาในแต่ในวันทำให้ปฎิบัติได้ไม่สม่ำเสมอบางวันน่้อยบ้างบาง วันมากบ้าง ก็เลยพาลทำให้เกิดอารมณ์เบื่อหน่าย มันเข้ามาครอบงำจิตใจจนไม่อยากปฎิบัติ อาจารย์พอจะมีทางรับมือเรื่องความเบื่อกับความเพลิดเพลินบ้างไหมครับ

ขอบคุณครับ

คำตอบ

(๑). ถ้ามองในทางโลกเห็นว่าดี จะได้ไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมาทำให้เกิดสัมผัส ตรงกันข้าม ถ้ามองในทางธรรมเห็นว่าไม่ดี เพราะไม่ทำให้พ้นทุกข์ ผู้ตอบปัญหาเคยมีประการณ์ตรงในสัมผัสดังกล่าว หลงเอาจิตเข้าไปผูกติดเป็นทาสของสัมผัสเหล่านั้นมายาวนานถึงเจ็ดชาติ

(๒). ผู้ใดยังมีจิตกังวลระลึกถึง สิ่งที่ไม่เป็นเหตุให้พ้นทุกข์ ผู้นั้นมีพลังสติลดน้อย จิตจึงเข้าไม่ถึงความตั้งมั่นเป็นสมาธิดังที่เคยเป็น แค่สวดมนต์เพียงอย่างเดียว สามารถทำให้มีกำลังสติเกิดขึ้นได้ แต่ไม่มากเท่ากับการเจริญสมถภาวนา

(๓). เรื่องที่ถามไป ถือว่าเป็นความปกติของจิตที่มีกิเลสครอบงำใจ ทางที่จะรับมือกับความเพลิดเพลินและความเบื่อหน่ายมีอยู่ ทางนั้นคือต้องเจริญพละ ๕ (ศรัทธา วิริยา สติ สมาธิ ปัญญา) อยู่ทุกขณะตื่น เมื่อใดจิตมีกำลังของพละ ๕ กล้าแข็งได้แล้ว กิเลสมารย่อมปลาสนาการไปโดยปริยาย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1521 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 90, 91, 92, 93, 94, 95, 96 ... 102  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร