วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 09:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1521 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 91, 92, 93, 94, 95, 96, 97 ... 102  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนูได้มีโอกาสเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนา แบบ 7 วันอยู่หลายครั้ง การปฏิบัติธรรมแต่ละครั้งทำให้หนูเห็นตัวเองชัดขึ้น เพราะมีสติไวขึ้น เลยเห็นว่าตัวเองนี้เลวกว่าที่คิดไว้เยอะ หนูรู้ตัวว่าหนูเป็นคนเลวเพราะความคิดของหนูนั้นส่วนใหญ่จะไปในทางอกุศลมากๆ มันทำให้หนูเป็นทุกข์มาก และก็บาปมาก หนูคิดหลหลู่พระรัตนตรัย พระอริยสงฆ์ และก็คิดทำร้ายต่อผู้มีพระคุณและตัวหนูเองด้วย หนูไม่ได้ตั้งใจที่คิดลบหลู่หรือคิดทำร้ายแต่ความคิดมันผ่านเข้ามา หนูพยายามกำหนดแล้วก็ขออโหสิกรรม แล้วก็เอาสติไปตามดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่ก็ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าไหร เพราะว่าหนูรู้ว่ามันไม่ดี จิตไปเกาะกับอารมณ์ แล้วก็จมไปกับมัน หนูทุกข์มาก หนูบาปมาก กลัวมากค่ะ

1) ท่านอาจารย์ค่ะหนูไม่เข้าใจว่าทำไมหนูถึงคิดอกุศลถึงอย่างนี้
2) หนูได้ยินมาว่าแค่คิดก็ผิดแล้ว หนูไม่ได้ตั้งใจหนูบาปมากใช่ไหมค่ะ
3) หนูอยากขอคำแนะนำค่ะ ว่าควรจะทำอย่างไรดี

สุดท้ายนี้กราบขอขมาท่านอาจารย์ ดร. สนอง หากข้าพเจ้าได้ล่วงเกินท่าน โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ดี ขอท่่านอาจารย์ได้โปรดอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้าด้วย

คำตอบ

ผู้ใดเห็นความไม่ดี (เลว) ของตัวเองได้ ผู้นั้นเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีได้ในวันหน้า .... สาธุ

(๑). การที่จิตยังระลึกถึงสิ่งอันเป็นอกุศลเหล่านั้น ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า อกุศลธรรม (บาป) ยังถูกเก็บบันทึกอยู่ในใจของผู้ระลึกได้

(๒). คิดอกุศลโดยไม่ตั้งใจ ถือว่าเป็นบาป แต่บาปไม่มากเท่ากับตั้งใจคิดอกุศล

(๓). ผู้ใดมีความประสงค์จะพ้นจากบาปธรรม ที่ถูกเก็บไว้ในดวงจิตเป็นอกุศลสัญญา ผู้นั้นต้องนำดอกไม้ธูปเทียน ไปขอขมากรรมไม่ดีที่เคยประพฤติผิดพลาดมาก่อน ด้วยเอาจิตจดจ่อกับการสวดมนต์บทที่ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เมื่อสวดมนต์แล้วเสร็จ ต้องกล่าวคำขอขมาที่มีจิตคิดอกุศลต่อพระรัตนตรัยให้ท่านยกโทษให้ เมื่อขมากรรมแล้วต้องรักษาสัจจะ ไม่ประพฤติล่วงเกิดให้เกิดเป็นบาปซ้ำขึ้นอีก จากนั้นนำตัวเข้าปฏิบัติธรรม โดยมีศีล มีความเพียร เป็นแรงสนับสนุน

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเริ่มปฏิบัติตอนอายุ 16 ครับเริ่มแรกดูลมหายใจเรื่อยๆทั้งวัน แล้วก็กำหนดเวลาปฏิบัติวันละ ครึ่งชั่วโมง ถึง1ชั่วโมงจนเกิดอาการตัวเบา ใจเย็นสบาย สว่าง ผมก็ไปขอปฏิบัติกับครูบาอาจารย์สายวัดหนองป่าพง ศึกษาข้อวัตรกับท่าน จนนั่งเนสัชชิกกับท่านได้ ตอนอยู่กับท่านก็เกิดอากรนี้อีกแต่บ่อยขึ้น เกิดขณะเดินไปเรียน ขณะจงกรม นั่งสมาธิ ท่านเน้นว่าให้มีสติตลอดเวลาบางทีผมเห็นกระดูกตัวเองจาก โพรงจมูก ไล่ไปจนถึงกระโหลกซี่โครง และทั้งตัว ในท่านั่งสมาธิอยู่ แล้วตอนกวาดวัดผมเห็นความคิดเถียงกันในใจ แล้วก็เห็นความคิดต่างๆ แล้วความคิดก็ดับไปจึงสรุปว่าคนเราทุกข์กับความคิดซะส่วนมาก ทำให้ผมรู้สึกเย็นสบาย มีความสุขมาก อยากอยู่อย่างนี้ตลอดไป แล้วอารมณ์ภายนอกทำอะไรไม่ได้เลยครับ แต่ตอนนี้ผมเข้ามหาลัยอยู่ไกลครูบาอาจาร์แล้ว จึงเห็นว่า อาจารย์ สนอง น่าจะให้คำปรึกษาได้...จึงอยากถามว่า

1.อาการที่เห็นความรู้สึก นึกคิด เป็นตัวผู้รู้ที่ครูบาอาจารย์สอนรึเปล่า

2.ผมนั่งแล้ว สว่าง รู้สึกสงบนะครับ แต่ร่างกายมันโยกโคลงไปข้างหน้ามาก อย่างกับคนหลับ มีวิธีแก้ไหมครับ

3.อาการเห็นโครงกระดูกคืออะไรครับ

4. แล้วผมเดินมาถูกทางหรือเปล่า มีอะไรแก้ไขไหม

5.ผมเห็นตัวเองโกรธตอนที่ถูกว่าขาดสติ นั่นคือความถือตัวที่คิดว่าเราคือนักปฏิบัติ ทำให้ผมก็รู้ว่ายังมีกิเลสอยู่ จะมีวิธีจัดการอย่างไรครับ

6.นอกจากการดูลมหายใจ แล้วดูกาย ดูใจ แล้ว ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงตลอด แล้วผมต้องทำอะไรอีกไหมครับ

สุดท้ายนี้ขอให้อาจารย์เป็นที่พึ่ง แก่ผู้น้อยอย่างนี้ ตราบเข้าสู่ความสงบนะครับ

คำตอบ

(๑). จิตมีหน้าที่รู้ คิด นึก สิ่งที่บอกเล่าไป เป็นความเห็นถูกตรงตามจิต หรือคือตัวผู้รู้ตามที่ครูบาอาจารย์สอนนั่นเอง

(๒). อาการโยกโคลงของร่างกาย เกิดขึ้นด้วยเหตุที่จิตเคลื่อนออกไปจากองค์บริกรรม แก้ปัญหานี้ด้วยการกำหนดว่า “ โยกหนอๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆ จนอาการโยกโคลงดับไป แล้วจึงดึงจิตกลับมาสู่องค์บริกรรมเดิม

(๓). คือตัวปัญญา (ภาวนามยปัญญา)

(๔). ผู้ใดปฏิบัติธรรมโดยไม่มีครูบาอาจารย์ อยู่ใกล้ ให้ยึด “ หลักตัดสินธรรมวินัย ๘ ” มาเป็นครูสอนใจตัวเองว่า ธรรมเหล่าใด เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติแล้ว ต้องเป็นไปเพื่อ
๑. ความคลายกำหนัด
๒. ความไม่ประกอบทุกข์
๓. ความไม่พอกพูนกิเลส
๔. ความมักน้อย
๕. ความสันโดษ
๖. ความสงัด (ไม่คลุกคลีหมู่คณะ)
๗. การประกอบความเพียร
๘. ความเลี้ยงง่าย

ข้างต้นนี้เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ที่ตรัสแก่พระมหาปชาบดีโคตรมี ในพรรษาที่ ๕ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี

ผู้ถามปัญหาหากปฏิบัติได้ถูกตรง จงดำเนินต่อไป หากปฏิบัติแล้วผิดไปจากธรรม ผิดไปจากวินัย ผิดไปจากคำสอนของพระศาสดา ต้องแก้ไข

(๕). เหตุที่ทำให้โกรธมีได้สองทาง
๑. มีปัญญาเห็นผิด และมีอัตตาฝังอยู่ในจิต
๒. จิตขาดสติ จึงรับเอาสิ่งกระทบที่ขัดใจ เข้าปรุงเป็นอารมณ์โกรธ

วิธีแก้ ทำได้สองทาง

๑. ให้อภัยในทุกสิ่งกระทบที่เป็นเหตุขัดใจ ผู้ประพฤติได้แล้ว เมตตาย่อมเกิดขึ้น และเก็บสั่งสมในดวงจิตเป็นเมตตาบารมี ผู้มีเมตตาเป็นผู้มีอารมณ์สงบและเย็น

๒. เจริญวิปัสสนาจนเข้าถึงปัญญาเห็นแจ้ง แล้วใช้ปัญญาเห็นแจ้งมาพิจารณาขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ตามกฎไตรลักษณ์ เมื่อขันธ์ ๕ อนัตตา ความมีอัตตาย่อมดับไปด้วย จิตที่หมดอัตตา เมื่อมีสิ่งกระทบจิต ย่อมไม่เกิดอารมณ์ใจ เข้ามามีอำนาจเหนือใจ แม้สิ่งขัดใจก็ไม่สามารถทำให้ความโกรธเกิดขึ้นได้

(๖). การเห็นความเปลี่ยนแปลงในกายและใจ เป็นการเห็นด้วยปัญญาเห็นแจ้ง ผู้ใดใช้ปัญญาเห็นแจ้งมาพิจารณากิเลสที่หมักหมมอยู่ในใจ (สังโยชน์) ทั้ง ๑๐ อย่างว่า ล้วนต่างเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ได้แล้ว จิตย่อมเข้าถึงความลดทุกข์ และพ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวงได้ นี้เป็นที่สุดของธรรมวินัยที่ระบุอยู่ในพุทธศาสนา

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีคำถามรบกวนครูสนองดังนี้ครับผม
1. พ่อของเพื่อผมตอนนี้เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หมอที่โรงพยาบาลกล่าวว่ารักษาตามอาการแล้ว
จึงไม่ขอส่งต่อไปรักษาที่กรุงเทพ ผมรู้สึกเห็นใจเพื่อนคนนี้
ก่อนหน้านี้ผมเคยพูดกับเขาว่า เธอมีครอบครัว แล้วได้กลับไปดูแลพ่อแม่บ้างไหม
เขาก็ตอบมีบ้างแต่ไม่บ่อย ผมก็พูดให้เขาฟังว่าคนที่มีครอบครัวเหมือนมีบ่วงและห่วงจริงๆ
ผมไม่นึกว่าคำว่าผมพูดวันนั้น จะมาส่งผลตอนนี้ เพราะพ่อเขาไม่สบายแบบฉุกเฉิน
และช่วงนี้เป็นช่วงที่เพื่อนผมได้มาดูแลพ่อเขามากขึ้น (วัยเพียง 50 กว่า)
พ่อเขาไม่สมารถพูดได้แล้วตอนนี้ ผมทราบดีว่าจิตที่มีสติ จะไปในที่ที่สุคติ
ในช่วงเวลานี้เพื่อนผมสามารถทำอย่างไรให้พ่อเขาได้บ้างครับผม
( พ่อเขาเคยได้แต่ทำบุญตักบาตรบ้าง แต่ก็ต้องจูงกันไปถึงจะทำ ผู้ช่วยผมเล่าให้ฟัง
แต่สำหรับการทำสติปัฏฐาน 4 ไม่น่าจะเคยทำเลยนะครับ)

2. ผมมานั่งนึกย้อนถึงพ่อของผมเอง ซึ่งก็ชราแล้ว ( 74 ปี) แต่สามารถเดินเหินไปไหนมาไหนได้สะดวก ค่อนข้างแข็งแรงไม่เจ็บไข้ พ่อผมเป็นคนใจบุญกับสัตว์ โดยเฉพาะสุนัข
ท่านไปถวายนมกล่องให้พระใกล้บ้านทุกๆเช้าและก็นำอาหารไปเลี้ยงสุนัขในวัด ทุกๆวัน(หลายตัวมาก) พ่อเป็นคนที่สวดมนต์ทุกๆคืนก่อนนอนตั้งแต่ผมยังเด็ก
แต่ผมกังวลคือ พ่อผมยังดูละครทุกวัน ทุกวันนี้ผมจึงพยายาม
โหลดไฟล์เสียงเกี่ยวกับกฏแห่งกรรม , นิทานชาดกบ้างและประวัติอัครสาวก
นิทานธรรมะ เช่นพระอานนท์พุทธอนุชา ให้พ่อฟัง
ท่านชอบมากและมีจิตใจที่เปลี่ยนไปมากเช่น ในเรื่องของหนูที่แม่ผมดักได้
ท่านจะไปปล่อยและบอกสงสาร มดก็ไม่บี้เหมือนสมัยก่อน
แต่หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับความตาย มรณะสติ ท่านไม่ชอบ
ผมอยากเรียนถามว่า...หากถึงเวลาวันนั้น พ่อผมจำเป็นต้องใกล้จะหมดลม
ผมจะมีวิธีดึงรั้งสติแก่พ่อผมอย่างไรดีครับ ท่านไม่ได้ฝึกกำหนดสติเลยครับเพียงแต่ได้สวดมนต์ก่อนนอนเท่านั้น

3. ผมเข้าใจถูกไหมครับ
3.1 - การทำบุญให้กับคนทุศีลยังได้อานิสงส์มากกว่าการทำบุญกับสัตว์
3.2 - การใส่บาตร ใส่อะไรไปเราจะได้แบบนั้นจริงหรือไม่ครับ
3.3 - ผมเคยได้ยินคนตายแล้วฟื้น ไม่เคยใส่ช้อนส้อมไปก็ไม่มีทานเมื่อละจากโลกไปแล้ว
3.4 - การสวดมนต์ก่อนนอน การมีเครื่องบูชาเช่นดอกไม้ธูปเทียน กับ การสวดมือเปล่า ได้อานิสงส์เท่ากันครับ

4. ผมอยู่จังหวัดราชบุรี ครูสนองพอจะแนะนำสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ไหมครับ
ปกติผมจะทำที่บ้าน ไม่ได้ไปหาพระสอนเลยครับ ผมฟังความรู้จากเนต
ถึงผมไปวัด ผมก็ไปนั่งทำสติ คนเดียว หลังพระพุทธรูปครับ
วัดหนองหอย(วัดไทยนะครับ ไมใช่ของเจ้าแม่กวนอิม)
บรรยากาศดีมากๆบนเขาสูง ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนเขาเลยครับ

กราบขอบพระคุณคุณครูที่มอบธรรมะเป็นธรรมทานเสมอมาครับ

คำตอบ

(๑). คนที่ใกล้ทิ้งขันธ์ลาโลก หากประสงค์ให้เขาไปเกิดในภพที่ดีที่เป็นสุคติภพ ควรให้จิตของเขาสัมผัสกับสิ่งดีๆ เช่น ให้ได้ฟังเสียงสวดมนต์ ให้ได้เห็นภาพพระอริยสงฆ์ หรือเอาจิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ฯลฯ เหล่านี้เป็นเหตุให้มีจิตจดจ่อ (สติ) อยู่กับสุภสัญญา เมื่อจิตทิ้งรูปขันธ์แล้ว พลังสติย่อมผลักดันจิตวิญญาณไปสู่สุคติ

(๒). สิ่งที่พ่อได้ประพฤติอยู่เป็นปกติ จัดว่าเป็นกุศลกรรม เรื่องต่างๆที่ผู้ถามปัญหาบอกเล่าไป เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า พ่อได้สร้างเหตุไปเกิดในสวรรค์ ผู้เป็นลูกหากประสงค์จะช่วยพ่อ ควรนำสิ่งที่พ่อชอบฟังคือ นิทานธรรมะ ไปเปิดให้ท่านฟังนั้นดีแล้ว จงทำต่อไป เพราะถูกตรงกับจริตของท่านที่ศรัทธาในสวรรคสมบัติ เรื่องใดที่ท่านไม่ปรารถนาจะฟัง ผู้เป็นลูกไม่ควรก้าวล่วง เพราะจะเป็นบาปเกิดขึ้นกับผู้ก้าวล่วง

(๓).
๓.๑ - ถูกครับ ถ้าสัตว์นั้นยังมีสภาวะของจิตเป็นปุถุชน
- ผิดครับ ถ้าสัตว์นั้นเป็นพระโพธิสัตว์ ไปเสวยพระชาติเป็นสัตว์ เพื่อบำเพ็ญบารมี

๓.๒ - จริงครับ แต่ผลจะตอบกลับเมื่อไร ขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรม

๓.๓ - คนที่ตายแล้วฟื้น ขณะยังอยู่ในห้วงเวลาของการตาย ต้องไปรับวิบากเป็นสัมภเวสี จึงยังต้องการสิ่งสมมุติ (ช้อนส้อม) นั้นอยู่

๓.๔ -ได้อานิสงส์เท่ากัน เมื่อมีศรัทธาก่อน สวดมนต์ มีความตั้งใจขณะสวดมนต์ และมีความอิ่มใจหลัง สวดมนต์เท่ากัน
- ได้อานิสงส์ไม่เท่ากัน เมื่อปัจจัยทั้งสามข้างต้นมีต่างกัน

(๔). หากผู้ถามปัญหาประสงค์ความก้าวหน้าในทางธรรม ทำไมไม่ตำตัวเองเข้าปฏิบัติธรรม กับครูบาอาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงตามธรรม อาทิ หลวงพ่อมิตสุโอะ แห่งวัดป่าสุนันทวนาราม จังหวัดกาญจนบุรี หรือพระอาจารย์มนตรี แห่งสำนักปฏิบัติธรรมป่าละอู่ ล่ะครับ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิชั้นเป็นคนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดค่ะ

ดิชั้นอายุ 29 ปี เรียนจบมาไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลยค่ะ ชีวิตดิชั้นเหมือนกับที่อาจารย์เขียนในหนังสือหลายเล่ม เรื่องความเป็นลูกเทวดามาเกิด ประเภทแม้ว่าครอบครัวไม่ได้ร่ำรวยมหาศาล แต่ก็มีคนรองมือรองเท้าตลอดอย่างนั้นแหละค่ะ แม่ของดิชั้น พี่สาว น้าๆ และญาติๆของดิชั้นทุกคนไม่เคยปล่อยให้ดิชั้นลำบากอะไรเลย เพราะเป็นน้องคนเล็กสุดในบรรดาลูกพี่ลูกน้องและก็เกิดช้ากว่าคนถัดไปค่อน ข้างมาก ดิชั้นเป็นประเภทนั้นแหละค่ะ แต่เกรงว่าจะไม่ได้มีบริวารและทรัพย์สมบัติติดตัวมาด้วย แม่ดิชั้นจึงเป็นฝ่ายให้เงินให้ทองดิชั้นฝ่ายเดียวมาตั้งแต่เล็กจนโต

ตั้งแต่เด็กดิชั้นเรียนเก่งค่ะ มีความรับผิดชอบสูง ดิชั้นมีความคิดเป็นผู้ใหญ่ เห็นเด็กอื่นเล่นกันก็มองว่าเป็นเรื่องของเด็กๆ มีเพื่อนไม่มากเพราะดิชั้นเลือกคบคนมาก ถ้าเห็นว่าไม่ดีเมื่อไหร่ก็ตีตัวออกห่างทันที และไม่เคยผูกพันกับใครค่ะ จริงๆนะคะไม่เคยผูกพันกับใครเลย แม้ว่าเพื่อนที่ดูรักกันมากๆไม่เคยทะเลาะกันแม้แต่น้อย เมื่อห่างกันดิชั้นก็ไม่มีความคิดถึง เวลาย้ายโรงเรียนก็ไม่เคยติดต่อใครก่อน ถ้าเพื่อนไม่ติดต่อเราก็เป็นอันห่างกันโดยปริยาย นิสัยนี้ติดมาจนโตค่ะ แต่โชคดีที่ดิชั้นไม่เคยขาดเพื่อนที่จริงใจเลยค่ะ ทุกครั้งที่ย้ายหรือมีการเปลี่ยนแปลงดิชั้นมีเพื่อนสนิทตลอดอย่างน้อย 1 คน อย่างมาก 2 คนค่ะ

อันที่จริง แม้แต่คนในครอบครัวดิชั้นก็แทบไม่ผูกพันกับใครนอกจากแม่ (พ่อดิชั้นเสียไปตอนดิชั้นอยู่ ม. 6 ซึ่งเป็นการสูญเสียครั้งที่ 2 ในชีวิต) ตอนเด็กๆดิชั้นเป็นที่รักของพ่อมาก พ่อเข้าใจและตามใจชั้นแทบทุกอย่าง แต่ดิชั้นก็ไม่เคยเอาแต่ใจนะคะ นอกจากพ่อดิชั้นก็ติดพี่สาวคนนึงค่ะ ครั้งแรกที่ดิชั้นก็ได้ลิ้มรสการจากจากคนที่ตัวเองรัก ดิชั้นต้องกลายเป็นเหมือนลูกคนเดียว เมื่อพี่ๆทุกคนออกจากบ้านไปเรียนต่อ พี่ที่ดิชั้นติดมากก็ไปเรียนต่างประเทศ ดิชั้นเสียใจมากค่ะ ร้องไห้เยอะมากจนใครๆถาม ดิชั้นตอบว่าดิชั้นสงสารตัวเอง ตั้งแต่นั้นมา ดิชั้นก็เป็นเด็กที่ชินกับการอยู่คนเดียว และชอบทำวิปัสสนาค่ะ เมื่อก่อนดิชั้นไม่ทราบว่าสิ่งที่ดิชั้นทำคือการวิปัสสนานะคะ คือดิชั้นชอบเช็คตัวเองน่ะค่ะว่า หนาวมั้ย ร้อนมั้ย มีความสุข ความทุกข์ ป่วยหรือเปล่า สนุกหรือเบื่อ หรือซึมเศร้า หงุดหงิด ? เวลาได้ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือการ์ตูนหรือนิยาย ก็ถามตัวเองตลอดว่าชอบหรือไม่ชอบตรงไหน ชอบมากแค่ไหน ชอบกว่าอันอื่นหรือเปล่าฯลฯ ตลอดเวลานั่นแหละค่ะ ต่อมาดิชั้นก็ต้องไปเรียนต่างจังหวัดเหมือนกันเมื่ออายุ 15 ปีค่ะ ไปอยู่หอกับคนแปลกหน้าทั้งนั้น แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาค่ะ เหมือนเดิมคือดิชั้นเลือกคบเพื่อนแล้วก็มีความคิดเป็นผู้ใหญ่ ไม่ยุ่งกับธุระของใครและเรียนเก่งค่ะ

ก่อนจบม. 6 ดิชั้นก็เสียพ่อไปด้วยโรคร้ายค่ะ พ่อของดิชั้นดูแข็งแรงมาตลอดชีวิตท่านทีเดียว พอทรุดก็ทีเดียวเลยค่ะ ทั้งโรคหัวใจ มะเร็งและเส้นเลือดในสมองแตก หมอบอกว่าอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือนแล้วก็สามเดือนจริงๆ ตอนม. 3 พ่อเคยถามดิชั้นว่าอยากเป็นอะไร ดิชั้นบอกว่าอยากเป็นผู้พิพากษา ดิชั้นก็เลยเลิกเรียนสายวิทย์ไปเลย มุ่งมั่นเต็มที่เพื่อเอ็นทรานซ์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ค่ะ แต่ก่อนที่พ่อจะพูดไม่รู้เรื่อง(ตอนไม่สบาย) เหมือนพ่อจะเตือนเป็นครั้งสุดท้ายด้วยสายตาที่เฉียบคมเกี่ยวกับตัวชั้นค่ะ อยู่ๆระหว่างที่ท่านนอนอยู่แล้วพูดกับดิชั้นว่า "ลูกจะเป็นได้เหรอผู้พิพากษา เพราะว่าลูกใจอ่อน ใจดี" ทั้งๆที่วันดีคืนดีไม่เคยถามเลยนะคะ ดิชั้นบอกว่าเป็นได้แน่ แต่ที่ไหนได้ล่ะคะ นั่นแหละค่ะ สิ่งที่ดิชั้นเป็นทุกข์มากอยู่ในเวลานี้ล่ะค่ะ อาจารย์คะ

ดิชั้นมีชีวิตตามแนวทางค่ะ เอ็นติด เรียนดีค่ะ แต่ตอนเรืยน 4 ปีที่มหาวิทยาลัย ดิชั้นเริ่มน๊อตคลายค่ะ จากที่ตั้งใจเรียนมาก ก็คลายมาเรื่อยๆเป็นสบายๆค่ะ จบมายังอุตส่าห์ได้เกียรตินิยมอันดับสอง พอเรียนจบปั๊บน๊อตหลุดปุ๊บเลยค่ะอาจารย์ มาตาเริ่มสว่างว่าสังคมเปลี่ยนไปเรื่อย กฎหมายก็ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น กระบวนการยุติธรรมก็มีปัจจัยต่างๆที่ทำให้ความจริงมันคลาดเคลื่อนเยอะมาก ไม่น่าเลยเรา ดิชั้นรู้สึกถึงคำว่าตกกระไดพลอยโจนค่ะ ไม่ทันตั้งตัวเลยว่าเลือกผิดเสียแล้ว ดันมาเลือกสาขาอาชีพที่มีกรรมที่สุดสาขาหนึ่งเลยที่เดียว นั่นก็คืออาชีพที่เอาปัญหาคนอื่นมาใส่ตัวน่ะค่ะ ก็คิดส่งๆไปว่า ไหนๆก็ตกกระไดมาแล้วทำให้มันสำเร็จละกัน ทู้ซี้เรียนเนฯไปแบบน๊อตหลุดๆ 4 ปีกว่าจะจบ ระหว่างนั้นอ่านการ์ตูนดูละครเกาหลีญี่ปุ่นกับฟังเพลงเป็นงานหลักค่ะ แต่จุดเปลียนมันอยู่ระหว่างที่น๊อตหลุดนี่แหละค่ะอาจารย์ ดิชั้นฟังเพลงหนักเหมือนเป็นบ้าเลย เพลงนั้นเป็นเพลงที่ฟังไม่ออกค่ะ แต่ให้อารมณผ่อนคลาย ดิชั้นมีสมาธิดีมากเพราะดิชั้นฟังแบบแยกเสียงเครื่องดนตรีทีละชิ้นเลยค่ะ มีความสุขมากเพราะว่าเหมือนไม่มีความทุกข์ใดๆมากร่ำกลายในจิตดิชั้นได้เลย พอไม่ได้ฟังก็เกิดอาการโหยหาค่ะ ถึงขั้นขาดไม่ได้ ช่วงนั้นมันแปลกมากค่ะ และอยู่มาวันนึง มันปิ๊งขึ้นมาเองค่ะ เรื่องการวางให้ได้ หลงรักอย่างสุดๆแต่ตอนหลุดก็หลุดทันทีเลย ฉับพลันมาก ดิชั้นเหมือนกับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่างๆเสียแล้ว เพี้ยนค่ะอาจารย์ ชีวิตผกผัน 360 องศา

ตอนที่ชีวิตเปลี่ยนแบบหลังเท้าเป็นหน้ามือนั้นดิชั้นก็ ถ้าจำไม่ผิดก็เรียนเนไป 1 ปีค่ะ อายุประมาณ 22 ย่าง 23 ดิชั้นก็เพื้ยนแบบที่ว่า เพลงที่เคยหลงไหลหลงรักก็ไม่ฟังอีกเลย หน้าตัวเองก็ไม่อยากเห็นเพราะมีความรู้สึกประหลาดที่ว่า ทำไมฉันถึงต้องมีตัวชั้นอยู่ตรงนี้นะ ทำไมทุกอย่างถึงมีนะ แบบว่าตอนนั้นความจริงมันโจมตีไม่หยุดเลย เห็นอะไรในโลก ก็มีความรู้สึกว่ามัน "เกิน"ค่ะ แม้แต่ตัวของดิชั้นเอง ดิชั้นไม่สมควรจะอยู่ตรงนี้ แยกตัวเองออกจากโลกโดยสิ้นเชิง เลิกตบยุงเด็ดขาด แม้แต่มดก็พยายามมองให้ดีก่อนย่างเท้าแต่ละก้าวน่ะค่ะ เชื่อมั้ยคะ ตอนนั้นดิชั้นไฟแรงมากเลย ดิชั้นเลยความเป็นมาเป็นไปค่ะ แต่ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าอะไร จนในภายหลังหลังจากที่ศึกษาจากตำราของอาจารย์ต่างๆ จนมาเจอในหนังสือของท่านพุทธทาสว่า เค้าเรียกว่า "อิทัปปัจยตา" ตอนแรกๆดิชั้นงมทางไม่ถูกเลยว่าต้องไปค้นจากที่ไหนค่ะ ค้นจากหนังสือปรัชญาที่เคยเรียนตอนปี 1 ค่ะ แล้วก็โยงมาเรื่อย จนมาพบขุมทรัพย์ที่หนังสือท่านพุทธทาสนั่นแหละค่ะ

ตั้งแต่นั้นดิชั้นก็เรียบๆเคียงๆกับแม่ว่า ถ้าวันนึงดิชั้นไปบวช แม่จะว่าไง คิดดูซิคะ เพิ่งเรียนจบแท้ๆ มาบอกว่าไปบวช แม่คงนึกว่าดิชั้นจะไปพรุ่งนี้วันนี้ เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ค่ะ ดิชั้นก็เลยพูดไปคำนึงว่า ความสุขของดิชั้นมันไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว ถ้าดิฉันอยู่อย่างนี้ดิชั้นคงไม่มีความสุขเป็นแน่ ตอนนั้นมันคิดอยู่อย่างเดียวว่าถ้าแม่ให้ไป ไปแน่ จริงๆก็ไม่ใช่วันนี้พรุ่งนี้แน่ๆ แต่ดิชั้นพร้อมที่จะทิ้งทุกอย่างไปจริงๆ ขนาดแม่ดิชั้นก็ยังคิดเลยว่าดิชั้นทิ้งได้ แต่มันไม่ง่ายค่ะ แม่ขวางเต็มตัว พี่สาวที่อยู่ต่างประเทศก็รู้ในเวลาอันสั้น ทุกคนขวางเต็มตัวค่ะ จากนั้นก็เป็นเรื่องใหญ่ ดิชั้นก็ได้เรียนรู้ว่าดิชั้นยังอ่อนปัญญานัก เลยเก็บความคิดนี้ไว้กับตัวเองไม่พูดออกมาอีก กลับมาฟังเพลงต่อเรียบร้อยแล้ว(เพราะสำหรับดิชั้นมันคือการทำสมาธิค่ะ) จนทุกคนคิดว่าดิชั้นได้พับความคิดนี้ไว้เรียบร้อย แต่จริงๆมันยังอยู่ตลอดเวลาค่ะ ดิชั้นอ่านหนังสือธรรมะเป็นบ้าเป็นหลังแต่ก็ค่อนข้างจะเป็นความลับนะคะ คนอื่นคิดว่าดิชั้นอ่านแค่พอประมาณ จริงๆแล้วดิชั้นมีเรื่องที่อยากเช็คว่าตัวเองมีมิจฉาทิฐิมากน้อยเพียงใด ก็เลยยึดหนังสือเป็นครูค่ะ จนได้มาพบกับอาจารย์สนองทางหนังสือด้วย ดิชั้นคิดได้ว่าอาจารย์ก็ยังมีชีวิตอยู่ (ท่านอาจารย์พุทธทาส ไม่อยู่ตอบคำถามดิชั้นเสียแล้ว) ดิชั้นจึงอยากสมัครตัวเป็นลูกศิษย์คนนึงค่ะ

เล่ามาเยอะแยะเลย คือมันอัดอั้น ขอโทษนะคะ ดิชั้นมีคำถามจะถามอาจารย์ด้วยค่ะ

1. ดิชั้นกำลังจะสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาปีนี้ค่ะ แต่ดิชั้นอ่านหนังสือไม่ได้เลย ใจนึงก็อยากทำให้แม่ภูมิใจซักครั้ง แต่อีกใจก็ไม่อยากทำอาชีพนี้เลยค่ะ ตอนอ่านหนังสือเหมือนมืบางอย่างขัดขวางตลอดค่ะ ดิชั้นไม่มีสมาธิเลยต้องไปอ่านหนังสือธรรมะที่ว่าเราปฏิบัติธรรมในระหว่างทำ งานได้ ดิชั้นก็เข้าใจ แต่ลึกๆดิชั้นก็กลัวที่จะทำงานที่เสี่ยงแบบนั้นน่ะค่ะอาจารย์ ดิชั้นคงเหมือนตกนรกทั้งเป็นเลยที่เดียวที่ต้องเห็นปัญหาและความทุกข์ของคน อื่นไปตลอดชีวิต ดังนั้นที่ดิชั้นคิดได้อีกอย่างคือ ดิชั้นต้องหางานใหม่จะเป็นการดีกว่ามั้ยคะอาจารย์

2. ดิชั้นมีปัญหาเรื่องการสนทนากับคนอื่นมากๆเลยค่ะ เวลาคุยไม่รู้จะคุยเรื่องอะไร เพราะดิชั้นไม่คุยเรื่องที่คนอื่นธรรมดาๆเค้าสนใจกันน่ะค่ะ เวลาเจอคนที่สนใจธรรมะ ดิชั้นดีใจมาก แต่พอคุยๆไปดิชั้นก็ต้องผิดหวังแทบทุกครั้งเพราะว่า มันไม่ใช่น่ะค่ะอาจารย์ ดิชั้นต้องการคุยอะไรที่ลึกกว่านั้น และบางครั้งเวลาคุยดิชั้นก็ทราบเลยว่าบางคนยังมีความเข้าใจผิดอยู่มาก ทั้งๆที่เค้าอายุมากกว่าดิชั้นมาก ดิชั้นไม่กล้าที่จะคุยลึกไปกว่านั้นอีก เพราะกลัวจะไปแตะอัตตาของเค้าแล้วเกิดความขัดใจกันค่ะ แต่ดิชั้นก็ยังสงสัยนะคะ ว่าถ้าเรารู้แล้วว่าเค้ามี มิจฉาทิฐิ เราอายุน้อยกว่า เราควรจะเตือนเค้าหรือเปล่าคะ หรือดิชั้นควรจะทำตัวเหมือนเดิมคือ เงียบๆแล้วตีตัวออกห่างดีคะ

3. มีคนเคยทักค่ะว่า ดิชั้นมีองค์สององค์ใหญ่ๆองค์เล็กที่หนึ่งองค์อยู่กับตัว คืออะไรกันแน่คะ เค้าบอกว่าองค์ของดิชั้นพยายามพาดิชั้นไปปฏิบัติธรรมอย่างเต็มตัวซักที เค้าจะทำให้ดิชั้นไม่ประสบความสำเร็จในทางโลกน่ะค่ะ ดิชั้นควรจะทำอย่างไรดีคะ เพราะตัวดิชั้นก็อยากบวชมากค่ะ

4. แม่ดิชั้นบาปหรือเปล่าคะ รวมทั้งคนที่ขัดขวางน่ะค่ะ

5. ถ้าดิชั้นมีบารมีมากขึ้นจะชักจูงแม่ให้ไปกับดิชั้นได้มั้ยค่ะ

6.หลังจากที่ดิชั้นกลับมาฟังเพลงใหม่ ดิชั้นกลับมีสมาธิไม่ได้เท่าเดิมแล้วค่ะ แต่ก็ให้ความเพลิดเพลินดี ตอนนี้ดิชั้นเจริญสมถสมาธิได้น้อยมากค่ะ แต่วิปัสนาก็ยังทำอยู่ทุกวัน ดิชั้นคิดว่าสาเหตุหนึ่งคือ ดิชั้นไม่ค่อยเห็นประโยชน์จากการทำสมถสมาธิเสียแล้ว แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ดิชั้นอยากเจริญสมถสมาธิให้ดีขึ้นจนถึงขั้นสูง สุด(เป็นเป้าหมายของดิชั้นในขณะ ควบคู่กับการขูดกิเลสกับนิวรณ์ประจำวัน) ก็คือดิชั้นได้อ่านที่อาจารย์เคยบอกว่า ถ้าเราทำกรรมฐาน แล้วจะได้ญาณแบบที่เปาบุ้นจิ้นมี คือติดต่อกับวิญญาณได้และทำให้ตัดสินคดีไม่ผิดพลาด ดิชั้นจึงอยากทราบมากว่า ดิชั้นควรจะเปลี่ยนวิธีเจริญกรรมฐานเป็นอานาปนสติ หรือยังคงใช้การฟังเพลงเป็นเครื่องมือดีคะ

7.ดิชั้นเคยเรียบเคียงว่าอยากจะเปลี่ยนอาชีพแต่แม่ของดิชั้นก็ค้านอีก โดยที่ท่านบอกว่าคนเราจะทำอะไรก็ต้องมั่นคงในทางนั้น ถ้าสอบคราวนี้ไม่ได้ก็สอบไปเรื่อยๆ เรื่องเงินทองแม่มีให้ จริงๆที่เป็นแบบนี้ก็เป็นกรรมในอดีตของดิชั้นที่เหมือนไปฝังความคิดว่าดิ ชั้นอยากเป็นผู้พิพากษาให้คนอื่นได้รู้ แต่ดิชั้นก็รู้อยู่แก่ใจว่า เป้าหมายของดิชั้นเปลี่ยนไปนานแล้ว เลยอยากถามอาจารย์ว่าการที่แม่ค้านไม่ให้ดิชั้นเปลี่ยนอาชีพ โดยที่ดิชั้นก็บอกว่าอาชีพนี้เสี่ยงกับความบาปกรรมมาก แม่ก็ไม่เห็นด้วยท่าเดียวค่ะ แต่เราไม่เคยเถียงกันนะคะ แม่ของดิชั้นจะบาปหรือเปล่าคะ คือดิชั้นกลัวว่าถ้าดิชั้นยืนยันความคิดเดิมว่าจะเปลี่ยนแน่นอนแล้วแม่ยัง ขัดขวางต่อไปเรื่อยๆ แม่ดิชั้นจะบาปน่ะค่ะ

8. บางครั้งเวลาฟังคนพูดเรื่องธรรมะแล้วดิชั้นรู้ว่าเป็นมิจฉาทิฐิรุนแรง ทั้งๆที่ดิชั้นไม่โกรธ(ดิชั้นเช็คแล้วค่ะว่าไม่โกรธเลย)แต่แปลกมากที่ใจดิ ชั้นเต้นแรงมากค่ะ แรงจนรู้สึกได้มาก ดิชั้นต้องกำหนดตลอดว่า"ใจเย็นๆๆๆๆ" ซักพักก็จะดีขึ้น เกิดอะไรขึ้นคะอาจารย์ เป็นเพราะจิตใต้สำนึกของดิชั้นยังหยาบอยู่มากใช่มั้ยคะ

จริงๆแล้วดิชั้นมีเรื่องสงสัยเต็มไปหมดเลยค่ะ แต่ดิชั้นมีนิสัยอย่างหนึ่งคือชอบคิดเองก่อน แล้วไปหาคำตอบที่ถูกต้องทีหลัง คำถามบางข้อดิชั้นยอมรับว่าได้คิดเองและได้คำตอบเองแล้ว แต่ดิชั้นยังไม่มั่นใจค่ะ ดิชั้นจึงขอรบกวนอาจารย์ชี้ทางที่ถูกต้องแก่ดิชั้นด้วย

สุดท้ายดิชั้นกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

คำตอบ

(๑). พระพุทธะเป็นผู้มีความเป็นสัพพัญญู จึงนำเอาความรู้ที่เป็นจริงแท้ มาสอนให้ผู้อื่นได้เข้าถึงปัญญาเห็นถูกตามธรรม ผู้เห็นถูกเห็นว่า บุคคลมีชีวิตเป็นของตัวเอง ดังนั้นจึงต้องบริหารจัดการชีวิตด้วยตัวเอง ผู้เห็นถูกไม่เข้าไปก้าวล่วงในชีวิตของคนอื่น ผู้เห็นถูกเป็นได้เพียงผู้ชี้ทางเท่านั้น จึงขอชี้ทางสว่างว่า อาชีพผู้พิพากษา ต้องเข้าไปตัดสินทางดำเนินชีวิตของผู้อื่น และจากประสบการณ์ตรงของอดีตผู้พิพากษาที่ตายแล้วฟื้น ในห้วงเวลาแห่งการตาย ได้ไปเห็นบุคคลจำนวนมากที่มีอาชีพนี้ ต้องลงไปเสวยอกุศลวิบากอยู่ใน โรรุวมหานรก ที่มีอายุขัย ๔,๐๐๐ ปีนรก ซึ่งเทียบกับปีมนุษย์ได้ ๒๓๔ ล้านปี เป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของนรกขุมนี้ เมื่อฟื้นขึ้นมาในร่างเดิม ได้พิจารณ์เห็นทุกข์โทษของอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ จึงลาออกจากผู้พิพากษา แล้วไปบวชเป็นภิกษุปฏิบัติธรรม เพื่อหนีอกุศลวิบากที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า

ดังนั้น ปัญหาที่ถามไปจึงไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะผู้ตอบปัญหาเป็นได้เพียงผู้ชี้ทางเท่านั้น

(๒). ในครั้งพุทธกาล พระพุทธโคดมได้ตรัสแก่หมู่ภิกษุที่อยู่แวดล้อมในทำนองที่ว่า “ ภิกษุ เธอจงดูภิกษุเหล่านั้นสิ ผู้ที่ชอบฤทธิ์ ย่อมเข้ารวมหมู่กับท่านมหาโมคคัลลานะ ผู้ที่ชอบทางปัญญา ย่อมเข้ารวมหมู่อยู่กับท่านสารีบุตร ผู้ที่ชอบพระวินัย ย่อมเข้ารวมหมู่อยู่กับท่านอุบาลี ฯลฯ ดังนั้นจึ้งเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ผู้มีจริตต่างกัน เข้ามาอยู่รวมหมู่เดียวกัน ย่อมเกิดปัญหา ด้วยเหตุนี้ ผู้ตอบปัญหา จึงแก้ปัญหาให้กับตัวเอง ด้วยการนำตัวออกห่างจากกลุ่มเพื่อนที่มีจริตต่างกัน แล้วนำตัวเองเข้ารวมกลุ่มกับผู้มีจริตเป็นอย่างเดียงกัน

ครูที่ดี ไม่แสวงหาศิษย์ แต่ศิษย์ที่ดีต้องแสวงหาครู ดังนั้นบุคคลผู้เปรียบดังภาชนะคว่ำ ผู้รู้จะไม่นิ่งดูดาย ผู้รู้ย่อมถ่ายทอดสิ่งดีงามที่ตนมีลงสู่ภาชนะนั้น

(๓). ผู้ใดมีศีล มีธรรม สถิตอยู่กับใจทุกขณะตื่น ผู้นั้นมีเทวดา (องค์) คุ้มรักษา อาทิ ในครั้งที่พระโพธิสัตว์ (อดีตพระพุทธโคดม) ไปเสวยพระชาติเป็น พระสุวรรณสาม เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี พระสุวรรณสามมีสุนทรีเทพธิดาคุ้มรักษาชีวิต ในครั้งที่พระโพธิสัตว์ไปเสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก เพื่อบำเพ็ญ วิริยปรมัตถบารมี พระมหาชนกมีนางมณีเมขลาเทพนารีคุ้มรักษาชีวิต

(๔). บาปครับ ด้วยเหตุที่เข้าไปก้าวล่วงในชีวิตของผู้อื่น และจะมีบาปมากยิ่งขึ้น หากผู้อื่นพัฒนาจิตจนสามารถเข้าถึงอริยธรรมในพุทธศาสนาได้

(๕). มีโอกาสเป็นไปได้ จงดูตัวอย่างของพระสารีบุตร ที่สามารถทำให้นางสารี (แม่) เกิดเปลี่ยนใจหันมาศรัทธาในตัวลูก และขอให้ลูกสอนแม่ได้ พระสารีบุตรจึงสอนแม่ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ นับถือท้าวมหาพรหม ให้กลับมาเป็นผู้มีสัมมาทิฎฐิ แล้วเกิดดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันได้ในเบื้องสุด ก่อนที่พระสารีบุตรจะดับรูปดับนามเข้าสู่นิพพาน

(๖). ผู้ถามปัญหาต้องเลือกทางเดินชีวิตด้วยตัวเอง หากปรารถนาความเนิ่นช้าในการนำพาชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ ต้องประพฤติตามแบบอย่างของเปาบุ้นจิ้น คือทำตนให้มีเทวดาสัมมาทิฏฐิคุ้มรักษา แต่ยังมิอาจประกันได้ว่า จะไม่นำพาชีวิตลงไปเกิดเป็นสัตว์อยู่ในอบายภูมิในกาลข้างหน้า พระนิยตโพธิสัตว์ เช่น ครูบาบุญชุ่ม ได้กล่าวกับศิษย์รวมถึงผู้ตอบปัญหาว่า “ ต่อไปนี้ โลกจะวิกฤตมากยิ่งขึ้น ขอพวกเราอย่าได้ประมาท พัฒนาจิต แล้วปิดอบายภูมิให้ได้ ” ซึ่งมีความหมายว่า สิ่งที่ครูบาฯ ได้แนะนำนั้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ผู้ใดปิดอบายภูมิได้แล้ว จะไม่ลงไปเกิดต่ำกว่าภพมนุษย์อีกต่อไป ตราบนำพาชีวิตเข้าสู่พระนิพพานเป็นเบื้องสุด

(๗). พระพุทธะสอนพุทธบริษัท ให้เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลรองรับ ผู้มีสัมมาทิฏฐิระดับโลกุตตระ ย่อมเชื่อและประพฤติได้ถูกตรงตามความเชื่อนั้น ฉะนั้นหากเป็นความมั่นคงของจิตที่เห็นถูกตรงตามธรรม ความเชื่อแบบนั้น ผู้ตอบปัญหาได้ประพฤติให้มวลชนดูเป็นตัวอย่างที่ดีงามอยู่แล้ว ความศรัทธาในคุณธรรมจึงเกิดขึ้นแล้วนำตัวเข้าใกล้

ผู้ใดไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ผู้นั้นมีบาปให้ผล ใครทำกรรมไว้อย่างไรต้องได้ผลอย่างนั้น บาปจึงเกิดขึ้นกับผู้ใช้ปัญญาเห็นผิดส่องนำทางให้ชีวิต ตรงกันข้าม ผู้มีปัญญาเห็นถูกตามธรรมส่องนำทางให้กับชีวิต บุญเท่านั้นที่เกิดขึ้น ฉะนั้นผู้ถามปัญหาพึงเลือกทางชีวิตตามที่ชอบๆครับ

(๘). เกิดขึ้นด้วยผู้ถามปัญหามีกำลังสติอ่อน จึงไปรับสิ่งกระทบเข้าปรุงอารมณ์ ซึ่งนับเป็นความเสียหายต่อจิตวิญญาณ ผู้เข้าถึงอริยธรรมแม้เพียงขั้นต้น มิได้เป็นเช่นนั้น เขาจึงมีความทุกข์เหลือน้อยเท่าขี้ฝุ่นที่ติดปลายเล็บ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจารย์ครับ... ผมฟังพระอาจารย์มาก็หลายท่านแล้ว... ผมสะกิดใจกับคำนี้มากครับคือ ทำลายกิเลส แล้วเราต้องทำอย่างไรครับ

คำถามครับ
1. ผมเข้าใจว่า การทำลายกิเลส คือ เรารู้ทันอารมณ์ที่จิตมันปรุงแต่งแล้ววางเฉย ไม่ตอบสนองอารมณ์นั้นๆ หรือข่มมันไว้ เช่น โกรธ เกลียด ดีใจ ความอยาก ฯลฯ จนอารมณ์เหล่านั้นไม่เกิดกับดวงจิตแบบถาวร จึงจะเรียกว่าทำลายกิเลสหรือเปล่าครับหรือต้องทำอย่างไร

2 . อาจารย์เคยกล่าวว่า คนทุศีลจะปฏิบัติธรรมไม่ถึงธรรม แล้วเข้าถึงฌานได้ไหม(ธรรมกับฌาน คนละอย่างหรือเปล่า) เพราะผมเคยนั่งสมาธิจนเลยความปวด แต่มานั่งนึกถึงที่อาจารย์บอกผมเลยล้มเลิกกลางคัน เพราะเชื่อว่าถ้าศีลห้ายังไม่บริสุทธิ์ก็ยังเข้าไม่ถึงธรรม แต่อาจารย์บอกให้พวกเราเชิญพิสูจน์ทุกครั้งเมื่ออาจารย์แสดงธรรม ผมเลยสับสนว่าจะเอาไงดี... ถ้าการตอบคำถามเป็นไปทำนองว่า สามารถเข้าฌานได้ผมจะพยายามอย่างเต็มที่ครับ

3 . ผมเคยนั่งสมาธิครั้งแรก (โดยไม่มีความอยากเห็นอะไรทั้งนั้น) แล้วมีอาการหมุนที่จิต ผมรู้สึกได้ครับ ว่าหมุนจากกลางอก แล้วหูเริ่มไม่ได้ยิน ผมกลัวมากเลยลืมตาเหงื่อเต็มฝ่ามือครับ ผมอยากทราบว่าเกิดอะไรขึ้นครับ แล้วถ้าเกิดอีกผมต้องทำอย่างไรครับ

4 . ผมอ่อนภาษาอังกฤษมากจะเริ่มเรียนตอนแก่ครับ (ตอนนี้ 30 ปี เดี๋ยวนี้ข้าราชการต้องเก่งภาษา ระบบใหม่เป็นแบบนี้ถึงก้าวหน้าในทางโลก ซึ่งผมก็เบื่อเต็มที) การนั่งสมาธิเป็นประจำทำให้เป็นคนมีความจำดีได้ไหมครับ อาจารย์พอจะช่วยแนะนำวิธีเรียนภาษาให้ได้ผลหน่อยได้ไหมครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ
ข้าราชการท่านหนึ่ง

คำตอบ

(๑). จิตใดมีกำลังสติอ่อน จิตนั้นย่อมรับสิ่งกระทบเข้าปรุงอารมณ์ จิตที่มีอารมณ์เป็นจิตที่เศร้าหมองด้วยกิเลส จิตใดมีพลังสมาธิมากกว่ากำลังของกิเลส จิตนั้นย่อมสามารถข่มกิเลสไม่ให้แสดงออก หรือไม่ให้มีอำนาจบงการจิตได้ อย่างนี้เรียกว่า ข่มอารมณ์

จิตใดมีกำลังสติอ่อน จิตนั้นย่อมรับสิ่งกระทบเข้าปรุงอารมณ์ และหากจิตมีปัญญาเห็นแจ้ง ย่อมเห็นอารมณ์ดับไปตามกฎไตรลักษณ์ จิตไม่รับเอาอารมณ์เข้ามามีอำนาจเหนือใจ จิตจึงว่างเป็นอุเบกขา อย่างนี้เรียกว่า รู้ทันอารมณ์

จิตใดมีกำลังของสติกล้าแข็ง จิตนั้นย่อมระลึกได้ทันสิ่งกระทบ แล้วปัญญาเห็นแจ้งในดวงจิตเห็นว่า สิ่งกระทบดับไปตามกฎของไตรลักษณ์ สิ่งกระทบจึงมิใช่ตัวมิใช่ตน จิตปล่อยวางสิ่งที่กระทบ จิตจึงว่างเป็นอุเบกขา อย่างนี้เรียกว่า รู้ทันสิ่งที่กระทบ

คนที่มีกำลังสติอ่อน ย่อมรับสิ่งกระทบเข้าปรุงอารมณ์ แล้วอารมณ์ดำเนินไปตามกฎของไตรลักษณ์ คือเกิดและดับเร็วช้าต่างกัน อย่างนี้ไม่เรียกว่าทำลายกิเลส จะเรียกว่าทำลายกิเลสได้ ต้องใช้ปัญญาเห็นแจ้งตามพิจารณาอารมณ์ว่ากำลังดำเนินไปตามกฎของไตรลักษณ์ ในที่สุดอารมณ์เข้าสู่อนัตตา อย่างนี้จึงจะเรียกว่า ทำลายกิเลส

(๒). ธรรม เป็นคำกลางๆ ที่สมมุติใช้เรียก ปรากฏการณ์ที่มนุษย์แสดงออก เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ เป็นความดี เป็นความถูกต้อง ฯลฯ ดังนั้น “ ฌาน ” ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่ทำให้จิตใจเข้าถึงสภาวะธรรมประณีต หรือเข้าถึงความตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่

หากผู้ถามปัญหาประสงค์จะพิสูจน์สัจธรรม ต้องทำตัวเองเข้าปฏิบัติสมาธิภาวนา แล้วดูสิว่า หากศีลยังไม่บริสุทธิ์ ศีลยังขาด ยังทะลุ ยังด่าง ยังพร้อย และไม่เอาศีลลงคุมให้ถึงใจ จะสามารถเข้าถึงสภาวะที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ ( ฌาน ) ได้หรือไม่ ….. อย่างนี้ดีครับ จะได้มีประสบการณ์ตรง เกิดขึ้นกับตัวเอง ตามที่พระพุทธโคดมสอนมิให้ปลงใจ เชื่อตามหลักกาลามสูตร

(๓). อาการหมุน อาการกลัว อาการหูไม่ได้ยินเสียง ฯลฯ มีเหตุมาจากจิตขาดสติ ผู้ใดประสงค์จะกำจัดอาการเหล่านี้ให้หมดไป ต้องกำหนด “ หมุนหนอๆๆๆๆ ” “ กลัวหนอๆๆๆๆ ” “ ไม่ได้ยินหนอๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆ จนอาการดังกล่าวดับไป แล้วดึงจิตเข้ามาสู่องค์บริกรรมเดิม

(๔). ผู้ใดปฏิบัติสมถะภาวนา แล้วทำให้จิตเข้าถึงคลายตั้งมั่นเป็นสมาธิ คลื่นสมองย่อมปรับเข้าสู่ความเป็นระเบียบ ส่งผลให้มีความจำเพิ่ม สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ รวมถึงภาษาต่างประเทศ ได้ง่าย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติเรียนปรึกษาอาจารย์ค่ะ เหตุเกิดเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว ช่วงนั้นเจอปัญหาในที่ทำงานพอสมควร ถูกให้ร้าย ทำให้คนในที่ทำงานมีทัศนคติในทางลบกับหนูมาก ช่วงเวลานั้นเครียดมากๆ ก็เลยเริ่มสวดมนต์ก่อนนอน พยายามแผ่เมตตาให้คนที่คิดร้ายใส่ร้ายเรา ปกติเป็นคนไม่ค่อยชอบสวดมนต์เท่าไหร่ ยิ่งการนั่งสมาธิยิ่งแล้วใหญ่เพราะคิดว่าตัวเองเป็นคนชอบคิดฟุ้งซ่าน เคยพยายามนั่งก็นั่งได้แป๊บๆ ไม่ได้เป็นสมาธิอะไร ด้วยความที่ช่วงนั้นคิดว่าตัวเองคงดวงไม่ค่อยดีเจอปัญหามากมาย เลยเน้นสวดบทอิติปิโส เท่าอายุตามที่หลวงพ่อจรัลท่านได้แนะนำไว้ในหนังสือ ประกอบกับได้หลักการไหว้พระโดยให้นึกภาพไว้ในใจว่า พระพุทธรูปที่เราก้มลงกราบนั้นท่านคือพระพุทธเจ้าองค์จริงๆที่อยู่ต่อหน้า เรา ทำให้ช่วงนั้นกราบพระแล้วใจปิติมีสุขมาก หลังจากที่สวดมนต์มาสักระยะนึง ก็ทำให้อยากรู้ความหมายของบทสวดมนต์ว่า หมายถึงอะไร ก็ไปสืบค้นจนได้รู้ความหมายโดยเฉพาะบทสวด อิติปิโส ที่เป็นบทสวดสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า เมื่อรู้ความหมายเวลาสวดอิติปิโสยิ่งทำให้รู้สึกปิติ และระลึกถึงบุญคุณพระพุทธเจ้าท่านมากๆ

จนกระทั่งวันนึงวันนั้นก็พาลูกเข้านอนตามปกติ ตัวเองก็เข้าห้องพระสวดมนต์ พอสวดถึงบทอิติปิโส น้ำตาก็ไหลออกมา เกิดจากใจที่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พอสวดเสร็จก็ก้มลงกราบ (ในขณะที่กราบก็ร้องไห้ออกมาอีก) ใจก็นึกเห็นภาพว่าเรากำลังก้มลงกราบพระพุทธเจ้าองค์จริงๆ แต่คราวนี้ภาพที่นึกเห็นไม่เหมือนทุกครั้ง เห็นเป็นพระพุทธเจ้าท่านยืนอยู่ใต้ต้นไม้ มีสิ่งแวดล้อมเป็นที่เวิ้งๆกว้างๆ ไกลออกไปลิบๆ เห็นทางหางตาเป็นเหมือนสิ่งก่อสร้าง แต่ไม่ทราบว่าคืออะไร แล้วเห็นตัวเองกำลังก้มลงกราบท่าน ในขณะที่กราบ ไม่ทราบว่าใจหรืออะไรบอกตัวเองว่า " นั่งสมาธิสิ แล้วจะดี " ก็เลยนั่งสมาธิต่อทันที โดยกำหนดลมหายใจเข้าพุทธ ลมหายใจออกโธ ไปได้สักแป๊บเดียว การกำหนดลมหายใจก็หยุดโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว แต่เกิดเห็นแสงสว่างๆขาวๆ กว้างๆ และรู้สึกว่าตัวเอง ลอยๆเบาๆ เหมือนไม่มีแขนไม่มีขา ไม่มีร่างกายอยู่เลย รู้สึกว่างๆ สบายๆ ตอนนั้นในใจนึกแปลกใจว่าเกิดอะไรขึ้น เวลาผ่านไปนานเท่าไหร่หนูไม่แน่ใจ แต่พอใจเกิดนึกเป็นห่วงลูกกลัวลูกตื่นมาไม่เจอใคร แค่ใจนึกแค่นี้ ความรู้สึกเบาก็หายไป กลับรู้สึกหนักจนไหล่ทรุดแล้วมีความรู้สึกว่ามีแขนมีขามีร่างกาย(แบบ หนักๆ)กลับคืนมา ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่หนูนั่งสมาธิ จริงๆจังๆ แบบไม่ได้ตั้งใจมาก่อน

ไม่ทราบว่า สิ่งที่หนูเจอคืออะไรคะ แล้วหนูควรทำอย่างไรต่อไป หนูถึงจะสามารถนั่งสมาธิได้แบบนั้นอีก เพราะรู้สึกว่าใจอิ่มมาก ปิติเป็นสุขดีค่ะ หลังจากครั้งนั้น หนูก็ยังไม่ได้นั่งสมาธิจริงๆจังๆอีกเลย

ขอบคุณค่ะ

คำตอบ

พระพุทธโคดมตรัสในทำนองที่ว่า “ ใครจะพูดให้ร้ายอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับการกระทำของตนเอง ” ใครผู้ใดเชื่อสัจธรรมในเรื่องนี้เต็มร้อย และเรามิได้เป็นอย่างที่เขากล่าวให้ร้าย จิตย่อมไม่หวั่นไหว

สิ่งที่บอกเล่าไป ผู้ถามปัญหาเห็นเช่นนั้นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็นไม่จริง หากผู้ถามปัญหา ยังไม่สามารถตัดความยาก(ตัณหา)ให้หมดไปจากใจได้ จะนั่งสมาธิอีกสักกี่ครั้ง ก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้ เพราะจิตเอากิเลสมาเป็นเครื่องขวางกั้นมิให้การพัฒนาจิตก้าวหน้า

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนูมีพี่สาวที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่สมองและที่ปอด ตอนนี้พี่สาวกับหนูก็ตั้งใจนั่งปฏิบัติธรรมอยู่ที่บ้าน พี่สาวหนูได้รู้จักกับพี่คนหนึ่ง ที่เขาปฎิบัติได้จนสามารถมองเห็นกรรม (ตามคำบอก ) พี่เขาบอกว่า ให้พี่สาวหนูหยุดการให้ยาเคมีบำบัด เพราะมะเร็งหายแล้ว ถ้าให้ยาต่อไปจะทำให้เสียชีวิต หนูกับพี่สาวเลยไม่กล้าตัดสินใจ จึงอยากเรียนขอคำแนะนำจากอาจารย์

ขอขอบพระคุณอาจาร์ยเป็นอย่างสูงที่ให้ความรู้และชี้ทางธรรมให้ได้เห็น
ด้วยความเคารพ

คำตอบ

ผู้ใดฝากตัวเป็นคนไข้กับหมอ ต้องให้สิทธิหมอบำบัดรักษาร่างกายที่อาพาธ ผู้นั้นทำได้เพียงดูแลรักษาใจมิให้บาปเกิดเพิ่มมากขึ้น รักษาใจให้มีอารมณ์ดีอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณของสาร cortisone ในเลือดลดลง ทำให้ภูมิต้านทานโรคมีมากขึ้น โอกาสที่จิตจะอาศัยอยู่กับเซลล์มะเร็งในร่างกายเดียวกันยาวนานจึงเกิดขึ้น ได้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนูมีปัญหาที่จะเรียนถามอาจารย์ดังนี้ค่ะ
1. ขณะนี้คุณแม่ป่วยเกี่ยวกับโรคกระดูก มีความเจ็บปวดทั่วร่างกายทุกข์ทรมานมาก แต่โชคดีมีพี่สาวที่ช่วยดูแลพยาบาลคุณแม่เป็นอย่างดี แต่ทำอย่างไรก็ยังไม่ได้ดั่งใจของคุณแม่สักเท่าไร บางครั้งก็โมโหฉุนเฉียว คงจะเนื่องมาจากความเจ็บปวดนั่นเอง หนูขอเรียนถามอาจารย์ว่า เมื่อลูก ๆ สวดมนต์ไหว้พระ ทำบุญ ปฏิบัติธรรม เมื่อแผ่เมตตา นอกจากแผ่ให้คุณแม่แล้ว ควรแผ่ไปให้เจ้ากรรมของคุณแม่ด้วยหรือไม่

2. เมื่อครั้งพุทธกาล ยังไม่มีเครื่องเสียงใช้กันอย่างสมัยนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรม มีประชาชนพุทธบริษัทมาฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก แล้วจะได้ยินเสียงได้อย่างไร

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงค่ะ


คำตอบ


(๑). ควรอุทิศบุญที่บรรดาลูกๆมีอยู่ ให้กับเจ้ากรรมนายเวรของคุณแม่ด้วย

(๒). ในสมัยอดีต เสียงรบกวนจากภายนอกมีไม่มากเท่ากับสมัยปัจจุบัน พุทธบริษัทสมัยนั้นจำนวนมาก มีจิตสงบเป็นสมาธิ สาร acetylcholine ในเลือดย่อมเพิ่มปริมาณขึ้น ทำให้ประสาทรับเสียงได้ไวกว่าคนในสมัยปัจจุบัน

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่เคยถามปัญหาและขอคำแนะการปฏิบัติธรรมจากอาจารย์ ผมได้ปฏิบัติธรรมแล้วประมาณวันละ 2 ชั่วโมง ตอนเช้าและตอนกลางคืนโดยการกำหนดอานาปาณสติ แต่มีสิ่งหนึ่งทีั่่ทำให้จิตใจขุ่นมัว คือ เรื่องของศีลข้อที่ 1 และข้อที่ 4
ศีลข้อที่ 1 เรื่องมีอยู่ว่ามันมีมดมาไต่ตามตัว ตอนที่มดไต่ไม่รู้ว่ามด พแเอามือไปลูบมดกับติดมือมาด้วย จึงคิดว่าตัวเองต้องผิดศีลแน่ๆจึงอยากขอคำแนะนำว่าควรทำอย่างไรดี
ศีลข้อที่ 4 ผมระมัดระวังในการพูดแล้ว แต่มันมีคำพูดบางประโยคที่คล้ายว่าผิดศีล อย่างเช่น มีคนถามว่าจะลาสิกขาไหม ทั้งที่ผมจะบวชตลอดชีวิตแต่ตอบไปว่าไม่รู้เหมือนกัน อย่างนี้ถือว่าผิดไหมครับ ยังมีอีกหลายประโยคที่คล้ายกันกับประโยคที่ยกตัวอย่าง จนบางครั้งไม่อยากพูดอะไรเลย เพราะขาดความมั่นใจ จึงขอให้อาจารย์ช่วยแนะนำในเรื่องของการพูดด้วย ในการปฏิบัติผมได้ตั้งเวลากำกับเอาไว้ด้วย เพื่อเป็นสัญญาณ ถือว่าผิดไหมครับ

คำตอบ

เป็นปาณาติบาตที่มิได้ตั้งใจทำให้มดตาย ยังถือว่าเป็นบาปได้ หากจิตวิญญาณของมดยังอาฆาตจองเวรกับผู้ที่ทำให้เขาตาย แต่บาปไม่มากเท่ากับเจตนาฆ่ามด ในกรณีนี้ ผู้ถามปัญหาควรทำบุญใหญ่ (ปฏิบัติธรรม) ให้มากขึ้นแล้วอุทิศบุญให้กับมดที่ตายไป

การพูดแล้วไม่ทำตามที่พูดไว้ ถือว่าไม่มีสัจจะ ปฏิบัติธรรมแล้วย่อมเข้าถึงธรรมได้ยาก โดยเฉพาะเข้าไม่ถึงธรรมขั้นสูงที่สามารถลดทุกข์ หรือปลดทุกข์ให้กับชีวิตได้ ฉะนั้นควรขอขมากรรมต่อพระรัตนตรัย แล้วใช้สติคุมการพูดให้มากยิ่งขึ้น

ผู้ใดศรัทธาในคำสอนของพระพุทธะ ต้องเว้นกล่าววาจาที่เป็นติรัจฉานกถา เช่น เว้นพูดคุยเรื่องโจร เรื่องบ้านเมือง เรื่องลักษณะชายหญิง เรื่องถนน ตรอก ซอย ฯลฯ และหันมาพูดคุยกับในเรื่องกถาวัตถุ ๑๐ ที่พระปุณณมันตานีบุตร นำมาสอนกุลบุตร ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใส แล้วนำตัวเข้าบวชในสำนักของท่าน กถาวัตถุ ๑๐ เป็นอุบายทำให้จิตสงบ ได้แก่การพูดสนทนากันในเรื่องของ

๑. ความมักน้อย
๒. ความสันโดษ
๓. ความสงัด
๔. ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๕. การปรารภความเพียร
๖. ศีล
๗. สมาธิ
๘. ปัญญา
๙. ความหลุดพ้น
๑๐. ความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น

การปฏิบัติธรรม โดยใช้นาฬิกาเป็นเครื่องบอกสัญญาณเตือน เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรหลีกเลี่ยง เพราะนั้นเป็นเหตุให้จิตไปจดจ่ออยู่กับเสียงสัญญาณ การพัฒนาจิตให้มีกำลังสติเพิ่มมากขึ้นจึงเกิดได้ยาก

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอสาธุบุญต่างๆที่ท่านได้ทำแม้ว่าท่านจะมีอายุมากแต่ก็ยังทำประโยชน์ต่อ สังคมไว้มากเหมือนตนไม้ใหญ่ในกลางป่าครับอาจารย์ ดร.สนอง ผมเคยส่งคำถามเขาไปแล้ว แต่รู้สึกว่ามันเพ้อเจ้อเกินไปที่จะทำให้ดีขนาดนั้น สิ่งที่กระผมต้องการก็คือ

1 อาจารย์ครับ ผมเป็นนักเรียนชั้น ม. 4 ( ภาษาไทย สังคม) พ่อแม้ให้ไปสมัคร หลักพีดีกรี(เรียนม. 4 จบม. 6) อยากจะให้อาจารย์แนะแนวทางในการปฎิบัติของนักเรียนพีดีกรี คณะนิติศาสตร์ว่าควรปฎิบัติตัวอย่างไร ที่จะทำให้จบได้ในเวลา ม. 6

2 อาจารย์ครับ โรงเรียนของผมพูดถึง เรื่อง โรงเรียนมาตราฐานสากล แม้ว่าผมเป็นนักเรียนไทยสังคมก็ยังได้เรียน วิชาภาษาจีน ในจดหมายอันแรกที่ผมบอกว่าจะไปสอบทหารอากาศอาจารย์(อาจจะไม่รู้)เพราะ ถึงจะสอบไม่ติดก็ไม่เป็น ไร แค่ผมอยากเก่งวิชาภาษาอังกฤษมากเท่านั้น ทำอย่างไรถึงจะเก่งวิชาภาษาอังกฤษครับ อาจารย์

3 ผมขออภัยในคำถามโง่อีกข้อหนึ่งน่ะครับ อาจารย์ครับ ทำอย่างไรถึงจะเรียนสำเร็จ (ขอคำแนะนำ) ทุกวิชา ทั้ง วิทย์ คณิต อังกฤษ ไทย สังคม ฯลฯ ช่วนแนะนำผมหน่อย เพราะผมอาจจะทำไม่ได้ แต่ก็ลองแนะนำดูเถิดครับ แต่ถ้าผมใช้อิทธบาท 4 กับ พละ 5 จะต้องสำเร็จ แต่อยากฟังคำแนะนำดู ไม่ต้องเยอะมากก็ได้น่ะครับ ต้องการทำให้พ่อแม่ภูมิใจ อย่ากเรียนเก่งทุกวิชา แล้วจบ รามคำแหง คณะนิติศาสตร์ ตอนม.6 แนะนำผมด้วยครับ

4 อาจารย์ครับ อาจารย์ในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ดูดวงให้ผมบอกผมว่าเป็นคนเรียนไม่เก่ง แต่ชีวิตไม่มีปัญหาถ้าเป็นคนอื่นผมคงไม่คิดมาก แต่นี้ เขาบอกว่าท่าใครได้ไปปฎิบัติธรรมที่วัดท่าซุ่ง ครูที่วัดฝึกสอนให้ อาจได้ณาน 8 ไปนิพพาน ไปคุยกับพระพุทธเจ้าได้ นิพพานเป็นทิพย์พิเศษ อาจารย์คนนี้บอกว่าถ้าตายชาตินี้เขาจะไปนิพพานด้วย ที่เคยบอกว่า ผมจะไปปฎิบัติธรรมน่ะ อาจารย์เขาบอกว่ายกเลิก คงเพราะยังไม่มีใครให้เงิน ล่ะมั้งผมคิด อาจารย์ครับถ้าผมตั้งใจจริงจะทำให้เป็นเด็กเรียนเก่งได้ไหมครับ

5 อาจารย์คนนี้สอนให้ บริกรรม ว่า หายใจเข้าภาวนาว่า นะมะ ออก พะทะ แล้วนึกถึงพระพุทธรูป กับมี ศีล 5 เขาบอกว่าศีลน่ะง่ายจะตาย ก่อนไป แค่นี้เอง ผมต้องไปพิสูตร์ให้ได้ แต่กลัวเสียสัจจะผมยังไม่รับปาก อยากถามว่าที่จะไปวัดท่าซุ่ง หรือทำตามที่อาจารย์ผมสั่ง คือ นะมะ พะทะ นึกถึงพระพุทธรูป แล้วมีศีล 5 มีส่วนส่วนในการเรียนได้ไหม

6 อีกเรื่องหนึ่ง อาจารย์ครับ ตอนไปสอบที่พิบูล ผมสอบได้ แล้วโรงเรียนให้ไปปฎิบัติธรรม ที่วัดเขาวงกฎ เขาบอกให้เห็นอะไรก็สาธุ และก็ ยังบอกให้ผมรักษา ศีล เจริญสมาธิภาวนา ทุกวัน กับ ให้ท่าน ทำทั้ง 3 อย่าง ทุกวัน สิ่งที่ผมสงสัยก็คือว่า นิพพานแล้วมีพระพุทธเจ้าอยู่ หรือ นิพพานแล้วจิตดับอย่างที่ท่านพุทธทาสบอก (ผมรู้ไม่จริงว่าท่านพุทธทาสพูดอย่างนี้หรือเปล่า)ขอโทษน่ะครับ ผมเชื่อท่านพุทธทาสครับ แต่ก็อยากไปพิสูตร์ที่วัดท่าซุ่งดูว่าจริงไหม อยากคิดว่าอาจารย์ลองไปบางดีก็ดีน่ะครับ จะได้หาเวลาพักผ่อนด้วนน่ะครับ

ขอโทษเรื่อง ที่ 7

7 อาจารย์ครับ ตอนเด็กผมถูกล่อว่า เป็นตุ่ย ตอนปัจจุบัน วัยรุ่น ถูกล่อว่าเป็นเกร์ และยังถูกล่อว่าไม่เต็ม เอ๋อ การที่ผมถูกล่อนั้นก็เพราะ การปฎิบัติตัวของผมเอง เมื่อตอนเป็นเด็กไม่ไม่เขาใจว่าทำไมถึงถูกล่อว่าเป็นตุ่ย อาจเป็นเพราะว่าผมไม่ยอมพูดคำหยาบ เช่น มึง กู ปัจจุบันก็ไม่พูด และนั่งเงียบ(ในตอนเด็ก) แต่ผมก็รู้ว่าคนพูด มึง กู ถ้าไม่พูดเพราะ โกรธก็ไม่หยาบ แต่พอโตไปก็ไม่โดนล่อว่าตุ่ยครับ จนผมสอบเข้า ม. 1 ที่วินิตใช้เส้นเขาไป คับ ก็ไม่ถูกล่อ เพราะจริงๆแล้วผมเป็นผู้ชาย 100% ที่ปัจจุบันตอนเป็นวัยรุ่น ถูกล่อเพราะ เคยไปอ่านนิยายชายรักชาย เป็นนิยายแนว เรื่องบนเตียนด้วยครับ คุณหมอสม สุจิรา เคยบอกในรายการสุริวิภาว่า ผู้ชายทุกคนมีความชอบผู้ชายในตัวซึ่งเป็นเรื่องจริงที่เขาพิสูตร์มา อาจาย์ครับผมไม่ได้อ่านเฉพาะผู้ชาย แต่ผู้หญิงเช่น แนวแม่กับลูก (ขออภัยครับ) และผมชอบดูทั้งภาพโปร์(ขอโทษครับ)ทั้งชายและหญิง(ขอโทษครับ ขอโทษครับ ขอโทษครับ ขอโทษครับ) ผมมาคิดในทางธรรมว่าร่างกายมนุษย์นั้นสกปรกครับ ไม่สะอาด ไม่ว่าชายหรือหญิง อาจารย์ครับ ผมถูกเด็กตัวเล็กคนหนึ่งเป็นเด็กไร้เดียงสา บอกว่าผมหล่อ (แต่ไม่ได้บอกกับผม แม่ผมเหล่าให้ฟัง) แต่ผมอ้วนครับ (ไม่มาก) เพราะผมออกกำลังกายทุกวัน แต่ที่อ้วนเพราะยิ่งวิ่งเหนื่อยยิ่งกินมากครับ อาจารย์ครับหลวงพ่อฤาษีลิงดำบอกว่า ความคิดที่ว่าตัวเองเป็นคนดีเป็นสิ่งไม่ดี แต่ในสมัยเด็กผมเป็นคนไม่ดี แต่ตอนนี้ผมปรับปรุงตัวแล้วครับ ให้อดีตมันดับไป เอาปัจจุบันดีกว่า และในปัจจุบันนี้เพื่อนมักมองผมว่าไม่เต็ม บางคนก็อาจจะมองเอ๋อ อาจารย์ อาจารย์เคยแนะนำว่าให้ใช้วิธีวิปัสสนา ผมทราบครับ แต่ว่าผมโดนล่อไม่เต็ม มาตั้งแต่เด็ก (อารจารย์ครับ คือว่า ผมมักจะถูกเอาเปรียบ แต่ผมก็ไม่ใช้คนโง่ที่ไม่ยอมให้ใครเอาเปรียบง่ายๆครับ) (ตอนพิมพิ์นี้น้ำตาจะไหล) เพราะผมรู้สึกว่า ผมโกรธ ผมเสียใจเวลาผมถูกล่อว่าไม่เต็ม มันทำให้ผมเกิดอารมณ์ครับอาจจะไม่มาก แต่ผมอยากจะบอกว่าผมไม่ชอบ ทั้งที่โดนล่อว่าเป็นอะไร ถ้าเป็น พวกมันโดนล่อบางก็คงจะโกษร บางครั้งพวกเขาก็ทำเหมือนผมเป็นคนโง่ แต่ผมให้อภัยครับ พวกผู้หญิงก็ด้วย ผมอยากใช้คำที่แรงว่าแต่ผมทำใจให้อภัยเพราะกลัวบาปเพราะเธอเห็นผมเป็นตัวตลก เพราะเวลาที่ผู้หญิงมาคุย เขาชอบทำผมเหมือนตัวตลก ผมให้อภัยทุกคนที่ล่อน่ะครับ ที่บอกว่าเศร้าตอนนี้มันหายไปแล้วครับ (อาจารย์อาจแนะนำผมว่า ผมควรจะขอใจพวกเขา ที่ ทำให้ผมได้ให้อภัยทาน เป็นทานบารมีชนิดหนึ่ง ผมขอสาธุ) ผมเคยรู้สึกเสียในความผมเป็นคนบ้าบ้าบอ ผมเป็นคนฉลาดแต่ฉลาดในเรื่องโง่และเป็นคนเปิ้นครับ อาจจะไม่มาก อาจารย์ครับคนล่อผมเพราะ ตัวผมเอง ผมเคยล่อพระพุทธเจ้าตอนองค์คุลีมานกับเพื่อนตอน ม. 1 มั่งครับ แต่ว่าผมได้กราบพระก่อนนอนและอธิฐานขอลาโทษแล้ว ผมสบายใจแล้วครับ (ผมแน่ะในว่าไม่ใช้เพราะเวรกรรมนี้แน่ะ เพราะผมโดนล่อมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผมสบายใจมาที่ได้ขอขมาพระพุทธเจ้าครับ สาธุ) อาจาย์ครับ ความรู้สึกเปลี่ยนอีกแล้วครับ คือว่า ถ้าเขาจะบอกว่าผมเป็นอย่างไร แต่ ผมก็เป็นเช่นนั้นเอง ผมอาจจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้(หรือได้)แต่ที่แน่นอนนั้นผมเชือว่า แม้ตนเองจะถูกล่อ แต่ที่ถูกล่อเพราะตัวเอง ปัญญาทุกอย่างเกิดที่ใจผมเอง เราเกิดมาพบกันในช่วงเวลาสั้นๆ พบกันแล้วตายจากจะมาโกรธกันทำไม แต่มีปัญหาคือ ว่าเวลาโดนเพื่อนว่า (มันว่าอาจะเพราะว่าความสนุก) ผมก็โกรธ (ไม่ใช้อารมณ์โกรธแต่อาจจะเป็นอารมณ์หนึ่งที่ทำให้ผมไม่ชอบ ) ความโกรษทำให้เราผิดศีล เมื่อเราผิดศีลเมื่อใดนรกก็จะตกเมื่อนั้น ไม่ต้องตาย ก่อนนรกมาแล้วครับอาจารย์

7.1 อาจารย์ครับผมอยากได้เพื่อนที่จริงใจ และดีด้วยครับ สอนหนังสือผมได้

7.2 ผมอยากเป็นที่รักของทุกคน ไม่ว่าภพไหนและตลอดไป

7.3 ทำอย่างไรถึงตอบได้หลายคำถามเหมือนอาจารย์ครับ

อาจารย์ครับ ขอให้บุญที่ผมได้ทำจงส่งผมให้ทั้ง ครอบครับ พี่ชาย ญาติผู้ใหญ่ และเพื่อนขอผม มีความสุข รวมทั้งอาจารย์ด้วยครับ สาธุ สาธุ ขอบคุณในความกรุณา

ขอบพระคุณที่อ่านจบ หรือไม่จบก็ไม่เป็นไร แค่ตอบว่าทำอย่างไรถึงเรียนจบรามก็ขอบคุณแล้วครับ

คำตอบ

(๑). ผู้ใดปรารถนาความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนควรพัฒนาตนดังนี้

๑. พัฒนาจิตให้เป็นสมาธิ ด้วยการสวดมนต์ก่อนนอน แล้วกำหนดลมหายใจเข้า-ออก (อานาปานสติ) ๑๕-๓๐ นาที ทุกวัน

๒. ใช้อิทธิบาท ๔ มาสนับสนุนการเรียน คือ เรียนวิชาด้วยใจรัก (ฉันทะ) เรียนวิชาด้วยความพากเพียร (วิริยะ) เรียนวิชาด้วยใจจดจ่อ (จิตตะ) และเรียนวิชาด้วยการใช้ปัญญาไต่สวน (วิมังสา)

๓. คบคนดี (กัลยาณมิตร) เป็นเพื่อนใกล้ชิด กัลยาณมิตรคือ เพื่อนที่คอยป้องกันขัดขวางมิให้เราทำชั่ว และคอยชักชวนให้เราทำในสิ่งดีๆ

๔.มีความกตัญญูต่อผู้มีอุปการคุณ ด้วยการประพฤติจริยธรรมลูกที่ดีของพ่อแม่ ศิษย์ที่ดีของครู นักเรียนที่ดีของโรงเรียน พลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ฯลฯ ความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณธรรมที่มีผลมาก ส่งผลให้ชีวิตดีงาม การศึกษาเล่าเรียนสำเร็จ ธุรกิจรุ่งเรือง ฯลฯ ได้ในวันข้างหน้า

(๒). บุคคลโดยทั่วไป ใกล้สิ่งไหนเป็นเหมือนสิ่งนั้น ฉะนั้นอยากเก่งภาษาอังกฤษ ต้องนำตัวเข้าใกล้คนที่มีทักษะในด้านภาษาอังกฤษ และคลุกคลีกันนานๆ ภาษาฯ ย่อมซึมซับเข้าสู่จิตวิญญาณ ทำให้เก่งภาษาอังกฤษได้

(๓). ทำตามคำชี้แนะในข้อ (๑). และตั้งโปรแกรมจิตให้ทราบวา “ ผมต้องสำเร็จในวิชา .... ” ไม่ต้องสมมุติว่า ถ้าผมใช้ อิทธิบาท ๔ กับ พละ ๕ แต่ต้องใช้ อิทธิบาท ๔ กับ พละ ๕ มากำกับการเรียน โดยมีสัจจะเป็นเครื่องสนับสนุน ความสำเร็จย่อมเกิดขึ้นกับผู้ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้

(๔). ผู้รู้กล่าวว่า “ ใครจะพูดเช่นไรเป็นเรื่องของเขา แต่ความจริงอยู่ที่การกระทำของเรา ” ใครผู้ใดพัฒนาตัวเองให้มี ทาน ศีล ภาวนา อยู่เสมอ จนเกิดผลเป็นคุณธรรมแล้ว ดวงดีแน่นอน ผู้รู้ไม่คิดปรามาส (ดูถูก) ผู้ใด แต่ผู้รู้ เอาคนอื่นมาเป็นครูสอนใจตัวเองว่า คนอื่นทำไม่ดี เราจะไม่ประพฤติเช่นเขา ตรงกันข้าม พวกเห็นคนอื่นทำดี เราจะประพฤติเช่นเขา เมื่อทำได้เช่นนี้แล้ว กรรมดีย่อมส่งให้เกิดผลดีแก่ผู้เห็นถูกเสมอ

(๕). วิธีชี้แนะดังกล่าว ผู้ใดประพฤติตามได้อย่างถูกตรง ย่อมทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ แล้วจะส่งผลให้การเรียนดีขึ้นแน่นอน

(๖). “ เห็นอะไรก็สาธุ ” คำว่า “ สาธุ ” เป็นวาจาที่เปล่งออกหมายถึง ดีแล้ว ชอบแล้ว ถ้าเราเห็นคนทำชั่วแล้วสาธุ เราต้องเข้าร่วมรบกรรมชั่วกับเขา ฉะนั้นพึงสาธุ กับสิ่งดีๆที่จิตสัมผัสได้ แล้วบุญเท่านั้นเกิดขึ้นกับจิตของผู้กล่าวคำว่า สาธุ

(๗). คนที่ไม่ยอมเสียเปรียบให้โจรนั่นแหละ คนไม่ฉลาด แต่กลับไปเอาเปรียบคนอื่นนั่นแหละ คนเห็นแก่ตัว คนที่มีโทษสมบัติ ชีวิตย่อมมีอุปสรรคและปัญหา ตรงกันข้าม คนที่ยอมเสียเปรียบคนอื่นเป็นคนฉลาด คนที่ไม่เอาเปรียบคนอื่นเป็นคนดี คนฉลาดและดี ชีวิตย่อมเจริญ เป็นชีวิตที่มีคุณค่าต่อสังคมฉะนั้นจงเลือกเอาเองว่า ผู้ถามปัญหาชอบที่จะเป็นคนแบบไหน

คนที่มีอารมณ์โกรธ เป็นคนที่ขาดสติ จึงรับเอาสิ่งกระทบที่ขัดใจมาปรุงอารมณ์ หากความโกรธเกิดขึ้นบ่อย จิตย่อมมีบาปสั่งสมเพิ่ม ตายแล้วโอกาสที่บาปผลักดันจิตวิญญาณไปสู่ภพนรก ย่อมมีได้เป็นได้

๗.๑ ต้องตั้งจิตอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เมื่อใดที่เหตุปัจจัยถึงพร้อม ความสมปรารถนาย่อมเกิดขึ้น

๗.๒ ความอยากเป็นตัณหา เป็นกิเลสกวนใจให้ขุ่นมัว ความอยากเพียงเดียว ไม่สามารถบรรลุในสิ่งที่ปรารถนาได้ ผู้ใดพัฒนาจิตให้มีศีล ให้มีเมตตาและมีคุณธรรม เมื่อกรรมให้ผล ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ได้แน่นอน

๗.๓ พระพุทธเจ้ามีบารมีสั่งสมอยู่ในจิตครบทั้ง ๓๐ ทัศ คือ บารมีขั้นธรรมดาสิบอย่าง บารมีขั้นอุปบารมีสิบอย่าง และบารมีขั้นปรมัตถบารมีอีกสิบอย่าง รวมเป็นบารมี ๓๐ ทัศ จึงเข้าถึงความเป็นผู้รู้จริงทุกสิ่งทุกอย่างได้ (สัพพัญญู)

ผู้ใดประสงค์มีความรู้เห็นเข้าใจมาก สามารถตอบปัญหาได้มาก ผู้นั้นต้องพัฒนาคนให้เป็นผู้คงแก่เรียน ต้องเล่าเรียนมาก ศึกษามาก ได้ยินได้ฟังมาก (พหูสูต) มาตั้งแต่อดีตชาติและปัจจุบันชาติ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉัน เป็นนักศึกษาจบใหม่จากคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้ปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธ เป็นเวลา 8 วัน 7 คืน และซาบซึ้งในพระธรรมมาก พอกลับมา ได้มีโอกาสอ่านหนังสือของท่านหลายเล่ม อาทิ ถึงโสดาบันในชาตินี้ และ ทางสายเอก แต่ยังมีข้อสงสัยทางธรรมะที่ต้องการคำตอบเพื่อให้ตนได้สร้างความเพียรต่อ ดังนี้

1. ในช่วงที่ดิฉันปฏบัติธรรม ดิฉันได้พยายามดูรูปและนาม ที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ และได้เห็นการเกิดดับ รู้ว่าจริงๆแล้ว กายนี้ไม่ใช่เรา อารมณ์ก็ไม่ใช่เรา เป็นจิตที่ปรุงแต่ง ดิฉันจึงรู้สึกไปเองว่า "เรา" ในที่นี้ คือ ดวงจิต ที่สามารถทำให้สะอาดและสงบ จนปล่อยวางและเข้าสู่เส้นทางของอริยบุคคลได้ แต่คำถามคือ ดิฉันยังยึดติดว่าเรา คือ ดวงจิต

จึงอยากถามว่า นิพพาน คืออะไร คือการที่แม้แต่ดวงจิตดวงนี้ก็สูญสลายไป เช่นนั้นหรือ ถ้าเช่นนั้นแล้ว การพยายามบรรลุถึงนิพพานก็เพื่อให้เราสูญสลายไปไม่มีตัวตนอีกต่อไปหรือ

ดิฉันยังไม่เข้าใจถ่องแท้ และเกิดคำถามนี้กับตัวเองอยู่ตลอด แปลว่าดิฉันยึดติดกับดวงจิตหรือ เรียนท่านอาจารย์ช่วยอธิบายนิยามของ นิพพานให้ดิฉันเกิดความถ่องแท้ด้วยเถิดค่ะ

เพราะดิฉันมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะจนกว่าจะถึงนิพพาน แต่จนถึงบัดนี้ นิพพาน ยังไม่เป็นเป้าหมายที่ดิฉันเห็นภาพชัดเจน

ขออาจารย์ช่วยนำแส่งสว่างด้วยเถิดค่ะ


2. การนั่งสมาธินานๆแล้วเิกดอาการขาชานั้น สามารถนั่งต่อไปได้เป็นหลายชั่วโมงโดยไม่เกิดอาการพิการหรือผลเสียกับขาใน ระยะยาวใช่หรือไม่คะ เรพาะดิฉันมักกลัวเรื่องนี้
แต่ไม่ได้กลัวเจ็บ แต่มีคนบอกว่าให้ทนไป แล้วจะเบา ดิฉันปฏบัติตาม แต่พอปวดถึงที่สุด หลายๆครั้ง จะเป็นช่วงที่วิทยากรบอกให้ออกจากสมาธิ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ถ้าดิฉันฝึกสมาธิเอง

ดิฉันจะสามารถนั่งต่อไปจนอาการนั้นหายไปเพราะจิตถึงสมาธิแน่วแน่ได้ใช่มั้ย คะ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงทางร่างกายต่างๆ ข้อนี้มีความหมายในทางปฏบัติกับดิฉันมากค่ะ

3. หากปฏบัติสมาธฺด้วยตนเอง อันตรายหรือไม่ เพราะท่านคุณแม่สิริ กล่าวไว้ในวิดีโอว่าเจ้ากรรมนายเวรจะมาทวงหนี้ บางคนขยับไม่ได้ ซึ่งโดยส่วนตัวดิฉันเป็นคนขี้กลัว จิตชอบปรุงแต่งให้เห็นภาพผี วิญญาณ และก็กลัวว่าถ้ามีเจ้ากรรมนายเวรมา จะทำยังไง ถ้ากำหนดรู้ไม่ทัน อย่างนี้แล้ว ดิฉันไม่ควรฝึกสมาธิด้วยตนเองหรือเปล่าคะ

ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ค่ะ และขอให้อาจารย์ได้ถึงนิพพานในอนาคตกาลอันเร็วเทอญ



คำตอบ

(๑). ผู้ตอบปัญหาเพียงแต่รู้ว่า นิพพานคือสภาวะที่จิตปลอดจากสังโยชน์ทั้งสิบอย่าง แต่ยังไม่สามารถกำจัดสังโยชน์บางตัวให้หมดไปจากใจได้ ผู้ใดพัฒนาจิตจนเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันได้ ย่อมรู้ว่า นิพพานเป็นอย่างไร เพียงแค่รู้แต่ยังเข้าไม่ถึงสภาวะเช่นนั้น จึงไม่มีประสบการณ์ตรงมาบอกกล่าว จิตที่มีความเห็นผิดไปจากธรรม จึงเห็นว่า เราคือดวงจิต ตรงกันข้าม จิตที่มีความเห็นถูกตามธรรม ย่อมเห็นว่า จิตเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่มีกิเลสปนเปื้อน ผู้ใดพัฒนาจิตให้หมดกิเลสปนเปื้อน (สังโยชน์ ๑๐) จิตนั้นจะไม่เวียนตาย-เวียนเกิดในวัฏฏะอีกต่อไป การรู้เช่นนี้ยังไม่ดีเท่ากับการมีความรู้ หรือเข้าถึงความรู้ด้วยตัวเอง (สนฺทิฏฺฐิโก)

(๒). ความกลัวเกิดด้วยเหตุรู้ไม่จริง (อวิชชา) ฉะนั้นผู้ใดพัฒนาจิต (สมถภาวนา) จนสามารถเข้าถึงสมาธิสูงสุด (ฌาน) ได้แล้ว อาการชาที่ขา (เวทนา) ย่อมดับไป ตราบนานเท่าที่จิตอยู่ในสภาวะเช่นนั้น เมื่อถอยจิตออกจากฌาน ย่อมเกิดความรู้ในอาการชาที่ขาด้วยตัวเอง ฉะนั้นจงปฏิบัติต่อไปจนจิตเข้าถึงสมาธิแน่วแน่ แล้วอาการกลัวล่วงหน้าของผู้ถามปัญหาย่อมหมดไป

(๓). ผู้ถามปัญหาบอกว่า ได้อ่านหนังสือทางสายเอกแล้ว แต่ยังเอาสาระมาไว้ในใจไม่ได้ จึงทำให้เกิดอาการกลัวผี และจิตยังเป็นทาสคำพูดที่ออกจากปากคน การอ่านในลักษณะนี้เป็นเพียงสัญญา ยังเข้าไม่ถึงความจริง ปัญหาที่สงสัยจึงเกิดขึ้น

ผู้เขียนหนังสือทางสายเอก เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เชื่อคำสอนในพุทธศาสนา จึงได้ไปพิสูจน์ด้วยตนเอง และสามารถเข้าถึงความจริงแท้ด้วยตัวเอง ทำให้ความกลัวผีหมดไป แม้คำพูดที่ออกจากปากคนก็มิได้ทำให้ความกลัวเกิดขึ้น ฉะนั้นหากผู้ถามปัญหาประสงค์เป็นผู้รู้จริง จงเดินหน้าปฏิบัติธรรมต่อไป เอาชีวิตเข้าแลกกับธรรมะของพระพุทธเจ้า โดยมีสัจจะ มีขันติ มีความเพียร เป็นแรงสนับสนุน แล้วโอกาสเข้าถึงธรรมย่อมมีได้เป็นได้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1. กรณีที่บ้านมีรังปลวกขึ้น จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรให้ไม่ผิดศีลคะ

2. กรณีที่ทำอาหารแล้วตั้งใจจะไปถวายพระที่วัด แต่ไปไม่ทัน อาหารดังกล่าวจะจัดการอย่างไรได้บ้างคะ นำไปทิ้งบาปมั้ยคะ

3. การซื้ออ้อยจากควาญช้าง เพื่อนำมาเป็นอาหารช้าง ที่ถูกจูงเดินอยู่ตามข้างถนน จะถือว่าเราร่วมกระทำการทรมานช้างด้วยมั้ยคะ หรือ เราไม่ควรซื้อคะ

4. การสวดมนต์ออกเสียง กับ สวดในใจแตกต่างกันอย่างไรคะ ทำไมต้องสวดมนต์โดยการเปล่งเสียงคะ อานิสงส์ต่างกันหรือคะ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่กรุณา

คำตอบ

(๑). ไม้ (เซลลูโลส) เป็นอาหารของปลวก เมื่อปลวกขึ้นบ้าน เพราะปลวกต้องการอาหารกิน ถ้าผู้ถามปัญหาปรารถนามิให้ผิดศีล จะแก้ปัญหานี้ได้ ต้องยกบ้านเป็นทานให้กับปลวก

(๒). ความไม่สบายใจถือว่าเป็นบาป หากทำอาหารดังกล่าวไปทิ้ง แล้วเกิดเป็นความเสียดาย ถือว่าเป็นบาป

เจตนาปรุงอาหารถวายพระ ถือว่าเป็นบุญ แต่ปรุงอาหารแล้วเสร็จไม่ทันพระฉัน จึงมิได้ถวายพระ หากประสงค์จะได้บุญอีก สามารถทำได้โดยนำอาหารนั้นไปเลี้ยงคนชรา หรือผู้ยากไร้ที่อดอยากอาหาร หรือแม้กระทั่งนำอาหารไปเลี้ยงปลา เลี้ยงสุนัข บุญย่อมเกิดขึ้นได้อีกเช่นกัน

(๓). การให้ทานต้องใช้ปัญญาสนับสนุน ผู้ใดคิดว่าซื้ออ้อยจากควาญ แล้วนำไปเลี้ยงช้าง เพื่อให้ช้างคลายจากความหิว การประพฤติเช่นนี้เป็นบุญ ตรงกันข้าม ผู้ใดคิดว่าซื้ออ้อยจากควาญ แล้วนำไปเลี้ยงช้าง เป็นเหตุให้ช้างเกิดการทรมานช้าง แล้วยังซื้ออ้อยเลี้ยงช้าง การประพฤติเช่นนี้เป็นบาป

(๔). มนุษย์ทำกรรมได้สามาทาง คือ ทำกรรมทางกาย ทำกรรมทางวาจา และทำกรรมทางใจ ดังนั้นการสวดมนต์ออกเสียง ถือว่าเป็นการทำกรรมทางใจและทำกรรมทางวาจา จึงได้อานิสงส์มกกว่า การสวดมนต์ด้วยใจเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีอานิสงส์น้อยกว่า

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเรียนถามปัญหาอาจารย์ดังนี้
1. อ่านหนังสือวิธีสร้างบุญบารมี ตอนหนึ่งกล่าวว่า ทานนั้นมีผลมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับ คือ
ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉานแม้จะมากถึง 100 ครั้ง.........ฯลฯ อยากทราบว่าการถวายทานแก่พระอรหันต์ ที่ไม่ใช่พระของบุคคลทั่วไป แต่เป็นพระอรหันต์ของลูก นั่นก็คือบิดามารดานั่นเอง ด้วยการเลี้ยงดูตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มกำลังความสามารถ จะได้บุญเทียบเท่ากับเราถวายทานกับพระอรหันต์จริงๆ หรือไม่ เพราะถ้าได้บุญเท่ากัน เราก็คงไม่จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาเนื้อนาบุญที่ไกลตัว แต่ดิฉันก็ยังรู้สึกว่า อันว่าบิดามารดาถึงแม้ท่านจะได้ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ของลูกก็จริงอยู่ แต่ท่านก็ยังไม่หมดกิเลส ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อพาตัวท่านเองและลูกหลานให้พ้นทุกข์ได้ ท่านเป็นผู้ที่ลูกหลานต้องให้ความเคารพบูชา เพราะท่านรักและปรารถนาดีต่อลูกหลานอย่างไม่ปิดบังซ่อนเร้น แต่ท่านอาจจะร้ายกาจกับบุคคลอื่นก็ได้ บุคคลอื่นอาจจะสาปแช่งท่านอยู่ก็ได้ จึงอยากขอความกระจ่างแจ้งจากอาจารย์ว่า ควรจะแยกแยะหรือพิจารณาอย่างไร

2. ช่วงเข้าพรรษานี้มีงานบวชชุกมาก ได้รับบัตรเชิญเหมือนไปงานรื่นเริง มีทั้งดนตรี การละเล่น ร้องรำทำเพลง สุราเมรัย ปิดถนนหนทาง ผู้คนทั่วไปบ้านใกล้เรือนเคียง ต้องทนฟังเสียงเพลงที่ขับร้องโดยคนขาดสติ คือคนเมาทั้งหลาย ทั้งคืนตลอดรุ่งก็มี รู้สึกหดหู่มากเวลาใส่ซองอนุโมทนาบุญ ก็ลำบากใจเหลือเกิน เพราะไม่รู้ว่าส่วนไหนที่เป็นบุญที่เราพอจะอนุโมทนาได้ ด้วยปัญญาอันน้อยนิดนี้ จึงขอความกรุณาจากอาจารย์ให้ช่วยบอก วิธีอนุโมทนาหรืออธิษฐาน หรือตั้งสติกำหนดจิต อย่างไร เพื่อให้ได้บุญบ้างในสภาวการณ์เยี่ยงนี้

ขอขอบพระคุณอย่างสูง

คำตอบ

(๑). ให้ทานกับผู้มีจิตหลุดพ้นจากกิเลส (พระอรหันต์) ได้บุญมากกว่า ให้ทานกับคนที่ยังมีกิเลสมาก (ปุถุชน) ดังนั้นให้ทานกับพ่อแม่ที่ยังมีสภาวะของจิตปุถุชน จึงได้บุญน้อยกว่าถวายทานกับพระอรหันต์ที่มีจิตปลอดจากกิเลสแล้ว

(๒). เอาเงินใส่ซองเพื่อถวายเป็นทาน ถือว่าได้บุญ แต่มีความลำบากใจในการให้ทาน ถือว่าเป็นบาป ฉะนั้นที่บอกเล่าไป จึงได้ทั้งบุญและบาป ส่วนไหนจะมากกว่ากัน ต้องวัดกันด้วยความสบายกาย ความสบายใจ ถวายทานแล้วสบายใจมากกว่า – จงถวาย ถวายทานแล้วไม่สบายใจมากกว่า – จงอย่าถวาย ผู้ตอบปัญหาเสนอแนะว่า การให้ทานแล้วเกิดเป็นบุญมาก ให้ถวายทานดังนี้

๑. ก่อนให้ทาน มีศรัทธา

๒. ขณะถวายทาน มีความตั้งใจ

๓. ถวายทานแล้ว มีความสบายใจ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจารย์สนอง มีวิธี ลด ระงับ กำจัดโทสะ ที่มีใน จริต อย่างไรบ้างครับ
ขอคำแนะนำด้วยครับ

ตอนนี้ผมทุกข์มากเลย ไม่อยากให้โทสะผุดขึ้นมาเลย แต่มันเร็วกว่าความรู้สึกตัวผมมาก ยิ่งตอนที่มีภาระมากๆมารุมเร้า ผมยังไม่เห็นมัน มันก็ทำงานแล้วครับ

เคยได้ยินว่า มันเป็นตัวที่กำจัดง่ายที่สุด ผมดูตัวเอแล้ว ผมเห็นได้ว่าผมกำจัดได้ง่ายแน่
โดยการหลีก ปลีก ออกห่างตัวกระตุ้น ไปอยู่วิเวก หรือ ไม่กลับบ้าน แต่ผมก็คิดว่ามันยังไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเพราะ มันไม่ได้พัฒนาจิตเป็นเกราะให้ตัวเอง แต่เป็นการหลบเท่านั้น

โทสะที่เกิดกับผม แปลกด้วยครับ มักจะเกิดกับคนที่บ้าน (กับที่ทำงานเป็นคนใจเย็นมากๆๆๆจนมีคนชมครับ) เพราะผมมักจะรู้ว่า หรือ คาดเดาว่า เขาจะทำอะไร ซึ่งไม่ถูกต้อง เมื่อไม่ถูกต้องอย่างที่ใจคะเนไว้ หรือ ทำผิดซ้ำในเรื่องที่ผมเคยบอกแล้ว
ผมก็จะมีอารมณ์โกรธขึ้นมาทันที วจีกรรมออกมาแล้ว แล้วจึงมาห้ามมันทีหลัง
หรือบางครั้งตั้งใจไว้ก่อนแล้วว่าจะไม่ให้มีวจีกรรมหลุดออกมา
แต่พอฟังสิ่งที่ไม่ถูกใจเข้าไปสักสองสามประโยคก็ต้องมีโทสะขึ้นมาจนได้ครับ

ขอบพระคุณครับอาจารย์


คำตอบ

การบริหารจัดการกับอารมณ์โทสะ ทำดังนี้

๑. นำตัวออกห่างจากแหล่งที่มีเหตุขัดใจ

๒. ให้อภัยได้ทุกเรื่องและทุกครั้งที่มีเหตุขัดใจเกิดขึ้น

๓. พัฒนาจิตให้มีสติและมีปัญญาเห็นถูกตามธรรม มีกำลังกล้าแข็ง

๔. ใช้สติปัญญาเห็นแจ้ง พิจารณาสิ่งขัดใจว่า ดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์ จนเห็นสิ่งกระทบที่ขัดใจเป็นอนัตตา แล้วอารมณ์โทสะจะไม่เกิด

๕. เมื่อโทสะเกิดขึ้นแล้ว จงใช้ปัญญาเห็นแจ้งพิจารณาอารมณ์โทสะว่า ดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์จนเป็นอนัตตา เมื่อโทสะดับ จิตจะปล่อยวางอารมณ์ แล้วว่างเป็นอุเบกขา

วิธีบริหารจัดการโทสะ ตามข้อ ๔. ดีที่สุด

ตามข้อ ๕. ดีมาก

ตามข้อ ๒. ดีกว่า

ตามข้อ ๑. ดี

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1. ผมมีปัญหาความสงสัยในการนั่งสมาธิครับ
ผมนั่งสมาธิ แล้ว ลำตัวผมจะเอนลงเรื่อยๆ จนต้องนอนลงกับพื้น
เคยฝืน อดทน ให้ลำตัวเอนลง แล้วจับจิตที่แผ่นหลังว่าเกิดอะไร ก็รู้สึกกำลังเกร้งไม่มาก
และ เฝ้าดูต่อไป ลำตัวก็ค้างลอยๆ กึ่งนั่งนอน เหมือนจะนอนแต่ไม่นอนลงไป เพราะ ลำตัวล๊อคอยู่ จนสักพักก็นอนลง ผมก็ไม่แน่ใจว่า ควรจะกำหนดจิตในท่านั่งขัดสมาธิ ต่อ หรือ จะนอนท่าศพ เหมือนโยคะ แล้วจับลมหายใจดีครับ ?

2. นั่งให้หลังค่อมเล็กน้อย เพื่อให้เกิด โมเมนท์ ตกหน้าฐาน เหมือนรูปนั่งของหลวงปู๋ทวดวัดช้างไห้เหยียบน้ำทะเลจืดครับ เกิดความกังวลเล็กน้อยว่าจะ เสียสุขภาพแผ่นหลัง แต่ก็คิดเชื่อมั่นว่าบุญจากการทำสมาธิ คงไม่ทำให้เราปวดหลัง
และตอนนี้ก็ตั้งใจนั่งแบบนี้อยู่พักหนึ่ง

ครั้งหลังจึงแก้ไขตัวเองโดยนำเบาะมารองที่ก้นทำให้ลำตัวเอนไปข้างหน้าแทน
แต่ถ้าเป็นแบบนี้ครับผมก็ได้สมาธิก็จริง แต่ไม่สามารถผ่านเวทนาได้ใช่ไหมครับ เพราะแค่นี้ปวดหลังผมยังอดทนไม่ได้เลย กลับมาหาทางแก้ไขมันล่วงหน้าก่อนโดยเหตุการณ์ปวดหลังยังไม่เกิด
ในอนาคตผมเจ็บไข้ได้ป่วย หวังใช้การกำหนดสมาธิ แยกจิตจากอาการป่วย อย่างในความหมายของโพชฌังคปริตร ก็จะไม่ได้ ผมต้องอดทนนั่งแบบหลังเอนๆใช่ไหมครับ ?

3. เวลาปวดปัสสาวะ หรือ ถ่ายหนักเบา เราควรจะทำอย่างไร ?
ผมคิดว่าจะเหมือนโยคี ที่มีของเหลวในกระเพาะปัสสาวะแล้วมันหายไปเองได้ไหม
หรือจะเหมือน หลวงพ่อจรัญ กล่าวว่า จะเข้าสมาธิได้ยาก เพราะ กายไม่ปรกติ
( ท่านได้กล่าวถึง เหตุที่จิตไม่เป็นสมาธิ เจ็ดอย่าง มีอาการเจ็บป่วยหรือปวด หรือ ท้องปั่นป่วน เป็นหนึ่งในนั้นครับ)

4. เนื่องจากผมฝึกพัฒนาตนเองในด้านร่างกาย โดยใช้ศิลปะป้องกันตัวด้วย
ถ้าผมจะเปลี่ยนจากการเดินจงกรม มาเป็นการรำไทเก๊ก ได้ไหมครับ ?
ผมก็เห็นว่าเป็นการใช้กายทำให้เกิดสมาธิ(กรรมฐาน)เช่นกัน

การรำไทเก๊ก ต้องกำหนดจิตรู้สึกหลายที่กว่า คือ ลิ้นแตะเพดานปาก
หมุนสะโพกให้น้ำหนักลงกลางขา แล้วก้าวขาย่างและวางลักษณะคล้ายๆจงกรม
และขณะก้าวก็จะให้น้ำหนักอยู่กลาง
( ผมอาจอธิบายไม่ดีครับ เพราะผมก็ยังไปไม่ถึง แต่อาจารย์ที่สอนป้องกันตัวท่านก็ไม่พูดสอนมาก
เหมือนที่อาจารย์สนองพูดถึงพระอาจารย์ท่านเจ้าคุณโชดกว่าไม่บอก ปล่อยให้เห็นเองเช่นกัน
ผมไม่แน่ใจว่าอาจารย์สนองเคยรำไทเก๊กหรือไม่ อาจพอช่วยให้อาจารย์เข้าใจมากขึ้นครับ)

ขอบพระคุณมากครับ




คำตอบ

(๑). ขณะตัวเอนลง ให้กำหนดว่า “ นอนหนอๆๆๆๆ ” ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการเอนลงของร่างกายดับไป แล้วดึงจิตกลับมาสู่องค์บริกรรมเดิมที่ใช้อยู่

(๒).นั่งตัวตรงดีกว่านั่งหลังค้อม เพราะจะไม่ทำให้ปวดหลัง

คำว่า “ โพชฌงค์ ” เป็นองค์คุณเจ็ดประการ ที่นำจิตเข้าสู่การตรัสรู้ ผู้ที่จะใช้โพชฌงคปริตร มาสวดเพื่อให้ผู้อื่นหายจากอาพาธได้ ผู้อาพาธต้องมีสภาวะของจิตเป็นพระอรหันต์ให้ได้ก่อน เมื่อฟังบทสวดโพชฌงค์ แล้วพิจารณาคุณธรรมทั้งเจ็ดโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ย่อมหายจากอาพาธได้ ตรงกันข้าม คนที่ยังมีจิตเป็นปุถุชน จะได้ยินได้ฟังโพชฌงค์สักกี่ครั้ง ไม่ทำให้หายจากอาพาธได้ แต่หากเมื่อใดปุถุชนพัฒนาจิต (สมถภาวนา) จนตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ (ฌาน) อาการปวดหลังย่อมหายไปตราบนานเท่าที่จิตยังทรงอยู่ในฌาน ตรงกันข้าม พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ อาการปวดหลัง (เวทนา) ย่อมดับไป ตราบนานเท่าที่จิตยังทรงอยู่ในนิโรธสมาบัติ

(๓). ปลดปล่อยออกนอกร่างกาย

(๔). การเดินจงกรม มีจุดประสงค์ฝึกจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ หากรำไท้เก็ก แล้วทำให้จิตเป็นสมาธิ ใช้ได้ครับ ผู้ตอบปัญหาไม่เคยรำไท้เก็ก จึงไม่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1521 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 91, 92, 93, 94, 95, 96, 97 ... 102  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร