วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 04:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




buddha1.jpg.w300h412.jpg
buddha1.jpg.w300h412.jpg [ 38.87 KiB | เปิดดู 2232 ครั้ง ]
จะหาธรรมได้จากที่ไหน


บางคนแสวงหาธรรม

ไปสู่สถานที่ต่าง ๆหลายแห่งเพื่อแสวงหาธรรม

โดยไม่เข้าใจว่ามีธรรมปรากฏอยู่ตลอดเวลา

ตั้งแต่เกิดจนตาย ที่ใกล้ที่สุดคือที่ตัวเองก็เป็นธรรมทั้งหมด

ทุกสิ่งภายนอกก็เป็นธรรมทั้งนั้น

เมื่อไม่รู้ว่าเป็นธรรมจึงไปแสวงหาธรรม

ต่อเมื่อใดได้ฟังพระธรรม ได้เข้าใจธรรม

ก็จะรู้ว่าธรรมนั้นไม่ต้องแสวงหา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




lotus293.jpg
lotus293.jpg [ 2.32 KiB | เปิดดู 2179 ครั้ง ]
ธรรมะในการดำเนินชีวิตประจำวัน
พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

หลักศีลธรรมสำหรับชาวพุทธที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานสั่งสอนไว้ มีมากมายหลายระดับ ทั้งที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตประจำวัน และระดับที่สูงขึ้นไป หากพุทธศาสนิกชนทุกคนล้วนแต่ตั้งมั่นอยู่ในคำสั่งสอนของท่าน ย่อมบังเกิดความสงบสุขในการดำเนินชีวิต และในสังคมที่เราอาศัยอยู่อย่างแน่นอน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่มาจากการที่ คนเราไม่ตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั่นเอง ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ ก็เพื่อเป็นการทบทวนความจำที่เราได้เคยเล่าเรียนมา พินิจพิจารณาถึงความเป็นจริงในแต่ละข้อที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ และนำไปปฏิบัติด้วยอันเป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุด

ฆราวาสธรรม ๔ สัปปุริสธรรม ๘
โอวาทปาติโมกข์ คุณสมบัติของพ่อค้าที่ดี
ธรรมคุ้มครองโลก (หิริ โอตตัปปะ) เคล็ดลับการเป็นพหูสูต
อิทธิบาท ๔ ไตรสิกขา
มรรค ๘ อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ
สัปปุริสทาน ๘

ฆราวาสธรรม ๔ คือ ธรรมสำหรับการครองเรือนในชีวิตของบุคคลทั่วไปได้แก่

๑.พูดจริงทำจริงและซื่อตรง (สัจจะ)
๒.ฝึกหัดแก้ไขปรับปรุง (ทมะ)
๓.อดทนตั้งใจและขยัน (ขันติ)
๔.เสียสละ (จาคะ)

ครั้นเมื่อพระอริยสงฆ์จำนวน ๑๒๕๐ รูปต่างมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมายในวันเพ็ญเดือน ๓ (วันมาฆบูชา) พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาติโมกข์ อันถือเป็นข้อธรรมที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหลาย แก่พระอริยสงฆ์สาวกดังต่อไปนี้

โอวาทปาติโมกข์ คือข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการได้แก่

๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม
๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

ธรรมคุ้มครองโลกมี ๒ อย่างคือ

๑.ความละอายใจในการทำบาป (หิริ)
๒.ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว (โอตตัปปะ)

อิทธิบาท ๔ หรือธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ได้แก่

๑.ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (ฉันทะ)
๒.ความเพียรเพื่อประกอบสิ่งนั้น (วิริยะ)
๓.เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ (จิตตะ)
๔.หมั่นตริตรอง พิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น (วิมังสา)

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วได้แสดงปฐมเทศนาโปรดแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ (ผู้ที่เคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มาได้แก่ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ) เป็นครั้งแรก มรรคอันมีองค์ ๘ นี้เป็นข้อปฏิบัติแบบสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ทรงโปรดแก่เหล่าปัญจวัคคีย์มีดังนี้

มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ

ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

(สมุทัย) เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

(นิโรธ) ความดับทุกข์ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

(มรรค) ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่
ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)
ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น

๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่
ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)
ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)
ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)
ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)

๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่
การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)
การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)
การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)

๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ

เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์
เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส
เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
เว้นจากการค้าขายน้ำเมา
เว้นจากการค้าขายยาพิษ

๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่
เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น
เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว
เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น
เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่

๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ
พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก
พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่
พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด
พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ

๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ
ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑
ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒
ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓
จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔

สัปปุริสทาน ๘ หรือทานของสัตบุรุษ มีดังนี้

๑.ให้ของสะอาด ๕.พิจารณาเลือกใหด้วยวิจารณญาณ
๒.ให้ของประณีต ๖.ให้สม่ำเสมอ
๓.ให้เหมาะกาลเวลา ๗.เมื่อให้ มีจิตใจผ่องใส
๔.ให้ของที่ควรให้ ๘.ให้แล้ว มีความเบิกบานใจ

สัปปุริสธรรม ๘ หรือธรรมของสัตบุรุษ (คุณสมบัติของคนดี)

๑.มีสัทธรรม ๗ ประการคือ
๑.๑ มีศรัทธา
๑.๒ มีหิริ
๑.๓ มีโอตตัปปะ
๑.๔ เป็นพหูสูต
๑.๕ มีความเพียรอันปรารภแล้ว
๑.๖ มีสติมั่นคง
๑.๗ มีปัญญา
๒.ภักดีสัตบุรุษ หรือการคบหาสมณพราหมณ์ที่มีคุณธรรมข้างต้นเป็นมิตร (สัปปุริสภัตตี)
๓.คิดอย่างสัตบุรุษ คือไม่เบียดเบียนคนอื่น (สัปปุริสจินดี)
๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ (สัปปุริสมันตี)
๕.พูดอย่างสัตบุรุษ ถูกต้องตามวจีสุจริต (สัปปุริสวาโจ)
๖.ทำอย่างสัตบุรุษ ถูกต้องตามกายสุจริต (สัปปุริสกัมมันโต)
๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ มีสัมมาทิฏฐิ (สัปปุริสทิฏฐี)
๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ ตามหลักสัปปุริสทาน (สัปปุริสทานัง เทติ)

คุณสมบัติของพ่อค้าที่ดี

๑.ตาดี
๒.ฉลาด
๓.รู้จักคนกว้างขวาง

เคล็ดลับการเป็นพหูสูต ๕ อย่าง

๑.ฟังมาก หรือศึกษาเล่าเรียนมาก
๒.จำมาก คือหมั่นสังเกตจดจำสิ่งต่างๆที่เห็นมา เรียนมา
๓.ท่องจนคล่องขึ้นใจ คือจำได้โดยไม่ต้องนึกคิด
๔.เจนใจ คือการคิดจนสร้างมโนภาพในใจขึ้นได้ทันที
๕.ทะลุปรุโปร่ง คือนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพิจารณาเป็นข้อสรุป
อธิบายต้นสายปลายเหตุได้อย่างถูกต้อง

เป็นปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จปรินิพพาน ให้เจริญด้วยไตรสิกขาให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท เสร็จแล้วก็ทรงดับขันธปรินิพพานเลย ถือเป็นบทรวมของการปฏิบัติทั้งหมด

ไตรสิกขา

๑.ศีล
๒.สมาธิ
๓.ปัญญา

อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการได้แก่

๑.ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒.สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น
๓.บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔.ทำความเห็นให้ตรง
๕.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

ที่มา :: วัดเขาพนมสัจจฉัพพรรณรังษี จังหวัดพิษณุโลก

กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านค่ะ tongue tongue tongue

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร