วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:

หลักการพิสูจน์ตนของตน
พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


วันนี้มีความรู้สึกปีติยินดีที่ได้มาพบท่านทั้งหลาย และได้แสดงธรรมสู่ท่านทั้งหลายฟัง ธรรมะที่จะแสดงไม่ใช่ธรรมะของผู้บรรยาย เพราะว่าไม่ใช่ธรรมะของผู้บรรยายแต่ผู้เดียว ธรรมะของท่านทั้งหลายก็มีด้วย

ถ้ามาตั้งปัญหาถามตนเองว่าธรรมะคืออะไร เราจะได้คำตอบว่า "ธรรมะคือกายกับใจ" ทำไมจึงว่าธรรมะคือกายกับใจ ก็เพราะเหตุว่ากายกับใจเป็นสภาวธรรม สภาวธรรมนี้เป็นสิ่งที่เป็นมาโดยธรรมชาติ ธรรมชาติของมนุษย์ บิดามารดาเป็นมนุษย์ ลูกหลานเกิดมาก็เป็นมนุษย์ อันนี้คือธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ สิ่งที่มีกายกับใจอย่างอื่น เช่นสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น พ่อแม่เขาเกิดมาเป็นอย่างไร เขาก็เกิดมาเช่นนั้นโดยธรรมชาติ เมื่อเรามีกายกับใจเป็นสมบัติของเรา เราก็มีธรรมะกันทุกคน มีธรรมะเป็นสมบัติของตัวเอง ในเมื่อเรารู้ว่าธรรมะเป็นของเราคือกายกับใจ โดยลำดับต่อไปเราจะปฏิบัติต่อธรรมะของเราอย่างไร

กายกับใจเมื่อเกิดขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนแล้วก็มีความเจริญขึ้น โตขึ้น ในเมื่อโตเต็มที่แล้วมันก็เจริญลง ในที่สุดมันก็เจ็บ ตาย นี่คือความเป็นไปของธรรมะของคนเรา ความเจริญอันนี้หลักธรรมะท่านว่ามันอนิจจัง มันไม่เที่ยง คือพอมันเกิดมาแล้วตัวเล็กๆ มันจะอยู่เพียงตัวเล็กๆ แค่นั้นไม่ได้ เพราะกฎธรรมชาติของมันจะต้องเจริญเติบโต พอโตเต็มที่แล้วมันก็โทรมลง คือแก่ลงๆ ร่างกายเคยโตสูงใหญ่มันก็หดเล็กลงๆ ทุกที ในที่สุดเมื่อสิ้นสุดอายุไปแล้ว มันก็เจ็บตาย นี่คือความเป็นจริงของธรรมะของเราคือกายกับใจ ธรรมะนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่า "สภาวธรรม" สภาวธรรมนี้เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ ดังนั้น การศึกษาธรรมะนี้ท่านจึงให้เอาใจนี้ค้นคว้าดูสภาวะความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เริ่มต้นตั้งแต่มันเจริญเติบโตขึ้น แล้วก็แก่ลงๆ ตามสภาพความเป็นจริง ในที่สุดก็ต้องสลายตัวคือตาย ความเปลี่ยนแปลงอันนี้ใครจะชอบใจก็ตามไม่ชอบใจก็ตาม

โดยธรรมชาติของมันจะเป็นอย่างนั้น เราทุกข์เพราะความแก่ ความเจ็บ ความตาย เราทุกข์เพราะความแก่เราก็ไม่ชอบ ความเจ็บเราก็ไม่ชอบ ความตายเราก็ไม่ชอบ ลองคิดดูว่า สิ่งที่เราไม่ชอบนั้น เราปรารถนาให้มันอยู่ มันอยู่ได้ไหม ในเมื่อมันอยู่ไม่ได้ ความรู้สึกของเรานี่มันฝืนสภาพความเป็นจริง ทั้งๆ เราก็รู้อยู่แก่ใจแล้วว่ามันไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา แต่เราก็อดที่จะฝืนกฎธรรมชาติของมันไม่ได้ เพราะเหตุที่เราจะฝืนกฎธรรมชาติของมันไม่ได้นี่เองจึงเป็นทุกข์ เพราะไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย อันนี้คือความเป็นจริงโดยธรรมชาติ ในฐานะที่เราท่านทั้งหลายตั้งใจศึกษาธรรมะ อยากรู้ความจริงของธรรมะ คือต้องการรู้ความจริงของกายและใจของเรานั่นเอง

หลักพิสูจน์ความเป็นตัวของตัวเราเอง คนเรามีโอกาสที่จะเป็นได้หลายๆ อย่างในตัวคนๆ เดียวนั้นเอง ในความรู้สึกของเรา เรารู้ว่าเราเป็นคนโดยสมบูรณ์ อันนี้เป็นความจริง เพราะรูปร่างหน้าตาของเราก็เหมือนกับคนอื่นๆ เขา แต่ในตัวคนๆ หนึ่งหรือมนุษย์คนหนึ่ง ตั้งแต่เช้าจนถึงปัจจุบันนี้ เราได้คอยเอาใจใส่พิจารณาตัวเองบ้างหรือไม่ว่าเราเป็นอะไรมาแล้วสักกี่อย่าง ดังนั้น ในหลักธรรมะท่านได้วางหลักให้พิสูจน์ตัวเองมีอยู่ ๔ ประการ

๑. มนุสสมนุสโส กายเป็นมนุษย์ จิตใจก็เป็นมนุษย์
๒. มนุสสติรัจฉาโน กายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเดรัจฉาน
๓. มนุสสเทโว กายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเทวดา
๔. มนุสสเปโต กายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเปรต

กายเป็นมนุษย์จิตใจเป็นมนุษย์ โดยปกติแล้วมนุษย์เป็นผู้มีจิตใจสูง มนะแปลว่าใจ อุษย์หรืออุสโส แปลว่า สูง ฉะนั้น มนุษย์จึงแปลว่า ผู้มีจิตใจสูง สูงกว่าสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์นี้เป็นสิ่งสูงสุด เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ผู้สามารถใช้ความฉลาดนั้นไม่มีอะไรเหนือมนุษย์ มนุษย์ทำได้ทุกอย่าง มนุษย์สามารถสร้างได้แม้กระทั่งพระพุทธเจ้า พระพรหม เทพ เปรต อสุรกาย ทั้งสัตว์เดรัจฉาน อยู่ในตัวมนุษย์นี้ทั้งนั้น เมื่อพูดถึงตัวของมนุษย์ เรามีกาย มีรูปร่างเป็นมนุษย์ เราทดสอบดูจิตใจของเราเองว่าเราเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์หรือไม่ โดยนิสัยของมนุษย์จะต้องมีความเมตตา มีความปรารถนาดีต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตด้วยกัน นี้เป็นประการหนึ่ง มนุษย์มีความปรารถนาที่จะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ยากลำบากให้คนอื่นและสัตว์อื่น นี้เป็นคุณสมบัติของมนุษย์เมื่อสรุปแล้วมนุษย์ผู้มีศีล ๕ สมบูรณ์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก ใครก็ตามมีศีลมีธรรม มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีความรัก ความปรารถนาดีในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ผู้นั้นร่างกายเป็นมนุษย์ ใจก็เป็นมนุษย์สมบูรณ์ ตามหลักพระศาสนาท่านว่า ศีล ๕ คือ มนุษยธรรม คือธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นมนุษย์

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 04 พ.ค. 2010, 11:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue :b8: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ ท่านวรานนท์ :b20: smiley

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2010, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุกับทุกสิ่งดีดีที่ท่านวรานนท์ตั้งใจทำแล้วด้วยดีค่ะ

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร