วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเชื่อที่งมงาย

สมบัติชิ้นที่ ๓ ของปุถุชน

พระพุทธองค์ตรัสว่า สมบัติของปุถุชนที่มีมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์นั้น มีอยู่ ๓ ชิ้น ได้แก่ ความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องกาม
ความดื้อรั้นตามทิฏฐิของตนเอง
ความหลงงมงาย(ซึ่งน่ากลัวมากที่เดียว)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยปัจจุบันอันเป็นยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย บางคนนำเอาสิ่งศักดิ์สิทธ์มาเป็นที่พึ่งโดยการบนบานศานกล่าว ด้วยความเชื่อที่ว่าจะดลบันดาลให้ชีวิตของตนเป็นไปตามปรารถนาได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่เหลวไหลไร้สาระแบบงมงายอย่างยิ่ง ไม่อาจที่จะแก้ปัญหาใดๆได้เลย

สมบัติของปุถุชน
ปุถุชนเราตั้งแต่เกิดมา ย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องที่ก่อความใคร่(กาม) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๑
แล้วยึดมั่นถือมั่นในความดื้อรั้น ตามความคิดความเชื่อของตัวเอง(ทิฏฐิ)เป็นสมบัติชิ้นที่ ๒
ส่วนสมบัติชิ้นที่๓ ก็คือความหลงงมงาย(สีลัพพตปรามาส)ผู้ใดมัวแต่หอบหิ้วสมบัติชิ้นใหญ่ๆเหล่านี้อยู่ ย่อมไม่สามารถละจากความเป็นปุถุชน เพื่อไปสู่ความเป็นพระอริยะเจ้าได้
ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ปุถุชน(คนที่ฝ้าปิดบังดวงตาหนาทึบ กล่าวคือคนโง่ คนเขลา คนหลง)จะต้องรู้ความผิดพลาดหรือเหตุที่ตนต้องทุกข์ทรมาน เพราะการหอบหิ้วทรัพย์สมบัติเหล่านี้อยู่

(ต่อไป...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
หลักพระพุทธศาสนาในส่วนปริยัติและปฏิบัตินั้น ได้แก่ความรู้และการปฏิบัติเพื่อถอนความยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งทั้งปวง ไม่ฝังตัวเข้าไปในสิ่งทั้งหลายด้วยความยึดมั่นถือมั่น
ในหลักศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ก็ไม่มีอะไรมากดังที่ท่านได้ตรัสยืนยันของท่านเองโดยสรุปย่อก็คือว่า"สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่ควรยึอมั่นถือมั่น"

ทิฏฐิ,.บ่วงเบ็ดแห่งความงมงาย
แต่ปุถุชนไม่สามารถจะทำลายความยึดมั่นถือมั่น หรือไม่สามารถจะปล่อยวางสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นได้ ก็เพราะมีกามเป็นเครื่องล่อ แล้วมีทิฏฐินานาชนิดเป็นเหมือนบ่วงเบ็ด ทีนี้ยังเหลืออยู่แต่ว่า คนทั้งหลายจะโง่งมงายเข้าไปกินเหยื่อติดบ่วงติดเบ็ดนี้หรือไม่เท่านั้น ถ้าหากว่าไม่งมงายเหยื่อกับบ่วงนั้นก็เป็นหมันไป
เหยื่อหรือบ่วงกลายเป็นสิ่งที่อันตรายขึ้นมา ก็เพราะความโง่เขลางมงายของตนเองมากกว่า ถ้าหากว่าคนเราปราศจากความงมงายแล้ว เหยื่อกับบ่วงก็ไม่อาจทำอันตรายแก่เราได้

ความงมงาย,.สมบัติชิ้นที่ ๓ ของปุถุชน
ฉะนั้น เราจึงควรศึกษาเรื่องความงมงาย ที่เรียกว่าเป็นสมบัติชิ้ที่ ๓ ที่ปุถุชนหอบหิ้วมาอย่างรุงรังนุงนังไปหมด ตั้งแต่สมัยป่าเถื่อนที่สุด กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ถ้าคนใดมัวแต่หอบหิ้วสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของทั้ง ๓ อย่างอยู่นี้แล้ว ก็ไม่สามารถเข้าไปในเขตของพระอริยะเจ้าได้ เราจะต้องสลัดทิ้งสิ่งที่เป็นข้าศึกเหล่านี้ออกให้หมด จึงจะเข้าถึงฝ่ายอันเป็นพระอริยะเจ้า
(ต่อ....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กาลามสูตร,. หลักธรรมที่ใช้ขจัดความงมงาย
ทีนี้ จะได้กล่าวถึงหลักพุทธศาสนาที่เป็นเครื่องขจัดหรือถ่ายถอนความงมงาย หลักนี้เราเรียกว่า"กาลามสูตร" หรือ "ภัททิยสูตร" เป็นพุทธภาษิตจัดไว้สำหรับแก้ไขความงมงายโดยเฉพาะ
เรื่องเดิมมีอยู่ว่า คนกลุมหนึ่งได้ทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงข้อที่กำลังงงกันไปหมด โดยมิอาจจะทราบได้ว่า ข้อปฏิบัติอย่างใดจะดับทุกข์ได้โดยตรง ครูบาอาจารย์พวกนี้มาก็สอนให้อย่างหนึ่ง พวกโน้นมาก็สอนให้อีกอย่างหนึ่ง มากมายหลายพวกด้วยกัน จนไม่รู้ว่าอันไหนเป็นที่เชื่อถือได้ ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้
ลักษณะเช่นนี้ เราน่าจะนำมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในยุคของพวกเราทุกวันนี้บ้างเหมือนกัน
เพราะว่าในปัจจุบันนี้ก็มีหลักปฏิบัติพุทธศาสนาในพระไตรปิฏกบ้าง นอกพระไตรปิฏกบ้าง ครึ่งๆกลางๆบ้าง ของไทยบ้าง ของต่างประเทศบ้าง ดูจะสับสนวุ่นวายกันพอใช้ จนประชาชนที่สนใจงงงันไป แล้วเราจะทำอย่างไรดี?
ฉะนั้น น่าจะอาศัยวิธีแก้ปัญหานี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่นเดียวกัน คือ พระองค์ได้ตรัสสอนคนเหล่านั้นไว้ว่า......

[i]๑. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่บอกต่อๆ กันมา
๒. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เขาได้ทำตามๆ กันมา(ประเพณี)
๓. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า มันเล่าลือกันกระฉ่อนไปหมดแล้ว่าเป็นความจริง
๔. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า มันมีอ้างไว้ในคัมภีร์ หรือปิฏก (ตำรับตำรา)
๕. อย่าได้เชื่อถือโดยการเดาของตัวเอง
[/i
](ต่อ....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. อย่าได้เชื่อถือโดยการคาดคะเนของตัวเอง
๗. อย่าได้เชื่อถือโดยการตรึกนึกตามเหตุผลส่วนตัวของตัวเอง
๘. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า มันเข้ากันได้กับลัทธิหรือความเชื่อที่ตนกำลังถืออยู่ หรือมีอยู่ประจำใจ
๙. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า ผู้พูดหรือผู้สอนนั้น อยู่ในฐานะที่พอจะเชื่อถือได้
๑๐. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า ท่านผู้กล่าวผู้สอนนั้นเป็นครูบาอาจารย์ของเรา

ในข้อสุดท้ายนี้ ขอให้เข้าใจไว้ด้วยว่า คำว่า"ครูบาอาจารย์ของเรา" นั้น หมายถึงพระพุทธเจ้าท่านเองด้วย เพราะว่าในบาลีแห่งอื่นได้กล่าวไว้ชัดเจน พระพุทธเจ้าท่านทรงปฏิเสธว่า"อย่าเชื่อโดยเหตุว่าตถาคตกล่าว"หรือ"อย่าเชื่อคำของตถาคต โดยไม่พิจารณาดูให้เห็นแจ้งเห็นจริงโดยตนเองเสียก่อนว่า ถ้าทำไปแล้วจะเกิดผลอย่างนั้นจริง"
นี่เราจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าท่านได้มีพุทธประสงค์จะให้เราหลุดพ้นจากการเป็นทาสของความงมงายเพียงไร ท่านให้อิสรภาพเพียงไร ท่านให้เราเป็นผู้กล้าหาญในการวิพากษ์วิจารณ์เพียงไร ท่านทรงมุ่งประสงค์ให้เราหลุดจากความเป็นคนงมงายโดยเด็ดขาด เพราะความงมงายนี้ย่อมเป็นอุปสรรคอันแรกของการที่จะดำเนินไปสู่เขตของการเป็นพระอริยเจ้า

ข้อแรกที่ว่าอย่าเชื่อเพราะคนเขาบอกต่อๆ กันมา นี่ก็หมายถึง สิ่งที่เขาได้สอนๆสืบกันมา ตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงคนชั้นนี้ เราจะถือว่าถูกต้องตามไปด้วยยังไม่ได้ เราจะต้องใช้ปัญญาของเราพิจารณาสอบสวนดูให้ถ่องแท้เสียก่อนที่จะเชื่อตามเขา
ข้อสอง ที่ว่าอย่าเชื่อเพราะเขาทำตามๆกันมา ก็ได้แก่อย่าเชื่อโดยเห็นคนอื่นทำตัวอย่าง เช่น พ่อแม่ตื่นนอนขึ้นก็เสกคาถาอย่างนั้นอย่างนี้ ลูกหลานเห็นเข้าก็เสกคาถาตาม การไหว้ทิศ ไหว้ดวงอาทิตย์ หรือไหว้ของศักดิ์สิทธ์ต่างๆก็เช่นเดียวกัน พอลูกหลานเห็นบิดามารดาทำก็ตาม พ่อแม่คนใดออกไปนอกพระพุทธศาสนา เด็กๆ ก็ออกไปตาม โดยไม่รู้สึกตัว นี่ก็เป็นการสอนเด็กของเราให้หันเหออกไปนอกพระพุทธศาสนา ไปรับเอาลัทธิที่งมงาย เป็นภัย เป็นอันตราย แก่เด็กเองมากยิ่งขึ้นทุกที่ๆ เพราะพวกเด็กๆไม่มีปัญญาของตัวเอง ว่าทำไปแล้วจะเกิดทุกข์ เกิดโทษอย่างไร เมื่อมีการสอนด้วยวาจา หรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เด็กก็ตะครุบเอาทันที เป็นอันว่าการใช้สติปัญญาพิจารณาโดยเหตุผลไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้เลย(ต่อ....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้น การบอกต่อๆ กันมา หรือการทำตามๆ กันมา การอ้างประเพณีนั้น ตัวอย่างนี้จึงเป้นทางทำให้เกิดความงมงายขึ้นเท่านั้น แม้ในเรื่องวิปัสสนาหรือกรรมฐาน คนเราก็กลับนิยมสิ่งที่บอกต่อๆ กันมาหรือทำตามๆกันมา หรือข่าวลือ มากกว่าที่จะยึดเอาตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในตำราเสียอีก คิดดูให้ดีๆเพียงแต่ว่าอยู่ในตำราพระพุทธเจ้าท่านก็ยังห้ามไม่ให้ยึดถือทันที แต่แล้วพวกเราก็ยังถือสิ่งที่นอกตำรับตำราทันที โดยไม่พินิจพิจารณา แล้วก็โฆษณากันว่าดีกว่าวิธีเดิมของพระพุทธเจ้า
วิปัสสนากรรมฐานเรื่องอาณาปานสติ มีอยู่อบ่างสมบูรณ์ในตัวพระไตรปิฏกเอง โดยเฉพาะที่เป็นหัวข้อแท้ๆ มีอยู่ในมัชฌิมนิกาย การทำอานาปานสติอย่างไร ตั้งแต่ต้นถึงที่สุด ก็มีอยู่ยืดยาว สมบูรณ์ที่สุด ถูกต้องที่สุด ตามหลักของพระพุทธศาสนา แต่แล้วก็ไม่มีใครสนใจเลย สู้เอาความที่เขาบอกต่อๆ กันมาด้วยปากไม่ได้ สู้เอาตามที่เขาทำตามๆกันมาอย่างปรัมปราไม่ได้ หรือสู้ที่เขาเล่าลือแตกตื่นเป็นบ้าเป็นหลังฟุ้งไปหมด ว่าที่นั่นวิเศษที่นี่วิเศษไม่ได้อันนี้เองจึงเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาอย่างงมงายกันขึ้น
เพราะโทษที่ไม่ถือตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงกำชับไว้
ข้อที่สี่ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า พวกเธออย่าเชื่อถือโดยเหตุสักว่าสิ่งนี้มีอ้างอยู่ในตำรับตำรา

ท่านทั้งหลายให้ถือเอาอานาปานสติกรรมฐาน โดยอ้างว่ามีในพระไตรปิฏกนั้น ที่แท้แล้วไม่ได้ให้ยึดถือเอาข้อปฏิบัติเหล่านั้น โดยเหตุเพียงว่ามันมีอยู่ในตำรา แต่ได้ชี้ให้เห็นว่ามันมีอยู่อย่างสมบูรณ์ในพระไตรปิฏก ซึ่งเราจะต้องพิจารณาศึกษาให้ละเอียด ให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยสติปัญญาของตัวเอง
ว่าถ้าเราทำลงไปอย่างนี้แล้วในระดับนี้ จิตจะสงบเป็นสมาธิได้จริงในระดับนี้ จิตจะยกเอาความสุขที่เกิดจากสมาธินั้นมาเป็นอารมณ์ของ การพิจารณาให้เห็นว่าแม้ความสุขอย่างนี้มันก็ไม่เที่ยง ไม่น่ายึด และในขั้นสุดท้ายก็จะต้องปล่อยทิ้งหมด นับว่าเป็นการพิจารณาโดยสติปัญญาของตนเอง แล้วก็เห็นสมจริงตามข้อความที่ท่านกล่าวไว้ในพระไตรปิฏก มันเกิดผลขึ้นมาจริงๆ อย่างนั้นเป็นลำดับๆไป
การแน่ใจอย่างนี้ไม่ใช่ความงมงาย เพราะได้พิจารณาโดยเหตุผล แล้วยังได้ปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนตลอด
และรู้จักสิ่งเหล่านั้นด้วยการที่ได้ผ่านไปจริงๆ กลายเป็นความรู้แจ้งแทงตลอดด้วยป้ญญาที่หยั่งรู้หยั่งเห็นเอง (ต่อ.....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2010, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าเชื่อเพราะ "เดา คาดคะเน และ ตรึกเอาเอง"
ข้อที่ ๕,๖ และ ๗ เกี่ยวกับการเดาเอาเอง คาดคะเนเอาเอง และตรึกตามเหตุผลส่วนตัว หรือสิ่งแวดล้อมเฉพาะตัว สามข้อนี้เป็นความหลงงมงายอย่างหนัก จริงอยู่ที่พวกนี้เขาไม่เชื่อตำรา ไม่ตื่นข่าวลือที่บอกต่อๆ กันมา หรือทำสืบๆ กันมา แต่กลับเดาเอาเอง คาดคะเนเอาเอง ใช้เหตุผลในเรื่องของตัวเอง
อย่าได้ถือว่าการใช้สติปัญญาของตัวเองแล้ว จะไม่เป็นการงมงายเสมอไป แต่มันอาจจะเป็นความงมงายที่ซ้อนความงมงาย คือตัวนึกว่าตัวมีปัญญาของตัวเองจนไม่เชื่อคำของคนอื่น แต่ที่ถูกนั้นเราจะต้องอาศัยเหตุผลอย่างอื่นๆ เข้ามาประกอบการนึกคิดของเราด้วย แม้สิ่งที่คนบอกเล่ากันก็เอามันมาประกอบด้วยเหตุผล ถ้าทำอย่างนี้ การคาดคะเนก็จะผิดน้อยลง
อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าท่านว่ายังไม่พอ ท่านต้องให้ลองปฏิบัติดูจนเกิดผลปรากฏขึ้นมาจริงๆ แล้วข้อ ๕,๖,๗ นี้จึงจะปลอดภัย
ข้อที่ ๘ ที่ว่า จงอย่าเชื่อเพราะมันตรงกับลัทธิของตน นั้นหมายความว่า ตามธรรมดาคนเราทุกคนย่อมมีทิฏฐิหรือความเชื่อ ความคิด ความเห็น หรือความเข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นของประจำตัวอยู่เสมอๆ นี่เรียกว่า "ลัทธิของตัวเอง" เป็นลัทธิที่สร้างขึ้นเอง ยึดมั่นเองอย่างเหนียวแน่น และยกขึ้นเอาเป็นสัจธรรมของตัวเอง
ตามธรรมชาติของคนเราทั้งหลาย เขาจะไม่เชื่อสิ่งต่างๆ นอกเหนือไปกว่าที่เขากำลังเชื่ออยู่หรือเข้าใจอยู่ในขณะนี้ ถ้าเขามีความรู้เท่าใด มีทิฏฐิอย่างไร และสันดานอย่างไร เขาจะยึดเอาเพียงแค่นั้นว่าเป็นความจริงถูกต้องของเขา จนกว่าจะได้รับการศึกษาเพิ่มเติมขึ้นอีก หรือปฏิบัติก้าวหน้าต่อไปได้
สัจธรรมบางคนก็อยู่ในระดับต่ำมาก เช่นความเชื่อของเด็กๆ หรือของคนเกเรอันธพาล แต่เขาก็ถือว่าของเขาถูก ถึงหากบางที่เขาไม่กล้าค้านความเห็นของบุคคลอื่น เพราะจำนนต่อเหตุผล เขาอาจจะยอมรับเอออวยไปด้วย ซึ่งเป็นแต่ปากเท่านั้น ส่วนใจจริงของเขายังถือตามความเชื่อเดิมๆ หรือลัทธิเดิมของเขา ลัทธิเดิมจึงเป็นสิ่งครอบงำคนนั้นอย่างเหนียวแน่น ควบคุมหรือป้องกันคนๆ นั้น ไม่ให้เขาออกไปจากความงมงายได้
ขอเราทุกคนอย่าได้ตกอยู่ในลุกษณะอย่างนี้ จงค่อยๆ ถอนตัวออกมาจากความเชื่อเดิม มาสู่สัจธรรมที่เป็นของจริงของแท้ของพระพุทธเจ้า มิฉะนั้นแล้วคนนั้นจะต้องตกอยู่ในความเชื่อผิดๆของตัวตลอดไป
และจะถูกล่อลวงเมื่อใดก็ได้ ถ้าคนหลอกลวงนั้นเขามีอะไรมาให้ ชนิดจะเข้ากันได้กับความเชื่อเดิมๆของตน ความงมงาย ก็จะทำให้ผู้นั้นรับเอาทันที อย่างไม่ลืมหูลืมตา ถูกล่อลวงไปโดยไม่รู้ตัวเลยว่าถูกล่อลวง
เพราะมันตรงกับความเชื่อของตนอยู่ดั้งเดิม แล้วยังเห็นว่าผู้ล่อลวงก็อยู่ฐานะที่พอเชื่อ พอจะเคารพได้เสียด้วย (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2010, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าเชื่อเพราะ "ผู้พูดอยู่ในฐานะที่จะเชื่อได้"
ข้อที่ ๙ ที่ว่า อย่าเชื่อเพราะผู้พูดอยู่ในฐานะที่จะเชื่อได้ นี้ ขอยกตัวอย่างที่เกี่ยวกับตัวอาตมา(ผู้เขียน)เอง คือมีคนชอบอ้างว่า"ถ้าไม่เชื่อก็ให้ถามท่านดูซิ" นี่แสดงว่าเขาจะให้คนอื่นเชื่อถืออาตมา(ผู้เขียน)เพราะอาตมาอยู่ในฐานะพอที่จะเชื่อได้ อย่างนี้แล้วถ้าอาตมาร่วมมือ ก็รู้สึกว่าเป็นการร่วมกันกบฏต่อพระพุทธเจ้า ล้มล้างระเบียบของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น..ยอมไม่ได้ เราต้องตักเตือนให้เขาพิจารณาดูด้วยสติปชัญญะของตัวเอง ให้เข้าใจคำพูดหรือตัวหนังสือทุกๆ ประโยค แล้วให้เขาไปสอดส่องจนเกิดความเห็นแจ้งขึ้นเอง
ฉะนั้น เราควรเลิกอ้างบุคคล เชื่อถือคำพูดของบุคคลเชื่อความคิดของใครๆ แต่เราจะรับฟังเอาไว้ในฐานะ ท่านพอจะเชื่อได้บ้าง แต่ท่านก็อาจเข้าใจเรื่องผิด ฟังผิด สำคัญผิด จำมาผิด วินิจฉัยผิดไปได้เหมือนกัน เราจะรับคำของท่านไปเพียงพิจารณาดูเท่านั้น เราไม่ถือเอาคำพูดของท่านเป็นคำพิพากษาเด็ดขาดว่าถูกเสมอไป
ข้อที่ ๑๐ อันเป็นข้อสุดท้ายว่า
อย่าเชื่อเพราะเหตุที่เป็น ครูบา อาจารย์ของเรา
ทำไมพระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้ คล้ายกับว่าจะไม่ให้เราเชื่อ บิดา มารดา ครูบา อาจารย์ เดี๋ยวนี้เราก็มีปัญหาเฉพาะหน้า ที่ทำความยุ่งยากมากอยู่แล้ว คือเด็กไม่ค่อยเชื่อ บิดา มารดา ครูบา อาจารย์ แต่แล้วพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนเช่นนั้น?
เรื่องนี้ต้องวินิจฉัยกันมากสักหน่อย มิฉะนั้นแล้วจะเข้าใจความหมายข้อนี้ผิด คือเราจะต้องแบ่งคนตามชั้นของจิตใจ เมื่อใครไม่อยู่ในวิสัยที่จะคิดนึกได้ด้วยตนเอง ผู้นั้นก็ต้องอยู่ในกรอบของระเบียบประเพณีไปก่อน นี่หมายความว่า เมื่อใครยังไม่มีเหตุผลที่จะลบล้างขนบธรรมเนียมประเพณีได้ ก็ต้องจำต้องเชื่อไปก่อน เหมือนเด็กจะต้องเชื่อบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ไปก่อน(ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2010, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ...)เมื่อโตขึ้นค่อยศึกษาวินิจฉัยวิพากษ์วิจารณ์สิ่งเหล่านั้นในภายหลัง จนกระทั่งรู้ว่าผิดอย่างไร ถูกอย่างไรด้วยตนเอง หากยิ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นเท่าใด คำแนะนำสั่งสอนก็ยิ่งพิสูจน์ตัวเองว่าถูกหรือผิดเท่าใด
ฉะนั้น การที่เด็กๆ จะต้องเชื่อฟังบิดามารดา ครูบาอาจารย์ในที่นี้ จึงไม่ขัดกับกาลามสูตร แต่ส่วนมากก็คือว่าเด็กไม่ยอมเชื่อเพราะมันไม่ตรงกับความต้องการของตัว หรือด้วยความสำคัญผิด ฉะนั้นจึงต้องทำความเข้าใจในข้อ ๑๐ นี้ให้ดีๆ มิฉะนั้นอาจจะไปลบหลู่บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เข้าก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยสอนอะไรผิด แต่เราก็ไม่เชื่อตามท่านทันที เราจะใช้สติปัญญาของเราเองด้วย
ความงมงายทำให้สูญเสียมนุษยธรรม
ในบรรดาความงมงายทั้ง ๑๐ ประการนี้ ขอให้พวกเราสำรวจตัวเองดูว่า มันมีอยู่ในตัวเราข้อใดบ้าง
และมาก น้อยเพียงใด พระพุทธเจ้าท่านถือว่าความงมงายนี้เป็นเหตุอันหนึ่ง ซึ่งจะนำคนไปสู่ความพินาศตามความต้องการของพญามาร คือกิเลสตัณหาที่ทำให้เกิดความทุกข์ชนิดที่เรียกว่าตกนรกทั้งเป็น
การตกบ่อที่หอกแหลมหลาวนั้น เป็นการเจ็บเพียงกายไม่ได้ทำให้คนเสียมนุษยธรรม หรืออะไรดีๆ ของมนุษย์เลย แต่ถ้าเราตกบ่อของความงมงายเหล่านี้แล้ว มันสูญเสียความเป็นมนุษย์ สูญเสียคุณธรรมที่ดีหมด จึงถือได้ว่า น่ากลัว น่าหวาดเสียว เสียยิ่งกว่าความตายทางกาย
ตายทางจิตใจนี้ คือตายหรือตกจมอยู่ในความมืดของความโง่ ความหลงผิด แต่พวกเรากลับไม่กลัวกันเลย ไปกลัวความเจ็บไข้และความตายทางกาย กลัวอดตาย กลัวไม่ได้อะไรที่จะมาบำรุงบำเรอร่างกาย จึงได้กล้าทำสิ่งต่างๆ ที่ผิดศีลธรรม เมื่อผิดศีลธรรมแล้วก็ไม่ต้องสงสัย มันย่อมขัดขวางการบรรลุมรรคผลนิพพานแน่นอน

(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2010, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จึงหวังว่าท่านทั้งหลายคงจะได้พิจารณากันดู ให้รู้จักสมบัติชิ้นที่ ๓ ของปุถุชน ที่อุตส่าห์หอบหิ้วกันมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์โน้น คือสมัยที่ยังเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์มาจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยไม่มีการเสื่อมสิ้นไปได้ เพราะอำนาจของอะไร? เพราะอำนาจของ สีลัพพตปรามาส นั่นเอง
ถ้าความเชื่องมงายนี้ ยังไม่ถูกละออกไปจากตัวใครแล้ว คนนั้นก็ไม่มีหวังจะเข้าไปถึงเขตของพระอริยเจ้า ทั้งๆที่ ตนจะทำวิปัสสนาชนิดไหนมากเท่าใด และประพฤติปฏิบัติกันอย่างไร การปฏิบัติธรรมของผู้นั้น จะถูกลูบคลำให้เศร้าหมองไปด้วยความงมงายโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นควรถือว่า ความงมงายหรือที่เรียกว่าความไม่ประกอบด้วยเหตุผลนั้น เป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องสนใจอย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยปละละเลยต่อไปอีก.

จาก ท่าน พุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2010, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:09
โพสต์: 122

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




.gif
.gif [ 77.59 KiB | เปิดดู 3676 ครั้ง ]
ขออนุโมทนาครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2010, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 17:16
โพสต์: 177

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาด้วยคะ สาธุ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron