ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ฉลาดดูใจ : พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=31004
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 21 เม.ย. 2010, 14:22 ]
หัวข้อกระทู้:  ฉลาดดูใจ : พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

รูปภาพ

งานหลักที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อทำให้มีปัญญา รู้แจ้ง เห็นจริงในทุกข์
เพื่อความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกขเวทนาทั้งปวง
และอย่าได้ลืมว่าการงานที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพียงแค่งานอดิเรกทั้งนั้น
ทำเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินเลี้ยงชีพ
คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ
หลงผิดคิดว่า การงานที่ทำเพื่อแค่เลี้ยงชีพ สำคัญจนลืมเวลาปฏิบัติธรรม
โลภ กอบโกยกัน เพื่อหาความสุขสบายทางกาย ทางโลก
สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือ เอาชนะใจตนเองไม่ใช่จ้องแต่เอาชนะผู้อื่น
ถ้าเราสามารถเอาชนะใจตนเองได้แล้ว นั่นคือ “เรามีธรรม”



ถ้าจะพูดถึงการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เราแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. การปฏิบัติสมถะ (สมาธิ) คือ การทำจิตใจให้สงบ

2. วิปัสสนา (ปัญญา) จะเกิดขึ้นหลังจากเกิดสมาธิแล้ว
เกิดการระลึกรู้ เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง
และจะมีผลของการปฏิบัติตามมาอีกสองประการ คือ


:b48: ปรมัตถ์ – ความรู้สึกที่แท้จริง สภาพธรรมชาติที่เป็นจริงแท้
สิ่งที่เป็นชีวิตจริงของชีวิต และปฏิเสธความเป็นตัวเรา
ซึ่งตรงข้ามกับ “บัญญัติ”

:b48: บัญญัติ – ความรู้สึกที่ถูกสร้างสมมุติขึ้น
เช่น ชื่อ วัตถุ ความหมาย เรื่องราว รูปร่าง
การที่เราเกิดความสบายนั้น เนื่องจากความทุกข์มันลดลง เบาลง
คนเราสามารถแก้ไขความทุกข์ได้ทุกลมหายใจที่เข้า-ออก แต่ไม่ทำกัน
เราควรดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท และควรจะทำความรู้จักรู้ใจตัวเอง
ต้องพยายามดูอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้รู้เท่าทันใจ เราก็จะรู้แจ้งในที่สุด



การเจริญสติปัฎฐานสี่ เพื่อให้เราแยกปรมัตถ์ออกจากบัญญัติ
คือ ดูจิตตามความจริงว่า ชีวิตของเราตามความจริงนั้นไม่ใช่ของเรา
เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเกิด-ดับตลอดเวลา
ถ้าไม่ยึดติดว่าชีวิตเป็นของเรา จิตก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

โดยแนะนำให้เข้าใจในความจริง (ปรมัตถ์) ต่อไปนี้


:b48: ปรมัตถ์ทางกาย คือ ความรู้สึกร้อน, เย็น, แข็ง, อ่อน, ตึง, หย่อน,
ความไหว, สบาย, ไม่สบาย ความรู้สึกเหล่านี้ต้องเข้าไปทำความเข้าใจบ่อยๆ
ระลึกบ่อยๆ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน

:b48: ปรมัตถ์ทางใจ คือ ความนึกคิด ความรู้สึก หรือ “ผู้รู้” * (สภาพรู้)
การกำหนดรู้ความคิดนั้น รู้แค่คิด ไม่ต้องรู้ว่าคิดอะไร
รู้เฉยๆว่ากำลังคิด ไม่ต้องหยุดคิด
และอย่าบังคับความคิด จะทำให้เกิดความหงุดหงิด
ถ้าเกิดความโกรธ ให้รู้เฉยๆว่าโกรธ รู้อย่างปล่อยวาง
ไม่เอาจิตเข้าไปผูกกับมัน เราก็จะสบายใจ ไม่เป็นทุกข์
คำว่า รู้ปล่อยวาง คือ ไม่ยินดียินร้าย ไม่เข้าไปบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
รู้อย่างไม่ว่าอะไร รู้เฉยๆ สำหรับปรมัตถ์ทางใจมีมากมายหลายประเภท
เช่น ถ้าคิดถึงอดีตหรืออนาคตมากๆ จิตจะฟุ้งซ่าน
เร่าร้อนไม่สบายใจ จะเกิดความกลัว ไม่ว่ากลัวตาย หรือกลัวจน
หรือเกิดความหวาดระแวง กลัวคนมาทำร้าย เพราะฉะนั้นอย่าปรุงแต่งจิต


(*) ผู้รู้ คู่กับ สิ่งที่ถูกรู้ ถ้ามีสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะมีผู้รู้
เช่น ความเคลื่อนไหวต่างๆจะมีใจทำหน้าที่เป็น “ผู้รู้”
ใจที่มีสติ นั่งสงบ เฉย ว่าง ผู้รู้จะเห็นความว่าง และความว่างจะเห็นความว่าง
คนเราไม่ควรยึดติดกับสิ่งต่างๆ เพราะทุกอย่างไม่เที่ยง
อย่าไปยินดียินร้าย ปล่อยวาง
ควรเอาใจมาสนใจในสิ่งที่ร่างกายรู้สึก ฝึกให้มากๆ แยกกายกับจิตให้ออกจากกัน
ถึงร่างกายจะปวดหรือไม่สบาย
แต่แยกจิตได้ ก็จะไม่ปวดหรือบรรเทาอาการปวดให้น้อยลง
ถ้าเราทำให้สบายๆ ปล่อยเฉยๆ จะหายปวดหายไปเอง
จิต ในหนึ่งขณะเร็วมาก พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
“เพียงแค่หนึ่งขณะจิต จิตคิดปรุงแต่ไปได้แสนโกฐิ” (1 โกฐิ = 1 ล้าน)



ถ้าเราไม่สังเกตก็จะไม่สามารถตามจิตได้ทัน
และเราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าจิตของเรานั้นเกิด-ดับตลอดเวลา
มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทางไหนบ้าง
เหตนี้เองเราจึงยึดมั่น ถือมั่นร่างกายหรือชีวิตว่าเป็นของเรา
ไม่ยอมปล่อย ยอมวาง
ควรจะหวนคิดถึงปรมัตถ์ คือ ธรรมชาติที่ไม่ผันแปร ไม่คงสภาพของมัน
ไม่คงลักษณะของมัน พิสูจน์ได้แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
สังขารร่างกายไม่ใช่ของเรา รูป รส กลิ่น เสียง
ยึดถือจิตวิญญาณเป็นตัวเรา จนเกิดเป็น
สัตตถทิฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และกุจเฉตทิฐิ (ความเห็นผิด)



สรุปอาการที่เกิดขึ้นกับ จิต

:b48: ด้านไม่ดี ได้แก่ ฟุ้งซ่าน, ชอบ, ไม่ชอบ, ความหลง,
ไม่ละอายต่อบาป, ความโลภ โกรธ หลง, ทิฐิ(ความเห็นผิด),
มานะ(ความเย่อหยิ่ง ถือตัว), อิจฉา, ตระหนี่,
ท้อแท้, สงสัย ทั้งหมดนี้มีอยู่ในปุถุชนทั้งหลาย


:b48: ด้านดี ได้แก่ ศรัทธา, สติ (ความระลึกได้),
ไม่โลภ, ไม่โกรธ, ไม่หลง, มีเมตตากรุณา, ปิติ, ผ่องใส,
สงสาร, ยินดี, มีปัญญา, สงบ, สมาธิ
ทุกอย่างนี้ต้องกำหนดรู้ จิตวิญญาณไม่ใช่ของเรา
กายก็ไม่ใช่ เวทนาก็ไม่ใช่ สัญญาก็ไม่ใช่ สังขารก็ไม่ใช่ วิญญาณก็ไม่ใช่
มันไม่สามารถบังคับได้ เพราะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เกิดคนละขณะกัน
โดยที่เราไม่ทันสังเกตเห็น เนื่องด้วยความถี่ของการเกิดเร็วมาก
และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก พอไม่ทันเห็นความเกิดดับนั้น
ก็เลยคิดว่าจิตวิญญาณ กาย เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณเป็นของเที่ยง เป็นตัวของเรา


ด้วยเหตุนี้เองเราจึงต้องเจริญสติ จึงจะเห็นความเกิดดับนั้น
แม้จะเห็นไม่ครบทุกขณะจิต แต่ก็ต้องเพียรฝึกให้ทัน
เพราะจิตมันเร็วมาก และฝึกฝนได้
ฝึกให้เห็นความเกิดดับไม่เที่ยงได้
ถ้าจิตปรุงแต่งก็เข้าไปดูการปรุงแต่งนั้นๆ
เมื่อดูเท่าทัน มันก็จะหายไป ไม่เกิดทุกข์
เพราะฉะนั้นควรปล่อยวาง ไม่มีอะไรเป็นของเรา
อย่ายึดติด อย่ายึดมั่นถือมั่น จิตใจก็สบาย
การปฏิบัติธรรมควรอยู่ในภาวะเบาๆ สบายๆ
ไม่ต้องไปเครียดว่าจะทำได้ดี หรือไม่ได้ดี
ปล่อยให้มันสบายๆ พร้อมกับแผ่เมตตามากๆ จะทำให้พ้นทุกข์ได้เร็วขึ้น



ธรรมน่าคิด:

- “ปถุชน หมายถึง ผู้หนาแน่นด้วยกิเลส”

- “สภาวธรรมอันใดเกิดขึ้น ให้รู้สภาวธรรมนั้น
หากเปรียบความฟุ้งซ่านเป็นไฟ ความไม่ชอบไม่พอใจก็จะเป็นเชื้อไฟ
พอมารวมกันยิ่งจะทำให้ไฟลุกลามมากขึ้น”

- “การรู้ว่าเราต้องตาย ก็คือ การเอาจิตไปผูกกับร่างกายว่าเป็นของเรา
ต้องระวังเพราะนั่นคือ การยังเอาจิตไปติดในกายอยู่
เราต้องพิจารณาตามความจริงว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายมีความเสื่อมความดับไปเป็นธรรมดา
เราไม่มีในร่างกาย เราไม่ได้ตายไปด้วย”



ที่มา...larndham.org

:b48: :b8: :b48:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/