วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 23:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคตมะ

พุทธเจ้าโคตมะ เมื่ออกบวช ยังไม่สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ไปรับศีลจากฤาษีพรามหมณ์สองตน คือ อาฬรดาบสและอุทกดาบส ไปฝึกนั่งสมาธิ จนมีฤทธิ์ แต่พระพุทธองค์สรุปว่าทางนี้ไม่มีปัญญาดับทุกข์ จึงขอลาอาจารย์ทั้งสองมาหาวิธีการดับทุกข์ด้วยตัวเอง จนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนำสิ่งที่ค้นพบมาสอนมนุษย์ เทวดา สัตว์โลก ให้พ้นทุกข์ได้เป็นจำนวนมาก

สิ่งที่พระพุทธองค์ค้นหาคือ คำตอบของการเกิดแก่เจ็บตาย เพื่อหาคำตอบว่าทำอย่างไรคนเราจึงจะไม่ตาย สิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบนั้นคือ การตายนั้นเป็นผลของการเกิด ทุกชีวิตเกิดมาต้องตาย ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ต้องมีการดับไป เป็นคุณสมบัติที่เหมือนกันของทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติหรือความจริงของโลกและชีวิตข้อที่หนึ่ง ที่ถูกค้นพบโดยพระพุทธเจ้าโคตมะ เรียกว่ากฎไตรลักษณ์ เมื่อทรงศึกษาต่อไป ก็พบความจริงอีกข้อหนึ่งที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาด้วยเหตุด้วยปัจจัย หรือ ไม่มีอะไรในโลกหรือสากลจักรวาลนี้เกิดขึ้นมาลอยๆ หรือไร้เหตุผล เพราะสิ่งนั้นเกิด สิ่งนี้จึงเกิด เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ

เมื่อพระพุทธองค์ค้นพบกฎธรรมชาติสองกฏ จึงหาสาเหตุของการเกิด เพื่อที่จะไม่ตาย ทรงพบว่า การเกิด หรือชาติภพนั้น เป็นเหตุมาจากทุกข์ และทุกข์ เป็นเหตุมาจากอวิชชา เรียกว่า วงจรการเกิดแก่เจ็บตาย หรือสงสารวัฏ

เพราะพระพุทธองค์ค้นพบความจริงของโลกและชีวิต ได้แก่ กฎธรรมชาติสองกฏนี้ คือ กฎไตรลักษณ์ และกฏอิทัปปัจจยตาปกิจจสมุปบาท จึงถือว่าสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้น สรุปคำสอนของพระพุทธเจ้าโคตมะ จึงมีแต่เรื่องของทุกข์ และการดับทุกข์ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดแก่เจ็บตายต่อไปอีก หรือหลุดพ้นจากสงสารวัฏ เรียกว่า นิพพาน สำสอนใดที่ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับทุกข์ และการดับทุกข์ หรือนำไปปฏิบัติแล้วดับทุกข์ไม่ได้ ได้เพียงแต่หลบทุกข์ชั่วคราว จึงไม่ใช่คำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระพุทธเจ้าโคตมะ

ทุกข์ในโลกนี้ แบ่งเป็นสองอย่าง ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือธรรมชาติสร้างขึ้น คือ การเกิดแก่เจ็บตาย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่พระพุทธองค์ก็ยังต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตายเป็นครั้งสุดท้าย สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ธรรมชาติ ก็คือ ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมา หรือทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งและการยึดมั่นถือมั่น (อุปทานขันธ์ ๕) เพราะฉะนั้น เมื่อดับทุกข์ที่เราปรุงแต่งขึ้นมาได้ (อุปธิวิเวก) ก็ดับทุกข์ที่เกิดจากธรรมชาติได้ ผลก็คือ นิพพาน

ก็อะไรคือเหตุของทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมา พระพุทธองค์ตรัสว่า “เพราะอวิชชาทำให้เกิดทุกข์” ส่งผลให้เกิดชาติเกิดภพ อวิชชาคือความหลงใหญ่ หรือ การตามไม่ทันความพอใจไม่พอใจ ที่เกิดจากการรับกระทบสัมผัส (ผัสสะ) ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (วิญญาณ ๖ ทวาร ๖ หรืออินทรีย์ ๖) ปล่อยให้ความพอใจไม่พอใจบังคับบัญชา เกิดเกิดการแสดงออกทางกาย ทางวาจา ผลจากการตามความพอใจไม่พอใจไม่ทันนี้ จะถูกจิตจดจำสะสมไว้เป็นความทรงความจำ (สัญญา) เมื่อเกิดการรับกระทบสัมผัสครั้งต่อไป สัญญาเดิมจะถูกสติดึงออกมาเป็นความคิด (หรือสังขาร) เมื่ออิทธิพลของความคิดมาจากอชิชา จิตก็จะตีความสิ่งที่มากระทบสัมผัสต่อเป็นพอใจไม่พอใจเหมือนเดิม (เรียกว่าเวทนา) ผลก็จะถูกจำย้ำไว้อีก และจะวนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่จบไม่สิ้น

ความพอใจ ก็คือ โลภะ ความไม่พอใจก็คือ โทสะ ความหลง ก็คือโมหะ สามตัวนี้รวมกันเรียกว่า อวิชชา เพราะจิตเราเป็นธาตุรู้ ธาตุจำ เมื่อจิตรับรู้อะไรคิดอะไรก็จะจดจำในสิ่งนั้น ส่งผลให้คนเกิดลักษณะบุคลิกเฉพาะ หรือ เกิดเป็นนิสัย ที่คนเราทำอะไรเหมือนๆ เดิม คิดอะไรเหมือนๆ เดิม ก็เพราะผลจากการรับรู้ครั้งก่อนหน้า เรียกว่าอุปนิสัย

หากจะสรุปเป็นหลักการ ก็พอจะแสดงได้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึทำให้เกิดอารมณ์ เพราะอารมณ์เป็นปัจจัย จึงทำให้เกิดเวทนา เพราะการสั่งสมเวทนาเป็นระยะเวลานานจึงทำให้เกิดนิสัย เพราะนิสัยเป็นปัจจัย จึงทำให้เกิดความเห็น เพราะความเห็นจึงทำให้เกิดความคิด เพราะความคิดเป็นปัจจัยจึงทำให้เกิดการแสดงออก คือกระทำและการพูด การดำเนินชีวิต การตั้งใจกระทำ และการระลึกนึกถึง

เหตุผลที่ทำให้คนเรา หรือสัตว์โลกทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น ก็คือการถูกคลอบงำโดยอวิชชานั่นเอง โดยกระบวนการที่พระพุทธองค์ค้นพบ จะเห็นได้ชัดเจนว่า การที่คนจะหลุดพ้นได้ด้วยตนเองนั้น แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น การเกิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือผู้ที่ค้นพบการดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นเรื่องยากที่สุดในโลกอย่างหนึ่ง ในโลกหนึ่งดวง จะเกิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เพียงหนึ่งพระองค์เท่านั้น เมื่อเกิดพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ นั่นก็หมายถึงการเกิดโลกดวงใหม่ และมีความเป็นไปได้ว่า โลกบางดวงจะไม่เกิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย

การดับทุกข์สัตว์โลกจึงต้องเริ่มจากการรับรู้ข้อมูลความจริงของโลกและชีวิต หรือการฟังธรรม จากนั้นก็เริ่มปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ หรือปฏิบัติเพื่อดับอวิชชา ผู้รู้ความจริงของโลกและชีวิตแบบนี้ ได้ชื่อว่า ผู้รู้แจ้ง ผู้เห็น ผู้บริบูรณ์ด้วยความเห็นที่ถูกต้อง คือโสดาบัน ผู้ใดนำไปปัฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นสาวกของพระพุทธองค์ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นอริยสาวก ผู้ได้นำไปปฏิบัติจนดับทุกข์ได้ตั้งแต่ขั้นต้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นอริยบุคคล

สิ่งที่ใช้ดับอวิชชา คือ วิชชา ได้แก่ ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) หรือการรู้เท่าทันความพอใจไม่พอใจที่มากระทบสัมผัสตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้เท่าทันในขณะปัจจุบัน สิ่งที่จะดับความพอใจ ไม่พอใจได้ มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือ ความจริง เพราะการหลงตามความพอใจไม่พอใจนั้นเป็นความเห็น ความจริงที่จะนำมาดับทุกข์ได้ คือ กฎธรรมชาติสองกฏ ได้แก่ กฎไตรลักษณ์ และกฎของเหตุผลเหตุปัจจัย

การปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ เมื่อตาเห็นรูป ให้พิจารณา สร้างความเห็น ว่า สิ่งที่ตาเห็นนั้นเกิดขึ้น คงอยู่และต้องดับไป เกิดจากเหตุปัจจัยมารวมตัวกันเพียงชั่วคราว พร้อมด้วยเหตุปัจจัยที่ทำให้แตกสลายก็ต้องแตกสลาย มีความแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา หรือ ไม่เที่ยง เช่นเดียวกันกับเมื่อหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส ในคิดนึก ให้พิจารณาเห็นตามความเป็นจริงว่า (ความคิดเห็น ไม่ใช่เห็นด้วยตา) สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มากระทบนี้ ไม่เที่ยง เกิดขึ้น และดับไป พร้อมกันให้พิจารณาตัวเองว่า เราเกิดมาก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย

การปฏิบัติแบบนี้ในชีวิตประจำวัน คือการฝึกเพื่อครอบงำอารมณ์ จะทำให้วิชชาเกิด อวิชชาดับ หรือดับทุกข์ได้ทันที จิตจะสะสมแต่ความจริง เมื่อข้ามความเห็นไปได้ ก็จะพบแต่ความจริง เมื่อจิตสะสมความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ จนความเห็นไม่ส่งอิธิพลต่อความคิด เรียกบุคคลผู้นั้นว่า ผู้ที่ประเสริฐที่สุด คือ อรหันต์

สัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องเป็นองค์มรรค เกิดจากการสร้างหรือสะสมวิชชา หรือการเจริญปัญญาที่ดับทุกข์ได้ หรือการเจริญความเห็นที่ถูกต้อง เท่าทันต่อสิ่งที่มากระทบสัมผัสให้บริบูรณ์ทั้ง ๖ ทาง ขาดทางใดทางหนึ่งไม่ได้ ซึ่งต้องทำให้มาก ฝึกให้มาก เจริญให้มาก จึงจะเกิดความเห็นที่มั่นคงถาวร เรียกว่าการวิปัสนาภาวนา ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องเป็นองค์มรรคก็คืออริยบุคคลตั้งแต่โสดาปัฏิผลเป็นต้นไป การวิปัสนาภาวนาสามารถเจริญได้ตลอดเวลาเว้นตอนหลับ ในวันหนึ่งๆ ต้องพยายามไม่ให้ความพอใจไม่พอใจเกิด หรือเกิดขึ้นมาแล้วครบงำเราได้ ผู้ใดสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ ไม่เกิด ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ตามคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ หากไม่ได้ทำอนันตริยกรรม หรือเป็นพระที่ผิดศีลปราชิกมาก่อน

เมื่อความเห็นชอบเกิด ความคิดก็จะเป็นไปในทางที่ชอบ เพราะความเห็นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดความคิด (เรียกว่าเกิดปัญญา) เมื่อคิดถูก ก็ทำถูก พูดถูก เมื่อทำถูก การดำรงชีวิตก็เป็นไปในทางที่ถูก (ศีลเกิด) เมื่อเกิดการระลึกหรือนึกถึงอะไรก็จะนึกได้แต่เรื่องที่ถูก ความตั้งใจก็เป็นไปในทางที่ถูก จิตก็เกิดความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน (สมาธิ)

ผู้ใดเกิดปัญญา หรือ สัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องเป็นองค์มรรคแล้ว คือเป็นอริยบุคคลแล้ว องค์มรรคที่เหลือก็จะเกิดขึ้นตามมาครบ ๘ ประการ เรียกว่า เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อปรกติชีวิตประจำวันดำเนินไปตางทางนี้ องค์ธรรมที่เหลือในโพธิปัก ๓๗ ประการจะเริ่มเกิดขึ้นตามมา จนครบตามหลักของเหตุปัจจัย ผู้นั้นก็จะบรรลุถึงนิพพานในที่สุด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 23 ก.พ. 2010, 01:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




927411043l1.gif
927411043l1.gif [ 3.09 KiB | เปิดดู 4447 ครั้ง ]
สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์ หายไปไหนสะนานขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 21:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นั้นนะซิ
:b31: :b31: :b31:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 03:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 09:32
โพสต์: 45

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาด้วยครับ tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์ หายไปไหนสะนานขอรับ


ขอบพระคุณที่ระลึกนึกถึงครับ ... ไปใช้ชีวิตแบบปรกติสุข คือ ปรกติไม่มีความทุกข์ ดำเนินชีวิตปกติแบบทางโลก แต่อยู่แบบไม่ประมาททางธรรม ศึกษาทบทวนคำสอนของพระพุทธองค์เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นอริยสาวก เพื่อจะได้เป็นม้าอาชานัย ไม่เป็นม้ากระจอก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 24 ก.พ. 2010, 20:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ขอบพระคุณที่ระลึกนึกถึงครับ ... ไปใช้ชีวิตแบบปรกติสุข คือ ปรกติไม่มีความทุกข์ ดำเนินชีวิตปกติแบบทางโลก แต่ไม่อยู่แบบไม่ประมาททางธรรม ศึกษาทบทวนคำสอนของพระพุทธองค์เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นอริยสาวก เพื่อจะได้เป็นม้าอาชานัย ไม่เป็นม้ากระจอก


สาธุครับ

ม้าอาชานัย มีลักษณะยังไง ?

ม้ากระจอกมีลักษณ์ยังไงหรอครับ ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ม้าอาชานัย มีลักษณะยังไง ?

ม้ากระจอกมีลักษณ์ยังไงหรอครับ ?

ผู้รู้สิ้นในทุกข์ รู้สิ้นในการดับของทุกข์ รู้สิ้นในวิธีการดับทุกข์ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งคำถาม ไม่ฉลาดในการตอบคำถาม พระพุทธองค์เปรียบเป็นม้ากระจอก

ผู้รู้สิ้นในทุกข์ รู้สิ้นในการดับของทุกข์ รู้สิ้นในวิธีการดับทุกข์ ฉลาดในการตั้งคำถาม ฉลาดในการตอบคำถาม พระพุทธองค์เปรียบเป็นม้าอาชานัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ม้าอาชานัย มีลักษณะยังไง ?

ม้ากระจอกมีลักษณ์ยังไงหรอครับ ?

ผู้รู้สิ้นในทุกข์ รู้สิ้นในการดับของทุกข์ รู้สิ้นในวิธีการดับทุกข์ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งคำถาม ไม่ฉลาดในการตอบคำถาม พระพุทธองค์เปรียบเป็นม้ากระจอก

ผู้รู้สิ้นในทุกข์ รู้สิ้นในการดับของทุกข์ รู้สิ้นในวิธีการดับทุกข์ ฉลาดในการตั้งคำถาม ฉลาดในการตอบคำถาม พระพุทธองค์เปรียบเป็นม้าอาชานัย


ขอแนวทางการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ เป็นวิทยาทานหน่อยครับ ทำอย่างไร ปฏิบัติยังไงถึงจะพ้นทุกข์ดังกล่าวได้

ขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์เกิดที่ใหนดับที่นั่น ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นเกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจคิดนึก นอกนั้นไม่มีทุกข์ การฝึก (ภวนา) เพื่อดับทุกข์ ต้องนำสัมมาทิฏฐิ หรือการรู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตไปตั้งที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ครบบริบูรณ์ทั้ง ๖ ทาง ให้เท่าทันเฉพาะในขณะปัจจุบัน คือ พิจารณาทันทีเมื่อเกิดผัสสะ (พิจารณาไม่ใช่การท่อง, สร้างความเห็นไม่ได้เห็นด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นตาเนื้อหรือตาใน) ขาดทางใดทางหนึ่งไม่ได้ (คนพิการขาดอายตนะทางใดทางหนึ่งปฏิบัติธรรมได้ แต่จะบรรลุธรรมไม่ได้) ถ้าอย่างจะเห็นจริงๆ ก็รอให้ได้ปัญญาก่อนแล้วค่อยไปดูก็ได้

ผู้ที่ฝึกให้สงบทางจิต หรือธัมารมณ์เพียงทางเดียว ลืมตามาเจอเสียงด่า ก็โกรธแล้ว นั่นเพราะเขาไม่ได้ฝึกดับทุกข์ทางอื่นเลย

การฝึก คือการพิจารณาสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า มันไม่เที่ยง (หรือพิจารณาโดยนัยอื่นๆ อีก รวม ๑๖ แบบ) เฉพาะปัจจุบันตลอดเวลาที่ยังไม่หลับ การรู้เห็นแบบนี้ดับทุกข์ได้ ดับโกรธได้ทันทีที่หูได้ยินเสียงด่า ดับเวทนาได้ทันทีที่ตาได้เห็นรูป ฯ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เอาคำว่าไม่เที่ยงคำเดียวไปดับทุกข์ได้ (พระสารีบุตรว่าเป็นการเจริญความเห็น เพื่อสร้างปัญญาดับทุกข์)

ทำบุญทำทานอยู่ร้อยปีดับทุกข์ไม่ได้ สร้างโบสถ์วิหารสร้างโรงทานอยู่ร้อยปีดับทุกข์ไม่ได้ เป็นเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์อยู่ร้อยปีดับทุกข์ไม่ได้ ได้เกิดเป็นเทวดาอินทร์พรหมก็ดับทุกข์ไม่ได้ มีสมาธิเหาะเหินเดินอากาศอยู่ร้อยปีดับทุกข์ไม่ได้ แค่เห็นสรรพสิ่งว่าไม่เที่ยง พูดว่าไม่เที่ยงเพียงคำเดียวออกจากปาก มีอาณิสงค์มากกว่าเป็นร้อยเท่า เพราะไม่เที่ยงคำเดียวดับทุกข์ได้ (คำพูดมาจากความคิด ความคิดมาจากความเห็น)

ฝึกอย่างนี้เป็นประจำ วิชชา หรือ ปัญญาดับทุกข์จะเกิดแทนที่อวิชชา หรือ ความไม่หลงไปตามอารมณ์ เมื่อปัญญาตั้งมั่น ปัญญิณทรีย์ หรือ สัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องเป็นองค์มรรคจะเกิดตามมา ต่อเมื่อความเห็นบริบูรณ์เต็มที่แล้ว เมื่อมีปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ องค์ธรรมอื่นๆ ในมรรค ๘ ก็ดี หรือโพธิปักฯ ๓๗ ประการก็ดีจะเริ่มเกิดตามๆ กันมา ไม่ต้องไปเรียกร้องหามาจากใหน

Quote Tipitaka:
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน?
รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน?

ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดีเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

[๑๕๙] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ตั้งอยู่ที่ไหน?

ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้

ก็อะไร เป็น ปิยรูปสาตรูป ในโลก?

จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้ รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้

จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนวิญญาณนี้ จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลกตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนาฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้

รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลกตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้

รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนาฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้

รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ รูปตัณหานี้เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหาฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้

รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปที่วิตกนี้เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯโผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้

รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯโผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้

ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน?

ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้เมื่อดับก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้

ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก?

จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯมโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนนี้ เมื่อจะดับก็ดับที่มโนนี้
...
ฯลฯ
...
รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิจารนี้เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯโผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิจารนี้


Quote Tipitaka:
อวิชชาสูตร

[๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้นกาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 24 ก.พ. 2010, 20:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.

[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วม กับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบ ด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.

[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิด ร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายาม ชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิด มีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร