วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




61111.gif
61111.gif [ 83.21 KiB | เปิดดู 9703 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48: ความสุขที่ถาวรอยู่ที่ไหน? :b48: :b48: :b48:

ความสุขที่ถาวรอยู่ที่ไหน อยู่ที่จิตใจของเราที่ถอนอุปาทาน ถอนกิเลส
จิตใจที่มันพอแล้ว อิ่มแล้ว สงบแล้ว เย็นแล้ว
ไม่ขาดอะไร ไม่เอาอะไร


เมื่อได้รับอารมณ์มาแล้ว จิตที่หลง ที่ไม่มีความรู้มันก็ไปอย่างหนึ่ง จิตที่รู้มันก็ไปอีกอย่างหนึ่ง
พอมีความรู้สึกเกิดขึ้น จิตที่รู้มันก็เห็นว่า ไม่ควรยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้น
ถ้าไม่มีปัญญา มันหลงตามไปด้วยความโง่ ไม่เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เห็นแต่ว่า เราชอบใจอันนี้ มันถูกแล้ว มันดีแล้ว อันไหนเราไม่ชอบใจ อันนั้นมันไม่ดี
อย่างนั้นจึงไม่เข้าถึงธรรมะ


ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา พระพุทธเจ้าท่านให้เป็น “สักแต่ว่า”
ให้ยืนอยู่ตรงนี้เสมอ ดังนั้น เราจะไปเลือกอารมณ์ไม่ได้ ถ้าอารมณ์มันวิ่งมาหาเรา
ทั้งทางดี ทางชั่ว ทางผิด ทางถูก แล้วเราไม่รู้ เพราะไม่มีปัญญา เราก็จะวิ่งตามมันไป
ตามไปด้วยตัณหา ด้วยความอยาก แล้วเดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เพราะอะไร ?
เพราะเอาใจของเราเป็นหลัก อะไรที่เราชอบใจ ก็เข้าใจว่าอันนั้นดี
อะไรที่เราไม่ชอบใจ ก็เข้าใจว่าอันนั้นไม่ดี อย่างนี้เรียกว่ายังห่างไกลธรรมะ
ยังไม่รู้ธรรมะ มันก็เดือดร้อน เพราะความหลงมันเต็มอยู่


หลวงพ่อชา สุภัทโท

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


แก้ไขล่าสุดโดย sirisuk เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 13:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




144.jpeg
144.jpeg [ 34.01 KiB | เปิดดู 9607 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

:b53: :b53: จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติภาวนา :b53: :b53:

ความจริงการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีอะไรลำบาก ไม่มีอะไรยุ่งยาก
การปฏิบัติตามทางของพระองค์ไม่มีทุกข์ เพราะทางของพระองค์ คือ “ปล่อยวาง”
ให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง

จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติภาวนานั้น ท่านทรงสอนให้ “ปล่อยวาง”
อย่าแบกถืออะไรให้มันหนัก ทิ้งมันเสีย ความดีก็ทิ้ง ความถูกต้องก็ทิ้ง

คำว่า “ทิ้ง” หรือ “ปล่อยวาง” ไม่ใช่ ไม่ต้องปฏิบัติ

แต่หมายความว่า ให้ปฏิบัติ “การละ การปล่อยวาง” นั่นแหละ

หลวงปู่ชา

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1177558587.jpeg1.jpg
1177558587.jpeg1.jpg [ 18.4 KiB | เปิดดู 9532 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

:b42: :b42: การเข้าถึงพุทธรรมอย่างถูกต้อง …ของหลวงปู่ชา :b42: :b42:

:b44: "อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็น ศีล

:b44: การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่า สมาธิ

:b44: การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่า ไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตนแล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา

:b39: การทำอานาปานสติภาวนาจึงกล่าวได้ว่า เป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน
และเมื่อทำ ศีล สมาธิ ปัญญาให้ครบ ก็เชื่อว่าได้เดินทางตาม มรรค มีองค์แปด
ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเอง ประเสริฐกว่าทางทั้งหมด
เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้
ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด"

:b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2010, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




47_80838_f92a77c645ff4a8.gif
47_80838_f92a77c645ff4a8.gif [ 32.27 KiB | เปิดดู 9510 ครั้ง ]
:b44: :b44: :b44:

เบื้องแรกของการปฏิบัติภาวนา

โดย…หลวงปู่ชา สุภัทโท
ณ วัดป่าโพธิญาณ เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย
๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๐

จงหายใจเข้า….หายใจออก….อยู่อย่างนั้นแหละ
อย่าใส่ใจกับอะไรทั้งนั้น ใครจะยืนเอาก้นขึ้นฟ้า ก็ช่าง อย่าไปเอาใจใส่
อยู่แต่กับลมหายใจเข้า-ออก ให้ความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ……เอาอยู่เท่านี้แหละ

ไม่ไปเอาอะไรอื่น ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอานี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น
ให้รู้จักแต่ลมเข้า…ลมออก….….ลมเข้า….ลมออก
พุท….เข้า……โธ….ออก อยู่กับลมหายใจอย่างนี้แหละ เอาอันนี้เป็นอารมณ์

ให้ทำอยู่อย่างนี้จนกระทั่งลมเข้ารู้จัก…ลมออกก็รู้จัก…ลมเข้าก็รู้จัก…ลมออกก็รู้จัก
ให้รู้จักอยู่อย่างนี้จนจิตสงบหมดความรำคาญ ไม่ฟุ้งซ่านไปไหนทั้งนั้น….
ให้มีแต่ลมออก…ลมเข้า…ลมออก…ลมเข้าอยู่เท่านั้น ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้…
ยังไม่ต้องมีจุดหมายอะไร นี่แหละเบื้องแรกของการปฏิบัติ

ถ้ามันสบาย ถ้ามันสงบ มันก็จะรู้จักของมันเอง ทำไปเรื่อย ๆ ลมก็จะน้อยลง…
อ่อนลง…กายก็อ่อน…จิตก็อ่อน…มันเป็นไปตามเรื่องของมันเอง
นั่งก็สบาย ไม่ง่วง ไม่โงก ไม่หาวนอน จะเป็นอย่างใด…
ดูมันคล่องของมันเองไปทุกอย่าง…นิ่ง…สงบ จนพอออกจากสมาธิแล้ว
จึงมานึกว่า “บ๊ะ…มันเป็นอย่างใดน้อ” แล้วก็นึกถึงความสงบอันนั้นไม่ลืมสักที

สิ่งที่ติดตามเรา เรียกว่า สติ…ความระลึกได้ สัมปชัญญะ…ความรู้ตัว
เราจะพูดอะไร…จะทำอะไร จะไปนั่น จะไปบิณฑบาตร ก็ดี จะฉันจังหันก็ดี
จะล้างบาตรก็ดี ก็ให้รู้จักเรื่องของมัน ให้มีสติอยู่เสมอ ติดตามมันไป ให้ทำอยู่อย่างนี้

มีต่อค่ะ...

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


แก้ไขล่าสุดโดย sirisuk เมื่อ 23 ก.พ. 2010, 15:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2010, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 9493 ครั้ง ]
เมื่อจะเดินจงกลม ก็ให้มีทางเดินสักทางหนึ่ง จากต้นไม้ต้นนี้…ไปสู่ต้นไม้ต้นนั้นก็ได้
ให้ระยะทางมันยาวสัก ๗-๘ วา

เดินจงกรมมันก็เหมือนกับทำสมาธิ ให้กำหนดความรู้สึกขึ้นในใจว่า
“บัดนี้…เราจะทำความเพียร…จะทำจิตให้สงบ…มีสติสัมปชัญญะให้กล้า”

การกำหนดก็แล้วแต่ละคน…ตามใจ…บางคนออกเดินก่อน ก็แผ่เมตตา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง…สารพัดอย่าง…แล้วก็ก้าวเท้าขวาออกก่อนให้พอดี…พอดี
ให้นึก “พุทโธ พุทโธ” ตามก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้ในอารมณ์นั้นไปเรื่อย

ถ้าใจเกิดฟุ้งซ่าน…หยุด…ให้มันสงบ…ก้าวเดินใหม่ ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อย
ต้นทางออกก็รู้จัก…รู้จักหมด…ต้นทาง…กลางทาง…ปลายทาง
ทำความรู้นี้ให้ติดต่อกันอยู่เรื่อย ๆ

นี่เป็นวิธีทำ…กำหนดเดินจงกรม เดินจงกรมก็คือ เดินกลับไป…กลับมา…
เดินจงกรมไม่ใช่ของง่ายนะ บางคนเห็นเดินกลับไป-กลับมา…เหมือนคนบ้า
แต่หารู้ไม่ว่า การเดินจงกรมนี้…ทำให้เกิดปัญญานักละ

เดินกลับไป-กลับมา ถ้าเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบาย
เมื่อสบายพอควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก

แล้วอิริยาบถมันก็เปลี่ยนไปเองหรอก การยืน การเดิน การนั่ง การนอน มันเปลี่ยน
คนเราจะนั่งรวดเดียวไม่ได้ ยืนอย่างเดียวไม่ได้ นอนอย่างเดียวก็ไม่ได้
มันจะต้องอยู่ตามอิริยาบถเหล่านี้ ทำอิริยาบททั้งสี่นี้ให้มีประโยชน์
ให้มีความรู้สึกตัวอยู่อย่างนี้…นี่คือ…การทำ….ทำไป…ทำไป…มันไม่ใช่ของง่ายๆ หรอก

ถ้าจะพูดให้ดูง่ายๆ ก็…นี่…เอาแก้วใบนี้ตั้งไว้นี่สองนาที ได้สองนาทีก็ย้ายไปตั้งไว้นั่น
ตั้งไว้นั่นสองนาทีก็เอามาตั้งไว้นี่

ให้ทำอย่างนี้…ทำ…ทำ…ทำ…จนให้มันทุกข์…ให้มันสงสัย…ให้มันเกิดปัญญาขึ้น…
“นี่คิดอย่างใดนัก…แก้วยกไป ยกมาเหมือนคนบ้า” มันก็จะคิดของมันไปตามเรื่อง
ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง ยกอยู่อย่างนั้นสองนาทีนะอย่าเผลอ ไม่ใช่ห้านาที
พอสองนาทีก็เอามาตั้งไว้นี่ กำหนดอยู่อย่างนี้…นี่เป็นเรื่องของการกระทำ

มีต่อค่ะ…

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2010, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


beby มานั่งคอยค่ะ คุณsirisuk :b16: :b16: :b16:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 03:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 09:32
โพสต์: 45

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาด้วยครับ
smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 9442 ครั้ง ]
O.wan เขียน:
beby มานั่งคอยค่ะ คุณsirisuk :b16: :b16: :b16:



tongue ง่วงก็เข้านอนก่อนก็ได้นะค่ะ...แล้วค่อยมาต่อค่ะ :b12: :b12: :b16: :b16:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 9437 ครั้ง ]
:b44: :b44: :b44:

จะดูลมหายใจเข้า-ออกก็เหมือนกัน ให้นั่งขาขวาทับขาซ้าย ให้ตัวตรง สูดลมเข้าไปให้เต็มที่
ให้หายลงไปให้หมดในท้อง สูดเข้าให้เต็ม แล้วปล่อยออกให้หมดปอด อย่าไปบังคับมัน

ลมจะยาวแค่ไหน จะสั้นแค่ไหน จะค่อยแค่ไหนก็ช่างมัน ให้มันพอดี พอดีกับเรา

นั่งดูลมเข้า…ลมออก ให้สบายอยู่อย่างนั้น อย่าให้มันหลง ถ้าหลง…หยุด
ดูว่ามันจะไปไหน…มันจึงไม่ตามลม ให้หามันกลับมา…
ให้มันมาเล่นตามลมอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วก็จะพบของดีสักวันหนึ่งหรอก
ให้ทำอยู่อย่างนั้น…ทำเหมือนกับว่า…จะไม่ได้อะไร…ไม่เกิดอะไร…
ไม่รู้ว่าใครมาทำ…แต่ก็ทำอยู่เช่นนั้น

เหมือนข้าวอยู่ในฉาง แล้วเอาไปหว่านลงดิน ทำเหมือนจะทิ้ง…
หว่านลงในดินทั่วไป โดยไม่สนใจ…มันกลับเกิดหน่อ…เกิดกล้า…เอาไปดำ
กลับได้กินข้าวเม่าขึ้นมา นั่นแหละ เรื่องของมัน

อันนี้ก็เหมือนกัน นั่งเฉยๆ บางครั้งก็จะนึกว่า “จะนั่งเฝ้าดูมันทำไมนะ…ลมนี่น่ะ…
ถึงไม่เฝ้ามัน มันก็ออก…ก็เข้า ของมันอยู่แล้ว”

มันก็หาเรื่องคิดไปเรื่อย และมันเป็นความเห็นของคน เรียกว่า อาการของจิต
ก็ช่างมันพยายามทำไป…ทำไป…ให้มันสงบ

เมื่อสงบแล้ว ลมจะน้อยลง ร่างกายก็อ่อนลง จิตก็อ่อนลง มันจะอยู่พอดีของมัน
จนกระทั่งว่า นั่งอยู่เฉยๆ เหมือนไม่มีลมหายใจเข้า-ออก แต่มันก็ยังอยู่ได้

ถึงตอนนี้ อย่าตื่น อย่าวิ่งหนี เพราะคิดว่า เราหยุดหายใจแล้ว…นั่นแหละ
…มันสงบแล้ว ไม่ต้องทำอะไร…นั่งเฉยๆ ดูมันไปอย่างนั้นแหละ

บางทีจะคิดว่า “เอ…เราหายใจหรือเปล่านี่” อย่างนี้ก็มีเหมือนกัน…มันคิดไปอย่างนั้น
แต่…อย่างไรก็ช่างมัน ปล่อยไปตามเรื่องของมัน ไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกอะไรขึ้น
ให้รู้มัน…ดูมัน…แต่อย่าไปหลงไหลกับมัน

มีต่อค่ะ…

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 9429 ครั้ง ]
:b44: :b44: :b44:

ทำไป…ทำให้บ่อยๆ ไว้…ฉันจังหันเสร็จเอาจีวรไปตาก แล้วเดินจงกรมทันที
นึก “พุทโธ…พุทโธ” ไว้ นึกไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลาเดิน เดินไปนึกไป
ให้ทางมันสึกลึกไปสักครึ่งแข้ง หรือถึงหัวเข่า ก็ให้เดินอยู่อย่างนั้นแหละ

ไม่ใช่เดิน ยอกแยก…ยอกแยก คิดโน่น…คิดนี่…เที่ยวเดียว แล้วเลิกขึ้นกุฏิ
มองดูพื้นกระดาน “เออ…มันน่านอน” ก็ลงนอนกรนครอก ๆ อย่างนี้ก็ไม่เห็นอะไรเท่านั้น

ทำไปจนขี้เกียจทำ…ขี้เกียจมันจะไปสิ้นสุดที่ไหน…หามันให้เห็น ที่สุดของขี้เกียจ
มันจะอยู่ตรงไหน…มันจะเหนื่อยตรงไหน…มันจะเป็นอย่างไร…ก็ให้ถึงที่สุดของมัน จึงจะได้

ไม่ใช่จะมาพูดบอกตัวเองว่า “สงบ…สงบ…สงบ” แล้วพอนั่งปั๊ปก็จะให้มันสงบเลย
ครั้นมันไม่สงบอย่างคิด ก็เลิก ขี้เกียจ…ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่มีวันได้สงบ

แต่พูดมันง่าย หากทำแล้วมันก็ยาก เหมือนกับพูดว่า “ฮึ ทำนาไม่เห็นยากเลย…ไปทำนาดีกว่า”
ครั้นพอไปทำนาเข้า วัวก็ไม่รู้จัก ควายก็ไม่รู้จัก คราด ไถ ก็ไม่รู้จักทั้งนั้น…
เรื่องการทำไร่ทำนานี้ ถ้าแค่พูด…ก็ไม่ยาก แต่พอลงมือทำจริง ๆ ซิจึงรู้ว่ายากอย่างนี้เอง

หาความสงบอย่างนี้ ใคร ๆ ก็อยากสงบด้วยกันทั้งนั้นแหละ แต่เราไม่ทันจะรู้จักมัน
จะถาม จะพูดกันสักเท่าไหร่ ก็ไม่รู้จักขึ้นมาได้หรอก

ฉะนั้น ให้ทำ…ให้ตามรู้จักให้ทันว่า กำหนดลมเข้า…ออก กำหนดว่า “พุทโธ…พุทโธ”
เอาเท่านี้แหละ ไม่ให้คิดไปไหนทั้งนั้น ในเวลานี้…ให้มีความรู้อยู่อย่างนี้ ทำอยู่อย่างนี้
ให้เรียนอยู่อย่างนี้แหละ

ให้ทำไป…ทำไป…อย่างนี้แหละ จะนึกว่า “ทำอยู่นี้…ก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย”
ไม่เป็น…ก็ให้ทำไป ไม่เห็นก็ให้ทำไป ให้ทำไปอยู่นั่นแหละ…แล้วเราจะรู้จักมัน

เอาละนะ…ทีนี้ลองทำดู…ถ้าเรานั่งอย่างนี้ แล้วมันรู้เรื่อง…ใจมันจะพอดี…พอดี
พอจิตสงบแล้ว มันก็รู้เรื่องของมันเองดอก ต่อให้นั่งตลอดคืนจนสว่าง
ก็ไม่รู้สึกว่านั่ง เพราะมันเพลิน

มีต่อค่ะ…

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 9413 ครั้ง ]
:b44: :b44: :b44:

พอเป็นอย่างนี้…ทำให้ดีแล้ว อาจจะอยากเทศน์ให้หมู่พวกฟังจนคับวัดคับวาไปก็ได้
มันเป็นอย่างนั้นก็มี เหมือนอย่างตอนที่พ่อสาง เป็นผ้าขาว คืนหนึ่งเดินจงกรม
แล้วนั่งสมาธิ มันเกิดแตกฉานขึ้นมา อยากเทศน์ เทศน์ไม่จบ เราได้ยินเสียงนั่งฟังเสียงเทศน์
“โฮ้ว…โฮ้ว…โฮ้ว” อยู่ที่กอไผ่โน้น ก็นึกว่า “นั่นผู้ใดน้อ…เทศน์กันกับใคร
หรือว่าใครมานั่งบ่นอะไรอยู่ ไม่หยุดสักที ก็เลยถือไปฉายลงไปดู
ใช่แล้ว…ผ้าขาวสาง…มีตะเกียงจุด นั่งขัดสมาธิอยู่ใต้กอไผ่ เทศน์เสียจนฟังไม่ทัน

ก็เรียกว่า “สาง…จะเป็นบ้าหรือ” เขาก็ตอบว่า “ผมไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร มันอยากเทศน์
นั่งก็ต้องเทศน์ เดินก็ต้องเทศน์ ไม่รู้ว่ามันจะไปจบที่ไหน” เรานึกว่า
“เฮ้อ คนนี่ มันเป็นไปได้ทั้งนั้น เป็นไปได้สารพัดอย่าง”

ฉะนั้น ให้ทำ อย่าหยุด อย่าปล่อยไปตามอารมณ์ ให้ฝืนทำไป ถึงจะขี้คร้านก็ให้ทำ
จะขยันก็ให้ทำ จะนั่งก็ทำ จะเดินก็ทำ

เมื่อจะนอน ก็ให้กำหนดลมหายใจว่า “ข้าพเจ้าจะไม่เอาความสุขในการนอน”
สอนจิตไว้อย่างนี้ พอรู้สึกตัวตื่น ก็ให้ลุกขึ้นมาทำความเพียรต่อไป

เวลาจะกิน ก็ให้บอกว่า “ข้าพเจ้าจะบริโภคอาหารนี้ ไม่ได้บริโภคด้วยตัณหา
แต่เพื่อเป็นยาปรมัตถ์ เพื่อความอยู่รอดในมื้อหนึ่ง วันหนึ่ง
เพื่อให้ประกอบความเพียรได้เท่านั้น”

เวลาจะนอนก็สอนมัน เวลาจะฉันจังหันก็สอนมันให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย
จะยืนก็ให้รู้สึก จะนอนก็ให้รู้สึก จะทำอะไรสารพัดอย่าง ก็ให้ทำอย่างนั้น

เวลานอน ให้นอนตะแคงขวา กำหนดอยู่ที่ลมหายใจ “พุทโธ พุทโธ”
จนกว่าจะหลับ ครั้นตื่น ก็เหมือนกับมี “พุทธ” อยู่ ไม่ได้ขาดตอนเลย
จึงจะเป็นความสงบเกิดขึ้นมา มันเป็นสติอยู่ตลอดเวลา

อย่าไปมองดูผู้อื่น อย่าไปเอาเรื่องของผู้อื่น ให้เอาแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น


มีต่อค่ะ…

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 9411 ครั้ง ]
:b44: :b44: :b44:

การนั่งสมาธินั้น นั่งให้ตรง อย่าเงยหน้ามากไป อย่าก้มหน้าเกินไป
เอาขนาดพอดี เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละ มันจึงสว่างไสวดี

ครั้นจะเปลี่ยนอิริยาบถ ก็ให้อดทนจนสุดขีดเสียก่อน ปวดก็ให้ปวดไป
อย่าเพิ่งรีบเปลี่ยน อย่าคิดว่า “บ๊ะ ไม่ไหวแล้ว พักก่อนเถอะน่า”
อดทนมันจนปวดถึงขนาดก่อน พอมันถึงขนาดนั้นแล้ว ก็ให้ทนต่อไปอีก

ทนไป…ทนไป…จนมันไม่มีแก่ใจจะว่า “พุทโธ” เมื่อไม่ว่า “พุทโธ”
ก็เอาตรงที่มันเจ็บนั่นแหละมาแทน “อุ๊ย เจ็บ เจ็บแท้ ๆ หนอ”
เอาเจ็บนั่นมาเป็นอารมณ์แทน “พุทโธ” ก็ได้ กำหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อย
นั่งไปเรื่อย ดูซิว่าเมื่อปวดจนถึงที่สุดแล้ว มันจะเกิดอะไรขึ้น

พระพุทธเจ้าท่านว่า มันเจ็บเอง มันก็หายเอง ให้มันตายไป อย่าเลิก
บางครั้งมันเหงื่อแตกเม็ดโป้ง ๆ เท่าเม็ดข้าวโพด ไหลย้อยมาตามอก
ถ้าครั้นทำจนมันได้ข้ามเวทนาอันหนึ่งแล้ว มันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ
ให้ค่อยทำไปเรื่อย ๆ อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป ให้ค่อยทำไป…ทำไป

ฉันจังหันอยู่ก็ให้รู้จัก เมื่อเคี้ยวกลืนลงไปน่ะ มันลงไปถึงไหน
อาหารที่แสลงโรค มันผิดหรือถูกกับธาตุขันธ์ ก็รู้จักหมด
ฉันจังหันก็ลองกะดู ฉันไป ฉันไป กะดูว่าอีกสักห้าคำจะอิ่ม
ก็ให้หยุดเสีย แล้วดื่มน้ำเข้าไป ก็จะอิ่มพอดี

ลองทำดูซิว่า จะทำได้หรือไม่ แต่คนเรามันไม่เป็นอย่าง
พอจะอิ่มก็ว่า “เติมอีกสักห้าคำเถอะ” มันว่าไปอย่างนั้น มันไม่รู้จักสอนตัวเองอย่างนี้

พระพุทธเจ้าท่านให้ฉันไป กำหนดดูไป ถ้าพอ อีกสักห้าคำจะอิ่มก็หยุด
ดื่มน้ำเข้าไป มันก็จะพอดี จะไปเดิน ไปนั่ง มันก็ไม่หนักตัว ภาวนาก็ดีขึ้น
แต่คนเราไม่อยากทำอย่างนั้น พออิ่มเต็มที่แล้ว ยังเติมเข้าไปอีกห้าคำ
มันเป็นไปอย่างนั้น เรื่องของกิเลสตัณหา กับเรื่องพระพุทธเจ้าสอนมันไปคนละทาง
ถ้าคนที่ไม่ต้องการฝึกจริง ๆ แล้ว ก็จะทำไม่ได้ ขอให้เฝ้าดูตนเองไปเถิด

มีต่อค่ะ…

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 9409 ครั้ง ]
:b44: :b44: :b44:

ทีนี้เรื่องนอน ก็ให้ระวัง มันขึ้นอยู่กับการที่เราจะต้องรู้จักอุบายของมัน
บางครั้งอาจจะนอนไม่เป็นเวลา นอนหัวค่ำบ้าง นอนสายบ้าง แต่ลองเอาอย่างนี้
จะนอนดึก นอนหัวค่ำ ก็ช่างมัน แต่ให้นอนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

พอรู้สึกตัวตื่น ให้ลุกขึ้นทันที อย่ามัวเสียดายการนอน เอาเท่านั้น เอาครั้งเดียว
จะนอนมาก นอนน้อย ก็เอาครั้งเดียว ให้ตั้งใจไว้ว่าพอรู้สึกตัวตื่น
ถึงนอนไม่อิ่มก็ลุกขึ้น ไปล้างหน้าแล้วก็เดินจงกรม หรือนั่งสมาธิไปเลย
ให้รู้จักฝึกตัวเองอย่างนี้ เรื่องอย่างนี้ไม่ใช่จะรู้เพราะคนอื่นบอก
จะรู้ได้เพราะการฝึก การปฏิบัติ การกระทำ จึงให้ทำไปเลย

เรื่องทำจิตนี้เป็นเรื่องแรก ท่านเรียกว่าทำกรรมฐาน เวลานั่งให้จิตมีอารมณ์เดียวเท่านั้น
ให้อยู่กับลมเข้าเข้า ลมออก แล้วจิตก็จะค่อย ๆ สงบไปเรื่อย ๆ

ถ้าจิตวุ่นวาย ก็จะมีหลายอารมณ์ เช่นพอนั่งปุ๊บโน่น…คิดไปบ้านโน้น…
บ้างก็อยากกินก๋วยเตี๋ยว บวชใหม่ ๆ มันก็หิวนะ อยากกินข้าว กินน้ำ คิดไปทั่ว
หิวโน่น อยากนี่ สารพัดอย่างนั่นแหละ มันเป็นบ้า จะเป็นก็ให้มันเป็นไป
เอาชนะมันได้เมื่อไหร่ ก็หายเมื่อนั้น

ให้ทำไปเถิด เคยเดินจงกรมบ้างไหม เป็นอย่างไรขณะที่เดิน
จิตกระเจิดกระเจิงไปหรือ…ก็หยุดมันซิ ให้มันกลับมา
ถ้ามันไปบ่อย ๆ ก็อย่าหายใจ กลั้นใจเข้า
พอใจจะขาด มันก็ต้องกลับมาเอง ไม่ว่ามันจะเก่งปานใด

นั่งให้มันคิดทั่วทิศทั่วแดนดูเถอะ กลั้นใจเอาไว้อย่าหยุด ลองดู
พอใจจะขาด มันก็กลับมา จงทำใจให้มีกำลัง

การฝึกจิตไม่เหมือนฝึกสัตว์ จิตนี่เป็นของฝึกยากแท้ ๆ แต่อย่าไปท้อถอยง่าย ๆ
ถ้ามันคิดไปทั่วทิศ ก็กลั้นใจมันไว้ พอใจมันจะขาด มันก็คิดอะไรไม่ออก
มันก็วิ่งกลับมาเอง ให้ทำไปเถอะ

มีต่อค่ะ…

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 9407 ครั้ง ]
:b44: :b44: :b44:

ในพรรษานี้ ทำให้มันรู้เรื่อง กลางวันก็ช่าง กลางคืนก็ตาม ให้ทำไป
แม้จะมีเวลาสักสิบนาที ก็ทำ กำหนดทำไปเรื่อย ๆ ให้ใจมันจดจ่อ
ให้มีความรู้สึกอยู่เสมอ อยากจะพูดอะไร ก็อย่าพูด หรือกำลังพูด ก็ให้หยุด
ให้ทำอันนี้ให้ติดต่อกันไว้

เหมือนอย่างกับน้ำในขวดนี่แหละ ครั้นเรารินมันทีละน้อย มันก็จะหยด
นิด…นิด…นิด พอเราเร่งรินให้เร็วขึ้น มันก็จะไหลติดต่อเป็นสายน้ำเดียวกัน
ไม่ขาดตอน เป็นหยดเหมือนเวลาที่เรารินทีละน้อย ๆ

สติของเราก็เหมือนกัน ถ้าเราเร่งมันเข้ามา คือ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอแล้ว
มันก็จะติดต่อกันเป็นสายน้ำ ไม่เป็นน้ำหยด หมายความว่า ไม่ว่าเราจะยืน
จะเดิน จะนั่ง จะนอน ความรู้อันนี้มันไม่ขาดจากกัน มันจะไหลติดต่อกันเป็นสายน้ำ

การปฏิบัติจิตนี่ก็เป็นอย่างนั้น เดี๋ยวมันคิดนั่น คิดนี่ ฟุ้งซ่านไม่ติดต่อกัน
มันจะคิดไปไหนก็ช่างมัน ให้เราพยายามทำให้เรื่อยเข้าไว้ แล้วมันจะเหมือนหยดแห่งน้ำ
มันจะทำความห่างให้ถี่ ครั้งถี่เข้า ๆ มันก็ติดกัน เป็นสายน้ำ

ทีนี้ความรู้ของเราก็จะเป็นความรู้รอบ จะยืนก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะนอนก็ตาม
จะเดินก็ตาม ไม่ว่าจะทำอะไรสารพัดอย่าง มันก็มีความรู้อันนี้รักษาอยู่

ไปทำเสียแต่เดี๋ยวนี้ ไปลองทำดู แต่อย่าไปเร่งให้มันเร็วนักล่ะ

ถ้ามัวแต่นั่งคอยดูว่ามันจะเป็นอย่างไรละก็ มันไม่ได้เรื่องหรอก
แต่ให้ระวังด้วยนะว่า…ตั้งใจมากเกินไป…ก็ไม่เป็น
ไม่ตั้งใจเลย…ก็ไม่เป็น

แต่บางครั้ง เราไม่ได้ตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิหรอก เมื่อเสร็จงาน ก็นั่งทำจิตให้มันว่าง ๆ
มันก็พอดีขึ้นมา…ปั๊บ…ดีเลย…สงบ ง่ายอย่างนี้ก็มี ถ้าทำให้มันถูกเรื่อง

หมดแล้ว…เอาหละ…เอาปานนี้ละ…

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2010, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




158976394_5c28e27639.jpeg1.jpg
158976394_5c28e27639.jpeg1.jpg [ 24.58 KiB | เปิดดู 9377 ครั้ง ]
สมมุติและวิมุตติ
โดย พระโพธิญาณเถร (พระอาจารย์ชา สุภัทโท)

สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติ ที่เราสมมุติขึ้นมาเองทั้งสิ้น สมมุติแล้วก็หลงสมมุติของตัวเองเลยไม่มีใครวาง มันเป็นทิฐิ มันเป็นมานะความยึดมั่นถือมั่น อันความยึดมั่นถือมั่นนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะจบได้ มันจบลงไม่ได้สักที เป็นเรื่องวัฏฏสงสารที่ไหลไปไม่ขาด ไม่มีทางสิ้นสุด ทีนี้ถ้าเรารู้จักสมมุติแล้ว ก็รู้จักวิมุตติ ครั้นรู้จักวิมุตติแล้วก็รู้จักสมมุติ ก็จะเป็นผู้รู้จักธรรมะอันหมดสิ้นไป

ก็เหมือนเราทุกคนนี้แหละ แต่เดิมชื่อของเราก็ไม่มี คือตอนเกิดมาก็ไม่มีชื่อ ที่มีชื่อขึ้นมาก็โดยสมมุติกันขึ้นมาเอง อาตมาพิจารณาดูว่า เอ! สมมุตินี้ ถ้าไม่รู้จักมันจริงๆ แล้ว มันก็เป็นโทษมาก ความจริงมันเป็นของเอามาใช้ ให้เรารู้จักเรื่องราวมันเฉยๆ เท่านั้นก็พอ ให้รู้ว่าถ้าไม่มีเรื่องสมมุตินี้ก็ไม่มีเรื่องที่จะพูดกัน ไม่มีเรื่องที่จะบอกกัน ไม่มีภาษาที่จะใช้กัน

เมื่อครั้งที่อาตมาไปต่างประเทศ อาตมาได้ไปเห็นพวกฝรั่งไปนั่งกรรมฐานกันอยู่เป็นแถว แล้วเวลาจะลุกขึ้นออกไป ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เห็นจับหัวกันผู้นั้นผู้นี้ไปเรื่อยๆ ก็เลยมาเห็นได้ว่า โอ! สมมุตินี้ ถ้าไปตั้งลงที่ไหน ไปยึดมั่นหมายมั่นมันก็จะเกิดกิเลสอยู่ที่นั่น ถ้าเราวางสมมุติได้ ยอมมันแล้วก็สบาย

อย่างพวกนายพล นายพันทหารมาที่นี่ ก็เป็นผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์ ครั้นมาถึงอาตมาแล้วก็พูดว่า “หลวงพ่อกรุณาจับหัวให้ผมหน่อยครับ” นี่แสดงว่าถ้ายอมแล้วมันก็ไม่มีพิษอยู่ที่นั่น พอลูบหัวให้ เขาดีใจด้วยซ้ำ แต่ถ้าไปลูบหัวเขาที่กลางถนนดูซิไม่เกิดเรื่องก็ลองดู นี่คือความยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ ฉะนั้นอาตมาว่าการวางนี้มันสบายจริงๆ เมื่อตั้งใจว่าเอาหัวมาให้อาตมาลูบ ก็สมมุติลงว่าไม่เป็นอะไร แล้วก็ไม่เป็นอะไรจริงๆ ลูบอยู่เหมือนหัวเผือกหัวมัน แต่ถ้าเราลูบอยู่กลางทาง ไม่ได้แน่นอน

นี่แหละเรื่องของการยอม การละ การวาง การปลง ทำได้แล้วมันเบาอย่างนี้ ครั้นไปยึดที่ไหน มันก็เป็นภพที่นั่น เป็นชาติที่นั่น มีพิษมีภัยขึ้นที่นั่น พระพุทธองค์ของเราท่านทรงสอนสมมุติ แล้วก็ทรงสอนให้รู้จักแก้สมมุติโดยถูกเรื่องของมัน ให้มันเห็นเป็นวิมุติ อย่าไปยึดมั่นหรือถือมั่นมัน สิ่งที่มันเกิดมาในโลกนี้ก็เรื่องสมมุติทั้งนั้นมันจึงเป็นขึ้นมา ครั้นเป็นขึ้นมาแล้วและสมมุติแล้ว ก็อย่าไปหลงสมมุตินั้น ท่านว่ามันเป็นทุกข์ เรื่องสมมุติเรื่องบัญญัตินี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ถ้าคนไหนปล่อย คนไหนวางได้ มันก็หมดทุกข์

แต่เป็นกิริยาของโลกเรา เช่นว่า พ่อบุญมา นี้เป็นนายอำเภอ เถ้าแก่แสงชัยไม่ได้เป็นนายอำเภอ แต่ก็เป็นเพื่อนกันมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เมื่อพ่อบุญมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอก็เป็นสมมุติขึ้นมาแล้ว แต่ก็ให้รู้จักใช้สมมุติให้เหมาะสมสักหน่อย เพราะเรายังอยู่ในโลก ถ้าเถ้าแก่แสงชัยขึ้นไปหานายอำเภอที่ที่ทำงาน และเถ้าแก่แสงชัยไปจับหัวนายอำเภอ มันก็ไม่ดี จะไปคิดว่าแต่ก่อนเคยอยู่ด้วยกัน หามจักรเย็บผ้าด้วยกัน จวนจะตาย


มีต่อ... :b48: :b41:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


แก้ไขล่าสุดโดย sirisuk เมื่อ 09 มี.ค. 2010, 20:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร