วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 07:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
หากท่านทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นผู้ศรัทธาในศาสนาใดก็ตาม ได้อ่านบทความนี้แล้ว ก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม หรือหลักการทางพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น และขอให้ใช้วิจารณญาณในการอ่าน และคิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง หรือหลักธรรมชาติ แห่งสรรพสิ่งทั้งปวง อันเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
สืบเนื่องจากการที่ข้าพเจ้าได้เผยแพร่ในเรื่อง ของ "โมกษะดั้งเดิม ก่อนพุทธกาล" อันเป็นหลักธรรม หรือหลักการแห่งข้าพเจ้า “ศรีอาริยเมตไตรย” ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
โมกษะธรรมดั้งเดิมนั้น ประกอบไปด้วย
๑.การครองเรือน ๒.ทาน คือการให้
๓.กตัญญูรู้คุณ(ในสรรพสิ่ง) ๔.การเจรจาติดต่อสื่อสาร
๕.สรรพอาชีพ ๖. ประพฤติ
๗.ระลึก คือ การนึกถึง หรือการหวนนึกถึง
๘. ดำริ คือ การคิด หรือ ความคิด
อันเป็น โลกกุตตรธรรม ,หรือ อัพยากตธรรม, หรือเป็นสัทธรรม
ซึ่งล้วนเป็นเครื่องดิ้นรนแห่งสรรพสิ่ง อันเป็นเหตุทำให้เกิด ทุกข์,สมุทัย,นิโรธ,มรรค
สำหรับ อริยมรรคที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น เป็นการประพฤติชั้นพื้นฐานสำหรับปุถุชนคนทั่วไป เป็นพื้นฐานในอันที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข “ อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานการประพฤติ หรือเป็นพื้นฐานการปฏิบัติ หรือเป็นข้อคิดข้อเตือนสติ หรือเป็นข้อวัตรชนิดหนึ่งสำหรับ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร โดยเฉพาะ เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติ หรือเครื่องฝึกตน ฯ ไม่ให้เกิดความห่วงหา อาลัยอาวรณ์ ใน ลาภ ยศ สรรเสริญ กามารมณ์หรือ กามคุณ ฯลฯ”
ส่วนคำว่า "โมกษะ" และ "โมกษะธรรม" ข้าพเจ้าจักได้อธิบายให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความเข้าใจ พอสังเขป ดังต่อไปนี้.-
โมกษะ มีความหมาย ตามพจนานุกรม ฯ ว่า "ความหลุดพ้น หรือ นิพพาน

“โมกษะธรรม” จึงหมายถึง "ธรรมหรือคำสอน หรือหลักการ หรือธรรมชาติ อันจักทำให้บุคคลที่รู้ ที่เข้าใจ เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น และหรือทำให้ถึงซึ่ง มรรคผล, นิพพาน"
คำว่า "ความหลุดพ้น" หมายถึงหลุดพ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็น กิเลส ตัณหา ยังอาจหมายรวมไปถึงการหลุดพ้นจากวงจรหรือวงโคจรของการเวียนว่ายตายเกิดอีกด้วย (อันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า มันจะหลุดพ้นในรูปแบบไหน รู้เพียงว่าสามารถขจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้ตามต้องการ หรือตามใจของบุคคลผู้มีความรู้ความเข้าใจใน โมกษะธรรม โดยไม่ต้องใช้วิธีอดทน อดกลั้น หรือ ข่มไว้ สะกดไว้ )

โมกษะธรรม ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปในตอนต้นนั้น ก็คือ หนึ่ง ในพระสัทธรรม เหตุเพราะ พระสัทธรรม ในทางพุทธศาสนานั้น ประกอบไปด้วย หรือ มีความหมาย ดังพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ดังนี้.-
สัทธรรม หมายถึง
"ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี ๓ อย่าง คือ
๑.ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
๒.ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติได้แก่ไตรสิกขา
๓.ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;
สัทธรรม ๗ คือ ๑.ศรัทธา ๒.หิริ ๓.โอตตัปปะ ๔.พาหุสัจจะ ๕.วิริยารัมภะ ๖.สติ ๗.ปัญญา"

เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่าน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สัทธรรมแล้ว ก็จะเกิดความรู้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขออธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้ท่านทั้งหลาย ได้เกิดความใจอย่างถูกต้องว่า
สัทธรรม แบ่งเป็น สองชนิด สองอย่าง
อย่างแรก มี ๓ ข้อ
อย่างที่สอง มี ๗ ข้อ

หากท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ก็จะพบว่า สัทธรรม ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น เป็นเพียง "เครื่องมือ หรือ หัวข้อหลัก ในอันที่จะทำให้ผู้เรียน ผู้ศึกษา ได้ ศึกษาค้นหา ค้นคว้า เพื่อให้ได้รู้ เพื่อให้ได้พบ หลักสัทธรรม ทั้ง ๓ ชนิด
ซึ่ง ในสัทธรรม ข้อที่ ๓ อันได้แก่ ปฏิเวธสัทธรรม ก็คือ โมกษะธรรม หรือ โลกุตรธรรม หรือ อัพยากตธรรม อันเป็นธรรมที่จะทำให้ บรรลุมรรคผล และนิพพานนั่นเอง คำว่า ปฏิเวธสัทธรรม นั้น หมายถึง การรู้แจ้ง รู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่ง สามารถลุล่วงประสบผลจากการปฏิบัติ นั้นย่อมหมายถึง รู้ตัวธรรมะ เพื่อให้บรรลุมรรคผล และนิพพาน อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี

ส่วน สัทธรรม ๗ ประการ อันได้แก่ ศรัทธา,หิริ,โอตัปปะ,พาหุสัจจะ,วิริยารัมภะ ,สติ,ปัญญา ก็เป็นเพียง ปัจจัย หรือเครื่องมือในการศึกษา ค้นหา ค้นคว้า หรือเป็นปัจจัยในอันที่จะปฏิบัติธรรม หรือฝึกตน เพื่อให้บรรลุมรรคผล และนิพพานเท่านั้น
เพราะ บุคคล จะสามารถปฏิบัติธรรม หรือจะมีความตั้งใจใคร่เรียนรู้ หรือศึกษา ก็ต้อง อาศัย ความเชื่อเป็นอย่างแรก อีกทั้งยังต้องเป็นผู้ได้รู้เห็น ได้ฟังมีความจำได้นานและดีจนขึ้นใจ สามารถท่องหรือพูดสิ่งที่ได้ยินได้ฟังนั้น อย่างไม่ติดขัด อีกทั้งยังต้องรู้จักระลึกได้ และสามารถนำการได้รู้ได้เห็น ได้ฟังมาคิดพิจารณา ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ นั่นก็คือ เกิดปัญญา อีกทั้ง ยังต้องมีความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป ไม่ลักขโมย ไม่โกหก หลอกลวง มีความกตัญญู รู้คุณท่านรู้ กตเวที อยู่เป็นนิจ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น

เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่าน และทำความเข้าใจ และได้ใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ตามหลักความจริง ตามหลักธรรมชาติ แห่งสรรพสิ่ง (ซึ่งในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์เป็นอันดับแรก) ให้ถี่ถ้วนดีแล้ว ท่านทั้งหลายย่อมจะเกิดความรู้ ความเข้าใจ ตามหลักความจริง ตามหลักธรรมชาติ อันเป็นไปตามหลักโมกษะธรรมดั้งเดิม แห่งข้าพเจ้าศรีอาริยเมตไตรย เมื่อหเกิดความเข้าใจ แม้ในระดับหนึ่ง ไม่ถึงต้องกับ รู้แจ้งรู้ตลอดทะลุปรุโปร่ง ก็เท่ากับว่า “ท่านทั้งหลายได้เห็นธรรม ซึ่งเท่ากับว่าได้เห็นข้าพเจ้า” ศรีอาริยเมตไตรย” ฉะนี้

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร