วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 02:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




20180831_061027.jpg
20180831_061027.jpg [ 139.94 KiB | เปิดดู 2991 ครั้ง ]
โอฆะ4

กาโมฆะ โอฆะคือกาม
ภโวฆะ โอฆะคือภพ
ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ
อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา



--------------------------------------------------------------------------------

คำว่า "โอฆะ" แปลว่า ห้วงน้ำ ท่านนำมาใช้เป็นชื่อของกิเลส 4 ประเภท ว่าเป็นเหมือนห้วงน้ำใหญ่ เพราะว่าห้วงน้ำใหญ่นั้น ไม่ว่าอะไรจะไปก็ตาม ย่อมซัดพัดพาสิ่งเหล่านั้นไปด้วยกระแสของตน สิ่งที่ตกลงในกระแสน้ำ ย่อมขาดความเป็นตัวของตัว จนถึงกับต้องเป็นอันตรายเพราะห้วงน้ำฉันใด ใจของคนที่ถูกวังวนคือกิเลสพัดพาไปก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกันฉันนั้น โอฆะ 4 ประเภทนั้นคือ
1.กาโมฆะ โอฆะคือกาม ได้แก่ความใคร่ ความพอใจ ความยินดี ปรารถนา ต้องการความอยากได้ ในสิ่งต่างๆ ที่เป็นวัตถุกามคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์อันตนผูกใจว่า สิ่งเหล่านั้นน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ และภายในจิตของตนได้มี"กามธาตุ" คือธาตุความใคร่ในสิ่งนั้นอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเขาก็จะดำริถึงรูปเป็นต้น สิ่งเหล่านั้นด้วยแรงปรารถนา จากการดำริถึงด้วยความใคร่นี้เอง ทำให้ความเร่าร้อนเพราะแรงปรารถนาเกิดขึ้น จึงมีการแสวงหาเพื่อสนองตอบความต้องการของตน ด้วยทางถูกบ้างผิดบ้าง จนได้สิ่งเหล่านั้นมาไว้ในครอบครอง แต่ก็ต้องเป็นทุกข์ด้วยการรักษา การเสื่อมสลายหรือแตกดับไปของสิ่งเหล่านั้นทุกช่วงของความคิดที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น ใจของบุคคลเหมือนถูกท่วมทับด้วยกระแสน้ำ ยิ่งคิดมากแสวงหามาก ได้มามาก จิตก็จะถูกท่วมทับด้วยแรงความใคร่ได้ ใคร่มีในวัตถุกามเหล่านั้น จนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ เพราะใจของบุคคลที่ถูกท่วมทับด้วยกาโมฆะ เป็นจิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่อาจให้เต็มให้อิ่มได้ ด้วยการพยายามตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น ความทุกข์ที่เกิดจากกาโมหะท่วมทับจนต้องเหนื่อยยากลำบากในการแสวงหาเป็นต้น จะเกิดขึ้นหาที่สิ้นสุดไม่ได้
2.ภโวฆะ โอฆะคือภพ ได้แก่ความใคร่ในความมีความเป็นเพราความฝังใจว่ายศ ตำแหน่ง ฐานะนั้นๆ เป็นภาวะที่นำความสุข ความยิ่งใหญ่มาให้แก่ตน ทั้งในกาลปัจจุบันและอนาคต ทั้งชาติปัจจุบันและชาติหน้า ความใคร่ พอใจในฐานะต่างๆ นั้นจะแสดงอาการออกมาทำนองเดียวกับกาโมฆะ คือจิตดำริถึงสิ่งที่ตนพอใจมากๆ จนเกิดความกำหนดหมายที่จะได้ฐานะนั้นๆ เกิดความเร่าร้อนเพราะแรงปรารถนาจนต้องแสวงหาต่อสู้แย่งชิงกัน จนบ้างครั้งมีการล้มตาย มีคนจำนวนไม่น้อยเลย ที่ความปรารถนาของตนยังไม่เต็ม แต่ต้องตายไปก่อน ยิ่งเป็นความต้องการให้ภาวะที่ตนต้องการ บังเกิดขึ้นในอนาคต กาลด้วยแล้ว จิตจะมีแต่ความวิตกกังวลขาดความเป็นอิสระ จิตของเขาเป็นเหมือนถูกท่วมทับด้วยกระแสน้ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ เป็นการอยากที่จะทำตนให้สวัสดีได้
3.ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ คำว่า ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นโดยปกติ เป็นคำกลางๆ คือไม่ความหมายว่าดีหรือชั่ว แต่เมื่อมาคำเดียวไม่มีคำอื่นต่อหน้าหรือหลัง ท่านเอาความเห็นที่ไม่ดี ในที่นี้มีความหายไปในทางไม่ดีโดยตรง เพราะเป็นชื่อของกิเลส ความเห็นที่เป็นโอฆะคือ ทิฏฐิ เช่น เห็นว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว มารดาบิดาไม่มีคุณ กรรมที่ได้ชื่อว่าบุญบาปไม่มี การกระทำที่ว่าเป็นดีเป็นชั่วจึงไม่มี ผลที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนไม่มีเหตุ ชาติก่อน ชาติหน้าไม่มี เป็นต้น ความเห็นผิดในลักษณะต่างๆ ดังกล่าวนี้ มีอิทธิพลอย่างสำคัญในชีวิตของคน เพราะคนเราจะทำพูดทางกายทางวาจา เกิดจากความเห็นภายในจิตใจของเขาเป็นสำคัญ เมื่อความเห็นผิด การกระทำของเขาก็จะผิดตามไปด้วย และที่เป็นอันตรายมากก็คือ เมื่อเขาปฏิเสธบาป บุญ ทั้งที่เป็นส่วนเหตุและผล ทำให้เขาขาดความรับผิดชอบในการกระทำ โอฆะคือทิฏฐิจะท่วมทับใจของเขาให้ไหลไปตามอำนาจของทิฏฐิคือความเห็นผิด ซึ่งมีความทุกข์ความเดือดร้อนเป็นผลทั้งแก่ตนและคนอื่น ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
4.อวิชโชฆะ โอฆะคือวิชชาความเขลา ไม่รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งหลาย ซึ่งท่านจัดเป็นอวิชชา 8 ประการดังกล่าวแล้ว คือความรู้ไม่จริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่รู้จริงในเรื่องชีวิตในอดีต อนาคตกาล ทั้งอดีตและอนาคตกาล และการไม่รู้ที่ธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยของกันและกัน อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ดับไป คือ ปฏิจจสมุปบาท
ผลเสียจากใจที่ถูกโอฆะท่วมทับ
- ห้วงน้ำคือกาม เมื่อท่วมทับใจของบุคคลใดแล้ว ทำให้ใจของบุคคลนั้นซัดส่ายไปหา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์อันตนน่าใคร่ปรารถนา พอใจ มีความวิตกกังวล เร่าร้อน ผจญอุปสรรค เหน็ดเหนื่อยเพราะวัตถุกามที่ตนใคร่ แสวงหา และได้มาไว้ในครอบครอง เมื่อสิ่งเหล่านั้นเสื่อมสลายไป เปลี่ยนแปลงไป ก็เกิดความทุกข์โทมนัส หมุนเวียนกันอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ความรู้สึกเป็นอิสระสุขสบายอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้โดยยาก
- ห้วงน้ำคือภพ ทำให้จิตใคร่ในความเป็นต่างๆ ที่สังคมยอมรับและตนเห็นว่าดี เมื่อห้วงน้ำคือภพครองงำจิต ความคิดของคนจะหมุนเวียนอยู่ด้วยการกำหนดหมายว่า ฐานะ ตำแหน่ง ชั้น ยศ ภพอย่างนั้นอย่างนี้ น่าพอใจ จิตจะดำริถึงแต่เรื่องนั้นๆ จนเกิดความเร่าร้อนเพราะแรงปรารถนา จากนั้นการแสวงหาสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก มีการต่อสู้แย่งชิงกัน และต้องเกิดความทุกข์โทมนัส เมื่อฐานะตำแหน่งของตนต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ตนไม่ต้องการ
- ห้วงน้ำคือทิฏฐิ เมื่อไหลมาท่วมทับจิตใจใคร ทำให้บุคคลนั้นมีความคิดเห็นเห็นห่างไกลจากความจริงออกไป จนปฏิเสธสัจธรรมทั้งหลาย ใจของเขาประกอบมโนทุจริต การทำพูดคิดจะมากไปด้วยบาปกิเลส อันมีผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อน เพราะการไหลไปตามอำนาจกิเลสของจิต พัฒนาการในด้านจิตใจจะเกิดขึ้นได้ยากหากยังไม่ปรับจิตของตนให้ถูกต้องตามธรรม
- ห้วงน้ำคืออวิชชา ถือว่าเป็นตัวการสำคัญ อันนำสัตว์เข้าสู่ความมืดบอดทางปัญญา เพราะอวิชชาความรู้ไม่จริงนี้เอง ที่ทำให้คนมีความหลง มัวเมา งมงาย ไร้เหตุผล ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริงของชีวิต ของโลกของสังสารวัฏ คนที่ถูกห้วงน้ำคืออวิชชาพัดพาไป จะเป็นเหมือนเต่าตาบอดตกอยู่ในกระแสน้ำ ย่อมไม่อาจพบความสวัสดีในชีวิตได้
สิ่งที่อาจเป็นทำนบกั้นกระแสห้วงน้ำเหล่านี้โดยตรงคือสติปัญญา แต่เมื่อจะกล่าวเป็นข้อๆ ตามลำดับแล้ว บุคคลอาจอาศัยหลักธรรมต่อไปนี้คือ.-
- อสุภสัญญา อสุภกรรมฐานคือการกำหนดว่าไม่สวย ไม่งาม และการเจริญอสุภกรรมฐาน จะช่วยลด ทำลายห้วงน้ำคือกามได้
- ความมีสติระลึกถึงเหตุผลแล้ว ทำใจตนให้เกิดความยินดีในฐานะที่ตนเป็น คือสันโดษ จะช่วยบรรเทาห้วงน้ำคือภพได้
- สัมมาทิฏฐิ คือปัญญาอันเห็นชอบในระดับต่างๆ จะผ่อนคลายความเห็นผิดให้เบาบางจนถึงหมดสิ้นไปได้ในที่สุด
- จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อันเป็นตัวปัญญาที่แท้จริง เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมขจัดห้วงน้ำคืออวิชชาให้หมดไป ดุจพระอาทิตย์อุทัย กำจัดมืดให้หมดไปฉะนั้น
อย่างไรก็ตามในระดับที่ลดหลั่นลงมานั้น เหมือนคนตกลงไปในกระแสน้ำ ถ้าไม่ปล่อยให้น้ำพัดจนจมลงไปในสายน้ำ พยายามประคองตัวไว้ให้ได้ ย่อมช่วยให้ปลอดภัยระดับหนึ่ง โอฆะ ห้วงน้ำคือกิเลสก็มีลักษณะอย่างนั้น แม้จะทำลายไม่ได้ แต่อยากให้ถึงกับตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น ย่อมช่วยดำรงตนอยู่ในธรรมได้ตามสมควร


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 13 ต.ค. 2010, 12:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร