ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28157
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 08 ม.ค. 2010, 17:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

ชีวิตแห่งปัญญา จึงมองลักษณะได้ ๒ ด้าน คือ

ด้านใน มีลักษณะสงบเยือกเย็น ปลอดโปร่งผ่องใสด้วยความรู้เท่าทัน เป็นอิสระ

เมื่อเสวยสุขก็ไม่สยบมัวเมาหลงระเริงลืมตัว

เมื่อขาด พลาด หรือ พรากจากเหยื่อล่อสิ่งปรนปรือต่างๆ ก็มั่นคง ปลอดโปร่งอยู่ได้ ไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่

ซึมเศร้า สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก

มีลักษณะคล่องตัว ว่องไว พร้อมอยู่เสมอที่จะเข้าเกี่ยวข้องและจัดการกับสิ่งทั้งหลายตามที่มันควรจะเป็น

โดยเหตุผลบริสุทธิ์ ไม่มีเงื่อนปม หรือความยึดติดภายในที่จะมาเป็นนิวรณ์เข้าขัดขวาง กั้นบัง ถ่วง ทำให้เขว

ลำเอียง หรือทำให้พร่ามัว

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 08 ม.ค. 2010, 17:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

มีพุทธพจน์บางตอน ที่แสดงให้เห็นลักษณะบางอย่าง ที่แตกต่างระหว่างชีวิตแห่งความยึดมั่นถือมั่น

กับ ชีวิตแห่งปัญญา เช่น


“ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่าง

อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับ บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ?”

เจ้าของ:  เอรากอน [ 08 ม.ค. 2010, 17:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

คิ..ริ คิ..ริ คิ..ริ

อิ อิ จานป้อ...คีย์ไม่ทันแว๊ววววว.... :b4: :b4:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2010, 08:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

พุทธวจนะ ต่อไปนี้จะเห็นภาพการปฏิบัติธรรม ซึ่งเกี่ยวกับเวทนาชัด หากยังไม่ชัดก็ลองทำดูปฏิบัติกรรมฐานดู

อาจหยุดยั้งความคิดปรุงแต่งเรื่องพุทธธรรมแบบเลื่อนลอยได้บ้างไม่มากก็น้อย



“ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมเศร้าโศก คร่ำครวญ ร่ำไห้

รำพัน ตีอกร้องไห้ หลงใหลฟั่นเฟือนไป

เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่าง คือ เวทนาทางกาย และ เวทนาทางใจ”


“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก

เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น ย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง ๒ ดอก คือ ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ฉันใด

บุถุชน ผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น ... ย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทางกายและทางใจ”


“อนึ่ง เพราะถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ เขาย่อมเกิดความขัดใจ เมื่อเขามีความขัดใจเพราะทุกขเวทนา

ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง

เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็หันเข้าระเริงกับกามสุข *

เพราะอะไร ?

เพราะบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนานอกไปจากกามสุข

และเมื่อเขาระเริงอยู่กับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง

เขาย่อมไม่รู้ทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น

เมื่อเขาไม่รู้...ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ( =อุเบกขาเวทนา) ย่อมนอนเนื่อง

ถ้าได้เสวยสุขเวทนา เขาก็ย่อมเสวยอย่างถูกมัดตัว

ถ้าได้เสวยทุกขเวทนา เขาก็ย่อมเสวยอย่างถูกมัดตัว

ถ้าได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา เขาก็ย่อมเสวยอย่างถูกมัดตัว

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เรียกว่าบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบ**(สญฺญุตฺต) ด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์”


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* กามสุข = สุขในการสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕

ตัวอย่างในทางจริยธรรมขั้นต้น เช่น หันเข้าหาการพนัน การดื่มสุรา และสิ่งเริงรมย์ต่างๆ

* สญฺญุตฺต = ผูกมัด พัวพัน ประกอบ (ประกอบด้วยกิเลส -สํ.อ.3/150

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2010, 08:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

“ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนานั้นกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

ไม่คร่ำครวญ ไม่ร่ำไห้ ไม่รำพัน ไม่ตีอกร้องไห้ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน

เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ”

“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป

เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น ย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกดอกเดียว ฉันใด

อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น ... ย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ”


“อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดใจ เพราะทุกขเวทนานั้น เมื่อไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น

ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง

เธอถูกทุกขเวทนากระทบ ก็ไม่หันเข้าระเริงกับกามสุข

เพราะอะไร ?

เพราะอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมรู้ทางออกจากทุกขเวทนานอกไปจากกามสุขไปอีก

เมื่อเธอไม่ระเริงกับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง

เธอย่อมรู้ทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสียและทางออกของเวทนาเหล่านั้น

ตามที่มันเป็น

เมื่อเธอรู้อยู่ ...ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่นอนเนื่อง


ถ้าเสวยสุขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว

ถ้าเสวยทุกขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้ ผู้ปราศจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่า ผู้ปราศจากทุกข์”



“ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้

กับบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้”

(สํ.สฬ. 18/369-372/257-260)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรทำลาย เมื่อทำลายแล้วจะได้อะไร

อะไรควรให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะได้อะไร

ส่วนที่ว่า ในการทำลายและทำให้เกิดขึ้นนั้น จะต้องทำอะไรบ้าง เป็นเรื่องของจริยธรรมที่จะกล่าวต่อไป

เจ้าของ:  เอรากอน [ 09 ม.ค. 2010, 08:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

จานป้อ...วันนี้วันเด็กนะ วันนี้วันเด็ก วันเด็ก วันเด็กกกกกก...

ใส่ชุดหมีพู มาแจกของขวัญเด็ก ๆ บ้างสิ่....

เด็กหญิงไบก้อง... รอดูจานป้อหมีพู...อยู่หง่ะ...

จะเอาอมยิ้ม...วันเด็ก...หง่ะ....

:b20: :b20: :b4: :b4:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2010, 08:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

เอรากอน เขียน:
จานป้อ...วันนี้วันเด็กนะ วันนี้วันเด็ก วันเด็ก วันเด็กกกกกก...

ใส่ชุดหมีพู มาแจกของขวัญเด็ก ๆ บ้างสิ่....

เด็กหญิงไบก้อง... รอดูจานป้อหมีพู...อยู่หง่ะ...

จะเอาอมยิ้ม...วันเด็ก...หง่ะ....

:b20: :b20: :b4: :b4:



คำขวัญวันเด็ก ปีนี้คือ... ตอบถูกรับของขวัญตามต้องการ

ตอบก่อนแล้วค่อยดูเฉลยที่

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/t ... 44878.html

เจ้าของ:  เอรากอน [ 09 ม.ค. 2010, 08:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

:b17: :b17: :b17: :b17:

รูปภาพ

วันนี้เด็กหญิงไบก้อง...ประจำที่...พร้อมแล้ว...เจ้าค่ะ

:b17: :b17: :b17: :b17:

เจ้าของ:  เอรากอน [ 09 ม.ค. 2010, 08:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

ช๊ะ...อุ้ย...!
ไหง๋...คำขวัญวันเด็กเป็นงั๊นละ... :b21: .... งงจัง...ไอ้ที่ดูดอยู่นี่มันนิ้วมือหรือนิ้วเท้า...หว๋า...

รูปภาพ

:b32: :b32: :b32: :b32: :b32:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2010, 09:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

ทายไม่ถูกใช่ไหมล่า ถ้างั้นอดได้หมีพู เอาช้างน้อยไปแล้วกานนนนะ :b32:

ไฟล์แนป:
avatar98405_1.gif
avatar98405_1.gif [ 17.83 KiB | เปิดดู 3633 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2010, 09:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

หากต้องการเข้าใจปฏิจจสมุปบาทมากขึ้น พึงดูอริยสัจ ๔ ประกอบด้วย

link อริยสัจ


viewtopic.php?f=2&t=22926&p=115352#p115352

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2010, 10:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

อาสวะ <= =>) อวิชชา= > สังขาร= > วิญญาณ = > นามรูป= >สฬายตนะ= > ผัสสะ= >

เวทนา= > ตัณหา= > อุปาทาน= > ภพ ชาติ= > ชรา=>มรณะ...โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส อุปายาส = ทุกขสมุทัย (เกิดทุกข์)

ส่วนฝ่ายดับ หรือ ทุกขนิโรธ (ดับทุกข์) ก็ดำเนินไปตามหัวข้อเช่นเดียวกันนี้

กระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนเป็นวัฏฏะ หรือ วงจร ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ

ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย

เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในแง่นี้ ดูรูปอีกครั้ง


ทบทวนความหมายองค์ธรรมปฏิจจสมุปบาทสั้นๆอีกครั้ง เพราะกระทู้ใหม่จะยากขึ้น

1. อวิชชา ความไม่รู้ ไม่รู้ตามเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา

2. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้

3. วิญญาณ ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต

4. นามรูป องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

5. สฬายตนะ สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

6.ผัสสะ การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

7. เวทนา การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

8.ตัณหา ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ต่อไป อยากเลี่ยง หรือ

ทำลาย

9.อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว

10.ภพ ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

11.ชาติ การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาท

ความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ

12.ชรามรณะ การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้นแห่งการที่ตัว

ได้อยู่ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส


คำแปล


โสกะ -ความแห้งใจ

ปริเทวะ -ความร่ำไร

ทุกข์ โทมนัส -ความเสียใจ

อุปายาส -ความผิดหวัง คับแค้นใจ

เป็นอาการสำแดงออกของการมีกิเลสที่เป็นเชื้อหมักดองอยู่ในจิตสันดาน ที่เรียกว่า อาสวะ

ไฟล์แนป:
gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 3608 ครั้ง ]

เจ้าของ:  อโศกะ [ 09 ม.ค. 2010, 11:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

tongue

“ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนานั้นกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

ไม่คร่ำครวญ ไม่ร่ำไห้ ไม่รำพัน ไม่ตีอกร้องไห้ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน

เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ”


:b8: :b8: :b8: :b8: :b27: tongue

ไฟล์แนป:
2.jpg
2.jpg [ 103.42 KiB | เปิดดู 3589 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2010, 13:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปบาท (พระสูตร 3)

มีต่อที่

viewtopic.php?f=7&t=28326&p=167866#p167866

ไฟล์แนป:
p1095833cc.jpg
p1095833cc.jpg [ 89.74 KiB | เปิดดู 3576 ครั้ง ]

หน้า 2 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/