วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 5551 ครั้ง ]
ความหมายโดยสรุป เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น


เพื่อความเข้าใจง่ายๆกว้างๆ ในเบื้องต้น เห็นควรแสดงความหมายของปฏิจจสมุปบาท

ไว้โดยสรุปครั้งหนึ่งก่อน

คำสรุปของปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นว่าหลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด เป็นกระบวนการเกิด-ดับของทุกข์

หรือหลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด มีความมุ่งหมายเพื่อแสดงความเกิด-ดับของทุกข์เท่านั้นเอง

คำว่า "ทุกข์" มีความสำคัญและมีบทบาทมากในพุทธธรรม

แม้ในหลักธรรมสำคัญอื่นๆ เช่น ไตรลักษณ์ และอริยสัจ ก็มีคำว่า ทุกข์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ จึงควรทำ

ความเข้าใจในคำว่าทุกข์กันให้ชัดเจนก่อน

เมื่อจะทำความเข้าใจคำว่าทุกข์ในพุทธธรรม ให้สลัดความเข้าใจแคบๆในภาษาไทยทิ้งเสียก่อน

และพิจารณาใหม่ ตามความหมายกว้างๆ ของพุทธพจน์ที่แบ่งทุกขตาเป็น ๓ อย่าง *

(* ที.ปา.11/228/229 ฯลฯ)

พร้อมด้วยคำอธิบายในอรรถกถา* (* วิสุทธิ.3/86 ; วิภงฺค.อ.212) ดังนี้




1. ทุกขทุกขตา ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ ไม่สบาย

เจ็บปวดเมื่อยขบ โศกเศร้า เป็นต้น อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ

ที่เรียกกันว่า ทุกขเวทนา

(ความทุกข์อย่างปกติที่เกิดขึ้น เมื่อประสบอนิฏฐารมณ์ หรือ สิ่งกระทบกระทั่งบีบคั้น)


2. วิปริณามทุกขตา ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือ ทุกข์ที่แฝงอยู่ในความแปรปรวนของสุข คือ

ความสุขที่กลายเป็นความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์ เพราะความแปรปรวนกลับกลายของมันเอง

(ภาวะที่ตามปกติ ก็สบายดีเฉยอยู่ ไม่รู้สึกทุกข์อย่างใดเลย แต่ครั้นได้เสวยความสุขบางอย่าง

พอสุขนั้นจางลงหรือหายไป ภาวะเดิมที่เคยรู้สึกสบายเป็นปกตินั้น กลับกลายเป็นทุกข์ไป เสมือนเป็นทุกข์

แฝง ซึ่งจะแสดงตัวออกมาในทันทีที่ความสุขนั้นจืดจางหรือเลือนลางไป

ยิ่งสุขมากขึ้นเท่าใด ก็กลับกลายเป็นทุกข์รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เสมือนว่าทุกข์ที่แฝงขยายตัวตามขึ้นไป

ถ้าความสุขนั้นไปเกิดขึ้น ทุกข์เพราะสุขนั้นก็ไม่มีอยู่ แม้เมื่อยังเสวยความสุขอยู่ พอนึกว่าสุขนั้นอาจ

จะต้องสิ้นสุดไป ก็ทุกข์ด้วยหวาดกังวล ใจหายไหวหวั่น ครั้นกาลเวลาแห่งความสุขผ่านไปแล้ว

ก็หวนระลึกด้วยความละห้อยหาว่า เราเคยมีสุขอย่างนี้ๆ บัดนี้ สุขนั้นไม่มีเสียแล้วหนอ)


3. สังขารทุกข์ ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือ สภาวะของตัวสังขารเอง หรือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิด

จากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 5 (รวมถึง มรรค ผล ซึ่งเป็นโลกุตรธรรม) เป็นทุกข์ คือ

เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้ง มีการเกิดขึ้นและการสลายหรือดับไป ไม่มีความสมบูรณ์ในตัว

ของมันเอง อยู่ในกระแสแห่งเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพซึ่งพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์

(ความรู้สึกทุกข์ หรือ ทุกขเวทนา) แก่ผู้ไม่รู้เท่าทัน ต่อสภาพและกระแสของมัน และเข้าไปฝืนกระแส

อย่างทื่อๆ ด้วยความอยากความยึด (ตัณหาอุปาทาน) อย่างโง่ๆ (อวิชชา)

ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ทุกข์ข้อสำคัญ คือ ข้อที่ ๓ แสดงถึงสภาพของสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง *

แต่สภาพนี้จะก่อให้เกิดความหมายเป็นภาวะในทางจิตวิทยาขึ้นก็ได้ ในแง่ที่ว่า มันไม่อาจให้ความพึงพอใจ

โดยสมบูรณ์ * และสามารถก่อให้เกิดทุกข์ได้เสมอ* แก่ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอวิชชาตัณหา

อุปาทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.พ. 2010, 18:35, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี *


*-*-* ทุกข์ในความหมายของสังขารทุกข์นี้ หากพิจารณาความหมายที่มีผู้แสดงในภาษาอังกฤษ

ประกอบ บางท่านอาจเข้าใจชัดขึ้น

ท่อนที่ 1 มักแสดงด้วยคำว่า conflict , oppression, unrest,

imperfection;

ท่อนที่ 2 = unsatisfactoriness

และท่อนที่ 3 = state of being liable to suffering

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นอาการที่สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยต่อกันเป็นรูปกระแส

ในภาวะที่เป็นกระแสนี้ ขยายความหมายออกไปให้เห็นแง่ต่างๆ ได้ คือ

สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน

สิ่งทั้งหลายมีอยู่โดยความสัมพันธ์

สิ่งทั้งหลายมีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย

สิ่งทั้งหลายไม่มีความคงที่อยู่อย่างเดิม แม้แต่ขณะเดียว

สิ่งทั้งหลาย ไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คือ ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน

สิ่งทั้งหลายไม่มีมูลการณ์ หรือต้นกำเนิดเดิมสุด

พูดอีกนัยหนึ่งว่าอาการที่สิ่งทั้งหลายปรากฏเป็นรูปต่างๆมีความเจริญความเสื่อมเป็นไปต่างๆนั้น แสดงถึงสภาวะ

ที่แท้จริงของมันว่า เป็นกระแส หรือกระบวนการ

ความเป็นกระแสแสดงถึงการประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบต่างๆ

รูปกระแสปรากฏเพราะองค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน

กระแสดำเนินไปแปรรูปได้เพราะองค์ประกอบต่างๆ ไม่คงอยู่ที่แม้แต่ขณะเดียว

องค์ประกอบทั้งหลายไม่คงที่อยู่แม้แต่ขณะเดียว เพราะไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน

ตัวตนที่แท้จริงของมันไม่มีมันจึงขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ

เหตุปัจจัยต่างๆ สัมพันธ์ต่อเนื่องอาศัยกัน จึงคุมรูปเป็นกระแสได้

ความเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องอาศัยกัน แสดงถึงความไม่มีต้นกำเนิดเดิมสุดของสิ่งทั้งหลาย


พูดในทางกลับกันว่า ถ้าสิ่งทั้งหลายมีตัวตนแท้จริง ก็ต้องมีความคงที่

ถ้าสิ่งทั้งหลายคงที่แม้แต่ขณะเดียว ก็เป็นเหตุปัจจัยแก่กันไม่ได้

เมื่อเป็นเหตุปัจจัยแก่กันไม่ได้ ก็ประกอบกันขึ้นเป็นกระแสไม่ได้

เมื่อไม่มีกระแสแห่งปัจจัย ความเป็นไปในธรรมชาติก็มีไม่ได้

และถ้ามีตัวตนที่แท้จริงอย่างใดในท่ามกลางกระแส ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างแท้จริงก็เป็นไป

ไม่ได้

กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่ทำให้สิ่งทั้งหลายปรากฏโดยเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ดำเนินไปได้ ก็เพราะสิ่งทั้งหลาย

ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไป ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน และสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวะที่ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไป เรียกว่า อนิจจตา

ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยเกิดสลาย มีความกดดันขัดแย้งแฝงอยู่ ไม่สมบูรณ์ในตัว เรียกว่า ทุกข์

ภาวะที่ไร้ตัวตนที่แท้จริงของมันเอง เรียกว่า อนัตตา


ปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นภาวะทั้ง ๓ นี้ในสิ่งทั้งหลาย และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่อง

เป็นปัจจัยแก่กันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จนปรากฏรูปออกมาเป็นต่างๆ ในธรรมชาติ

ภาวะและความเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ มีแก่สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรม ทั้งที่เป็นนามธรรม

ทั้งในโลกฝ่ายวัตถุ ทั้งแก่ชีวิตที่ประกอบพร้อมด้วยรูปธรรมนามธรรม โดยแสดงตัวออกมาเป็นกฎธรรมชาติ

ต่างๆ คือ

ธรรมนิยาม -กฎความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล

อุตุนิยาม-กฎธรรมชาติฝ่าย อนินทรียวัตถุ

พืชนิยาม-กฎธรรมชาติฝ่ายอินทรียวัตถุรวมทั้งพันธุกรรม

จิตนิยาม-กฎการทำงานของจิต

และกรรมนิยาม-กฎแห่งกรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องความสุขความทุกข์ของชีวิต และเป็นเรื่อง

ที่จริยธรรมจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรง

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เรื่องที่ควรย้ำเป็นพิเศษ เพราะมักขัดกับความรู้สึกสามัญของคน คือ

ควรย้ำว่า กรรมก็ดี

กระบวนการแห่งเหตุผลอื่นๆ ทุกอย่างในธรรมชาติก็ดี เป็นไปได้ ก็เพราะสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง

(เป็นอนิจจัง)

และไม่มีตัวตนของมันเอง (เป็นอนัตตา)

ถ้าสิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยง มีตัวตนจริงแล้ว กฏธรรมชาติทั้งมวลรวมทั้งหลักกรรมย่อมเป็นไปไม่ได้

นอกจากนั้น กฎเหล่านี้ ยังยืนยันด้วยว่า ไม่มีมูลการณ์หรือต้นกำเนินเดิมสุดของสิ่งทั้งหลาย เช่น

พระผู้สร้าง เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งทั้งหลาย ไม่มีตัวตนแท้จริง เพราะเกิดขึ้นด้วยอาศัยปัจจัยต่างๆ และมีอยู่อย่างสัมพันธ์กัน ตัวอย่างง่ายๆ

หยาบๆ เตียงเกิดจากนำส่วนประกอบต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกันตามรูปแบบ

ที่กำหนดตัวตนของเตียงที่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้นไม่มี

เมื่อแยกส่วนประกอบต่างๆหมดสิ้นแล้ว ก็ไม่มีเตียงอีกต่อไป เหลืออยู่แต่บัญญัติว่าเตียงที่เป็นความคิดในใจ

แม้บัญญัตินั้นเองที่มีความหมายอย่างนั้นก็ไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง แต่ต้องสัมพันธ์เนื่องอาศัยกับความ

หมายอื่นๆ เช่น บัญญัติว่าเตียง ย่อมไม่มีตามความหมายของมันเอง โดยปราศจากความสัมพันธ์กับ

การนอน แนวระนาบ ที่ตั้ง ช่องว่าง เป็นต้น

ในความรู้สึกสามัญของมนุษย์ ความรู้ในบัญญัติต่างๆ เกิดขึ้นโดยพ่วงเอาความเข้าใจในปัจจัยและความ

สัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยเหมือนกัน

แต่เมื่อเกิดความกำหนดรู้ขึ้นแล้ว ความเคยชินในการยึดติดด้วยตัณหาอุปาทาน ก็เข้าเกาะกับสิ่งในบัญญัติ

นั้น จนเกิดความรู้สึกเป็นตัวตนขึ้นอย่างหนาแน่น บังความสำนึกรู้ และแยกสิ่งนั้นออกจากความสัมพันธ์กับ

สิ่งอื่นๆ ทำให้ไม่รู้เห็นตามที่มันเป็น

อหังการและมมังการจึงแสดงบทบาทได้เต็มที่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ย่อมไม่มีมูลการณ์ หรือ เหตุต้นเค้า หรือ ต้นกำเนิดเดิมสุด

เมื่อหยิบยกสิ่งใดก็ตามขึ้นมาพิจารณา ถ้าสืบสาวหาเหตุต่อไปโดยไม่หยุด จะไม่สามารถค้นหาเหตุ

ดั้งเดิมสุดของสิ่งนั้นได้
แต่ในความรู้สึกสามัญของมนุษย์ มักคิดถึงหรือคิดอยากให้มีเหตุต้นเค้า

สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ขัดกับธรรมดาของธรรมชาติ แล้วกำหนดหมายสิ่งต่างๆ คลาดเคลื่อนไปจาก

ความเป็นจริง เรียกได้ว่าเป็นสัญญาวิปลาสอย่างหนึ่ง เหตุเพราะความเคยชินของมนุษย์ เมื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งใด

และคิดสืบสวนถึงมูลเหตุของสิ่งนั้น

ความคิดก็จะหยุดจับติดอยู่กับสิ่งที่พบว่าเป็นเหตุแต่อย่างเดียว ไม่สืบสาวต่อไปอีก ความเคยชินเช่นนี้

จึงทำให้ความคิดสามัญของมนุษย์ในเรื่องเหตุผล เป็นไปในรูปชะชักติดตันและคิดในด้านที่ขัดกับกฎธรรมดา

โดยคิดว่าต้องมีเหตุต้นเค้าของสิ่งทั้งหลายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าคิดธรรมดาแล้วก็ต้องสืบสาวต่อไปว่า

อะไรเป็นเหตุต้นเค้านั้น ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เพราะสิ่งทั้งหลายมีอยู่อย่างสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัย

สืบต่อกัน จึงย่อมไม่มีมูลการณ์หรือเหตุต้นเค้าเป็นธรรมดา

ควรตั้งคำถามกลับซ้ำไปว่า ทำไมสิ่งทั้งหลายจะต้องมีเหตุต้นเค้าด้วยเล่า ?


ความคิดฝืนธรรมดาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความเคยชินของมนุษย์ และสัมพันธ์กับความคิดว่ามีเหตุต้นเค้า

คือ ความคิดว่าเดิมที่เดียวนั้น ไม่มีอะไรอยู่เลย ความคิดนี้เกิดจากความเคยชินในการยึดถืออัตตา

โดยกำหนดรู้ขึ้นมาในส่วนประกอบที่คุมเข้าเป็นรูปลักษณะแบบหนึ่ง แล้ววางความคิดหมายจำเพาะลงเป็น

บัญญัติยึดเอาบัญญัตินั้นเป็นหลัก เกิดความรู้สึกคงที่ลงว่าเป็นตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเห็นไปว่าเดิม

สิ่งนั้นไม่มีแล้วมามีขึ้น ความคิดแบบชะงักทื่อติดอยู่กับสิ่งหนึ่งๆ ไม่แล่นเป็นสายเช่นนี้ เป็นความเคยชินใน

ทางความคิดอย่างที่เรียกว่าติดสมมุติ หรือไม่รู้เท่าทันสมมุติ จึงกลายเป็นไม่รู้ตามที่มันเป็น เป็น

เหตุให้ต้องคิดหาเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีอยู่เป็นนิรันดรขึ้นมาเป็นเหตุต้นเค้า

เป็นที่มาแห่งการสำแดงรูปเป็นต่างๆ หรือ เป็นผู้สร้างสิ่งทั้งหลาย ทำให้เกิดข้อขัดแย้งขึ้นต่างๆ เช่น

สิ่งนิรันดรจะเป็นที่มาหรือสร้างสิงไม่เป็นนิรันดรได้อย่างไร

ถ้าสิ่งเป็นนิรันดรเป็นที่มาของสิ่งไม่เป็นนิรันดร สิ่งไม่เป็นนิรันดร จะไม่เป็นเป็นนิรันดรได้อย่างไร เป็นต้น

แท้จริงแล้วในกระบวนการอันเป็นกระแสแห่งความเป็นเหตุปัจจัยสืบเนื่องกันนี้ ย่อมไม่มีปัญหาแบบบ่งตัวตนว่า

มีอะไรหรือไม่มีอะไรอยู่เลย ไม่ว่าเดิมทีเดียว หรือบัดนี้ เว้นแต่จะพูดกันในขั้นสมมุติสัจจะเท่านั้น

ควรย้อนถามให้คิดใหม่ด้วยซ้ำไปว่า ทำไมจะต้องไม่มีก่อนมีด้วยเล่า ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ม.ค. 2010, 19:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ความเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายมีผู้สร้าง ซึ่งปรกติถือกันว่าเป็นความคิดธรรมดานั้น แท้จริงก็เป็นความคิดขัดธรรมดา

เช่นกัน

ความคิดเชื่อเช่นนี้เกิดขึ้น เพราะมองดูตามข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งเห็นและเข้าใจกันอยู่สามัญว่ามนุษย์เป็นผู้สร้าง

อุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ ศิลปวัตถุ ฯลฯ ขึ้น

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะการสร้างของมนุษย์ ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายทั้งโลกก็ต้องมีผู้สร้างด้วยเหมือนกัน

ในกรณีนี้ มนุษย์พรางตนเอง ด้วยการแยกความหมายของการสร้างออกไปเสียจากความเป็นเหตุเป็นปัจจัย

ตามปรกติ จึงทำให้เกิดการตั้งต้นความคิดที่ผิด

ความจริงนั้น การสร้างเป็นเพียงความหมายส่วนหนึ่งของการเป็นเหตุปัจจัย

การที่มนุษย์สร้างสิ่งใด ก็คือการที่มนุษย์ เข้าไปร่วมเป็นเหตุปัจจัยส่วนหนึ่ง ในกระบวนการแห่งความ

สัมพันธ์ของเหตุปัจจัยต่างๆที่จะทำให้ผลรวมที่ต้องการนั้นเกิดขึ้น

แต่มีพิเศษจากกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยฝ่ายวัตถุล้วนๆ ก็เพียงที่ในกรณีนี้ มีปัจจัยฝ่ายนามธรรม

ที่ประกอบด้วยเจตนาเป็นลักษณะพิเศษเข้าไปร่วมบทบาทด้วย

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังคงมีฐานะเป็นเพียงปัจจัยอย่างหนึ่งร่วมกับปัจจัยอื่นๆ และต้องดำเนินไปตามกระบวนการ

แห่งเหตุปัจจัยจึงจะเกิดผลที่ต้องการ เช่น เมื่อมนุษย์จะสร้างตึก ก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นเหตุปัจจัยช่วย

ผลักดันเหตุปัจจัยต่างๆ ให้ดำเนินไปตามสายของมันจนเกิดผลสำเร็จ

ถ้าการสร้างเป็นการบันดาลผลได้อย่างพิเศษกว่าการเป็นเหตุปัจจัยช่วย

มนุษย์ก็เพียงอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งแล้วคิดบันดาลให้เรือน หรือ ตึกเกิดขึ้นในที่ปรารถนาตามต้องการ ซึ่งเป็นไป

ไม่ได้

การสร้างจึงมิได้มีความหมายนอกเหนือไปจาการเป็นเหตุปัจจัยช่วยแบบหนึ่ง และในเมื่อสิ่งทั้งหลาย

เป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยต่อเนื่องกันอยู่ตามวิถีของมันเช่นนี้ ปัญหาเรื่องผู้สร้าง ย่อมไม่อาจมีได้

ในตอนใดๆ ของกระบวนการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี การพิจารณาเหตุผลในปัญหาเกี่ยวกับเหตุต้นเค้า และผู้สร้างเป็นต้นนี้ถือว่ามีคุณค่าน้อยใน

พุทธธรรม เพราะไม่มีความจำเป็นต่อการประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในชีวิตจริง แม้ว่าจะช่วยให้เกิด

โลกทัศน์และชีวทัศน์กว้างๆ ในทางเหตุผลอย่างที่กล่าวข้างต้น ก็อาจข้ามไปเสียได้

ด้วยว่า การพิจาณาคุณค่าในทางจริยธรรมอย่างเดียว มีประโยชน์ที่มุ่งหมายคุมถึงอยู่แล้ว



:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ในที่นี้จะพุ่งความสนใจไปในด้านที่เกี่ยวกับชีวิตในทางปฏิบัติเป็นสำคัญ

ดังที่กล่าวไว้แล้ว (ตอนต้นๆ) ว่าชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕

ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕ หรือ อยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕ จะมาเป็นเจ้าของหรือควบคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิต

ดำเนินไป

ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ


ขันธ์ ๕ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท
คือ มีอยู่ในรูปกระแส

แห่งเหตุปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้

มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป

พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก

ส่วนต่างๆ สัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่าง

มีเหตุผล และคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน


ในภาวะเช่นนี้ ขันธ์ ๕ หรือ ชีวิตจึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์คือ

อยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่

อนัตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนได้

ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ

ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้ (ด้วยอวิชชา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.พ. 2010, 18:39, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนการแห่งขันธ์ ๕ หรือ ชีวิต ซึ่งดำเนินไปพร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกขณะ โดยไม่มีส่วน

ที่เป็นตัวตนคงที่อยู่นี้ ย่อมเป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัย ที่สัมพันธ์แก่กันล้วนๆ ตามวิถีทางแห่งธรรมชาติ

ของมัน

แต่ในกรณีของชีวิตมนุษย์บุถุชน ความฝืนกระแสจะเกิดขึ้น โดยที่จะมีความหลงผิดเกิดขึ้น และยึดถือ

เอารูปปรากฏของกระแส หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกระแสว่าเป็นตัวตน และปรารถนาให้ตัวนั้นมีอยู่หรือเป็น

ไปในรูปใดรูปหนึ่ง

ในเวลาเดียวกัน ความเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในกระแสก็ขัดแย้งต่อความปรารถนา เป็นการบีบคั้น

และเร่งเร้าให้เกิดความยึดอยากรุนแรงยิ่งขึ้น

ความดิ้นรนหวังให้มีตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง และให้ตัวตนนั้นเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี

ให้คงที่เที่ยงแท้ถาวรอยู่ในรูปที่ต้องการก็ดี ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น

เมื่อไม่เป็นไปตามที่ยึดอยาก ความบีบคั้นก็ยิ่งแสดงผลเป็นความผิดหวัง ความทุกข์ความคับแค้นรุนแรง

ขึ้นตามกัน พร้อมกันนั้นความตระหนักรู้ในความจริงอย่างมัวๆว่า ความเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นอย่างใด

อย่างหนึ่งแน่นอน และตัวตนที่ตนยึดอยู่อาจไม่มีหรืออาจสูญสลายไปเสีย ก็ยิ่งฝังความยึดอยากให้เหนียวแน่น

ยิ่งขึ้น พร้อมกับความกลัว ความประหวั่นพรั่นพรึง ก็เข้าแฝงตัวร่วมอยู่ด้วยอย่างลึกซึ้งและสลับซับซ้อน

ภาวะจิตเหล่านี้ ก็คือ

อวิชชา ความไม่รู้ตามเป็นจริงหลงผิดว่า มีตัวตน

ตัณหา ความอยากให้ตัวตนที่หลงว่ามีนั้นได้ เป็น หรือไม่เป็นต่างๆ

อุปาทาน ความยึดถือผูกตัวตนในความหลงผิดนั้นไว้กับสิ่งต่างๆ

กิเลสเหล่านี้แฝงลึกซับซ้อนอยู่ในจิตใจ และเป็นตัวคอยบังคับบัญชาพฤติกรรมทั้งหลาย

ของบุคคลให้เป็นไปต่างๆ ตามอำนาจของมัน ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ตลอดจนเป็นตัวหล่อหลอมบุคลิกภาพ

และมีบทบาทสำคัญ ในการชี้ชะตากรรมของบุคคลนั้นๆ

กล่าวในวงกว้าง มันเป็นที่มาแห่งความทุกข์ของมนุษย์บุถุชนทุกคน

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




map11.jpg
map11.jpg [ 67.32 KiB | เปิดดู 5458 ครั้ง ]
โดยสรุป ข้อความที่กล่าวมานี้ แสดงการขัดแย้ง หรือปะทะกันระหว่าง กระบวนการ ๒ ฝ่ายคือ

๑. กระบวนการแห่งชีวิต ที่เป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ อันเป็นกฎธรรมชาติที่แน่นอน คือ อนิจจตา

ทุกขตา อนัตตตา ซึ่งแสดงอาการออกมาเป็น ชาติ ชรา มรณะ ทั้งในความหมายแบบหยาบตื้น และละเอียด

ลึกซึ้ง

๒. ความไม่รู้จักกระบวนการแห่งชีวิตตามความเป็นจริง หลงผิดว่าเป็นตัวตนและเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้

แฝงพร้อมด้วยความกลัวและความกระวนกระวาย


พูดให้สั้นลงไปอีกว่า เป็นการขัดแย้งกันระหว่างกฎธรรมชาติ กับความยึดถือตัวตนไว้ด้วยความหลงผิด

หรือให้ตรงกว่านั้นว่า การเข้าไปสร้างตัวตนขวางกระแสแห่งกฎธรรมชาติไว้


นี่คือชีวิตที่เรียกว่า เป็นอยู่ด้วยอวิชชา อยู่อย่างยึดมั่นถือมั่น อยู่อย่างเป็นทาส อยู่อย่างขัดแย้งฝืนต่อ

กฎธรรมชาติ หรือ อยู่อย่างเป็นทุกข์

การมีชีวิตอยู่เช่นนี้ ถ้าพูดในทางจริยธรรม ตามสมมุติสัจจะ ก็อาจกล่าวได้ว่า เป็นการมีตัวตนขึ้น ๒ ตน

คือ ตัวกระแสแห่งชีวิตที่ดำเนินไปตามกฎธรรมชาติ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย แม้จะไม่มีตัวตน

แท้จริง แต่กำหนดแยกออกเป็นกระแส หรือ กระบวนการอันหนึ่งต่างหากจากกระแสหรือกระบวนการอื่นๆ

เรียกโดยสมมุติสัจจะว่า เป็นตน และใช้ประโยชน์ในทางจริยธรรมได้ อย่างหนึ่ง

กับตัวตนจอมปลอม ที่ถูกคิดสร้างขึ้นยึดถือเอาไว้อย่างมั่นคงด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ดังกล่าวาแล้ว

อย่างหนึ่ง


ตัวตนอย่างแรกที่กำหนดเรียก เพื่อความสะดวกในขั้นสมมุติสัจจะโดยรู้สภาพตามที่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นเหตุ

ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นด้วยความหลงผิด

แต่ตัวตนอย่างหลัง ที่สร้างขึ้นซ้อนไว้ในตัวตนอย่างแรก ย่อมเป็นตัวตนแห่งความยึดมั่นถือมั่น คอยรับ

กระทบกระเทือนจากตัวตนอย่างแรก จึงเป็นที่มาของความทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ม.ค. 2010, 10:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การมีชีวิตอยู่อย่างที่กล่าวข้างต้น นอกจากเป็นการแฝงเอาความกลัวและความกระวนกระวายไว้ในจิตใจ

ส่วนลึกที่สุด เพื่อไว้บังคับบัญชาพฤติกรรมของตนเอง ทำให้กระบวนการชีวิตไม่เป็นตัวของตัวเอง หรือทำ

ตนเองให้ตกเป็นทาสไปโดยไม่รู้ตัวแล้ว ยังแสดงผลร้ายออกมาอีกเป็นอันมาก คือ ทำให้มีความอยากได้

อย่างเห็นแก่ตัว ความแส่หาสิ่งต่างๆ ที่จะสนองความต้องการของตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และยึดอยาก

หวงแหนไว้กับตน โดยไม่คำนึงประโยชน์ของผู้ใดอื่น ( = กามุปาทาน)

ทำให้เกาะเหนี่ยวเอาความคิดเห็น ทฤษฎีหรือทัศนะอย่างใดอย่างหนึ่งมาตีค่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตน

หรือเป็นของตน แล้วกอดรัดยึดมั่นทะนุถนอมความคิดเห็นทฤษฎีหรือทัศนะนั้นๆไว้ เหมือนอย่างป้องกัน

รักษาตนเอง เป็นการสร้างกำแพงขึ้นมากั้นบังตนเองไม่ให้ติดต่อกับความจริง หรือถึงกับหลบตัวปลีกตัว

จากความจริง ทำให้เกิดความกระด้างทื่อๆ ไม่คล่องตัวในการคิดเหตุผลและใช้วิจารณญาณ ตลอดจนเกิด

ความถือรั้น การทนไม่ได้ที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (= ทิฏฐุปาทาน)

ทำให้เกิดความเชื่อ และ การประพฤติปฏิบัติที่งมงายไร้เหตุผลต่างๆ และยึดมั่นในความเชื่อความประพฤติ

เหล่านั้น เพราะรู้เห็นความสัมพันธ์ในทางเหตุผลของสิ่งเหล่านั้นอย่างลางๆ มัวๆ ไม่มีความแน่ใจในตนเอง

แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีความห่วงใยในตัวตนปลอม ที่ตนสร้างขึ้นยึดมั่นถือมั่นไว้ กลัวจะต้องสูญเสียตัวตน

นั้นไป จึงรีบไขว่คว้ายึดฉวยเอาอะไรๆ ที่พอจะหวังได้ไว้ก่อน แม้จะอยู่ในรูปที่ลางๆมืดมัวก็ตาม

(= สีลัพพตุปาทาน)

ทำให้เกิดตัวตนลอยๆ อันหนึ่ง ที่จะต้องคอยยึดคอยถือ คอยแบกเอาไว้ คอยรักษาทะนุถนอมป้องกันไม่ให้

ถูกระทบกระแทกหรือสูญหาย พร้อมกันนั้น ก็กลายเป็นการจำกัดตนเองให้แคบให้ไม่เป็นอิสระ และพลอย

ถูกกระทบกระแทกไปกับตัวตนที่สร้างขึ้นยึดถือแบกไว้นั้นเองด้วย (= อัตตวาทุปาทาน)


โดยนัยนี้ ความขัดแย้ง บีบคั้นและความทุกข์จึงมิได้มีอยู่เฉพาะในตัวบุคคลผู้เดียวเท่านั้น แต่ยังขยายตัว

ออกไปเป็นความขัดแย้ง บีบคั้น และความทุกข์แก่คนอื่นๆ และระหว่างกันในสังคมด้วย

กล่าวได้ว่าภาวะเช่นนี้ เป็นที่มาแห่งความทุกข์ความเดือดร้อนและปัญหาทั้งปวงของสังคม ในฝ่ายที่เกิด

จากการกระทำของมนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักปฏิจจสมุปบาทแบบประยุกต์ แสดงการเกิดขึ้นของชีวิตแห่งความทุกข์ หรือการเกิดขึ้นแห่งการ

(มีชีวิตอยู่อย่าง) มีตัวตน ซึ่งจะต้องมีทุกข์เป็นผลลัพธ์แน่นอน

เมื่อทำลายวงจรในปฏิจจสมุปบาทลง ก็เท่ากับทำลายชีวิตแห่งความทุกข์ หรือทำลายความทุกข์ทั้งหมด

ที่จะเกิดขึ้นจากการ (มีชีวิตอยู่อย่าง) มีตัวตน นี่คือภาวะที่ตรงกันข้าม อันได้แก่ชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา

อยู่อย่างไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน อยู่อย่างอิสระ อยู่อย่างประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ หรืออยู่อย่าง

ไม่มีทุกข์


การมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา หมายถึงการอยู่อย่างรู้เท่าทันสภาวะ และ รู้จักถือเอาประโยชน์

จากธรรมชาติ


การถือเอาประโยชน์จากธรรมชาติได้ เป็นอย่างเดียวกับการอยู่อย่างประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ

การอยู่อย่างประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ เป็นการอยู่อย่างอิสระ

การอยู่อย่างอิสระ ก็คือการไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของตัณหาอุปาทาน หรือ การอยู่อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น

การอยู่อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็คือการมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา หรือ การรู้และเข้าเกี่ยวข้องจัดการกับสิ่ง

ทั้งหลายตามวิถีทางแห่งเหตุปัจจัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ม.ค. 2010, 16:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อควรย้ำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอีกเล็กน้อย

ตามหลักพุทธธรรม ย่อมไม่มีสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ หรือนอกเหนือธรรมชาติ ในแง่ที่ว่ามีอิทธิฤทธิ์

บันดาลความเป็นไปในธรรมชาติได้ หรือแม้ในแง่ที่ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหนึ่งอย่างใดกับความเป็นไป

ในธรรมชาติ

สิ่งใดอยู่นอกเหนือธรรมชาติ สิ่งนั้น ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ คือย่อมพ้นจากธรรมชาติสิ้นเชิง

สิ่งใดเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ สิ่งนั้น ไม่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ แต่ต้องเป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติ

อนึ่ง กระบวนการความเป็นไปทั้งปวงในธรรมชาติ ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีความเป็นไปลอยๆ และไม่มี

การบันดาลให้เกิดขึ้นได้โดยปราศจากเหตุปัจจัย

ความเป็นไปที่ประหลาดน่าเหลือเชื่อ ดูเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ หรืออัศจรรย์ใดๆก็ตาม ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น

และเป็นไปไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น

แต่ในกรณีที่เหตุปัจจัยในเรื่องนั้นสลับซับซ้อน และ ยังไม่ถูกรู้เท่าทัน

เรื่องนั้น ก็กลายเป็นเรื่องประหลาดอัศจรรย์

แต่ความประหลาดอัศจรรย์จะหมดไปทันที เมื่อเหตุปัจจัยต่างๆ ในเรื่องนั้นถูกรู้เท่าทันหมดสิ้น

ดังนั้น คำว่าสิ่งเหนือหรือนอกเหนือธรรมชาติ ตามที่กล่าวมาแล้วจึงเป็นเพียงสำนวนภาษาเท่านั้น ไม่มีอยู่จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว๊าว เผลอแผล็บเดียวจานป้อ...มาถึงนี่แล้ว...
อิ อิ อ่านก่อน อ่านก่อน....ก่อนจะยาวจนตามอ่านไม่ไหว...
เมื่อวานไม่ได้แว๊บเข้ามาทักทายจานป้อ...
มัวแต่ตาลาย...ลายตา... :b20: :b20: กับกระทู้อื่น ๆ .....

:b12: :b16: :b12: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเรื่องมนุษย์กับธรรมชาติ ก็เช่นกัน การที่แยกออกมาเป็นคำต่างหากกันว่า มนุษย์กับธรรมชาติก็ดี

มนุษย์สามารถบังคับควบคุมธรรมชาติได้ก็ดี เป็นเพียงสำนวนภาษา

แต่ตามเป็นจริงแล้ว มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งในธรรมชาติ และการที่มนุษย์ควบคุมบังคับธรรมชาติได้

ก็เป็นเพียงการที่มนุษย์ร่วมเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่ง และ ผลักดันปัจจัยอื่นๆ ในธรรมชาติให้ต่อเนื่องสืบทอด

กันไปจนบังเกิดผลอย่างนั้นๆ ขึ้น

เป็นแต่ในกรณีของมนุษย์นี้มีปัจจัยฝ่ายจิต อันประกอบด้วยเจตนา เข้าร่วมในกระบวนการด้วย

จึงมีการกระทำ และ ผลการกระทำอย่างที่เรียกว่าสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยล้วนๆ ทั้งสิ้น

มนุษย์ไม่สามารถสร้างในความหมายที่ว่าให้มีให้เป็นขึ้นลอยๆ โดยปราศจากการเป็นเหตุปัจจัยกัน

ตามวิถีทางของมัน

ที่ว่า มนุษย์บังคับควบคุมธรรมชาติได้ ก็คือการที่มนุษย์รู้เหตุปัจจัยต่างๆ ที่จะเป็นกระบวนการให้เกิดผล

ที่ต้องการแล้ว จึงเข้าร่วมเป็นปัจจัยผลักดันปัจจัยต่างๆ เหล่านั้น ให้ต่อเนื่องสืบทอดกันจนเกิดผลที่ต้องการ

ขั้นตอนในเรื่องนี้ มี ๒ อย่าง

อย่างที่ ๑ คือ รู้

จากนั้น จึงมีอย่าง หรือ ขั้นที่ ๒ คือ เป็นปัจจัยให้แก่ปัจจัยอื่นๆต่อๆกันไป


ใน ๒ อย่างนี้ อย่างที่สำคัญและจำเป็นก่อน คือ ต้องรู้ ซึ่งหมายถึงปัญญา

เมื่อรู้ หรือ มีปัญญาแล้ว ก็เข้าร่วมในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย อย่างที่เรียกว่าจัดการให้เป็นไปตาม

ประสงค์ได้

การเกี่ยวข้องจัดการกับสิ่งทั้งหลายด้วยความรู้หรือปัญญาเท่านั้น จึงจะชื่อว่าเป็นการถือเอาประโยชน์

จากธรรมชาติได้ หรือ จะเรียกตามสำนวนภาษาก็ว่า สามารถบังคับควบคุมธรรมชาติได้

และเรื่องนี้ มีหลักการอย่างเดียวกัน ทั้งในกระบวนการฝ่ายรูปธรรม และ นามธรรม หรือ ทั้งฝ่ายจิต

และ ฝ่ายวัตถุ


ฉะนั้น ที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า การถือเอาประโยชน์จากธรรมชาติได้ เป็นอย่างเดียวกับการอยู่อย่างประสาน

กลมกลืนกับธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงของการเป็นเหตุปัจจัยแก่กันตามกฎธรรมดานี่เอง


จะพูดเป็นสำนวนภาษาว่า สามารถบังคับควบคุมธรรมชาติฝ่ายนามธรรมได้ ควบคุมจิตใจของตนได้

ควบคุมตนเองได้ ก็ถูกต้องทั้งสิ้น

ดังนั้น การมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ทั้งในฝ่ายรูปธรรม และ นามธรรม ที่จะช่วยให้มนุษย์

ถือเอาประโยชน์ได้ทั้งจากกระบวนการฝ่ายจิต และ กระบวนการฝ่ายวัตถุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร