วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ย. 2024, 01:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
การที่จะพูดความจริง หรือการที่จะไม่พูดความจริงนั้น (ไม่พูดแต่ไม่โกหก)
อยู่ที่ว่าการที่จะพูดหรือไม่พูด อย่างไหนจะมีประโยชน์มากกว่ากัน

:

อาชีพแพทย์ เขามีจรรยาบรรณ แพทย์ไม่มีสิทธิที่จะเลือกที่จะพูดหรือไม่พูด
สิทธิทั้งหมดทั้งปวงอยู่ที่คนไข้ถ้าคนไข้ยังมีสติรับรู้ แต่ถ้าคนไข้ไม่มีสติรับรู้
สิทธิทั้งหมดไปตกอยู่ที่ญาติครับ แพทย์มีน่าที่ตอบตามความจริงทุกอย่างที่
คนไข้ต้องการรู้ห้ามปิดบังครับ (แต่ก็มีกรณีย์บางโรคแพทย์ต้องได้รับความยินยอม
จากคนไข้ก่อน จึงจะบอกได้เช่น เอดท์)
......ฉะนั้นถ้าจะดูเรื่องโกหกหรือไม่ ไม่ได้ดูตรงที่หมอจะพูดหรือไม่
เพราะหมอไม่สามารถปฏิเสธได้อยู่แล้ว เราต้องดูช่วงคนไข้รู้แล้วเป็นโรคอะไร ดูตอนหมอ
แนะนำคนไข้ในการดูแลตัวเอง และในนั้นจะมีการให้กำลังใจสอดแทรกอยู่เสมอ
........กำลังใจที่หมอให้กับคนไข้ประเด็นนี้แหละครับ ท่านว่าเป็นมุสาหรือพรหมวิหารครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
อย่างไรก็ตาม หมออาจบอกความจริงให้ญาติของคนไข้ได้ทราบแทนก็ได้
เพื่อประโยชน์ของคนไข้เอง


เช่น ญาติจะได้แนะนำให้คนไข้ทำพินัยกรรมแบ่งสมบัติให้แก่ทายาท
หรือถ้าหากคนยังรับราชการอยู่
ญาติอาจแนะนำให้คนไข้ทำเรื่องขอลาออกจากราชการ
และขอรับบำเหน็จเป็นเงินก้อนใหญ่
ดีกว่าจะรอรับบำนาญ
ซึ่งไม่แน่ว่าจะมีอายุจนถึงอายุเกษียณราชการหรือไม่

:b43: :b43: :b43:

เอวังด้วยประการฉะนี้....ค่ะ
และขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความเห็นมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
:b8:

ผมไม่คิดเลยนะว่า คุณจะออกความเห็นมาในลักษณะที่ ไม่รับผิดชอบแบบนี้
ดันออกความเห็นมาได้ ให้ญาติคนไข้แนะนำคนไข้ทำพินัยกรรม แทนที่หมอ
จะบอกคนไข้เองแล้วแนะนำการดูแลสุขภาพกายและจิต จะได้ยืดเวลาออกไปได้

.......นี้ให้ญาติบอกให้ทำพินัยกรรม อย่างนี้คนไข้ไม่เป็นทุกข์ทั้งกายและใจหรือ
ที่มาเห็นญาติแสดงความงกจนออกนอกหน้า มันไม่ทำให้คนไข้ไปเร็วก่อนกำหนดรึ

.......แล้วเรื่องบำเหน็จบำนาญถ้าไม่มีความรู้ ก็ไม่ต้องแสดงความเห็นก็ได้ครับ
คนไข้ถ้าเป็นข้าราชการเมื่อตายก่อนเกษียณ ญาติของคนไข้ก็มีสิทธิรับบำเหน็จ
นะครับ แล้วไอ้บำเหน็จนี้นะเขาคิดตามอายุการทำงานนะครับ คุณคิดว่าฉลาด
แล้วหรือครับที่แนะนำให้รีบลาออกนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6:
จรรยาบรรณ เป็นโลกบัญญัติ
เป็นปกติที่กระแสโลกจะแย้งกับพุทธธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้น่าคิดนะ

มีคนสองคน ทำงานที่เดียวกัน เป็นหัวหน้าคนทั้งคู่
แต่ไม่ถูกกันอย่างมาก
ต้องคอยปั้นหน้าทำดีประพฤติดีต่อกัน ไหว้กัน

ลูกน้องกลุ่มหนึ่งก้ว่า ดัดจริต ปั้นหน้า เสแสร้งใส่กัน
ใจอย่างหนึ่ง แสดงออกอย่างหนึ่ง ปากไม่ตรงกับใจ น่ารังเกียจ

อีกกลุ่มหนึ่งกลับว่า ดี มืออาชีพ ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาปนกับงาน
สมเป้นหัวหน้าคน เป้นผู้ใหญ่ ให้คนเอาตัวอย่าง

ผมว่าดีออกที่เราพยามปั้นหน้าดีๆใส่กัน
พยามดัดจริตให้มันดีๆใส่กัน ประสงค์จะแผ่ความรู้สึกดีๆต่อกัน
หวังดี ประสงค์ดีใส่กัน

ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง กับคำว่า "ปากปราศัย น้ำใจเชือดคอ"
มันเป้นหวังร้าย ประสงค์ร้าย แถมแอบแฝงเป็นลูกอมไส้ยาพิษ
แบบพูดหวานๆเพื่อหลอกลวงเอาประโยชน์ หรือทำลายกัน
ซึ่งผมเชื่อว่าพวกเราคงไม่ใช่อย่างนั้นแน่นอนนะครับ

เรื่องลิ้นกับฟัน มันก้มีบ้าง ตึงๆ ปริๆ ใส่กันบ้าง ก็เป้นธรรมดา
พอหอมปากหอมคอ แก้เสี้ยนพอขำๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
:b6:
จรรยาบรรณ เป็นโลกบัญญัติ
เป็นปกติที่กระแสโลกจะแย้งกับพุทธธรรม

จรรยาบรรณหรือแม้กระทั้งกฎหมาย หลักของการบัญญัติ
จะต้องยึดหลักที่ว่าจะต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมและจารีตประเพณีอันดีงามครับ
แต่บางครั้งจรรยาบรรณหรือกฎหมายดูเหมือนขัดกับศีลธรรม ก็เนื่องด้วยผู้ที่ใช้จงใจด้วย
กลวิธีอันไม่ชอบ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงศีลธรรม ก็เหมือนกับการถกกันถึง
ฆ่าสัตว์บาป แต่ไปซื้อเนื้อสัตว์มากินจะบาปมั้ย

......ความหมายของศีลคือความปกติ จรรยาบรรณเมื่อบัญญัติโดยอาศัยศีลธรรมเป็นแม่แบบ
ยามใดที่ทำให้ผิดหรือไม่กระทำ ให้ผิดปกติไปจากจรรยาบรรณที่กำหนดไว้เท่ากับผิดศีล

.....อย่างเช่นกรณีย์ของหมอ ถ้าหมอมีจรรยาบรรณกำหนดไว้ว่า
จะต้องตอบคนไข้ไปตามความจริงเมื่อคนไข้ถาม แต่หมอเลือกที่จะไม่ตอบคนไข้
เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธคนไข้ นี้แสดงว่าหมอขาดจรรยาบรรณไปแล้ว และการที่หมอ
แสดงการไม่ตอบคนไข้ คืออาการของการปกปิดความจริง ตามความเห็นผมมันผิดศีล
ข้อมุสาครับ


......ดูกันง่ายๆเลยนะครับว่า ตัวเองรู้และมีหน้าที่จะต้องบอก
แต่กลับไม่บอก มันสำคัญตรงมีหน้าที่จะต้องบอกนี้แหละครับ


.......ส่วนผลที่จะตามมาหลังจากนั้นมันเป็นคนละเรื่อง แต่มันก็มีวิธีแก้แล้วแต่เหตุการณ์
และธรรมที่นำมาปฏิบัติควบคู่ก็ต้องเปลี่ยนไปตามสภาวะเหตุนั้นๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


TAKSA เขียน:
จรรยาบรรณหรือแม้กระทั้งกฎหมาย หลักของการบัญญัติ
จะต้องยึดหลักที่ว่าจะต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมและจารีตประเพณีอันดีงามครับ
แต่บางครั้งจรรยาบรรณหรือกฎหมายดูเหมือนขัดกับศีลธรรม ก็เนื่องด้วยผู้ที่ใช้จงใจด้วย
กลวิธีอันไม่ชอบ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงศีลธรรม ก็เหมือนกับการถกกันถึง
ฆ่าสัตว์บาป แต่ไปซื้อเนื้อสัตว์มากินจะบาปมั้ย
......ความหมายของศีลคือความปกติ จรรยาบรรณเมื่อบัญญัติโดยอาศัยศีลธรรมเป็นแม่แบบ
ยามใดที่ทำให้ผิดหรือไม่กระทำ ให้ผิดปกติไปจากจรรยาบรรณที่กำหนดไว้เท่ากับผิดศีล

.....อย่างเช่นกรณีย์ของหมอ ถ้าหมอมีจรรยาบรรณกำหนดไว้ว่า
จะต้องตอบคนไข้ไปตามความจริงเมื่อคนไข้ถาม แต่หมอเลือกที่จะไม่ตอบคนไข้
เท่ากับว่าเป็นการปฏิเสธคนไข้ นี้แสดงว่าหมอขาดจรรยาบรรณไปแล้ว และการที่หมอ
แสดงการไม่ตอบคนไข้ คืออาการของการปกปิดความจริง ตามความเห็นผมมันผิดศีล
ข้อมุสาครับ

......ดูกันง่ายๆเลยนะครับว่า ตัวเองรู้และมีหน้าที่จะต้องบอก
แต่กลับไม่บอก มันสำคัญตรงมีหน้าที่จะต้องบอกนี้แหละครับ

.......ส่วนผลที่จะตามมาหลังจากนั้นมันเป็นคนละเรื่อง แต่มันก็มีวิธีแก้แล้วแต่เหตุการณ์
และธรรมที่นำมาปฏิบัติควบคู่ก็ต้องเปลี่ยนไปตามสภาวะเหตุนั้นๆครับ


:b43: :b43: :b43:

ธรรมสวัสดีค่ะคุณ TAKSA คุณน้องชาติสยาม และทุกท่าน :b8:

ขออภัยหากการสื่อสารของกุหลาบสีชาไม่เคลียร์
จนทำให้ คุณ TAKSA เข้าใจคลาดเคลื่อน

ด้วยความเคารพในจรรยาบรรณของทุกวิชาชีพ
กุหลาบสีชาเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้น


จริงอยู่คนไข้มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรับรู้อาการของตนเองตามหลักจรรยาบรรณแพทย์
ดังข้อความที่ยกมานี้

จรรยาบรรณแพทย์ (อังกฤษ: medical ethics)
เป็นส่วนหนึ่งของจริยศาสตร์ประยุกต์ (applied ethics)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์ (Ethics) ในวิชาปรัชญา (Philosophy)

วิชานี้นำเสนอวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานหลักจริยธรรมว่าแพทย์และพยาบาล
ควรปฏิบัติต่อคนใข้อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม
แต่ละประเทศก็จะมีองค์ความรู้ในสาขานี้แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง
องค์ความรู้ที่ตกผลึกในสังคมตะวันตกนั้น
ได้แนะนำให้ผู้อยู่ในสาขาแพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังต่อไปนี้

เน้นประโยชน์ผู้ป่วยสูงสุด (beneficence)
• สิ่งที่จะทำต้องเน้นไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายใดๆ เพิ่มขึ้น (Non-maleficence
)
• ผู้ป่วยมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะรู้สาเหตุและอาการป่วยของตัวเอง
และเลือกวิธีรักษาตามความเหมาะสม (Autonomy)
การรักษาต้องอาศัยความบริสุทธิ์ยุติธรรมไปตามสมุฏฐานโรค
ของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างแท้จริง (Justice)

• ทั้งผู้รักษาหรือผู้ดูแลพยาบาลและคนไข้ต่างมีเกียรติ
และสมควรได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างมีเกียรติ (dignity)
แพทย์และพยาบาลต้องไม่ปิดอาการป่วยต่อผู้ป่วย
และควรให้ผู้ป่วยรับรู้ความหนักเบาของอาการป่วยตามความจริง
แต่ทั้งนี้ ต้องดูความเหมาะสมอย่างอื่นประกอบ
เช่น สภาพจิตผู้ป่วยด้วย (Truthfulness and Honesty)


นอกจากหลักปฏิบัติเหล่านี้แล้ว ผู้บรรยายวิชานี้
จะนำองค์ความรู้จากศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เห็นว่าคล้ายคลึง
หรือแตกต่างจากองค์ความรู้ในประเทศตะวันตกอย่างไร
เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุดจากการดูแลรักษาของแพทย์


(คัดลอกบางตอนมาจาก : จรรยาบรรณทางการแพทย์ วิกีพีเดีย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88% ... 2%E0%B9%8C)

แต่สำหรับกรณีดังที่กุหลาบสีชายกมานั้น
นับเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาความเหมาะสมอื่นๆประกอบด้วย (หรือไม่)

ดังนั้นกรณีนี้ จึงมิได้หมายความว่า
แพทย์จงใจปฏิบัติตนให้ผิดต่อจรรยาบรรณแพทย์
และมีเจตนามุสาคือปิดบังความจริง
เพียงแต่ชะลอเวลายังไม่บอกความจริงแก่คนไข้โดยตรงในขณะนั้น
เพื่อทอดเวลาให้คนไข้ได้ทำใจ
เพราะเห็นว่าหากบอกโดยตรงในขณะนั้น
จะเกิดโทษมากกว่าเกิดประโยชน์
จึงบอกอาการตามความจริงแก่ญาติก่อนแทน


โปรดอย่าลืมความจริงประการนึงว่า

คนไข้แต่ละคนมีสภาพความเข้มแข็งของจิตใจที่จะยอมรับความจริงได้ไม่เท่ากัน
และเรื่องนี้ ผู้ที่รู้จักผู้ป่วย ผู้ที่จะทำหน้าที่ปลอบโยนได้ดีที่สุดก็คือ
ก็คือญาติสนิทของคนไข้เอง..มิใช่คุณหมอ


อย่างไรก็ตาม
กรณีเช่นนี้ก็มิได้หมายความหมายแพทย์จะเลยไม่ดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้กำลังใจ
และไม่รักษาตามสมมติฐานของโรค
เพราะหากทำเช่นนั้นย่อมผิดและขัดต่อหลักจรรยาบรรณแพทย์แน่นอน

ตามความเห็นของกุหลาบสีชากรณีนี้จึงไม่ได้เข้าข่ายมุสา
เพราะมุสาคือการมีเจตนาบิดเบือนความเป็นจริง ไม่ได้ปิดบังความเป็นจริง
เช่น รู้อยู่ว่าเป็นมะเร็งแต่บอกว่าไม่ได้เป็น
หรือบอกสมมติฐานของโรคคลาดเคลื่อนทั้งที่รู้อยู่ว่าไม่จริง


เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม
อย่างไรเสียโดยจรรยาบรรณคุณหมอก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องบอก
และถึงแม้คนไข้จะยังไม่ทราบความจริงจากคุณหมอ
แต่ก็อาจคาดเดาโดยสันนิษฐานจากการบำบัดรักษาได้ไม่ยากจริง
ยกตัวอย่าง หากคุณหมอวินิจฉัยให้คนไข้ทำเคมีบำบัด
จะมีคนไข้คนไหนไม่ทราบบ้างว่าตนเองกำลังเป็นโรคร้าย
(ซึ่งจริงๆแล้วไม่ควรให้ล่วงเลยไปถึงขนาดนี้) :b1:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


นอกจากนี้ กรณีที่กุหลาบสีชาให้ความเห็นมาก่อนหน้านี้
จึงมิได้ยกมาอย่างเลื่อนลอย
แต่ยกมาจากประสบการณ์ที่พบเจอด้วยตนเอง

เมื่อสามเดือนก่อนตัวเองได้มีโอกาสไปเยี่ยมเพื่อนรุ่นน้องที่เป็นมะเร็งลำไส้ขั้น ๓
ซึ่งลามไปต่อมน้ำหลืองแล้วที่รพ. รัฐที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งแถวสามย่าน
เธอแต่งงานแล้ว กำลังมีลูกเล็ก และเพิ่งย้ายไปบ้านใหม่หลังงาม
ชีวิตครอบครัวกำลังมีความสุข ชีวิตการงานกำลังรุ่งโรจน์

ตอนที่กุหลาบสีชารู้ข่าวขณะนั้น
ก็เป็นเวลาที่ตัวเธอเองยังไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นอะไร
แต่บรรดาญาติพี่น้องและมิตรสหายสนิทพากันทราบกันแล้ว
เพราะคุณหมอยังชลอไม่บอกความจริงแก่เธอโดยตรง


แต่คุณหมอได้ปรึกษากับญาติของเธอก่อน
โดยได้บอกความจริงแก่สามีและคุณแม่ของเธอให้ได้ทราบ
ทันที่ตรวจพบสมมติฐานของโรค
เพื่อที่จะรู้วิธีปฏิบัติตัวและดูแลเธอในเวลาที่เหลืออยู่ให้ดีที่สุด
แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณหมอก็บอกความจริงแก่เธอเอง

ปัจจุบันเธอเตรียมตัวเผชิญกับความตายได้อย่างไม่หวั่นไหว
โรคร้ายทำให้คนที่มีโทสะเป็นเจ้าเรือนเช่นเธอ สุขุม สงบ และมีสติมากขึ้น
มีความตั้งใจที่จะเขียนหนังสือถ่ายทอดองก์ความรู้
ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของเธอที่หาได้ยากในแวดวงวิชาชีพนั้น
เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ร่วมเรียนรู้และสืบสาน


อย่างไรก็ตาม...หลังจากที่ผ่านการทำเคมีบำบัดไปแล้วหลายครั้ง
ดูเหมือนอาการจะดีจึ้นตามลำดับ
แต่ล่าสุด..เท่าที่ทราบ
ตอนนี้มะเร็งกำลังลามไปที่ตับและปอดหมดแล้ว :b7:

ส่วนประเด็นของการแจ้งแก่ญาติคนไข้ให้เตรียมทำพินัยกรรมนั้น
โดยส่วนตัวกุหลาบสีชามีความเห็นว่า

หากพิจารณาให้ดีแล้ว การแนะนำเช่นนี้....
น่าจะเป็นการวางแผนเตรียมการเพื่อความประมาทอย่างรอบคอบมากกว่า
เป็นการไม่ทิ้ง หรือสร้างปัญหาไว้ให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่อันเนื่องจากตน
(ถ้ารู้ว่า หากไม่ทำแล้วจะเป็นปัญหาแน่นอน)
แต่จะแนะนำอย่างไร อันนี้ขึ้นอยู่วาทศิลป์ของผู้แนะนำ


และสุดท้าย ประเด็นของบำเหน็จบำนาญนั้น
ขอให้ คุณ TAKSA ลองศึกษาให้ถี่ถ้วน
ถึงความหมายและสิทธิของการรับบำเหน็จ บำนาญ และบำเหน็จตกทอดของข้าราชการอีกครั้ง
(จริงอยู่ แม้นกุหลาบสีชาเองไม่ได้รับราชการ
แต่ก็สอบถามข้อมูลมาจากคุณแม่และญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวของเรา
ซึ่งรับราชการมาหลายชั่วอายุคนแล้ว)
:b12:

http://www.ocsc.go.th/ocsccms/uploads/File/pension.pdf

TAKSA เขียน:
“ธรรมที่นำมาปฏิบัติควบคู่ก็ต้องเปลี่ยนไปตามสภาวะเหตุนั้นๆครับ”


อันนี้เห็นด้วยและถูกต้องค่ะ

โดยเฉพาะการนำเอา พรหมวิหาร ๔ มาสนับสนุน

พรหมวิหาร ๔ เป็นคุณธรรมที่ช่วยค้ำจุนให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
เป็นการอบรมสั่งสมคุณภาพจิตให้พัฒนาความเข้มข้นในระดับที่สูงขึ้น


ดังนั้นการนำเอาธรรมข้อนี้มาสนับสนุนให้กรณีมิผิด หรือขัดข้อธรรมเลย
เพราะโดยพื้นฐานของผู้มีอาชีพแพทย์
ย่อมเป็นที่คาดหวังกับสังคมในฐานะพ่อพระ หรือแม่พระที่มีจิตเมตตากรุณา
ช่วยบำบัดทุกข์ทางกายให้คนไข้เสมอทั้งโดยปณิธานและหน้าที่ของตน
ถึงแม้ไม่มีจรรยาบรรณของแพทย์มากำหนดเป็นกรอบไว้ก็ตาม

แต่....การมีเมตตา และกรุณา ที่มักจะมาคู่กันนั้น
ก็จะต้องกอปรไปด้วยปัญญาด้วยเช่นกันเสมอ
เมตตาและกรุณาจึงเกิดประโยชน์สมดังเจตนาของผู้ให้


เพราะพรหมวิหารทั้ง ๔ ข้อ นั้น
เปรียบได้กับบ้านทั้งหลัง เป็นเรือนใจของคนดีทั้งโลก

เมื่อเวลาง่วง เราก็ไปนอนที่ห้องนอน
เมื่อเวลาหิว ก็เข้าครัวหาสำรับกับข้าว
เมื่อเวลาปวดท้องหนักเบา ก็เข้าห้องน้ำ
แต่การใช้บ้านทั้งหลังอาจจะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่จำเป็น
เช่น ทานข้าวในห้องนอนได้ เมื่อยามเจ็บป่วย

ที่สำคัญควรยึดหลักไว้ว่า
ต้องได้รับประโยชน์จากการใช้เช่นนั้นโดยที่ไม่มีผู้ใดเดือดร้อน


ท้ายสุดมีคำกล่าวที่เคยอ่านพบมาฝากทุกท่านว่า

วิชชาทางโลกก็ใช้แก้ปัญหาทางโลก ไม่อาจแก้ปัญหาทางธรรมได้ทั้งหมด
แต่วิชชาทางธรรมนั้น ใช้แก้ปัญหาสำหรับทางโลกและทางธรรมได้เสมอ
เพราะธรรมแท้คือของจริง และความจริงก็ยังตั้งมั่นอยู่ในโลกนั้นเอง

ฉะนั้นหากเรารู้จักบริหารธรรม
ไม่ว่าเมื่อใด “โลกก็ไม่ช้ำ ธรรมก็ไม่เสีย”


เจริญในธรรมค่ะ....ทุกท่าน :b8: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ชาติสยาม เขียน:
อันนี้น่าคิดนะ

มีคนสองคน ทำงานที่เดียวกัน เป็นหัวหน้าคนทั้งคู่
แต่ไม่ถูกกันอย่างมาก
ต้องคอยปั้นหน้าทำดีประพฤติดีต่อกัน ไหว้กัน

ลูกน้องกลุ่มหนึ่งก้ว่า ดัดจริต ปั้นหน้า เสแสร้งใส่กัน
ใจอย่างหนึ่ง แสดงออกอย่างหนึ่ง ปากไม่ตรงกับใจ น่ารังเกียจ

อีกกลุ่มหนึ่งกลับว่า ดี มืออาชีพ ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาปนกับงาน
สมเป้นหัวหน้าคน เป้นผู้ใหญ่ ให้คนเอาตัวอย่าง

ผมว่าดีออกที่เราพยามปั้นหน้าดีๆใส่กัน
พยามดัดจริตให้มันดีๆใส่กัน ประสงค์จะแผ่ความรู้สึกดีๆต่อกัน
หวังดี ประสงค์ดีใส่กัน

ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง กับคำว่า "ปากปราศัย น้ำใจเชือดคอ"
มันเป้นหวังร้าย ประสงค์ร้าย แถมแอบแฝงเป็นลูกอมไส้ยาพิษ
แบบพูดหวานๆเพื่อหลอกลวงเอาประโยชน์ หรือทำลายกัน
ซึ่งผมเชื่อว่าพวกเราคงไม่ใช่อย่างนั้นแน่นอนนะครับ

เรื่องลิ้นกับฟัน มันก้มีบ้าง ตึงๆ ปริๆ ใส่กันบ้าง ก็เป้นธรรมดา
พอหอมปากหอมคอ แก้เสี้ยนพอขำๆ


:b8: :b8: :b8:

สาธุด้วยค่ะคุณน้องที่มาเตือนสติกัน :b8: :b4:

โดยส่วนตัวมีความเห็นว่า
หากเป็น "มืออาชีพ" จริง
ไม่จำเป็นต้องปั้นหน้ากันหรอก
ก็มีปฏิสัมพันธ์กันไปตามสมควรด้วยจิตเมตตา
ตามหน้าที่ของเพื่อนร่วมงาน
ตามหน้าที่ของเพื่อนผู้ร่วมอยู่ในวัฏสงสาร.... :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
TAKSA เขียน:
......ดูกันง่ายๆเลยนะครับว่า ตัวเองรู้และมีหน้าที่จะต้องบอก
แต่กลับไม่บอก มันสำคัญตรงมีหน้าที่จะต้องบอกนี้แหละครับ

.......ส่วนผลที่จะตามมาหลังจากนั้นมันเป็นคนละเรื่อง แต่มันก็มีวิธีแก้แล้วแต่เหตุการณ์
และธรรมที่นำมาปฏิบัติควบคู่ก็ต้องเปลี่ยนไปตามสภาวะเหตุนั้นๆครับ



ขออภัยหากการสื่อสารของกุหลาบสีชาไม่เคลียร์
จนทำให้ คุณ TAKSA เข้าใจคลาดเคลื่อน

จริงอยู่คนไข้มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรับรู้อาการของตนเองตามหลักจรรยาบรรณแพทย์
ดังข้อความที่ยกมานี้


วิชานี้นำเสนอวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานหลักจริยธรรมว่าแพทย์และพยาบาล
ควรปฏิบัติต่อคนใข้อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม
แต่ละประเทศก็จะมีองค์ความรู้ในสาขานี้แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง
องค์ความรู้ที่ตกผลึกในสังคมตะวันตกนั้น
ได้แนะนำให้ผู้อยู่ในสาขาแพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังต่อไปนี้

แพทย์และพยาบาลต้องไม่ปิดอาการป่วยต่อผู้ป่วย
และควรให้ผู้ป่วยรับรู้ความหนักเบาของอาการป่วยตามความจริง
แต่ทั้งนี้ ต้องดูความเหมาะสมอย่างอื่นประกอบ
เช่น สภาพจิตผู้ป่วยด้วย (Truthfulness and Honesty)


แต่สำหรับกรณีดังที่กุหลาบสีชายกมานั้น
นับเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาความเหมาะสมอื่นๆประกอบด้วย (หรือไม่)
(มีต่อ)

คุณกุหลาบครับ ผมเข้าใจในคำพูดคุณดีตั้งแต่ต้นแล้วครับ ถึงแม้คุณจะอธิบายเสริมมาอีก
มันก็เป็นไปตามที่ผมคิดไว้แต่แรก คือไม่เห็นด้วย ก่อนที่จะอธิบายความผมขอให้คุณกุหลาบ
ทำตัวให้เหมือนว่าเราเป็นคนไข้ผู้นั้น และอย่าได้ไปคิดแทนคนไข้ เพราะอารมณ์ของคนอื่น
ย่อมไม่เหมือนกัน(พูดถึงอารมณ์นะครับไม่ใช้การรับรู้) สิ่งสำคัญเราต้องอยู่กับความเป็นจริง อย่าคิดเอง เออเอง
เพราะเรากำลังพูดถึงชีวิตจริงกันอยู่ไม่ใช้หนังหรือลคร ซึ่งบทนั้นขึ้นอยู่กับผู้กำกับ บางครั้งอาจตัด
ทอนบทไปโดยให้คนดูคิดเอาเอง แต่ในความเป็นจริงทำอย่างนั้นไม่ได้ครับ


.....ดังที่ผมได้กล่าวมาแต่ต้นว่าคนไข้มีสติที่จะรับรู้(แถมได้สำทับไปอีกว่าได้ถามหมอ
แต่ไม่จำต้องถามหมอก็ต้องบอก ถ้าเรามีสติรับรู้)และจรรยาแพทย์ หมอมีหน้าที่โดยตรง
ที่ต้องบอกอาการคนไข้ ที่ผมกล่าวมามันก็ถูกต้องทุกขบวนความแล้วนี่ครับ

คุณลองไปเปรียบเทียบดูกับจรรยาแพทย์ที่คุณยกมาอ้างซิครับ

....อีกอย่างครับถ้าคุณจะแย้งเรื่องสภาพจิตของผู้ป่วย คุณลองอธิบายมาได้นะครับ ว่ามันเกินไปจากสภาพมีสติรับรู้อย่างไร


แก้ไขล่าสุดโดย TAKSA เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 05:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
[
โปรดอย่าลืมความจริงประการนึงว่า

คนไข้แต่ละคนมีสภาพความเข้มแข็งของจิตใจที่จะยอมรับความจริงได้ไม่เท่ากัน
และเรื่องนี้ ผู้ที่รู้จักผู้ป่วย ผู้ที่จะทำหน้าที่ปลอบโยนได้ดีที่สุดก็คือ
ก็คือญาติสนิทของคนไข้เอง..มิใช่คุณหมอ


ผมย้ำหนักย้ำหนาว่าให้เราอยู่กับความเป็นจริง คุณพูดถึงสภาพจิตของคนไข้
แล้วทำไมไม่คิดในมุมกลับกันว่า คนไข้ที่เรากล่าวถึงไม่ใช้เด็กทารกหรือคนแก่ที่หลงๆลืมๆ
.....ในความเป็นจริงแล้วนั้น คนที่ไปหาหมอตรวจร่างกายหาสาเหตุแห่งโรค ย่อมต้องการทราบ
ผลด้วยกันทุกคน ผมเคยพาผู้ใหญ่ไปตรวจสุขภาพที่สภากาชาด หมอนัดให้มาฟังผลวันหลัง
คุณรู้ไหมครับว่า ผู้ใหญ่ท่านนั้นกระวนกระวายแค่ไหน คิดไปต่างๆนาๆ กลัวเป็นโน้นเป็นนี้
เรียกว่าไม่มีความสุขก็แล้วกัน

......ใช้ครับญาติสนิทของคนไข้ต้องทำหน้าที่ปลอบโยน อยู่เคียงข้างให้กำลังใจกันไป
แต่เรื่องของอาการของโรค แพทย์จะต้องเป็นผู้บอกกับคนไข้โดยตรงนะครับ
จะได้อธิบายถึงโรคและวิธีการใช้ชีวิตดูแลตัวเอง
คิดดูดีๆนะครับ เรื่องโรคหมอกับญาติ
คนไข้เลือกที่จะเชื่อใคร ต่อให้คนไข้รู้จากญาติ คนไข้ก็ต้องมาคาดขั้นเอาความจริงกับหมออีกที
กุหลาบสีชา เขียน:
[ดังนั้นกรณีนี้ จึงมิได้หมายความว่า
แพทย์จงใจปฏิบัติตนให้ผิดต่อจรรยาบรรณแพทย์
และมีเจตนามุสาคือปิดบังความจริง
เพียงแต่ชะลอเวลายังไม่บอกความจริงแก่คนไข้โดยตรงในขณะนั้น
เพื่อทอดเวลาให้คนไข้ได้ทำใจ
เพราะเห็นว่าหากบอกโดยตรงในขณะนั้น
จะเกิดโทษมากกว่าเกิดประโยชน์
จึงบอกอาการตามความจริงแก่ญาติก่อนแทน


อันนี้คุณมาเพิ่มเติมเองที่หลังครับ ตอนแรกที่คุยกัน
มันเป็นเรื่องที่บอกว่า หมอไม่บอกความจริงคนไข้จะมุสาหรือไม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
ตามความเห็นของกุหลาบสีชากรณีนี้จึงไม่ได้เข้าข่ายมุสา
เพราะมุสาคือการมีเจตนาบิดเบือนความเป็นจริง ไม่ได้ปิดบังความเป็นจริง
เช่น รู้อยู่ว่าเป็นมะเร็งแต่บอกว่าไม่ได้เป็น
หรือบอกสมมติฐานของโรคคลาดเคลื่อนทั้งที่รู้อยู่ว่าไม่จริง


[/color] :b1:

ผมก็บอกแล้วไงครับว่า การนำธรรมมาใช้กับชีวิตจริง เราต้องพิจารณาธรรมนั้นควบคู่ไปด้วย
ถ้าเรานำธรรมมาใช้ตรงตัวตามหัวข้อธรรมเลย แล้วเราจะหาเหตุหาผลจากธรรมอันนั้นได้อย่างไร
กันครับ อย่าลืมนะครับศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและผล

......อย่างในกรณีย์ของหมอตั้งแต่เริ่มแรก ผู้ที่ถามๆว่าปฏิเสธไม่ตอบความจริง
ผิดข้อมุสามั้ย ถ้าเราดูดีๆการสื่อสารไม่จำเป็นต้องออกมาเป็นคำพูดเสมอไปนะครับ อากัปกิริยาต่างๆ
ก็สามารถ สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดได้นะครับ
......เรามาดูกรณีย์ของหมอ ในจรรยาบรรณหมอเน้นไว้เลยว่ามีหน้าที่ต้องบอกคนไข้ตามความจริง

ความจริงของหมอในส่วนนี้คือ หน้าที่ๆต้องบอกคนไข้ ที่มีสติรับรู้ได้ ถ้าหมอปฏิเสธหน้าที่ๆที่ต้องบอกความจริงเท่ากับหมอกำลังมุสาครับ
กุหลาบสีชา เขียน:
เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม
อย่างไรเสียโดยจรรยาบรรณคุณหมอก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องบอก
และถึงแม้คนไข้จะยังไม่ทราบความจริงจากคุณหมอ
แต่ก็อาจคาดเดาโดยสันนิษฐานจากการบำบัดรักษาได้ไม่ยากจริง
ยกตัวอย่าง หากคุณหมอวินิจฉัยให้คนไข้ทำเคมีบำบัด
จะมีคนไข้คนไหนไม่ทราบบ้างว่าตนเองกำลังเป็นโรคร้าย
(ซึ่งจริงๆแล้วไม่ควรให้ล่วงเลยไปถึงขนาดนี้) :b1:

ถ้าเป็นแบบนี้ที่เมืองนอกผมว่าหมอนั่งร้องไห้แน่ๆครับ โดนฟ้องร้อยเปอร์เซ็น
เมืองไทยเดียวนี้ หมอนึกจะทำอะไรตามใจฉันก็ไม่ได้แล้วนะครับ
.....ที่คุณกล่าวมาข้างบน คุณลองไปถามหมอซิครับว่ากล้าทำแบบที่คุณอ้างมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
นอกจากนี้ กรณีที่กุหลาบสีชาให้ความเห็นมาก่อนหน้านี้
จึงมิได้ยกมาอย่างเลื่อนลอย
แต่ยกมาจากประสบการณ์ที่พบเจอด้วยตนเอง
ตอนที่กุหลาบสีชารู้ข่าวขณะนั้น
ก็เป็นเวลาที่ตัวเธอเองยังไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นอะไร
แต่บรรดาญาติพี่น้องและมิตรสหายสนิทพากันทราบกันแล้ว
เพราะคุณหมอยังชลอไม่บอกความจริงแก่เธอโดยตรง


แต่คุณหมอได้ปรึกษากับญาติของเธอก่อน
โดยได้บอกความจริงแก่สามีและคุณแม่ของเธอให้ได้ทราบ
ทันที่ตรวจพบสมมติฐานของโรค
เพื่อที่จะรู้วิธีปฏิบัติตัวและดูแลเธอในเวลาที่เหลืออยู่ให้ดีที่สุด
แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณหมอก็บอกความจริงแก่เธอเอง

คุณกุหลาบครับ ไม่บอกกับคำว่าชลอไว้แล้วมาบอกที่หลังมันเหมือนกันหรือครับ
......การดูแลคนไข้ทางร่างกายเป็นหน้าที่ของญาติ แต่อะไรมันไม่สำคัญไปกว่า
การทำจิตทำใจของคนไข้ซื่ง คนไข้จะต้องเป็นผู้กระทำเอง
เรื่องจิตใจเราก็ทราบดีกันทุกคนว่าต้องใช้เวลา การปล่อยให้ช่วงเวลาผ่านไป
โดยไม่บอกให้คนไข้รู้ แทนที่จะเอาช่วงเวลานั้นศึกษาธรรมเพื่อปล่อยวางในช่วงสุดท้ายของชีวิต จะได้จากไปอย่างสงบ
กุหลาบสีชา เขียน:
ส่วนประเด็นของการแจ้งแก่ญาติคนไข้ให้เตรียมทำพินัยกรรมนั้น
โดยส่วนตัวกุหลาบสีชามีความเห็นว่า

หากพิจารณาให้ดีแล้ว การแนะนำเช่นนี้....
น่าจะเป็นการวางแผนเตรียมการเพื่อความประมาทอย่างรอบคอบมากกว่า
เป็นการไม่ทิ้ง หรือสร้างปัญหาไว้ให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่อันเนื่องจากตน
(ถ้ารู้ว่า หากไม่ทำแล้วจะเป็นปัญหาแน่นอน)
แต่จะแนะนำอย่างไร อันนี้ขึ้นอยู่วาทศิลป์ของผู้แนะนำ


:

อันนี้เห็นด้วยอยู่แล้วครับ แต่ไม่เห็นด้วยที่ญาติจะไปบอกกับคนไข้เอง
เพราะจะทำให้จิตใจคนไข้แย่ไปกว่าเดิมครับ ส่วนจะหาผู้ใหญ่หรือเพื่อนสนิท
ของคนไข้เป็นผู้ไปบอกครับ เหตุนี้ผมถึงได้แย้งแต่ต้นไงครับ
ความสำคัญมันอยู่ตรงที่ผู้ที่จะไปบอกครับ

กุหลาบสีชา เขียน:
และสุดท้าย ประเด็นของบำเหน็จบำนาญนั้น
ขอให้ คุณ TAKSA ลองศึกษาให้ถี่ถ้วน
ถึงความหมายและสิทธิของการรับบำเหน็จ บำนาญ และบำเหน็จตกทอดของข้าราชการอีกครั้ง
(จริงอยู่ แม้นกุหลาบสีชาเองไม่ได้รับราชการ
แต่ก็สอบถามข้อมูลมาจากคุณแม่และญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวของเรา
ซึ่งรับราชการมาหลายชั่วอายุคนแล้ว)
:b12:

ผมพอรู้มาบ้างนะครับ เพราะผมก็เป็นทายาทในการรับสิทธิอันนั้นครับ แต่เป็นความรู้คร่าวๆ
เพราะผมไม่สนใจสิทธิที่พึงมีพึงได้อยู่แล้ว
......บำนาญจะได้หลังจาก เกษียณอายุราชการไปแล้ว จะได้เป็นเดือนทุกเดือนจนกว่าจะตาย
เมื่อตายทายาทไม่มีสิทธิรับช่วงต่อครับ
.......บำเหน็จ คือเงินก้อนใหญ่ที่รับในที่เดียวหลังจากเกษียณอายุ คิดโดยการคำนวณเวลากับขั้นเงินเดือนสุดท้าย หรือแม้แต่การลาออกก่อนเกษียณก็ต้องได้เงินที่เรียกบำเหน็จครับไม่สามารถรับบำนาญได้ เงินตกทอดแก่ทายาทเมื่อเสียชีวิตก็เช่นกันครับ ขาดหรือตกหล่นขออภัยครับเพราะพิมฑ์จากความจำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 07:27
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2009, 11:50
โพสต์: 147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
ท้ายสุดมีคำกล่าวที่เคยอ่านพบมาฝากทุกท่านว่า

วิชชาทางโลกก็ใช้แก้ปัญหาทางโลก ไม่อาจแก้ปัญหาทางธรรมได้ทั้งหมด
แต่วิชชาทางธรรมนั้น ใช้แก้ปัญหาสำหรับทางโลกและทางธรรมได้เสมอ
เพราะธรรมแท้คือของจริง และความจริงก็ยังตั้งมั่นอยู่ในโลกนั้นเอง

ฉะนั้นหากเรารู้จักบริหารธรรม
ไม่ว่าเมื่อใด “โลกก็ไม่ช้ำ ธรรมก็ไม่เสีย”


เจริญในธรรมค่ะ....ทุกท่าน :b8: :b1:

.....ที่คุณบอกว่าวิชาทางธรรม ใช้แก้ปัญหาทางโลกและทางธรรมได้เสมอ
ผมว่าไม่จริงหรอกครับ ธรรมเป็นเรื่องของจิตใจครับ คนอื่นไม่มารถรับรู้ได้
ด้วยเหตุนี้ เขาจึงต้องบัญญัติข้อกฎหมายทางโลกขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหา
ซึ่งปัญหาที่ว่านี้ตัดสินเอาจากการกระทำครับ
แต่แท้ที่จริงแล้วทางโลกกับทางธรรมต้องไปด้วยกันครับ โลกถึงจะสงบสุข
สมัยนี้เอาธรรมบังหน้าเยอะไปครับ

......เรื่องธรรมแท้เป็นของจริงที่คุณว่า แล้วอันไหนเป็นธรรมแท้อันไหนเทียมครับ มีเกณฑ์ตัดสินอย่างไร
ในความเห็นผม ทุกสิ่งอย่างในโลกล้วนเป็นธรรมครับ ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล มันขึ้นอยู่ที่เราจะ
เลือกปฏิบัติอันไหนต่างหากครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 12:07
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1:ข้อธรรมะจริงๆ ขออนุโมทนาด้วยครับ แต่ที่ แสดงความคิดของผมและความคิดของดิฉันโดยใส่
อารมณ์เสียๆเข้าไปนั้น ไม่ได้ทำให้ธรรมะเจริญในใจใครเลยนะครับ :b1: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร