ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

การพูดบีบบังคับ (วัดบุรณศิริมาตยาราม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=26557
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 28 ต.ค. 2009, 23:24 ]
หัวข้อกระทู้:  การพูดบีบบังคับ (วัดบุรณศิริมาตยาราม)

รูปภาพ

ก า ร พู ด บี บ บั ง คั บ
มูลนิธิพุทธศาสนาศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม

การพูดบีบบังคับทางบาลีใช้คำว่า “นิปเปสิกตา”
หมายถึงการพูดที่มีลักษณะหลายอย่างที่ค่อนข้างจะเป็นลักษณะเผ็ดร้อน


เหมือนการบังคับทางร่างกาย
เช่น การทรมานร่างกาย
เอาชะเนาะมาขันศีรษะ เอาผ้ามาอุดปากอุดจมูก
เพื่อบังคับให้สารภาพความผิด หรือบอกที่ซ่อนทรัพย์ตัว
แต่ว่านั่นเป็นลักษณะของการใช้แรงกาย

การบังคับที่จะกล่าวถึงในคราวนี้เป็นการบังคับด้วยการพูด

ถามว่าบังคับทำไม บังคับเพื่อให้ผู้ที่ตัวพูดบังคับเขานั้น
ให้ผลประโยชน์แก่ตัวเองในลักษณะที่ผิดธรรมมากก็ดี หรือผิดธรรมน้อยก็ดี

ท่านว่าการบังคับให้คนอื่นสนองประโยชน์ตัวเองนั้น
ไม่เป็นการถูกธรรมเลย เป็นความผิดอย่างเดียว


:b44: การพูดบีบบังคับลักษณะแรกคือ การพูดด่า

ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่หยาบมาก
ไม่ได้ใช้ศิลปะในลักษณะของการบังคับที่แยบยลแต่ประการใด
เพราะเรื่องด่านี้ใครๆก็ทำกันได้

การด่าบางทีก็ด่าด้วยความโกรธ
แล้วก็ไม่ได้คิดเอาผลประโยชน์จากที่ตัวด่า
แต่บางคนใช้วิธีการด่าเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

เช่น สื่อมวลชน เพื่อเรียกร้องเอาผลประโยชน์
อย่างใดอย่างหนึ่งจากผู้ที่ตัวเองไปด่า
ถ้าการด่านั้นเป็นการด่าเพื่อบังคับให้คนอื่นให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่ตัว
ถือว่าเป็นการใช้การด่ามาเป็นการพูดบีบบังคับ

:b44: การพูดบีบบังคับลักษณะที่สอง คือ การพูดข่ม

ซึ่งจะไม่ประเจิดประเจ้อเหมือนการด่า

การพูดข่มนั้นเป็นลักษณะของการพูดในลักษณะขู่
เพื่อที่จะให้บุคคลที่ตัวจะพูดด้วยนั้น ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่ตัว

เช่น เราพูดข่มเขาว่า

ถ้าไม่ให้จะด่าด้วยความผิดอย่างนั้นอย่างนี้
หรือถ้าไม่ให้จะนำความลับของเขาไปเปิดเผยอย่างนั้นอย่างนี้

นี่เป็นลักษณะของการข่มขู่ หรือพูดข่มขู่ว่าถ้าเขาไม่ให้
ตนก็จะไม่ทำอะไรบางอย่าง ทั้งหมดนี้ในขณะที่พูดด้วยเจตนาจะเอา
ถือว่าเป็นการพูดข่มขู่ทั้งสิ้น
อย่างในกรณีของการข่มขู่เรียกค่าคุ้มครองในบางท้องที่ในบ้านเมืองเรา

:b43: การพูดบีบบังคับลักษณะที่สาม คือ การพูดติด

การพูดติดนั้น ในที่นี้หมายความว่า พูดใส่ร้ายเขา
ท่านใช้คำว่าพูดติดดี
คือติดความชั่วที่อาจมีจริงหรือไม่มีจริง หรือมีจริงนิดหน่อย
แต่พูดเสียเป็นเรื่องใหญ่โต

บางคนนั้นกลัวการโดนตำหนิ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางอาชีพ
แม้แต่คำตำหนิเล็กๆน้อยๆ
ก็อาจจะมีผลกระทบต่อความเสียหายเขาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะกับบุคคลที่จะต้องทำงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหมู่มาก
เช่น ผู้บริหารบ้านเมือง โดยเฉพาะในต่างประเทศ

ในวงการสงฆ์ก็เช่นกัน
ถ้ามีเสียงตำหนิติเตียนแล้ว ก็จะต้องมีการสืบสวนกัน


อย่างกรณีคนที่จะไปบวช เวลาจะเข้าโบสถ์
ถ้ามีใครมาติหรือทักท้วงว่าเป็นหนี้สินเขาอยู่
คนนั้นจะบวชไม่ได้
หรือมีใครมาติว่ามีโรคประจำตัวอย่างนั้นอย่างนี้
ที่วินัยบัญญัติว่าห้ามบวช คนนี้ก็บวชไม่ได้

ฉะนั้นคนที่กลัวการติคือคนที่มีแผล
ถ้ามีใครมาสะกิดก็จะเจ็บปวดทันที
พวกนี้จะกลัวมาก ที่เขาเรียกว่า วัวสันหลังหวะ


และในคนที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับความนิยม
หรือความเลื่อมใสศรัทธาของสังคม
เสียงครหา เสียงตำหนิจะเป็นเสียงที่ปวดร้าวสำหรับคนพวกนี้มาก
จึงเป็นช่องทางให้คนบางคนใช้วิธีการติดเอาความชั่วมาเปิดโปง
เพื่อจะเรียกร้องเอาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจากเขา

(มีต่อ)

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 28 ต.ค. 2009, 23:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การพูดบีบบังคับ : วัดบุรณศิริมาตยาราม

รูปภาพ

:b44: การพูดบีบบังคับต่อไป ก็คือ การพูดขับ คือการพูดขับไล่

เรื่องนี้เห็นจะมีปรากฏกันอยู่บ่อยๆ
คือ คนที่แสวงหาผลประโยชน์กับคนบางคนที่อยู่ที่บางที่

บางคนนั้นไปมีที่มีทางเป็น ๕๐ ไร่ ๑๐๐ ไร่
ปลูกผลไม้แต่ไม่สามารถไปอยู่ได้
ก็เพราะว่า ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่นั้น
เขามาเรียกร้องเอาผลประโยชน์บางอย่าง
ซึ่งเป็นการเรียกร้องด้วยวิธีการผิดกฏหมาย
และเป็นคนผิดกฏหมายด้วย

บางคนก็ให้เขาไม่ได้ บางคนดื้อไม่ไห้ ในที่สุดก็อยู่ไม่ได้
พอเขาออกปากไล่ว่า ถ้าไม่ให้ก็อยู่ที่นี่ไม่ได้
ผลที่สุดก็ไม่สามารถทำมาหากินบนผินดินของตัวเองได้

:b44: ส่วน การพูดประชด นั้น หมายความว่า

มันไม่ได้มีความชั่วหรือความเลวอยู่ตัวคนนั้น
ไม่ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่ตัว ตัวก็พูดประชด

การพูดประชดนั้น ฟังดูเผินๆเหมือนเป็นการยกยอ
แต่ฟังดูน้ำเสียงและเจตนาของผู้พูดที่พูดออกมา
เขาไม่ได้มีความรู้สึกอย่างนั้นจริง


เช่น พูดว่า พ่อคนใจบุญ พ่อคนธัมมะธัมโม
หรือพ่อมหาปรียญ หรือท่านผู้ดี
ล้วนเป็นการพูดประชดทั้งนั้น ประชดเพื่อจะเอา
เวลาเราพูดประชดคนอื่น คนอื่นเขาทนรำคาญไม่ได้ เขาก็อาจจะให้

:b44: ถ้าเป็นการพูดประชดอย่างรุนแรงคือ จะเรียกว่า การพูดประชัน

ซึ่งคล้ายประชด แต่ว่ารุนแรงกว่า
ฟังดูคล้ายๆกับการยกยกอ

การยกนั้นคือการประชด หมายถึงการพูดกระทบเล็กน้อย
ถ้าประชันคือการพูดกระทบมาก


เช่น ภิกษุรูปหนึ่งไปเรี่ยรับโยมคนหนึ่ง
โยมนั้นไม่ให้ด้วยเหตุจำเป็น ก็พูดประชดว่า

โอ ท่านทานบดี

ประชดแล้วก็ยังไม่ให้ก็เลยพูดประชันว่า

โอ ท่านมหาทานบดี

มีมหาเติมเข้าไปอีกกลายเป็นกระชันไป

:b44: อีกอย่าง การพูดเย้ย คู่กับ การพูดหยัน

การพูดเย้ยนั้นเป็นการพูดที่มีน้ำหนักมากกว่าการพูดหยัน
ที่เราพูดกันว่าพูดเยาะเย้ย บางทีก็พูดว่า

นี่อย่างไรชีวิตของผู้บริโภคผักล่ะ

นี่หมายความว่าท่านยกตัวอย่างในวงการของพระในสมัยก่อน
ไปขอรับบิณฑบาตรหรือไปขอเรี่ยไรหรืออะไรอย่างหนึ่งกับโยมคนใดคนหนึ่ง
และโยมก็ให้ของแก่พระนั้นแต่เพียงเล็กน้อย
พระนั้นพอไม่สมกับความต้องการก็พูดเย้ยว่า

นี่อย่างไรชีวิตของผู้บริโภคผัก

หมายความว่าเป็นชีวิตที่แห้งเล้งเหลือเกิน
เวลาจะให้อะไรแก่ใครแต่ละที จะทำแก่พระแต่ละที
แต่ทำบุญในลักษณะมังสวิรัติ
คือ ไม่ค่อยจะเต็มเม็ดเต็มหน่วยเลย
เหมือนกับอาหารที่ตัวบริโภคนั่นแหละ

ถ้าเป็นการพูดหยัน เป็นคำพูดที่ค่อนข้างจะคมคาย

เช่น ถ้าไปขออะไรแล้วเขาไม่ให้
ก็พูดลักษณะพูดหยันว่า
สำหรับท่านถ้าใครมาขอก็ไม่ใครผิดหวังเลย
ท่านมีให้แก่คนทุกคน
แต่สิ่งที่ท่านให้นั้น คือคำว่าไม่ให้ ไม่มีอย่างอื่น

หรือมีให้แต่คำว่าไม่ให้แก่ทุกๆ คนที่ออกปากขออะไรจากท่าน
เป็นลักษณะที่แรงกว่าการพูดเย้ย เรียกว่า พูดหยัน

แสดงให้เห็นว่า

คนที่มีลักษณะการพูดหรือลักษณะบีบบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น
ก็จะเป็นคำพูดที่ออกมาจากความคิดที่เราเรียกว่า ฉลาดแกมโกง
คือฟังดูคมคาย แต่คำคมเหล่านั้น ล้วนแต่คำคมในลักษณะโกงทั้งนั้น


:b44: และพูดอีกอย่างคือ พูดเหยียด และพูดหยาม

เป็นการพูดกวาดล้างความดีของบุคคลอื่นเขาในขั้นธรรมดา กับขั้นรุนแรง
เรียกรวมกันว่าพูดเหยียดหยาม

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : ธรรมเพื่อชีวิต เล่มที่ ๕๘ ฉบับวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๒, จัดทำโดย มูลนิธิพุทธศาสนาศึกษา
วัดบุรณศิริมาตยาราม, หน้า ๑-๕)


หมายเหตุ :

บรรยาย โดย : อาจารย์สุเทพ โพธิสัทธา
ถอดเทป โดย : คุณนพวรรณ กุลจันทมาศ
เอื้อเฟื้อเทป โดย : คุณมานิตย์ ปรมาคม


:b44: การชวนคนเข้าวัด (วัดบุรณศิริมาตยาราม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=29040

:b44: กิเลสและการดับกิเลส (วัดบุรณศิริมาตยาราม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=24059

:b44: ความจริงของสัจจธรรม (วัดบุรณศิริมาตยาราม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=21396

:b44: ประวัติและเรื่องราวของ “ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์)”
จัดทำโดย มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=45527

เจ้าของ:  bbb [ 29 ต.ค. 2009, 10:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การพูดบีบบังคับ : วัดบุรณศิริมาตยาราม

ก่อนพูดใจเป็นนาย

เมื่อหลุดปากแล้ว ปากจะเป็นนายแทน

:b8:

เจ้าของ:  ดาราวรรณ [ 18 เม.ย. 2015, 18:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การพูดบีบบังคับ : วัดบุรณศิริมาตยาราม

กราบสาธุๆๆ
:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  sirinpho [ 15 มี.ค. 2018, 08:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การพูดบีบบังคับ : วัดบุรณศิริมาตยาราม

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  AAAA [ 30 พ.ย. 2019, 19:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การพูดบีบบังคับ (วัดบุรณศิริมาตยาราม)

4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  Duangtip [ 03 ส.ค. 2020, 13:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การพูดบีบบังคับ (วัดบุรณศิริมาตยาราม)

:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/