วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ใบไม้กำเดียวในมือพระพุทธองค์

พะพุทธองค์ เมื่อตัดสินใจออกบวช ได้ไปรับศีล จาก อาฬารดาบส และ อุทกดาบส จากนั้นก็มานั่งสมาธิ มีวิชา สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ เมื่อทรงทราบว่าไม่ใช่หนทางดับทุกข์ เป็นเพียงการหลบทุกข์ชั่วคราว จึงลาอาจารย์ทั้งสองมาวิปัสสนา จนตรัสรู้ได้ในที่สุด ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นเป็นคำสอนของอาฬารดาบสและอุทกดาบสซึ่งเป็นฤาษีพรามหณ์ ไม่ใช้คำสอนของพุทธ

เมื่อพระองค์ตรัสรู้ ทรงทราบความจริง อันเป็นที่สุดของธรรมชาติ 2 กฏด้วยกันคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือกฎไตรลักษณ์ และกฎของเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ทรงสรุปว่า ทุกข์ทั้งมวลเกิดจากอวิชชา ซึ่งสามารถดับได้ด้วยปัญญา หรือใช้ความรู้จริงมาดับความไม่รู้ ปัญญาอย่างเดียวที่สามารถดับทุกข์ได้ คือ ปัญญาที่รู้เท่าทันความเป็นจริงของชีวิตและธรรมชาติ

ทรงตรัสบอกทางสายเอกที่จะทำให้เกิดปัญญาได้ คือ การวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 ให้รู้เห็นสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตัวเราในปัจจุบันตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงเกิดดับ เกิดจากเหตปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวเท่านั้น ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง การพิจารณาเป็นเพียงอุบายเพื่อทำให้ปัญญาเกิด หลังจากที่เราเริ่มพิจารณา ภาวะที่เกิดตามมาคือ ปัญญาเจตสิกจะเกิดขึ้นมาเพื่อพิจารณาอารมณ์ เมื่อปัญญาเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ความคล่องตัวก็จะมากขึ้น ปัญญาอินทรีย์ก็จะแก่กล้าขึ้น จนในที่สุด ปัญญาจะเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีการกระตุ้น ปัญญาจะเกิดประกบกับจิตทุกครั้งเมื่อจิตเกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ ดังที่ท่านสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ยังปัญญาให้เกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อชวนจิตเกิดขึ้นมาเพื่อเสวยอารมณ์เปรียบปัญญาเหมือนรอยฝีเท้าที่เดินตามจิต

เมื่อปัญญาเกิด เราก็จะรู้เองว่าไม่ควรทำผิด ศีลก็จะเกิดได้โดยไม่ต้องมีการฝืนบังคับ เมื่อมีศีล สมาธิก็เกิดตามขึ้นมา พระพุทธองค์จึงเรียงคำสอนใหมว่า ปัญญา ศีล สมาธิ (ปัญญาเป็นพ่อ ศีลเป็นลูก สมาธิเป็นหลาน)

การวิปัสสนานั้นมีแนะนำไว้หลายแนว แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการแบบใหน สิ่งสำคัญคือ ต้องยกจิตมาสู่การสร้างปัญญา หรือต้องทำให้ปัญญาเกิด ปัญญาไม่ได้เกิดเอง ต้องมีอุบายหรือมีการกระตุ้น ตรงข้ามกันโมหะ หรือพวกอวิชชา ที่เกิดมากับเราตั้งแต่เกิด เกิดขึ้นเอง เมื่อเราเกิดความพอใจ ไม่พอใจ หลง เป็นผลมาจากอวิชชาทั้งนั้น

พระพุทธองค์กล่าวไว้ว่า ให้ปฏิบัติธรรมเหมือนชาวนาทำนา ชาวนาบังคับไม่ไห้ข้าวออกรวงได้ฉันได้ ผู้ปฏิบัติธรรมก็ไม่สามารถบังคับให้มรรคผลเกิดได้ฉันนั้น ชาวนาต้องทำหน้าทีดูแลปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ข้าวออกรวง เมื่อดูแลดีแล้ว ข้าวก็จะออกรวงของมันเอง เราจึงต้องปฏบัติที่เหตุของการเกิดปัญญา ดูแลปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้เกิดปัญญา จนปัญญาเอาชนะโมหะหรือเอาชนะอวิชชาได้ในที่สุด

นี่คือใบไม้กำเดียวในมือของพระพุทธองค์ที่เราต้องรู้ ต้องศึกษา ต้องปฏิบัติ คือ เรื่องของ ทุกข์ และการดับทุกข์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 22 ส.ค. 2009, 17:55, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 22:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ใบไม้กำเดียวในมือพระพุทธองค์

เราจึงต้องปฏติบัตที่เหตุของการเกิดปัญญา ดูแลปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้เกิดปัญญา จนปัญญาเอาชนะโมหะหรือเอาชนะอวิชชาได้ในที่สุด

นี่คือใบไม้กำเดียวในมือของพระพุทธองค์ที่เราต้องรู้ ต้องศึกษา ต้องปฏิบัติ คือ เรื่องของ ทุกข์ และการดับทุกข์


สาธุ..ครับ..ใบไม้ในกำมือ..

ผมละกลัว..ใบไม้นอกกำมือ..กลับชาติมาเกิด..จริง ๆ..มาเกิดใหม่แล้วหรือยังหนอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ

ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑. เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง. ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์. ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา. ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง. ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล ผู้ใดเห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรม ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำดีในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่ พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ เธอย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง. ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นว่าทุกข์. ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา. ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง. ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญาแม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี. ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้แลว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เราดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยการถูกมารผูกมัดเพราะสำคัญในขันธ์ ๕

ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดงพระธรรมเทศนา โดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลยังมัวสำคัญอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่สำคัญ จึงหลุดพ้นจากบ่วงมาร.

ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่กล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารได้อย่างไรเล่า?
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลสำคัญรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่สำคัญ จึงหลุดพ้นจากบ่วงมาร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.
พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างดีแล้ว. ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลสำคัญรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่สำคัญ จึงหลุดพ้นจากบ่วงมาร. เธอพึงทราบอรรถแห่งคำนี้ที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้เถิด.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสวะ

ิภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งในขึ้นว่า เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอย่างไรหนอ อาสวะทั้งหลาย จึงสิ้นไปโดยลำดับ? พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุนั้น ด้วยพระทัย จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมด้วยการเลือกเฟ้น แสดงสติปัฏฐาน ๔ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงสัมมัปปธาน ๔ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงอิทธิบาท ๔ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงอินทรีย์ ๕ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงพละ ๕ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงโพชฌงค์ ๗ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการเลือกเฟ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรม ด้วยการเลือกเฟ้นเช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดงแล้ว ด้วยการเลือกเฟ้นเช่นนี้ เออก็มีภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ยังเกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า เมื่อบุคคลรู้ได้อย่างไร เห็นอย่างไรหนออาสวะทั้งหลาย จึงสิ้นไปโดยลำดับ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้ได้อย่างไร เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายได้สดับแล้ว จึงสิ้นไปโดยลำดับ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม มิได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแล เป็นสังขาร ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้น เกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้น แก่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

ปุถุชน ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนเลย แต่ว่าตามเห็นตนมีรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นเป็นสังขาร. ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้น แก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชา สัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อันอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

ปุถุชน ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนเลย ย่อมไม่ตามเห็นตนมีรูปแต่ว่าตามเห็นรูปในตน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้น เกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้น แก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

ปุถุชน ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนเลย ย่อมไม่ตามเห็นตนมีรูปย่อมไม่ตามเห็นรูปในตน แต่ว่าตามเห็นตนในรูป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแล เป็นสังขาร ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้น แก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

ปุถุชน ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนเลย ย่อมไม่ตามเห็นตนมีรูปย่อมไม่ตามเห็นรูปในตน ย่อมไม่ตามเห็นตนในรูป แต่ว่าตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นตนมีเวทนา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นเวทนาตนใน ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นตนในเวทนา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นตนมีสัญญา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสัญญาในตน ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นตนในสัญญา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นตนมีสังขาร ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสังขารในตน ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นตนในสังขาร ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นตนมีวิญญาณ ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นวิญญาณในตน ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นตนในวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแล เป็นสังขาร ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขารนั้น เกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้สัมผัสะนั้น แม้อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

ปุถุชน ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนเลย ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ฯลฯ แต่ว่าเป็นผู้มีทิฏฐิ เช่นนี้ ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืนมั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิความเห็นว่าเที่ยงเช่นนั้น เป็นสังขาร ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้
เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนเลย ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิ เช่นนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา แต่ว่าเป็นผู้มีทิฏฐิ เช่นนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมีเราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มีทิฏฐิความเห็นว่าขาดสูญเช่นนั้นเป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลแม้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ

ปุถุชน ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิ เช่นนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา และเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิ เช่นนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี แต่ว่ายังเป็นผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเป็นผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรมเช่นนั้นเป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้น เกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้น แก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลแม้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยความหมายของอวิชชา

พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล? และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่รู้ชัดซึ่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งสัญญา ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งสังขาร ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับวิญญาณ. ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยความหมายของวิชชา

พระนครสาวัตถี. ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล? และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในโลกนี้ รู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสังขาร ฯลฯ รู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับวิญญาณ. ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย

สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ๑. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ก. ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล

โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแลไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้วย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 13 ส.ค. 2009, 21:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ดูคุณขยันจังเลยนะครับ
ดีนะ...ที่ขยันถูกหมวด...

ก็ตามอ่านอยู่ครับ
ตาลายดีเหมือนกัน
แต่...ดีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชาสูตร

พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็น อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชา จึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่งกลืนกินเบ็ดนั้น ปลานั้นชื่อว่ากลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงกระทำได้ตามชอบใจฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้ เพื่อจะนำสัตว์ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เบ็ด ๖ ชนิด คืออะไรบ้าง คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญหมกมุ่นในรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศมารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ดไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร