วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



“ผ้าขี้ริ้วในมุมมองนักปฏิบัติธรรม”

ทำอย่างไรเมื่อไม่เข้าใจกัน

ทำใจ อภัยให้เค้าสิ หรือขอโทษ หาโอกาสดีๆ เราไม่ผิดหรือถูกก็ต้องทำ

คุณยายไม่เอาเรื่องใครเอาแต่ธรรมะ ไม่สู้ไม่หนีทำดีเรื่อยไป

มีวิธีดีๆตั้งหลายอย่างเลือกใช้ตามกาลเวลาที่เหมาะสม

อารมณ์ดี คิดแต่แง่ดี ทำอะไรก็ดี พูดอะไรก็ดี

เราต้องดีกะทุกคนเพื่อให้เค้าสร้างบารมีให้ดีและไม่สะดุด

เรามีศัตรูอยู่สองอย่าง เวลา กะ พญามาน ต้องสู้รบตลอด ไม่ใช่มนุษย์ด้วยกัน

บางครั้งเราก็เผลอลืมนึกไปว่าเราเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ลูกพ่อเดียวกัน

ถ้าใจตกแสดงว่าบุญน้อยอยู่ต้องรีบไปทำบุญให้มากๆ

มองที่เป้าหมายการเกิดมาเป็นมนุษย์นะ มีอะไรต้องทำอีกเยอะ

มีอะไรต้องแก้ไขก็มาก อย่ามาเสียเวลารบกันเอง

ขอสำคัญของการอยู่ร่วมกันต้องไม่เปรียบเทียบจุดด้อยจุดเด่นกัน พอใจที่เราเป็นเราแล้วก้าวไป

ยอมรับกันและกัน แล้วเราก็ก้าวไปพร้อมกัน ทำงานใหญ่ได้สะดวกเพราะเราเข้าใจกัน

๑. ผ้าขี้ริ้วยอมสกปรกเพื่อให้สิ่งอื่นสะอาด

เสน่ห์ของคนอยู่ที่ยอมลำบากเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุข เช่น พ่อแม่ยอมเหนื่อย

เพื่อให้ลูกหลานสุขสบาย ยอมโน้มตัวจากสูงลงสู่ต่ำได้ ยอมถูกขัดเกลาเพื่อให้สวยงาม

เหมือนพุทธปฏิมาที่งามได้เพราะทนได้ต่อการขัดถูแต่งปั้นของช่างศิลป์ ฉันนั้น.


๒. ผ้าขี้ริ้วดูดซับความสกปรกได้แต่ก็สลัดความสกปรกออกจากตัวได้ตลอดเวลา

เสน่ห์ของคนที่รู้ตัวเองว่าสกปรก เมื่อถึงเวลาก็ชำระล้างให้สะอาด เหมือนชำระล้างร่างกายประจำวัน

มิใช่อมความสกปรกไว้แล้วแกล้งหลอกตัวเองว่าสะอาดหมดจด

คือรู้จักยอมรับว่าตนก็ทำผิดได้ มิใช่ถูกเสมอไป ขอบคุณเมื่อมีคนตักเตือน


๓. ผ้าขี้ริ้วเป็นผ้าที่สะอาดที่สุดในขณะที่คนอื่นมองว่าสกปรกที่สุด

เหมือนคนที่หมั่นฝึกหัดขัดเกลาตนเอง รู้จักถ่อมตนและอ่อนโยน

ไม่โอหังอวดดีให้เป็นที่รังเกียจหมั่นไส้ของคนอื่น หากทำเช่นนี้ เขาก็จะเป็นคนมีคุณค่า

ไม่ว่าจะมาจากสกุลใด หรือมีการศึกษามากน้อยเพียงใดก็ตาม

หัดทำตัวให้เป็นผู้ใฝ่รู้แต่ไม่อวดรู้ เป็นเหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทองคำไว้ภายใน ไม่ใช่เป็นทองคำห่อผ้าขี้ริ้ว


๔. ผ้าขี้ริ้วแม้นใครจะมองว่าเป็นผ้าที่ไร้ราคา แต่ก็มีคุณค่าสูงส่งภายในตัวเสมอ
เหมือนคนที่พยายามทำตนให้มีคุณค่าด้วยการทำงาน มิใช่ด้วยการประจบ ทำตนให้เป็นประโยชน์

ให้มีคุณค่า ให้งามด้วยงาน ไม่งอมือ งอเท้าหรือเอาแต่น้อยเนื้อต่ำใจในโชควาสนาชะตาชีวิต

แม้ใครจะดูถูกปรามาสอย่างไรก็ตาม เกิดเป็นคนต้องมีกำลังใจมุมานะทำงานหนัก

เพราะงานคือเสน่ห์ของชีวิต มิใช่โคตรตระกูล ทรัพย์สมบัติ หรือคำยกยอปอปั้นเพียงบางคน



๕. ผ้าขี้ริ้วไม่เกี่ยงงอนว่าจะถูกใช้เช็ดถูอะไร ตรงไหน เมื่อใด

เหมือนคนที่ยอมอาสาทำงานที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ปริปากบ่น

แต่อดทนมุมานะบากบั่นทำให้สำเร็จ ให้มีความสุขกับงาน ให้รู้จักอาสาคน อาสางาน

หัดเสนอตัวเข้าทำงาน คิดงาน มิใช่ยืนรอคำขอร้องอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นงานใด ๆ ก็ตาม

เมื่อเห็นว่าควรทำก็ตั้งใจทำงานโดยไม่เกี่ยวงอน หรือไม่เกี่ยงงาน

หรือไม่รอให้ใครออกคำสั่งให้ทำจึงทำ เสน่ห์ของคนอยู่ที่ความสามารถ

สั่งตนให้ทำงานที่เห็นว่าควรทำได้ ไม่เพิกเฉยนิ่งดูดาย



๖. ผ้าขี้ริ้วยอมให้ถูกใช้งานในที่สกปรกที่สุด

เหมือนคนที่ยอมทำในสิ่งที่คนทั้งหลายรังเกียจ เห็นว่าไร้ค่าเป็นงานชั้นต่ำ

แต่ก็ตั้งใจทำงานนั้นให้เป็นของมีค่าขึ้นมาได้ หรือยินดีในการบริการ เหมือนคนที่เอิบอิ่ม

เมื่อชีวิตได้บริการรับใช้คนอื่น รับใช้สังคม ดีใจเมื่อคนยินดีมาใช้บริการความรู้ความสามารถของตน

และยินดีที่จะเสนอตัวเข้าไปบริการ แปลว่า ทำตัวให้เหมือนผ้าขี้ริ้วที่ยอมเป็นผู้บริการ

ยอมขจัดความสกปรกทุกหนทุกแห่งที่เกิดขึ้น ยอมอยู่เบื้องหลังความสะอาด

ยอมให้ผู้อื่นมีเกียรติยิ่งใหญ่ ยอมอยู่เบื้องหลังของความสำเร็จของงานนั่นเอง เมื่อยอมได้

จึงจะได้สิ่งที่ปรารถนา หากเป็นผู้ใหญ่ ก็เป็นผู้โน้มตัวลงมาติดดิน รับรู้สัมผัสดิน

ไม่ตัดสินปัญหาตามเขาว่า เขารายงาน แต่ตัดสินบนข้อมูลของตนเอง.



๗. ผ้าขี้ริ้วพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

เหมือนคนต้องพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของคนอื่น ต้องมีความพอใจที่จะทำงาน

เป็นนายอิน-นางอิน ผู้ปิดทองหลังพระ มีความสุขและภูมิใจที่ได้มอบความสำเร็จให้คนอื่น

มีความภูมิใจที่ได้ยืนยิ้มอยู่ข้างหลังความสำเร็จของคนอื่นซึ่งเกิดจากการทำงานของตน

เหมือนแม่ครัวดีใจขณะมองคนอื่นทานอาหาร มีมากเช่นกันที่ผู้น้อยบางคนทำงาน

แล้วทำให้ผู้ใหญ่เล็กลง ขณะที่ตัวเองโตขึ้น ผู้น้อยที่ทิ้งผู้ใหญ่ย่อม

ไม่ต่างอะไรกับสัตว์เลี้ยงกินอาหารใส่โฮร์โมน โตเร็วแต่ไม่แข็งแรง


๘. ผ้าขี้ริ้วทนทานต่อการขัดถูและซักล้าง ไม่เปราะบาง

เหมือนคนที่ต้องมีความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็อดทนได้

เพื่อสร้างความสำเร็จและความสุขต่อผู้อื่นให้ได้ มีจิตใจหนักแน่นไม่เปราะบางหักง่าย

มีกำลังใจและมีแหล่งกำเนิดกำลังใจ เช่นยึดมั่นในหลักศาสนา ในรอยเท้าบรรพบุรุษ

รวมทั้งสามารถเป็นแรงบันดาลใจ ให้คนทั้งหลายได้เข้มแข็งขึ้นมา คราอ่อนล้า

กำลังใจนั่นเอง คือ สิ่งเดียวที่ทำให้คนเข้มแข็งไม่เปราะบาง.


๙. ผ้าขี้ริ้วแม้จะถูกมองว่าเป็นผ้าขี้ริ้ว แต่ก็ไม่ทำตัวให้ขี้เหร่

เหมือนคนที่รู้ตัวเองว่า ตนกำลังถูกปรามาสสบประมาท มีคนดูถูกดูแคลน

แทนที่จะเสียใจทำด้วยประชดเขาว่าเราไม่ทำเช่นนั้น แต่จะต้องตั้งใจเอาอุปสรรค

มาเป็นกำลังใจให้ตัวเอง เอาชนะอุปสรรคตรงนั้นให้ได้ ไม่พ่ายแพ้ตามคำปรามาสาของคนอื่น

รู้ตัวตลอดว่ากำลังทำอะไร มีกำลังใจในสิ่งนั้น มองหาความสำคัญจากสิ่งที่คนมองไม่เห็นให้ได้

ว่าสำคัญอย่างไร เสน่ห์ของชีวิตที่สำคัญคือ สามารถมองเห็นคุณค่าจากสิ่งที่คนทั้งหลาย

มองว่าไร้ค่าสิ้นดีหมดแล้วให้ได้ หาค่าจากสิ่งที่คนมองว่าไร้ค่าให้พบ.

เสน่ห์ของชีวิตก็ไม่ต่างจากเสน่ห์ผ้าขี้ริ้ว ขึ้นอยู่ว่าเราจะสร้างขึ้นมาได้อย่างไรเมื่อตัวชีวิตคือเรา

พ่อแม่สร้างชีวิตมาแล้ว. เสน่ห์คือแหล่งกำเนิดความสุข และความสุขอันแท้จริงของคนก็คือ

การได้แอบยิ้มดูคนอื่นเขามีความสุข ชื่นชมยินดีมีความสุข

เหมือนความสุขของแม่ อยู่ที่การได้เห็นลูกหลานพอใจกับฝีมือปรุงอาหารของแม่

รู้เถิดว่า แม่แอบเป็นสุขลึก ๆ ทุกคำข้าวที่ลูกกลืน.


ทำอะไร ทำจริง


ตั้งแต่ยายเข้าวัดมา มีคนดูถูกมากมาย แต่ที่ยายก้าวขึ้นมาได้ขนาดนี้ ก็เพราะทำอะไร ทำจริง

ยายคิดแต่จะเอาธรรมะ คิดแต่จะตอบ หลวงพ่อวัดปากน้ำให้ได้ ใจจรดธรรมะไม่ถอยเลย

เรื่องอื่นๆ ยายมองข้ามไป ไม่สนใจ ใคร จะแกล้ง ใครจะดูถูกเหยียดหยาม ก็ช่างเขา

ยายก็ทนได้ ถ้ามัวแต่อิจฉาริษยา แก่งแย่งชิงดีกัน ก็เสียเวลาไปเปล่าๆ คนที่คิดว่าตัวเองเก่ง

ก็มัวต่อสู้กันต่างๆ นานา แต่ยายมุ่งเอาแต่ธรรมะ ถ้าคนเก่งจริงไม่ต้องไปสู้กับใคร

ยายไม่เสียเวลาในเรื่องเหล่านี้ จึงมีเวลาค้นธรรมะละเอียดมากขึ้น


มีคนส่งมาให้ทางเมล์ ... หากแม้นยอมเป็นผ้าขี้ริ้วได้ ..

อ่านแล้วตื้นตันกับคุณยายมากๆเลยค่ะ .. นี่แหละของแท้ที่ไม่ต้องเอ่ยคำใดๆมาเปรียบเทียบ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




DE0000009.jpg
DE0000009.jpg [ 26.36 KiB | เปิดดู 5498 ครั้ง ]

ทำอย่างไร จะให้ใจเป็นหนึ่ง


การที่เราเข้ามาศึกษาศีลธรรมชื่อว่าให้ตัวเองฉลาด ให้ตัวเองได้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้

ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น ได้เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น

ดีกว่าที่เราไม่เคยศึกษาเลย อย่างน้อยเราก็ฉลาด ในเรื่องของศาสนา ฉลาดในการให้ทานรักษาศีล

ฉลาดในการภาวนาที่มีอุบายออกจากความวุ่นวายใจ อยู่บ้านครองเรือนเราวุ่นวายใจเหลือเกิน

มีแต่ปัญหาร้อนแปดพันประการที่จะต้องเก็บเอามาคิดนึก ไม่มีเวลาว่าง

ทำอย่างไรจะให้ใจสบายได้ ทำอย่างไรจะให้ใจเป็นสุขได้ เราก็ต้องหันหน้าเข้าหาธรรมะ

เพื่อปล่อยละวางจิตที่เป็นกังวลให้สู่ความเป็นหนึ่ง

ทำอย่างไรจะให้ใจเป็นหนึ่ง?

เราก็ต้องหัดฝึกใจให้สงบ รู้เนื้อรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ภาวนา "พุท" ลมเข้า "โธ" ลมออก

เพียงเท่านี้เราก็มีหลักเกาะในชีวิต ความทุกข์ยากลำบากใจต่างๆ ก็คลี่คลายหายไป

ที่เคยเสียใจเคยวิตกกังวลก็เกิดสติ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาในการตัดออกไปได้ คนใจร้อน

ก็กลายเป็นคนในเย็น เท่านี้เราก็รู้ว่าการแก้ปัญหาเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ด้วยการแก้ใจเรา

เมื่อก่อนแก้ไม่ได้ โกรธก็ต้องแสดงออกเกลียดอะไร มีความทุกข์ทางใจก็ปิดไว้ไม่อยู่ก็ต้อง

แสดงออกมา เดือดร้อนทั้งกายทั้งใจเรา เดือดร้อนทั้งกายใจผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง เพราะเราไม่

สามารถสงบระงับจิตใจของเราให้เย็นลงได้ เพราะเราขาดหลักปัญญา ขาดหลักสติ

ขาดหลักสมาธิเข้าไปยึดรั้งเหนี่ยวใจของเราให้สงบ แต่พอเรามาปฏิบัติตามหลักคำสอน

ของพระพุทธเจ้า ความโกรธที่เคยมีมากมันก็ดับไป ด้วยการประพฤติปฏิบัติบ่อยๆ ครั้งเข้า

เหมือนอย่างที่เราโกรธ เราก็ "พุทโธ" มากขึ้น ใจไม่สบายก็ "พุทโธ" มากขึ้น "พุทโธ" ไม่ต้อง

มานั่งอย่างเดียว จะทำอะไรก็ให้รู้ตัวว่าเราจะทำอะไร จะกินจะเดินจะนั่งจะนอนเราก็ศึกษา

ใจของเราอยู่เรื่อยดีชั่วมันรู้ที่ใจของเรา เมื่อเข้าใจตัวเองก็ปล่อยวางสิ่งที่เป็นทุกข์ใจได้

จึงว่ามาวัดแล้วได้กำไร ความสุขที่ซื้อด้วยเงินไม่ได้ แต่ต้องลงทุนด้วยการประพฤติปฏิบัติ

จึงจะมีค่ามาก ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าทำให้บุคคลมีความเจริญทางใจ รวยทางใจ

สวยทางใจ มีเสน่ห์ทางใจ มีความสุขทางใจ

เพราะอะไร?

เพราะใจมันดี ใจมันเป็นเทวดา ใจงาม งามศีล งามธรรมเพราะไม่โกรธ

การทำความไม่โกรธให้เกิดขึ้นกับใจได้นั้นเป็นผู้วิเศษ พระพุทธเจ้าทรง

ยกย่องผู้ทำใจได้นั้นว่ามี ปัญญา เพราะใจของเรามันละเอียดอ่อนยาก

ที่จะควบคุม ใจคนเรานี่เปรียบเหมือนลิง มันคิดอยู่ตลอดวัน เดี๋ยวคิดเรื่องนั้น


เดี๋ยวคิดเรื่องนี้มันอยู่ไม่สุข ต้องอาศัยหลักปฏิบัติจึงจะทำให้ใจเราเย็นลงได้

เป็นลิงที่ผูกอยู่ได้ไม่ซนต่อไป

อ้างอิง : หนังสือ ขัดที่ใจ โดย หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ หน้า ๕ ถึง ๗



.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา นะครับ สาธุ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




untitled.0..bmp
untitled.0..bmp [ 379.14 KiB | เปิดดู 5453 ครั้ง ]
พูดเป็นธรรมชี้นำทางดี




สัมมาวาจา

คนส่วนมากมองข้ามความสำคัญในการพูด ไม่ค่อยจะใช้คำพูด และข้อเขียน

เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งๆ ที่สามารถจะทำได้ โดยไม่ต้องลงทุกลงแรงอะไร

เกี่ยวกับเรื่องบุญกุศล มีคนจำนวนมาก รังเกียจที่จะทำบุญ

โดยอ้างว่าต้องใช้เงินทองทรัพย์สมบัติ เขาเป็นคนยากจน ก็ไม่สามารถทำบุญได้

แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะการพูดเป็นคุณประโยชน์ เป็นไปเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล

เป็นธรรมวินัย เป็นเหตุเป็นผล ไม่เป็นโทษภัยแก่ใครๆ นั้น

นับว่าเป็นบุญกุศลมหาศาล โดยไม่ต้องเสียเงินทองทรัพย์สินอะไรเลย


พูดเป็นกุศล ก็คือ พูดด้วยวจีสุจริต ๔

ตามนัยแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่

๑. ไม่พูดเท็จ ทำลายประโยชน์ของผู้อื่น

๒. ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกกัน

๓. ไม่พูดด่ากัน ด้วยคำหยาบ

๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ให้คนหลงใหล ประมาทสูญเสียโอกาสในการทำความดี

การพูดวจีสุจริตดังกล่าว ชื่อว่าเป็นสัมมวาจาเป็นองค์หนึ่งในมรรคมีองค์แปด พิจารณาเพียงผิวเผิน

อาจเห็นว่าไม่มีความสำคัญในการบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่สำคัญไม่น้อยเลย

เพราะพระพุทธองค์ ทรงสอนให้เว้นจากทางผิด แล้วดำเนินไปในทางถูกต้อง

เป็นการให้ปิดประตูทางแห่งความเสื่อมเสียให้ได้ก่อน เพื่อมิให้เป็นคนชั่ว คนบาป

ซึ่งถ้าทำบาปเข้าไปแล้ว ก็ยิ่งทำให้ห่างไกลมรรคผลนิพพาน หมดโอกาสพ้นทุกข์ดังประสงค์

ขออย่าลืมว่า ทางกาย และทางใจ มีประตูบาปอยู่เพียงทางละ ๓ ประตูเท่านั้น

ส่วนทางวาจานี้มีประตูบาป เปิดรับไว้ถึง ๔ ประตู ซึ่งคนทั่วไปมักถลันเข้าไปได้อย่างง่ายดาย

เพราะฉะนั้น จะต้องเห็นความสำคัญจะต้องสำรวมระวังสม่ำเสมอ

มิฉะนั้นจะไปสู่ทุคติแทนสุคติ หรือจะไปสู่ความเป็นพาล แทน นิพพาน อย่างง่ายดาย


หลักการพูดของพระบรมศาสดา

๑. วาจาใด ไม่จริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ ไม่เป็นที่รักขอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่พูดวาจานั้น

๒. วาจาใดจริง แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ทั้งไม่เป็นที่รักชอบใจของคนอื่นด้วย ตถาคตไม่พูดวาจานั้น

๓. ส่วน วาจาใด จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักชอบใจของคนอื่น

ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาลอันควร หรือไม่ควรที่จะพูดวาจานั้น

๔. วาจาใด ไม่จริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ถึงเป็นที่รักชอบใจ ของคนอื่น

คถาคต ไม่พูดวาจานั้นเด็ดขาด

๕. วาจาใด แม้จริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ถึงเป็นที่รักชอบใจของคนอื่น

ตถาคต ก็ไม่พูดวาจานั้น

๖. วาจาใด จริงแท้ด้วย ประกอบด้วยประโยชน์ด้วย ทั้งเป็นที่รักชอบใจของคนอื่นด้วย

ตถาคต ย่อมรู้กาลที่จะพูดวาจานั้น (ทรงเลือกเวลาพูด ไม่ใช่พูดทุกเวลา)

ขอให้ชาวพุทธยึดหลักการพูดของพระบรมศาสดานี้ไว้ ในการจะพูดจา

เพราะเป็นวิธีการพูดชั้นครู ชั้นยอด

กถาวัตถุ คือ ถ้อยคำที่ควรพูด ๑๐ อย่าง

๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย.

๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้.

๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ.

๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่.

๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร.

๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล.

๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ.

๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา.

๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส.

๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส





อ้างอิง : http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002223.htm

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 03:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ของพระติสสเถระ

เล่ากันว่า ในกรุงสาวัตถี บุตรของกุฏุมภีชื่อ ติสสะ

ละทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ออกบวชโดดเดี่ยวอยู่ในป่า

ที่ไม่มีบ้าน ภริยาของน้องชายท่าน ส่งโจร ๕๐๐ ให้ไปฆ่าท่านเสีย พวกโจรไปล้อมไว้ ท่านจึงถามว่า

"ท่านอุบาสกมาทำไมกัน"

พวกโจรตอบว่า

"มาฆ่าท่านนะซิ"

ท่านจึงพูดขอร้องว่า

"ท่านอุบาสกทั้งหลาย โปรดรับประกันอาตมา

ให้ชีวิตอาตมาสักคืนหนึ่งเถิด"

พวกโจรกล่าวว่าสมณะ

"ใครจักประกันท่านในฐานะอย่างนี้ได้"



พระเถระก็จับหินก้อนใหญ่ทุบกระดูกขาทั้งสองข้าง แล้วกล่าวว่า "ประกันพอไหม"

เหล่าโจรพวกนั้นก็ยังไม่หลบไป กลับก่อไฟนอนเสียที่ใกล้จงกรม พระเถระข่มเวทนา

พิจารณาศีล อาศัยศีลที่บริสุทธิ์ก็เกิดปีติและปราโมช ลำดับต่อจานนั้น ก็เจริญวิปัสสนา

ทำสมณธรรมตลอดคืน ในยามทั้งสาม พออรุณขึ้น ก็บรรลุพระอรหัต จึงเปล่งอุทานว่า

" เราทุบเท้าทั้งสองข้า ป้องกันท่านทั้งหลาย

เราเอือมระอาในความตายทั้งที่ ยังมีราคะ

เราคิดอย่างนี้แล้ว ก็เห็นแจ้งตามเป็นจริง

พอรุ่งอรุณมาถึง เราก็บรรลุพระอรหัต"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




wanma.jpg
wanma.jpg [ 104.77 KiB | เปิดดู 5364 ครั้ง ]
แม่คือพระของเรา

แม่...เป็นคำที่มนุษย์เปล่งเสียงได้เป็นครั้งแรก
ถือกันว่าแม่เป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์ของลูก
และมีอุปการะคุณต่อบุตรเป็นอเนกประการ
...คนทั่วไปพยายามจะเดินทางไปในที่ต่างๆ
เพื่อเสาะแสวงหาพระดีๆที่จะไปทำบุญกับท่าน
...............ที่ไหนว่าศักดิ์สิทธิ์ก็ไปกัน..........
...แต่ทั้งที่เรามีพระประจำตัวอยู่ใกล้เรา
....คือ...."มารดา" กลับมองไม่เห็น
พระที่อยู่กับเราเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์และประเสริฐที่สุด
...............ขอให้ทุกคนเร่งสร้างกุศลต่อท่าน........
และคำนึงอยู่เสมอว่า แม่คือพระของเรา...
...............ชีวิตก็จะมีสุข.............
กว่าการดั้นด้นไปหาพระศักดิ์สิทธิ์ที่ไหนๆ

....ความรักของแม่...

รักใดเล่ารักแน่เท่าแม่รัก

ผูกสมัครลูกมั่นไม่หวั่นไหว

ห่วงใดเล่าเท่าห่วงดังดวงใจ

ที่แม่ให้กับลูกอยู่ทุกครา

ยามลูกขื่นแม่ขมตรมหลายเท่า

ยามลูกเศร้าแม่โศกวิโยคกว่า

ยามลูกหายแม่ห่วงดังดวงตา

ยามลูกมาแม่หมดลดห่วงใย

ยามมีกิจหวังให้เจ้าเฝ้ารับใช้

ยามป่วยไข้หวังให้เจ้าเฝ้ารักษา

ยามถึงคราวล่วงลับดับชีวา

หวังให้เจ้าเฝ้าปิดตาเมื่อสิ้นใจ...

(..จากหนังสือ..วิวาห์พระสมุทร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกันตลอดกาลทุกเมื่อ





อ้างอิง :
Welcome to iceicy.freeforums.org




แม่คือบุคคลสำคัญของเรา วันเกิดของเราคือวันตายของแม่ การล่วงเกินใดๆ

แม้แต่เพียงความคิด กับแม่นี่ห้ามอย่างเด็ดขาด ...

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรัฃญา หรือเสน่ห์จากผ้าขี้ริ้ว
เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของความสะอาด
เราควรมาช่วยกันปิดทองหลังพระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




1211435600.jpg
1211435600.jpg [ 112.81 KiB | เปิดดู 5318 ครั้ง ]
ในหลวงพระราชปุจฉากับพระพรหมมุนี ในขณะทรงพระผนวช

พระราชปุจฉากับพระพรหมมุนี ในขณะทรงพระผนวช
พระราชปุจฉา
พระราชปุจฉากับพระพรหมมุนี ในขณะทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม และวันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙




*พระราชปุจฉาที่ ๑
ทำไมจึงเรียกพระองค์ว่า "พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

*พระพรหมมุนียถวายวิสัชนา...ความว่า
ทางธรรมะเรียกว่า สมมติซ้อนสมมติ สัจจะซ้อนสัจจะ ความเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็เป็น
สมมติอย่างหนึ่ง เรียกว่า สมมติเทพ ความเป็นภิกษุก็เป็นสมมิตอย่างหนึ่งซ้อนขึ้นใน
สมมติเทพ ในการเช่นนี้ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับสมมตินั้นๆ เช่น
เมื่อได้รับสมมติเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามสิกขาบทของพระภิกษุ
โดยเคร่งครัดจักปฏิบัติแต่หน้าที่สมมติเทพอย่างเดียวไม่ได้ แต่ถ้าหน้าที่ของ
สมมติเทพไม่ขัดกับสิกขาบทวินัยก็อาศัยได้...

*พระราชปุจฉาที่ ๒
ทำไมบางคนสร้างกรรมในชาติไว้มากจึงไม่ได้รับผลของกรรมนั้น
กลับเจริญมีความสุขอยู่ได้

*พระพรหมมุนีถวายวิสัชนา...ความว่า
ที่เขายังมีความเจริญและความสุขอยู่ ก็เพราะกรรมชั่วที่ทำนั้นยังไม่ให้ผล
ถึงกระนั้นบุคคลผู้ทำกรรมชั่วย่อมจะได้รับความเดือดร้อนในใจภายหลัง
ที่เรียกว่า "วิปฏิสาร" บางกรณีก็อาศัยผลของกรรมที่สร้างแต่บางก่อน...

*พระราชปุจฉาที่ ๓
ทำอย่างไรจะระลึกได้ซึ่งชาติก่อนและชาติหน้า

*พระพรหมมุนีถวายวิสัชนา...ความว่า
จะต้องบำเพ็ญตนเองให้สูงขึ้นในการปฏิบัติธรรมและอบรมจิตใจของตนเอง
ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับ เช่น เด็กๆ ระลึกหรือจำวันก่อนไปไม่ได้
ครั้นเจริญวัยก็จำเหตุการณ์ได้บ้าง และเห็นกาลในอนาคตบ้าง
เมื่อเจริญเต็มที่แล้วก็เห็นทั้งเหตุในอดีต และอนาคตอันไกล

*พระราชปุจฉาที่ ๔
การที่มีคนป่าวข่าวทำให้เสียชื่อเสียงและอาจได้รับผลสะท้อนถึงฐานะครอบครัว
ตลอดจนญาติพี่น้องตระกูล สมควรที่สมณเพศและคฤหัสถ์จะปฏิบัติตนเช่นไร

*พระพรหมมุนีถวายวิสัชนา...ความว่า
ทางสมณเพศ จงกระทำความดีต่อไป ความจริงย่อมหนีความจริงไม่พ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ประทานโอวาสให้แก้ตัว เช่น พระภิกษุถูกใส่ความ
ก็มีโอกาสแก้ตัวได้ ทางด้านคฤหัสถ์ถ้าจะฟ้องร้องขอความเป็นธรรมจากศาล
ก็ไม่ผิด แต่ถ้าตั้งใจปฏิบัติชอบต่อไปโดยไม่สะทกสะท้านต่อการใส่ความ
นานเข้าก็คงมีคนเห็นความดีความชอบเรา จะถือเป็นกรรมก็ได้
เป็นเรื่องของสังขาร ส่วนเหตุคือ คนอื่นปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว



คัดลอกจากหนังสือ ในหลวงในรอยธรรม โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า "คุณจะยอมเป็นผ้าขี้ริ้วได้ไหม"

ตอบ เป็นได้จ้า หากมีทอง (หลายๆกิโล) ให้ห่อ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถามว่า "คุณจะยอมเป็นผ้าขี้ริ้วได้ไหม"

ตอบ เป็นได้จ้า หากมีทอง (หลายๆกิโล) ให้ห่อ :b32:





พูดแล้วห้ามคืนคำนะคะ ต้องการสักกี่กิโลดีคะ? :b1:

หรือต้องการทองพันชั่งดีคะ :b32:

เดี๋ยวจัดให้ค่ะ :b4:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 4.32 KiB | เปิดดู 5283 ครั้ง ]
ทองคำแทงจากร้านทองเยาวราชจ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.ค. 2009, 20:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 21:25
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุนะคร้า

.....................................................
ศัตรูของคนเราที่แท้จริงแล้ว คือ โลภ โกรธ หลง
ต้องแก้ด้วยมี ศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ทองคำแทงจากร้านทองเยาวราชจ้า



งั้นเป็นเองดีกว่าค่ะ เพราะปกติก็เป็นอยู่แล้ว:b32:

นึกว่าจะมีคนมาเป็นเพื่อน :b5:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




1199899961.jpg
1199899961.jpg [ 20.95 KiB | เปิดดู 5259 ครั้ง ]
ทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่ ?

ปัญหาที่คนทั่วไปสนใจมากอยู่ข้อหนึ่ง คือการทำบุญล้างบาปหรือทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่?

การทำบุญละลายบาปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง

เช่นความชั่วเกิดขึ้นในใจ เมื่อความคิดดีขึ้น ความชั่วย่อมถอยไป ถ้าความดีเกิดขึ้นบ่อยๆ

ไม่ให้โอกาสแก่ความชั่ว ความชั่วก็เกิดขึ้นไม่ได้ เรียกว่าเอาความดีมาไล่ความชั่วหรือ

ละลายความชั่วอีกอย่างหนึ่ง ความชั่วที่บุคคลทำลงไปแล้ว ซึ่งจะมีผลในโอกาสต่อไป

ถ้าผู้นั้นเร่งทำความดีให้มากขึ้น จนท่วมท้นความชั่ว ผลของกรรมชั่วก็ค่อยๆ

จางลงจนไม่มีอนุภาพในการทำอันตรายให้ทุกข์ เปรียบเหมือนกรด(เอซิด) ซึ่งมีคุณสมบัติทำลายชีวิตได้

แต่ถ้าเติมด่าง(อัลคอไลน์)ลงไปเรื่อยๆ กรดนั้นก็เจือจางลง หมดคุณสมบัติในการทำลายให้โทษ

เปรียบอีกอย่างหนึ่ง เหมือนเกลือกับน้ำ สมมุติว่าเอาเกลือกำมือหนึ่งใส่ลงไปในน้ำแก้วหนึ่ง

น้ำนั้นจะเค็มมากเพราะน้ำน้อย แต่ถ้าเราเอาเกลือจำนวนนั้นใส่ลงไปในถังใหญ่ๆ

ความเค็มจะไม่ปรากฎแม้เกลือจะยังมีอยู่เท่าเดิม มันกลายเป็นมีเหมือนไม่มี

ที่ทางพระท่านเรียก"อัพโพหาริก" แปลว่า"มีเหมือนไม่มี" เรียกไม่ได้ว่ามีเหมือนไม่มี

เหมือนน้ำในก้อนดินแห้งหรือเนี้อไม้ เรารู้ได้ว่าความชื้นเป็นคุณสมบัติของน้ำ

เมื่อเราจุดไฟเผามีควันขึ้นมา เอาน้ำเกลือในแก้วซึ่งเค็มมากนั้น เทลงในถังใหญ่ๆ

แล้วเติมน้ำลงไปเรื่อยๆ โดยไม่เติมเกลือ ในที่สุดน้ำก็จะไม่ปรากฎความเค็มเลย

เพราะจำนวนเหนือจำนวนเกลือมากนัก ข้อนี้ฉันใด การทำความดีละลายความชั่ว

หรือละลายผลแห่งกรรมชั่วก็เป็นฉันนั้น ในที่นี้ความชั่วเปรียบเหมือนเกลือ

ความดีเปรียบเหมือนน้ำ ในทางกลับกัน กรรมดีเล็กน้อยอาจถูกกรรมชั่วละลายได้เช่นกัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีพุทธสุภาษิตอ้างอิงดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นนำเขาไปสู่นรก

บางคนทำบาปเพียงเล็กน้อยเหมือนกัน แต่บาปกรรมให้ผลเพียงในปัจจุบันชาติเท่านั้น

(ทิฏฺฐธมฺมเวทนีย์)ไม่ปรากฎผลอีกต่อไป


บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก? คือบุคคลที่ไม่ได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล

มิได้อบรมปัญญา มีคุณธรรมน้อย ใจต่ำ บุคคลเช่นนี้แหละ ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก

บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อย แต่บาปนั้นให้ผลอันแสบเผ็ด เพียงในชาติปัจจุบันแล้วไม่ให้ผลอีกต่อไป?

คือบุคคลผู้ที่ได้อบรมกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณธรรมมาก มีใจใหญ่อยู่ด้วยคุณ

มีเมตตาเป็นต้น อันหาประมาณมิได้ เปรียบเหมือนบุคคลใส่ก้อนเกลือลงไปในจอกน้ำเล็กๆ

น้ำนั้นย่อมเค็ม เพราะน้ำน้อย แต่ถ้าใส่ก้อนเกลือลงไปในแม่น้ำคงคา น้ำในแม่น้ำคงคาจะไม่เค็มเพราะ

ก้อนเกลือนั้นเลย เพราะน้ำมีมาก ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปนั้นนำเขาไปสู่นรก(เพราะเขามีคุณน้อย)

บางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปนั้นให้ผลเพียงในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป(เพราะเขามีคุณมาก)ฉันนั้น"



คนที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงเพียงเล็กน้อยเหมือนในน้ำในถ้วยใบเล็กๆ เมื่อทำบาป บาปย่อมให้ผลมาก

ส่วนคนมีคุณมากเหมือนน้ำในแม่น้ำ เมื่อทำบาป บาปให้ผลเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่ให้ผลเลยก็ได้

คุณธรรมหรือความดี จึงมีอานุภาพทำลายบาป ล้างบาปไปในตัว

บุคคลยิ่งมีคุณธรรมสูงมากขึ้นเพียงใด โอกาสที่จะล้างบาปหรือละลายบาปมากขึ้นเพียงนั้น

เพราะคุณความดีหรือความบริสุทธิ์ของใจนั้น มีคุณสมบัติ มีอานุภาพในการทำลายบาป ดังพุทธภาษิตว่า

"หม้อที่คว่ำ ย่อมคายน้ำออก ไม่ทำให้น้ำเข้าไปข้างใน ฉันได ผู้อบรมแล้ว ทำให้ได้มากแล้วซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘

ก็ย่อมคายบาปคายอกุศลธรรมออก ไม่ให้บาปอกุศลธรรมเข้าไปข้างใน ฉันนั้น"



"ผู้มีกายสะอาด วาจาสะอาด ใจสะอาด ไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่หมักหมม นักปราชญ์เรียกผู้สะอาด

สมบูรณ์ด้วยความสะอาดเช่นนั้นว่าเป็นผู้ล้างบาปได้"




ด้วยประการดังกล่าวมานี้ แสดงว่าการทำความดีละลายความชั่วในใจ และการทำความดีละลายผลแห่ง

กรรมชั่วที่ทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนผู้เคยผิดพลาดได้กลับตัว

ในเรื่องชีวิตธรรมดา สมมติว่าเคยมีใครคนหนึ่งเคยทำความเดือดร้อน เจ็บช้ำใจให้แก่เรา

ต่อมาเขารู้สีกตัวรีบทำความดีต่อเรา และทำเป็นการใหญ่ เราเห็นใจเขา กลับรักเขา

ให้อภัยในความผิดพลาดของเขา จริงอยู่สิ่งที่เขาทำลงไปแล้วนั้นก็เป็นอันทำแล้ว


ทำคืนไม่ได้ แต่ความดีใหม่ที่เขาทำลงไปเป็นอันมากนั้นย่อมมีผลลบล้างความชั่วได้

นอกจากย่อมมีกำไรเสียออีก อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนคนเคยเป็นหนี้ เมื่อได้ใช้หนี้แล้ว ใช้หมดแล้ว

ยังมีเงินเหลือให้ผู้ที่เขาเคยเป็นหนี้อีกมากมาย อย่างนี้เจ้าหนี้ย่อมจะพอใจเป็นอันมาก

เขาได้ชื่อว่าเคยเป็นหนี้เท่านั้น หนี้สินหาได้ติดตัวเขาอยู่จนบัดนี้ไม่ การทำชั่วเหมือนการก่อหนี้

ส่วนการทำความดีเหมือนการปลดเปลื้องหนี้ และการให้หนี้ การทำความดีจึงดีกว่าการทำความชั่ว

อีกตอนหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงปรารภพระองคุลิมาลแล้วตรัสว่า

"บาปกรรมที่บุคคลทำแล้ว ย่อมละเสียได้ด้วยกุศลกรรม บุคคลเช่นนั้นย่อมยังโลกให้สว่าง

เหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น"

นี้แสดงว่าบุคคลสามารถละลายบาปหรือล้างบาปกรรมด้วยกุศลกรรมได้

ความจริงเรื่องนี้ ทำให้ผู้ที่เคยทำชั่ว มีกำลังใจในการทำความดีในการกลับตัว

ไม่ถลำลึกลงไปในความชั่ว คนที่เคยทำความชั่วมา ถ้าเขารู้สึกตัวแล้วและพยายามทำความดี

อาจทำความดีได้มากกว่าและเป็นคนดีได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทำชั่วมาเสียอีก

"การทำผิดเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าค้นพบความผิดแล้วแก้ไขและตั้งใจว่า

จะไม่ทำอีกเป็นซ้ำสอง ก็น่ายกย่องนับถือยิ่งขึ้น"



รวมความว่า ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น บาปย่อมล้างได้ด้วยบุญ

กรรมชั่วล้างได้หรือละลายได้ด้วยกรรมดี แต่ต้องใช้เวลานาน

กุศลกรรมที่แรงๆ เช่น อรหัตมรรค อรหัตผล สามารถลบล้างความชั่วในใจได้หมดและ

มีอานุภาพห้ามผลแห่งกรรมชั่วเก่าๆ ที่เคยทำมาแล้วได้หมดสิ้น จะให้ผลอยู่บ้างก็เฉพาะเวลา

ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น พอท่านนิพพานแล้วผลกรรมต่างๆ ก็เป็นอโหสิกรรมไปหมดสิ้น

บทความนี้คัดมาจากหนังสือ "หลักกรรม และ การเวียนว่ายตายเกิด เขียนโดย วศิน อินทสระ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ธรรมดา โทร ๘๘๘-๗๐๒๖-๗

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร