วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 10:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




buddha_sabua.gif
buddha_sabua.gif [ 19.13 KiB | เปิดดู 2333 ครั้ง ]
ผลของความศรัทธาในพระพุทธเจ้า

ปัญหา ในศาสนาฝ่ายเทวนิยม ผู้ใดมีความเชื่อและความรักในพระผู้เป็นเจ้า ผู้นั้นย่อมมีหวังเข้าสู่สวรรค์ ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “....บุคคลใดมีเพียงความเชื่อ เพียงความรักเราบุคคลนั้นทั้งหมดเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า”

ผลแห่งการละกิเลส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย
ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสัญโญชน์ใน
ภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ เพื่อจะบัญญัติต่อไป.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยาย
แล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการ ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลายในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว กับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา
ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว
ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรา
กล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้นเปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ผู้เป็นธัมมานุสารี
เป็นสัทธานุสารี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เบื้องของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว
บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม
เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ อลคัททูปมสูตรที่ ๒

อลคัททูปมสูตร มู. ม. (๒๘๘)
ตบ. ๑๒ : ๒๘๑ ตม. ๑๒ : ๒๓๐
ตอ. MLS. I : ๑๒๘
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:18
โพสต์: 105

สิ่งที่ชื่นชอบ: การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
อายุ: 0
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus100038.jpg
Lotus100038.jpg [ 34.58 KiB | เปิดดู 2303 ครั้ง ]
หลักศรัทธาในพระพุทธศาสนา

************************

สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึงเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริง ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา
ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล เป็นความเชื่อที่ผ่านการกรั่นกรองแล้วจากปัญญา

ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุและผล ซึ่งผ่านการกรั่นกรองจากปัญญานี้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "สัทธาญาณสัมปยุตต์" (ญาณ แปลว่า ความรู้ที่เกิดจากปัญญา, สัมปยุตต์ แปลว่า ประกอบด้วย)การถือเอาสิ่งที่ตอนเองรู้ ตนเห็น โดยปราศจากการใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้ถึงเหตุและผลเป็นความเชื่อ ที่ขาดปัญญา พิจารณาถึงเหตุผล ความเชื่อเช่นนี้เรียกว่า "สัทธาญาณวิปปยุตต์" อนึ่ง ถ้าเชื่อตามเขาว่าเรียกว่า "อธิโมกข์ศรัทธา"
การเชื่อโดยปราศจากสติปัญญาก็ดี เชื่อตามคนอื่นว่าก็ดี ไม่จัดเป็น ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้า ทรงสอนเรื่องศรัทธาไว้ในที่ใด สอนไว้ในธรรมบทไหนก็ตามที พระองค์จะทรงสอนเรื่องของปัญญาไว้ในที่นั้น ๆ ด้วยเสมอ ทั้งนี้และทั้งนั้นก็เพื่อป้องกัน "ความเชื่อแบบงมงาย"

ความเชื่อเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ถ้าไม่เชื่อสิ่งใดก็จะไม่กระทำสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าเชื่อผิด ก็เป็นเหตุให้คิดผิด ทำผิด และถ้าเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ก็เป็นเหตุให้คิดดี ทำดี
ความเชื่อในสิ่งที่ผิด เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์ ความเสื่อม ความเดือดร้อน เป็นผลร้าย เป็นความพินาศ ตลอดจนทำให้เสียชีวิตได้ เป็นต้นว่า

๑.เชื่อเรื่องธรรมชาติ เช่น ภูเขา ต้นไม้ สัตว์ต่าง ๆ ที่ผิดปกติ มีวคามแปลกประหลาดไปจากธรรมดาแล้วทำการสักการะบูชาเพื่อหวังลาภ ยศ เป็นต้น
๒.เชื่อในผีสางเทวดา หรือวิญญาณ ว่าผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วยังคงมีวิญญาณวนเวียนอยู่ แล้วจึงทำการสักการะบูชาเพื่อหวังขอลาภ ยศ มีการสร้างศาล ต่าง ๆ เพื่อให้ผี สาง วิญญาณ มาสิงสถิตอยู่ เป็นต้น

ความเชื่อในสิ่งเหล่านี้เป็นความเชือที่ปราศจากปัญญา เป็นความเชื่อที่ยึดถือตามใจตนเอง หรือเป็นความเชื่อตามผู้อื่น หาได้เกิดประโยชน์ใด ๆ ไม่

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แก่ชาว "กาลามะ" ที่แคว้นโกศล ถึงความเชื่อที่อาจจะทำให้ผิดพลาดได้ ๑๐ ประการ ดังนี้ "ดูก่อนกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย พึง..

๑.อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินแล้ว
๒.อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่สืบ ๆ กันมา
๓.อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า "ได้ยินว่าอย่างนี้"
๔.อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
๕.อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง
๖.อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน (อนุมาน)
๗.อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ
๘.อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกับทิฏฐิของตน
๙.อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดเป็นผู้สมควรเชื่อถือได้ (เพราะอาจผิดทั้งคู่ก็ได้)
๑๐.อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนั้นเป็นครูของเรา (ครูอาจารย์ก็อาจคิดผิดได้)

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนต่อไปว่า ก่อนที่จะเชื่อสิ่งใด ให้ใช้ปัญญาพิจารณาว่า "ดูก่อนชาวกาลามะท่านทั้งหลาย เมื่อใดท่านรู้ได้ด้วย ตัวตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล มีโทษ นักปราชญ์ติเตียน เมื่อทำแล้วย่อมให้เกิดแต่ส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์และทุกข์ ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย, ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ไม่มีโทษ นักปราชญ์สรรเสริญ เมื่อทำแล้ว ย่อมให้เกิดประโยชน์และสุข ท่านควรเข้าถือธรรมเหล่านั้นอยู่"พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ใช้ปัญญาของตนเอง


พระพุทธเจ้า ทรงแสดงความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาไว้ ๔ ประการ คือ.-

๑.กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม
๒.วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม
๓.กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔.ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อปัญญาการตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า (พระพุทธเจ้า)

กัมมสัทธา คือความเชื่อกรรม ได้แก่ ความเชื่อการกระทำของตนเอง ที่แสดงออกได้ทางกาย วาจา และใจ ว่าการแสดงออกทางกาย วาจา ใจนั้น เมื่อทำแล้ว เป็นอันทำ ไม่ใช่ทำแล้วไม่เป็นอันทำ

หมายความว่า การกระทำทางกาย เรียกว่า กายกรรม
การกระทำทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม
การกระทำทางใจ เรียกว่า มโนกรรม
กรรม เป็นคำกลาง ๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว ได้แก่กิริยาอาการ เช่น ยืน เดือน นั่ง นอน เป็นต้น
กรรมจะดีหรือชั่วได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ

วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม ได้แก่ เชื่อว่าทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว รวมไปถึงกรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว ก็จะได้รับผล เช่นเดียวกัน คือความสำเร็จที่เกิดจากการกระทำนั้น ๆ เหมือนกับการปลูกพืช ปลูกอ้อย สิ่งที่เกิดขึ้นมาคืออ้อย ปลูกแตง สิ่งที่ได้ก็คือแตง ไม่กลายพันธ์ไปเป็นอย่างอื่น

กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หมายความว่า กรรมใดใครเป็นผู้กระทำ ผู้นั้นต้องเป็นผู้รับผล จะรับผลแทนกันไม่ได้ หรือจะรับผลแต่กรรมดี แล้วโยนผลกรรมชั่วให้แก่คนอื่น ก็ไม่ได้, เป็นเรื่องเฉพาะตน โยนให้คนอื่นไม่ได้ แต่เพราะเหตุว่า ตนต้องรับผลของการกระทำนั้น จึงชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของของตน

ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อปัญญาการตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า (พระพุทธเจ้า) หมายถึง การเชื่อและยอมรับว่าพระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญาตรัสรู้จริง และ ธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นเป็นของจริง ประพฤติปฏิบัติตามแล้วย่อมได้รับผลจริง สิ่งที่พระองค์ตรัสว่าเป็นกุศล เป็นบุญ เป็นความดี ทำแล้วย่อมได้รับผลดีจริง ๆ สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เป็นอกุศล เป็นบาป เป็นความชั่ว ทำแล้วย่อมได้รับผลชั่วจริง

บุคคลผู้มีศรัทธา พึงทราบว่า พระพุทธศาสนา ไม่ได้สอนให้เชื่ออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก เช่นเดียวกับฤกษ์ ยาม การดูหมอ การผูกดวง การสะเดาะเคราะห์ เพราะสิ่งเหล่านั้น ไม่สามารถดลบันดาลให้บุคคลเป็นไปอย่างโน้นได้ อย่างนี้ได้ แต่พระองค์ทรงสอนให้เชื่อกรรม คือ การกระทำของตนเอง จึงขอแนะนำให้รู้จักทางที่ควรละ คือทางแห่งการทำชั่ว

พระพุทธเจ้าทรงแนะแนวทางแห่งการกระทำความดีทางกาย วาจา และใจ เรียกว่า กุศลกรรมบถ
กุศลกรรมบถ ได้แก่ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง ดังนี้

ก. กายกรรม คือ กรรมที่ทำด้วยกาย ๓ อย่าง ได้แก่

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม

ข. วจีกรรม คือกรรมที่ทำด้วยวาจา ๔ อย่าง ได้แก่

๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
๕. ปิสุณายวาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจาก พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

ค. มโนกรรม กรรมที่ทำด้วยใจ ๓ อย่าง ได้แก่

๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรมบุคคลควรดำเนินตามกุศลกรรมบท ๑๐ ประการอย่างนี้ และควรเว้นจากอกุศลกรรมบท ๑๐ ซึ่งมีนัยอันตรงกันข้ามกับกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ที่กล่าวมาแล้ว และบุคคลใดไม่ดำเนินตามคำสอน ก้าวล่วงอกุศลกรรมบ้าง ประพฤติชั่วแล้วทางใดทางหนึ่ง มีฆ่าสัตว์ เป็นต้น ย่อมเข้าถึงทุทุจริต ย่อมมีทุคติเป็นที่หมายในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน


*************************************

โดย พระสถาพร ฐานวโร (อายุศะนิล)
ครูสอนพระปริยัติธรรมวัดท่าไทร

ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครองค่ะ :b8: :b8: :b8: Kiss

.....................................................
“การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง”

เราต่างเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา...เพราะพระพุทธศาสนาจริง ๆ
ดีได้เพียงนี้ ไม่ดีน้อยกว่านี้...เพราะพระพุทธศาสนา
ร้ายเพียงเท่านี้ ไม่ร้ายไปกว่านี้...เพราะพระพุทธศาสนา
เราจะไม่เป็นเช่นนี้
“ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี”
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร