วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 09:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม ใ ห้ ไ ด้ ผ ล ดี
คื อ ป ฏิ บั ติ อ ย่ า ง ไ ร !?!?

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)


• ถ า ม

การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี คือปฏิบัติอย่างไร (ผู้ถาม : ภูริจฉก์)

• ต อ บ

มีพระพุทธวจนใน มหาสติปัฏฐานสูตร (๑๐/๒๗๓/๓๒๕) ว่า

ผู้มีปฏิบัติพึงมี ความเพียร (อาตาปี)
มีสติสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว และมีสติความระลึกได้

หรืออาจนำเอาหลักธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติไม่ผิด ที่เรียกว่า อปัณณกปฏิปทา ๓
คือการสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินทรียสังวร)
รู้ประมาณในอาหาร (โภชเนมัตตัญญุตา)

และมีความเพียรในการปฏิบัติ ไม่เห็นแก่การนอนหลับ (๒๐/๔๕๕/๑๔๒)
ก็นำมาใช้ได้ในการประคองให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดี


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : คำถาม-คำตอบ ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม ๕
โดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์,
พิมพ์ครั้งที่ ๑, พ.ศ. ๒๕๔๓, หน้า ๖๒)


:b44: รวมคำสอน “อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=49286


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี คือ ปฏิบัติอย่างไร ?
การปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องแบ่งแยกออกเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท ที่เป็นเช่นนั้น ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มบุคคล ในทุกกลุ่มเชื้อชาติ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา จึงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑. การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของบุคคลทั่วไป เพื่อการปฏิสัมพันธ์ ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
๒. การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของบุคคลที่มีความต้องการที่จะปฏิบัติธรรมให้ได้ถึงชั้นอริยบุคคลหรือปฏิบัติธรรมเพื่อจุดมุ่งหมายจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ในที่นี้หมายรวมตั้งแต่กลุ่มบุคคลที่เข้ามาพึ่งทางธรรมเพื่อต้องการขัดเกลาความเศร้าหมองในจิตใจ หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเศร้าหมองในจิตใจอยู่แล้วและเข้ามาปฏิบัติธรรม เพื่อต้องการขจัดความเศร้าหมองตามความเข้าใจของพวกเขา หรือความหลงผิดในจิตใจของเขาทั้งหลายเหล่านั้น
เมื่อท่านทั้งหลายได้ทราบแล้วว่า การปฏิบัติธรรมจำต้องแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท การปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ผลดี ก็ย่อมต้องแบ่งการปฏิบัติเป้น ๒ รูปแบบ เพื่อให้ได้ผลดี ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของกลุ่มบุคคลทั่วไปนั้น ถ้าจะเอาแบบง่ายๆสั้น ก็ย่อมต้องนำเอาหลักการของ "อริยมรรค อันมีองค์๘ "มาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดีและการดำรงชีวิตในสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน เป็นไปอย่างราบรื่น มีแต่ความสมัครสมานสามัคคี แทบจะไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย นั่นก็คือ "
๑. มีความเห็นในทางที่ดี,
๒.คิดในทางที่ดี,
๓.เจรจาติดต่อสื่อสารในทางที่ดี,
๔.ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดี,
๕.เลี้ยงชีพเลี้ยงตัวเองในทางทีดี,
๖.มีความขยันหมั่นเพียรในทางที่ดี,
๗.ความหวนนึกถึงในทางที่ดี,
๘.ความตั้งใจสำรวมจิตในทางที่ดี
(ขยายความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
ทั้ง ๘ ข้อ ย่อมเป็นเครื่องมือที่จะช่วยหรือจะทำจะนำให้บุคคลที่ยึดถือสามารถปฏิบัติธรรมได้ผลดียิ่ง เพราะธรรมทั้งหลายล้วนย่อมมีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ถ้าใช้หลักการของ อริยมรรคอันมีองค์๘ เป็นเครื่องช่วยในการปฏิบัติ ซึ่ง ตัวของ อริยมรรค อันมีองค์๘ ก็เป็นหลักธรรมอย่างหนึ่ง เช่นกัน ถ้านำไปปฏิบัติ ก็คือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมอันจักทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้นเกิดธรรมทั้งหลายในจิตใจอยู่เสมอ นั่นหมายความว่า ทั้งผู้ปฏิบัติ และผู้ได้ร่วมปฏิสัมพันธ์ ย่อมเกิดธรรมอย่างดีเยี่ยมทั้งสองฝ่าย
ส่วนการปฏิบัติธรรมในอย่างที่ ๒ เป็นการปฏิบัติธรรมของผู้ที่มีความต้องการใคร่จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จนถึงบุคคลที่ต้องจะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุสู่ชั้นอริยบุคคล และหมายรวมถึงบุคคลที่เข้ามาพึ่งทางธรรม เพื่อต้องการขัดเกลาความเศร้าหมองในจิตใจ หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเศร้าหมองในจิตใจอยู่แล้วและเข้ามาปฏิบัติธรรม เพื่อขจัดความเศร้าหมองในจิตใจตามความเข้าใจของพวกเขา หรือความหลงผิดในจิตใจของพวกเขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็ย่อมต้องมีเครื่องมือ หรือหลักวิธีที่จะทำให้การปฏิบัติได้ผลดี เป็นขั้นเป็นตอน ตามหลักพุทธศาสนา อันได้แก่
๑.เรียนรู้หลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง
๒.ฝึกปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานไปตามลำดับ
เพราะการปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ กองนั้น แท้จริงแล้ว ก็คือการฝึกปฏิบัติ ตามหลัก "สติปัฏฐาน ๔ "นั่นเอง เพียงแต่แยกออกมาอธิบายหรือจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เป็นหลักการหรือเครื่องมือที่ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้หรือง่ายต่อการปฏิบัติ
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี สำหรับบุคคลประเภทที่ ๒ จึงจำต้อง เรียนรู้หลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง และฝึกปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานไปตามลำดับ
การปฏิบัตินั้น ในทางพุทธศาสนาจะแนะนำไว้ว่า "ไม่ตึง ไม่หย่อน" นั่นหมายความว่า ให้บุคคลทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมรู้จักจัดแบ่งเวลาที่เหมาะสม ให้รู้จักว่า เวลาไหนควรฝึก เวลาไหนความปฏิบัติ เวลาไหนความคิด หรือเวลาไหนไม่ควรคิด ถ้ารู้จักจัดแบ่งเวลา ในชีวิตประจำวันของบุคคล แต่ละบุคคลย่อมสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้ผลอย่างดียิ่ง และย่อมใช้ชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างปกติสุข ไม่หนีโลก หนีปัญหา ฉะนี้
จ่าสิบตรี เทวฤทธ์ ทูลพันธ์
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร