วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 21:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

:b43: :b43: :b43:

การศึกษาตามความหมายที่แท้จริงในพุทธศาสนา

ถ้าตั้งปัญญาหาว่า การศึกษาตามความหมายที่แท้จริงในพุทธศาสนานั้นคืออะไร จะได้คำตอบว่า การศึกษาคือการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และการลงมือปฏิบัติให้เกิดผล ในพุทธศาสนาใช้คำว่า สิกขา เช่นคำว่า ศีลสิกขา คือการศึกษาเรื่องศีล ไมได้หมายเพียงแต่การเรียนรู้ศีลอย่างเดียว ต้องทำความเข้าใจในเรื่องศีลให้ถูกต้อง ถ่องแท้ จิตตสิกขา การศึกษาเรื่องจิต คือการเรียนรู้ทำความเข้าใจ และการปฏิบัติในเรื่องจิต เรื่องสมาธิ ปัญญาสิกขา การศึกษาเรื่องปัญญาก็ทำนองเดียวกัน ต้องมีการอบรม มีการปฏิบัติ มีการพัฒนาปัญญา

ฉะนั้น คำว่า “การศึกษา” ในความหมายที่แท้จริงทางพุทธศาสนา หมายถึง การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และการปฏิบัติให้เกิดผล ถ้าศึกษาเล่าเรียนอย่างเดียว เรียนอย่างเดียวเรียกว่า ปริยัติ ไม่ใช้คำว่า สิกขา เราคงได้ยินคำว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติ คือการลงมือกระทำตามที่ศึกษาเล่าเรียนมา ปฏิเวธ คือการได้บรรลุมรรคผลตามขั้นตอนของการปฏิบัตินั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องบรรลุมรรคผลนิพพานเสมอไป จึงจะเป็นปฏิเวธ ซึ่งคนส่วนมากเข้าใจอย่างนั้น แต่หมายถึงการได้บรรลุผลเป็นขั้นตอน ตามกำลังความสามารถของการปฏิบัติได้ เช่น มีความเพียร มีความอดทน มีสติ มีหิริโอตตัปปะ เราปฏิบัติไปตามนั้น ได้บรรลุผล ได้เห็นผลของความเพียรความอดทนนั้น สุดท้ายหรือสูงสุดของปฏิเวธ คือการได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดกระบวนการการพัฒนาชีวิต

แม้แต่ในเรื่องปริยัติ คนบางพวกเรียนเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ทำตนเหนือผู้อื่น ซึ่งเป็นเหตุให้กิเลสเพิ่มพูนขึ้น เป็นเหยื่อของกิเลส ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า ศึกษาเล่าเรียนเหมือนจับงูพิษทางหาง เรียกว่า
อลคัททูปมปริยัติ ถ้าจับทางหาง งูย่อมเอี้ยวหัวมากัดได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ในวงฆราวาส ในวงของพระก็เช่นเดียวกัน บางท่านพอเรียนได้เปรียญฯ ได้เป็นเจ้าคุณชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม กิเลสเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย เป็นเหตุให้ทะนงตน ยกตนข่มผู้อื่น ในหมู่ชาวบ้าน คนนั้นจบมาจากอังกฤษ อเมริกา การเชิดชูสถาบันทำให้มีแนวโน้มในการที่จะมีอหังการ (Egoistic tendency) พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “เรียนไม่ดี” อย่างนี้มีความรู้น้อยยังจะดีกว่า

บางพวกศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะปฏิบัติ ขัดเกลาอุปนิสัยจิตใจของตน ให้ดำเนินไปตามร่องรอยของพระอริยเจ้า เรียนเพื่อสลัดตนออกจากกองทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะเห็นภัยในการเวียนตาย เวียนเกิด เรียกว่า
นิสสรณัตถปริยัติ แม้เราจะไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า แต่เดินตามรอยของพระอริยเจ้า วันหนึ่งก็ต้องไปถึงที่หมายที่พระอริยเจ้าเคยไปถึง ขณะที่เดินตามรอยอยู่นั้น แม้จะยังไม่ถึงก็เกิดปีติ ปราโมทย์ ได้ความสบายใจ ทั้งที่ยังครองชีวิตแบบชาวบ้าน เหมือนการกินข้าว ใช่ว่าจะไปสบายตอนอิ่มแล้ว เราได้อัสสาทะ ได้รสของอาหารไปเรื่อย ๆ ทุกคำ กินไปสบายไปถึงคำสุดท้ายอิ่มบริบูรณ์ เหมือนกับอบรมตนไป ศึกษาไป ปฏิบัติไป ก็ได้ประโยชน์ไปเรื่อย ๆ ตอนสุดท้ายเรียกได้ว่า มีตนที่เต็มบริบูรณ์ (Self-fulfilment) เหมือนอาบน้ำก็เริ่มสบายตั้งแต่ขันแรก ยิ่งร้อนมากก็รู้สึกอาบสบาย

บางคนมาสนใจธรรมะเพราะเคยหมักหมมไปด้วยกิเลส มากระทบธรรมะเข้าจะตื่นเต้นมาก เที่ยวพูดคุยให้ใคร ๆ ฟังไปเรื่อย จนเพื่อน ๆ พากันห้าม นั่นเป็นความรู้สึกตื่นเต้นต่อสิ่งใหม่ที่ตนได้มาพบ จากการที่เมื่อก่อนหมักหมมด้วยกิเลส อิจฉา พยาบาท ซึ่งเป็นโลกียวิสัย พอมากระทบกับสิ่งที่บริสุทธ์ เหมือนเหงื่อเต็มตัว เกรอะกรัง พอมาได้น้ำเย็นก็สบายตัว แต่คนที่อยู่กับธรรมะเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไร ก็สงบ ความตื่นเต้นนั้นคือการเริ่มมีปีติ และมีปัสสัทธิ ค่อย ๆ สงบลง ๆ มีอุเบกขา ปฏิบัติไปนานเข้าก็นิ่งเฉย และไม่อยากคุยกับใครแล้ว ซึ่งเป็นไปตามกระบวนธรรมตามกฎธรรมชาติ ธรรมดาที่เป็นเช่นนั้นเอง นี่เป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อขัดเกลาอุปนิสัย จิตใจ ให้ดำเนินไปตามรอยของพระอริยเจ้า เรียนเพื่อสลัดตนออกจากกองทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะเห็นภัยในการเวียนเกิด เวียนตาย

ท่านทั้งหลายทราบแล้วว่า คนในโลก ในสังคม ที่จะอยู่ในสภาพอย่างที่ท่านทั้งหลายอยู่คงไม่มีมากเท่าไร ส่วนมากอยู่ในฐานะที่ลำบากยากจนคับแค้น หากินไม่พอใช้ เห็นแล้วทำให้มีความรู้สึกว่า ไม่น่าจะมีชีวิตอยู่เลย แต่ว่าตราบใดที่ยังต้องเกิดอยู่ก็ยังต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่ว่าจะเกิดเป็นอย่างไรก็ต้องทุกข์ไป ตามประสาอย่างนั้น แม้จะเป็นคนมีบุญก็ทุกข์แบบคนมีบุญ คนมีบาปก็ทุกข์อย่างคนมีบาป ไม่ใช่มีบุญแล้วจะไม่ทุกข์ ลองไปถามคนทั้งหลายที่รู้จักว่าเป็นคนที่มีบุญดูจะบ่นกันทุกคน เพราะเห็นโทษของสังสารวัฏ เห็นธรรมดาสังสารวัฏเป็นอย่างนั้นจนรู้สึกเบื่อ ไม่อยากเวียนว่ายตายเกิดก็มี

มีอีกพวกหนึ่งเรียนเพื่อจะบอกเล่าแก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น สำหรับตัวเขาเอง เขาเพียงพอแล้วที่จะปฏิบัติให้สิ้นทุกข์ได้ด้วยตนเอง แต่เป็นผู้มีจิตใจเผื่อแผ่ มีความกรุณา จึงศึกษาเพิ่มเติมอยู่เรื่อย เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น คล้าย ๆ เจ้าหน้าที่คลัง พระพุทธเจ้าใช้คำว่า
ภัณฑาคาริกปริยัติ ศึกษาเหมือนกับขุนคลัง เก็บของไว้ในคลังไม่ใช่เพื่อจะใช้เอง ถ้าใครต้องการ มีความจำเป็นที่จะใช้ก็เบิกไปใช้ได้ การศึกษาของพระอรหันต์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นไม่ใช่เพื่อตนเอง เพราะตัวเองถึงที่สุดแล้ว......... :b8: :b8: :b8:

(จากหนังสือ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม.....วศิน อินทสระ)


:b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:

:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิกขา หรือ การศึกษา คือการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา
มนุษย์ที่ฝึก ศึกษา หรือพัฒนาแล้ว ชื่อว่าเป็น สัตว์ประเสริฐ
เป็นผู้ที่รู้จักดำเนินชีวิตที่ดีงามด้วยตนเอง และช่วยให้สังคมดำรงอยู่ในสันติสุขโดยสวัสดี

ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ......... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 13:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
บางคนมาสนใจธรรมะเพราะเคยหมักหมมไปด้วยกิเลส มากระทบธรรมะเข้าจะตื่นเต้นมาก เที่ยวพูดคุยให้ใคร ๆ ฟังไปเรื่อย จนเพื่อน ๆ พากันห้าม นั่นเป็นความรู้สึกตื่นเต้นต่อสิ่งใหม่ที่ตนได้มาพบ จากการที่เมื่อก่อนหมักหมมด้วยกิเลส อิจฉา พยาบาท ซึ่งเป็นโลกียวิสัย พอมากระทบกับสิ่งที่บริสุทธ์ เหมือนเหงื่อเต็มตัว เกรอะกรัง พอมาได้น้ำเย็นก็สบายตัว แต่คนที่อยู่กับธรรมะเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไร ก็สงบ ความตื่นเต้นนั้นคือการเริ่มมีปีติ และมีปัสสัทธิ ค่อย ๆ สงบลง ๆ มีอุเบกขา ปฏิบัติไปนานเข้าก็นิ่งเฉย และไม่อยากคุยกับใครแล้ว ซึ่งเป็นไปตามกระบวนธรรมตามกฎธรรมชาติ ธรรมดาที่เป็นเช่นนั้นเอง นี่เป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อขัดเกลาอุปนิสัย จิตใจ ให้ดำเนินไปตามรอยของพระอริยเจ้า เรียนเพื่อสลัดตนออกจากกองทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะเห็นภัยในการเวียนเกิด เวียนตาย


อ้างคำพูด:
มีอีกพวกหนึ่งเรียนเพื่อจะบอกเล่าแก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น สำหรับตัวเขาเอง เขาเพียงพอแล้วที่จะปฏิบัติให้สิ้นทุกข์ได้ด้วยตนเอง แต่เป็นผู้มีจิตใจเผื่อแผ่ มีความกรุณา จึงศึกษาเพิ่มเติมอยู่เรื่อย เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น คล้าย ๆ เจ้าหน้าที่คลัง พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ ศึกษาเหมือนกับขุนคลัง เก็บของไว้ในคลังไม่ใช่เพื่อจะใช้เอง ถ้าใครต้องการ มีความจำเป็นที่จะใช้ก็เบิกไปใช้ได้ การศึกษาของพระอรหันต์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นไม่ใช่เพื่อตนเอง เพราะตัวเองถึงที่สุดแล้ว.........


:b8: :b20: :b20: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 70 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร