ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=22765
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  I am [ 03 มิ.ย. 2009, 08:49 ]
หัวข้อกระทู้:  การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

รูปภาพ

การขอโทษและการให้อภัย

การรู้จักขอโทษนั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเอง และเป็นการช่วยระงับหรือช่วยแก้โทสะของผู้ถูกกระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดีในทางหนึ่ง หรือจะกล่าวว่าการขอโทษคือการพยายามป้องกันมิให้มีการผูกเวรกันก็ไม่ผิด

เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิด อีกผู้หนึ่งเกิดโทสะเพราะถือความผิดนั้นเป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตน แม้ไม่อาจแก้โทสะนั้นได้ ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้น ถ้าแก้โทสะนั้นได้ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้ เป็นการสร้างอภัยทานขึ้นแทน อภัยทานก็คือการยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

อันอภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ
เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน
คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด
จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใส
พ้นจากความกลุ้มรุมบดบังของโทสะ


โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น

ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้ ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน

ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่ เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่ และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป

ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย
แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้


ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน

อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างใดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย



:: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

:b8: :b8: :b8:

:b44: รวมพระนิพนธ์ “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43452

:b44: ความหมายของพระนาม “สมเด็จพระญาณสังวรฯ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=81&t=54941

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 03 มิ.ย. 2009, 09:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณ I am

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

:b16: cool :b27:

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 03 มิ.ย. 2009, 10:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

I am เขียน:
โกรธแล้วหายโกรธเอง
กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน
โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา
ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ
ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด

แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย
เป็นการบริหารจิตโดยตรง
จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น


:b43: :b43: :b43:

I am เขียน:
ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย
แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้


:b43: :b43: :b43:

สาธุ...สาธุ...สาธุ
อนุโมทนาอย่างยิ่งนะคะ คุณ I am :b8: :b4: :b12:

เจ้าของ:  O.wan [ 03 มิ.ย. 2009, 17:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

:b8: คุณ I am
ขอบคุณสำหรับบทความตอนนี้
:b48: โกรธแล้วหายโกรธเอง
กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน
โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา
ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ
ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด

แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย
เป็นการบริหารจิตโดยตรง
จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น

เราเป็นคนที่โกรธง่าย แต่หายเร็ว เพราะหายไปเอง ไม่เคยรู้เลยว่าต้องมีคำว่าให้อภัย
คิดว่าการให้อภัยคือการทำผิดเป็นการกระทำเท่านั้น
สาธุด้วยใจจริงๆค่ะ ที่ทำให้เราวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องค่ะ :b29:

เจ้าของ:  I am [ 05 มิ.ย. 2009, 08:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

สวัสดีครับ คุณ O.wan

ธรรมที่นำมานี้ เป็นบทพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระสังฆราชครับ
คุณ O.wan เป็นคนมีบุญนะครับ ที่โกรธง่ายหายเร็ว ไม่อาฆาต ไม่พยาบาท
เป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของพระอริยะขั้นต้น (โสดาบัน)

:b8:

เจ้าของ:  O.wan [ 05 มิ.ย. 2009, 09:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

I am เขียน:
สวัสดีครับ คุณ O.wan

ธรรมที่นำมานี้ เป็นบทพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระสังฆราชครับ
คุณ O.wan เป็นคนมีบุญนะครับ ที่โกรธง่ายหายเร็ว ไม่อาฆาต ไม่พยาบาท
เป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของพระอริยะขั้นต้น (โสดาบัน)

:b8:

:b12: ขอบคุณสำหรับคำชมนะคะ
ที่จริงแล้วเป็นคนไม่ค่อยเก็บมาคิด แล้วก็แล้วไป แต่ข้อเสียก็คือใจร้อนโมโหง่ายน่ะค่ะ
เดี๋ยวนี้หันมาศึกษาธรรมะมากขึ้น สวดมนต์มากขึ้น แต่ใจเย็นลงนิดหน่อยค่ะ :b32:
เหมือนกับมันเป็นนิสัยที่ทำมานาน ต้องใช้เวลาอีกนานค่ะที่จะปรับเปลี่ยน :b34: :b34:
:b40: ยินดีมากค่ะที่ได้เป็นกัลยาณมิตรกับ คุณ I am :b8:
ยังไงก็ช่วยชี้แนะแนวทางธรรมให้ด้วยนะคะ :b8:

เจ้าของ:  ariyachon [ 07 มิ.ย. 2009, 22:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

รู้จักโกรธ แต่ไม่รู้จักให้อภัย ....ก็เสื่อม

:b8: :b8:

เจ้าของ:  damjao [ 03 ส.ค. 2009, 07:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ

เมตตาเป็นเครื่องคำจุนโลก :b8:

เจ้าของ:  pitchaploy [ 12 ต.ค. 2009, 10:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  porntiwa [ 12 ต.ค. 2009, 10:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

การให้อภัยทานเป็นทานที่ยิ่งใหญ่........เคยอ่านจากหนังสือเรื่อง อภัยทาน รักบริสุทธ์ :b19:

เจ้าของ:  คุณเพชร [ 15 ต.ค. 2009, 09:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

บางทีเขาทำผิดจริงๆ แต่ถ้าเราคิดเป็น เราก็จะไม่โกรธหรอก

เขาทำแก้วแตก เขาพูดไม่ไพเราะ เขาขี้เกียจ เขาทำงานไม่ดีเลย เราต้องระวังใจ อย่าโกรธเลย ความผิดของเขาเอาไว้เป็นความผิดของเขา อย่าให้เป็นความผิดใจของเราเลย อย่าให้ทำลายใจของเรา อย่าให้ใจเสีย อย่าเสียใจเลย โกรธเขาเมื่อไหร่ เราผิดทันที เป็นบาป เป็นอกุศล บาปกว่าเขา โง่กว่าเขาซ้ำไป คิดดู พินิจพิจารณาดีๆ นะ สมมุติว่า เขาทำแก้วแตกโดยความประมาท เราโกรธ เดือดร้อนใจเป็นนรก ถ้าขาดใจตายเดี๋ยวนี้...เป็นทุคติ ตกนรกจริงๆ ด้วย ถ้าเขาตายเดี๋ยวนี้...เขาไม่เป็นอะไร ทำแก้วแตกไม่เป็นเหตุให้ตกนรกหรอก แต่โกรธเป็นเหตุให้ตกนรกได้นะ คิดดู ใครผิด ใครโง่ ใครบาปมากกว่ากัน เมื่อคิดได้เช่นนี้ ก็จะเกิดความละอาย ไม่กล้าโกรธ คือ เกิดหิริโอตตัปปะ เกิดศีล บรรเทาทุกข์ได้และดับทุกข์ได้ ในที่สุด คิดถูกดับทุกข์ได้ดังนี้

เจ้าของ:  bbb [ 21 ต.ค. 2009, 07:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  หนอนน้อย [ 17 พ.ย. 2009, 13:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ขออนุโมทนาครับคุณลูกโป่ง

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  angy [ 28 ก.พ. 2010, 07:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

หนอนน้อย เขียน:
ขออนุโมทนาครับคุณลูกโป่ง

:b8: :b8: :b8:
:b18:

เจ้าของ:  พลบค่ำ [ 25 มี.ค. 2010, 17:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การขอโทษและการให้อภัย (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

อนุโมทนาค่ะ

การให้อภัย ถือเป็นทานอันแสนประเสริฐ^^~

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/