วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2011, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 22:40
โพสต์: 142

แนวปฏิบัติ: ไม่มีอะไรต้องปฏิบัติ
งานอดิเรก: ทำงานให้สุญญตา
สิ่งที่ชื่นชอบ: พุทธทาสภิกขุ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




พุทธทาสข-01.jpg
พุทธทาสข-01.jpg [ 101.76 KiB | เปิดดู 2180 ครั้ง ]
"เรื่องความว่างนี้ไม่ใช่เรื่องอื่น คือเรื่องทั้งหมดของพุทธศาสนา"


“ไม่ต้องทำอะไร คืออยู่นิ่ง ๆ ไม่ต้องทำอะไร แล้วมันก็จะว่างเอง”


คำว่า “อยู่นิ่ง ๆ ไม่ต้องทำอะไร” นี้ มันมีความหมายมากอยู่ คือว่าเรามันซุกซน เรามันสัปดน เที่ยวรับเอาอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายเข้ามา เมื่อรับเข้ามาแล้วยังโง่พอที่จะเปิดโอกาสให้ธรรมะฝ่ายอวิชชานั้นขึ้นนั่งแท่นบัญชางานเสียเรื่อย มันจึงเป็นไปแต่ในทางยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวกู-ว่าของกู เรียกว่าซน ไม่ยอมอยู่นิ่ง ๆ


“อยู่นิ่ง” ก็หมายความว่า ไม่รับเอาอารมณ์เข้ามา หรือว่าอารมณ์มากระทบ ก็ให้มันตายด้าน เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง เมื่อตาเห็นรูป ก็สักแต่ว่าเห็น เป็นต้น นี้เรียกว่ามันไม่รับเข้ามา หรือว่าทำอย่างนั้นไม่ได้ มันเลยไปเป็นเวทนา คือพอใจ หรือไม่พอใจเสียแล้ว ก็ให้หยุดเพียงแค่นั้น อย่าได้อยากต่อไปอีก ตามความพอใจหรือความไม่พอใจ อย่างนี้ก็พอที่จะให้อภัย ว่ายังอยู่นิ่ง ๆ อยู่ได้ เรื่องมันจะได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น


ถ้าพอใจแล้วทำอะไรต่อไปยืดยาว เดี๋ยวตัวกู-ของกู ก็โผล่ออกมา หรือว่าถ้าไม่พอใจ แล้วก็ทำอะไรไปตามความไม่พอใจ มันก็เป็นความทุกข์ นี้เรียกว่าไม่อยู่นิ่ง ๆ


เพราะฉะนั้น คำว่า “อยู่นิ่งๆ” ของเว่ยหล่าง หรือฮวงโปก็ตามนั้น


อยู่นิ่ง ๆ คำนี้มันมีความหมายอันเดียว อย่างเดียวกับประโยคที่ว่า “สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ” นั่นเอง เพราะว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว ธุระอะไรจะไปยุ่ง หรือเข้าไปวุ่น หรือวิ่งเข้าไปหาที่สิ่งเหล่านั้นให้มันวุ่นทำไม ไม่อยู่นิ่ง ๆ เพราะฉะนั้นคำว่า “อยู่นิ่ง ๆ” จึงมีความหมายอย่างนี้


เราจงดูให้เห็นความว่างที่พึงประสงค์ การที่กล่าวว่ามีความว่างชนิดที่ก่อ ให้เกิดความหยุด หรือความสะอาด ความสว่าง ความสงบ อะไรก็ตาม นี้ยังพูดอย่างสมมติ เพราะว่าถ้าพูดอย่างความจริง หรือพูดอย่างถูกต้องแล้ว มันไม่มีอะไรนอกจากความว่าง มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น แล้วความว่างนั้นมันไม่ก่อให้เกิดอะไร เพราะว่าความว่างนั้นมันเป็นตัวพุทธะ ตัวธรรมะ ตัวสังฆะ ตัวหนทาง ตัวสะอาด ตัวสว่าง ตัวสงบ อะไรหมด อยู่ที่ความว่างนั้น


ถ้ายังพูดว่า ความว่างเป็นเหตุให้เกิดนั่น เกิดนี่แล้ว ก็แปลว่าเรายังไม่รู้ถึงที่สุด ยังไม่ใช่ว่างถึงที่สุด เพราะถ้าว่างถึงที่สุดแล้ว มันไม่ต้องทำอะไร อยู่นิ่ง ๆ มันก็เป็นพุทธะ ธรรมะ สังฆะ สะอาด สว่าง สงบ นิพพาน อะไรในตัวมันเอง ในตัวที่ไม่ปรุงแต่งให้เป็นอะไรขึ้นมานั่นเอง


เมื่อจะสอนคนเขลา ๆ โดยวิธีที่ง่ายที่สุด ให้รู้จักสังเกตความว่างนั้น ฮวงโปได้ให้ปริศนาไว้อันหนึ่งว่า ให้ดูที่จิตของเด็กก่อนที่จะปฏิสนธิ อาตมาก็ขอฝากท่านทั้งหลายไว้ให้หาดูจิตของเด็กก่อนที่จะปฏิสนธิในครรภ์นั้นมันอยู่ที่ไหน ถ้าหาอันนี้พบ แล้วจะหาความว่างพบได้ง่าย ๆ เหมือนกับคลำพบของที่มีอยู่ที่หน้าผากแล้ว


ขอสรุปว่า เรื่องความว่างนี้ไม่ใช่เรื่องอื่น คือเรื่องทั้งหมดของพุทธศาสนา จะว่าพระพุทธเจ้าหายใจเข้าออกอยู่ด้วยความว่าง หรือว่ามันเป็นทั้งหมดของพุทธศาสนา เป็นความรู้ เป็นการปฏิบัติ เป็นผลของการปฏิบัติ ถ้าเรียนก็ต้องเรียนเรื่องนี้ ปฏิบัติก็ปฏิบัติเพื่อผลอันนี้ ได้ผลมาก็ต้องเป็นอันนี้ แล้วในที่สุดเราก็จะได้สิ่งที่ควรจะได้ที่สุด ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ เพราะว่าเมื่อเข้าถึงความว่างนั้นได้นั้น มันก็หมดปัญหา



...พุทธทาสภิกขุ...


:b8: :b39: :b41:

.....................................................
สนทนาธรรมกันด้วยเอ็นดูเมตตาเกื้อกูลกัน มี "สัมมาวาจา"
ชวนกันสนทนาเรื่องทุกข์กับดับทุกข์ ถ้าไปเรื่องอื่น มันมีแต่เรื่องทุกข์มากขึ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร