วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 01:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2009, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มิตรแท้ มิตรเทียม


บางส่วนจากสิงคาลกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 923&Z=4206
มิตรเทียม
"ดูก่อนคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ
- คนปอกลอก ๑
- คนดีแต่พูด ๑
- คนหัวประจบ ๑
- คนชักชวนในทางฉิบหาย ๑
..... ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร แต่เป็นคนเทียมมิตร."

มิตรปอกลอก เป็นอย่างไร

" ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนปอกลอกท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
แต่เป็นคนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ
- เป็นคนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑
- เป็นคนเสียให้น้อย แต่คิดเอาให้ได้มาก ๑
- เป็นคนไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑
- เป็นคนคบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๑.
คฤหบดีบุตร คนปอกลอก ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล."

คนดีแต่พูด เป็นอย่างไร

"ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
แต่เป็นคนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ
- เก็บเอาของล่วงผ่านแล้ว มาปราศรัย ๑
- อ้างเอาของที่ยังไม่มาถึง มาปราศรัย ๑
- สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑
- เมื่อมีกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง ( ออกปากพึ่งมิได้ ) ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูดท่านพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตร
แต่เป็นคนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล."

คนหัวประจบ เป็นอย่างไร
"ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
แต่เป็นคนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ
- ตามใจเพื่อน ให้ทำความชั่ว (จะทำชั่วก็คล้อยตาม) ๑
- ตามใจเพื่อนให้ทำความดี (จะทำดีก็คล้อยตาม) ๑
- ต่อหน้าก็สรรเสริญ ๑
- ลับหลังนินทา ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล."

ชวนในทางฉิบหาย เป็นอย่างไร
"ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
แต่เป็นคนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ
- ชักชวนให้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
- ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ๑
- ชักชวนให้ดูการมหรสพ ๑
- ชักชวนให้เล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนชักชวนไปในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
แต่เป็นคนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล."

"บัณฑิตผู้รู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ
มิตรปอกลอก ๑ มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัวประจบ ๑ มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑
ว่าไม่ใช่มิตรแท้ พึงเว้นเสียให้ห่างไกล
เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ฉะนั้น


เรื่องมิตรแท้

"ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ
- มิตรมีอุปการะ ๑
- มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
- มิตรแนะประโยชน์ ๑
- มิตรมีความรักใคร่ ๑
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี (เป็นมิตรแท้)"

มิตรมีอุปการะ
"ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ
- รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑
- รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑
- เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑
- เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้น เพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล."

มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
"ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ
- บอกความลับแก่เพื่อน ๑
- ปิดความลับของเพื่อน ๑
- ไม่ละทิ้งในเมื่อมีเหตุอันตราย ๑
- แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล."

มิตรแนะประโยชน์
"ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์
ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ
- ห้ามจากความชั่ว ๑
- ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
- ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑
- บอกทางสวรรค์ให้ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์
ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล."

มิตรมีความรักใคร่
"ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่
พึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ
- ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑
- ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน ๑
- ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑
- สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่
ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล."

"บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวก เหล่านี้ คือ
มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑
ว่าเป็นมิตรแท้ ฉะนี้แล้ว
พึงเข้าไปคบหาโดยเคารพ เหมือนมารดากับบุตร ฉะนั้น."


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 923&Z=4206


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2009, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สขสูตรที่ ๒
(ภิกษุที่เป็นมิตรแท้)


[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการควรเสพควรคบเป็นมิตร
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่


ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
- ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑
- เป็นที่เคารพ ๑
- เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑
- เป็นผู้ฉลาดพูด ๑
- เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑
- พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ๑
- ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล
ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ฯ

ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ ฉลาดพูด อดทนต่อถ้อยคำ
พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในภิกษุใด
ภิกษุนั้นเป็นมิตรแท้ มุ่งอนุเคราะห์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ผู้ประสงคจะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2009, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุ

ธรรมะสวัสดีวันพระค่ะ

:b1: :b27: :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร