วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 00:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ค. 2009, 09:16
โพสต์: 15

ที่อยู่: ไร่ปฏิบัติธรรมเขาฝาระมีต.พรหมนีอ.เมืองจ.นครนายก26000

 ข้อมูลส่วนตัว www




คำอธิบาย: ธรรมจักรคือแสงสว่างแห่งธรรม
dhammajak.gif
dhammajak.gif [ 48.2 KiB | เปิดดู 2321 ครั้ง ]
ธรรมเป็นที่ตั้งของ
ความไม่เสื่อม หรือธรรมไม่เป็นที่ตั้งของ
ความเสื่อม. ธรรมเหล่านี้ มีเนื้อความ
เข้าใจง่ายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ต้อง
อธิบายมาก:
๑. หมั่นประชุมกัน เพื่อช่วยกัน
พิจารณาจัดทำกิจการของหมู่ที่จะพึงทำ,
นี่เห็นได้แล้วว่าไม่เป็นที่ตั้งของความเสื่อม
หรือเป็นที่ตั้งของความไม่เสื่อม.
๒. เมื่อประชุม ก็พร้อมเพรียงกัน
ประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียง
กันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่
สงฆ์จะต้องทำ, ข้อนี้ความชัด เห็นได้
ง่ายอยู่แล้ว เพราะถ้าไม่พร้อมเพรียง
กันเช่นนั้นก็เป็นทรงเสื่อม ต่อเมื่อพร้อม
เพรียงกัน จึงเป็นทางเจริญ.
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้
บัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ
ไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้. นี้ว่าถึง
พระบัญญัติได้แก่วินัยหรือสิกขาบท, พึง
พิจารณาดูพระบัญญัติหรือพระวินัย หรือ
สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ แยก
ออกเป็นสอง คือ อาทิพรหมจริยกา พระ
บัญญัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์
หมายความว่า พระบัญญัติที่ไม่ควรจะล่วง
จริง ๆ ไม่สักแต่ว่าเป็นธรรมเนียมประ-
เพณีอย่างหนึ่ง, อภิสมาจาร พระบัญญัติ
เพียงแต่ให้ประพฤติยิ่งหรือความประพฤติ
ดีตามคราวตามสมัย หรือตามความนิยม
ของคนอย่างหนึ่ง. พระบัญญัติที่เป็นเบื้อง
ต้นของพรหมจรรย์คือมีโทษจริง ๆ นั้น
ถ้าได้ทรงบัญญัติลงไปแล้ว ยังอ่อนอยู่ทรง
บัญญัติให้แรงขึ้น, ส่วนที่เป็นแต่เพียง
อภิสมาจาร ถ้าทรงบัญญัติไว้แล้วแรงไป
ก็ผ่อนลงมาให้เบาจนถึงอาจไม่สำเร็จประ-
โยชน์เดิมได้ เช่น ห้ามไม่ให้ภิกษุนอน
ร่วมกับอนุปสัมบันในห้องเดียวกัน, ภาย
หลังเมื่อมีสามเณรขึ้น ทรงอนุญาตให้
นอนร่วมกับสามเณร ซึ่งเป็นอนุปสัมบัน
เหมือนกันได้เพียง ๒-๓ คืน. ในที่นี้พึง
พิจารณาว่า อนุปสัมบันที่ ๒ ชนิด ชนิด
หนึ่งคือสามเณรที่เป็นบรรพชิตด้วยกัน อีก
ชนิดหนึ่งเป็นคฤหัสถ์; ชนิดที่เป็นสามเณร
เป็นบรรพชิตด้วยกัน ทรงอนุญาตให้นอน
ร่วมได้ ๒-๓ คืน, แต่เมื่อเรียกสามเณร
เป็นอนุปสัมบัติ ก็ทั่วไปถึงคฤหัสถ์ซึ่งเป็น
อนุปสัมบันด้วย ความก็เลยทั่วกันไป.
๔. ภิกษุเหล่าใด เป็นประธานเป็น
ผู้ใหญ่ สงฺฆปิตโร เป็นบิดรของสงฆ์
สงฺฆปริณายกา เป็นผู้นำของสงฆ์, เคารพ
ในสังฆบิดร ในท่านผู้นำสงฆ์ เชื่อฟังใน
ถ้อยคำของท่าน ก็เป็น อปริหานิยธรรม.
ทุก ๆ หมู่ต้องมีหัวหน้า, ถ้าไม่มีหัวหน้า
ก็รวบรวมกันเป็นหมู่ไม่ติด, นี่เห็นกัน
ได้ง่าย ๆ แล้ว เช่นในครอบครัวหนึ่ง ก็
ต้องมีหัวหน้า, พึงพิจารณาดู, ถ้าไม่มี
หัวหน้า เสมอกันได้หมด ครอบครัวนั้น
ก็ยุ่งเหยิงหมดตั้งอยู่ไม่ได้, ถ้ามีหัวหน้า
ครอบครัวเป็นผู้ปกครอง, ครอบครัวนั้น
ก็อยู่กันด้วยดี; ในสงฆ์ก็เหมือนกัน ถ้า
ไม่มีสังฆบิดรไม่มีสังฆปริณายก คือ ผู้นำ
อยู่กันตามลำพัง, ใครจะทำอะไรเป็น
อย่างไรก็ทำได้ จะไม่มีระเบียบ จะยุ่งเหยิง
กันไปหมด, ถ้ามีหัวหน้ามีสังฆบิดร สังฆ-
ปริณายกที่ดี เป็นผู้ควบคุมแล้ว ก็อยู่กัน
เรียบร้อย, เพราะฉะนั้น จึงต้องมีสังฆบิดร
สังฆปริณายก, แม้มี แต่ไม่เคารพนับถือ
ไม่เชื่อฟังก็ยุ่งอีก. เมื่อเช่นนี้ ท่านผู้เป็น
สังฆบิดรสังฆปริณายก ก็ต้องประพฤติตัว
ให้ดีให้สมกับเป็นสังฆบิดรสมเป็นสังฆปริ-
ณายก ให้เป็นที่เคารพนับถือเชื่อฟังของ
ผู้ที่อยู่ด้วยกัน, เหมือนดังหัวหน้าของ
ครอบครัว จะเป็นหัวหน้าที่ดีได้ ก็ต้อง
ประพฤติดี, ถ้าหัวหน้าประพฤติไม่ดี, คน
ในครอบครัวก็ไม่เคารพนับถือ อยู่ด้วย
กันไม่เรียบร้อยไม่เป็นสุข.
๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยาก นี่
เข้าใจง่ายแล้ว. ความอยากในที่นี้หมาย
ถึงตัณหา, ตามธรรมดาคนเราอยากโน่น
อยากนี่อยากต่าง ๆ รวมลงในกามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา. เพียงแต่ชาวบ้าน
ลุอำนาจของตัณหาก็ยังไม่ดีไม่งาม ยิ่งเป็น
บรรพชิตเป็นภิกษุ ลุอำนาจของตัณหา
ทำตามอำนาจของตัณหา ยิ่งไม่ดีไม่งาม
มาก, เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอน
ไม่ให้ลุอำนาจของตัณหา.
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า, นี้ก็หมาย
ถึงยินดีในกายวิเวก เพราะเสนาสนะป่า ก็
หมายถึงเสนาสนะอันสงัดที่ประกอบด้วย
วิเวกคือความสงัด.
เมื่อจัดวิเวกออกไป ท่านจัดออกเป็น
๓ คือ :-
กายวิเวก สงัดกาย ได้แก่อยู่ในเสนา-
สนะอันสงัด ไม่ให้เกลื่อนกล่นกังวลยุ่ง
เหยิงด้วยบุคคล กิจการงานต่าง ๆ.
จิตตวิเวก สงัดจิต สงัดกายแล้วก็
เป็นปัจจัยที่จะให้ถึงความสงัดจิต, จิตของ
คนเราตามธรรมดาฟุ้งซ่านไปรับอารมณ์
ต่าง ๆ ที่เรียกว่า จิตตวิกเขป ความ
ฟุ้งซ่านของจิต, ถ้าทำจิตให้สงบระงับ
ด้วยมุ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ซ่านไป
ในอารมณ์ต่าง ๆ กำจัดนีวรณธรรมเครื่อง
กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดีเสียได้ แม้ชั่ว
ครู่ชั่วขณะ นี่เรียกว่าจิตตวิเวก สงัดจิต.
ถ้าใครทำให้จิตตวิเวกความสงัดจิตเกิดขึ้น
จะรู้จักรสของจิตที่สงัดที่สงบเป็นสุขประ-
ณีตละเอียด ที่คนยังไม่ได้ทำให้บรรลุถึง
นึกไม่เห็น. เพราะฉะนั้น คนที่ยังมีจิต
อันหยาบอยู่จึงต้องการความสุขในอารมณ์
ต่าง ๆ ไม่รู้จักความสงบของจิต.
ความสงบสงัดจิต ที่เรียกว่าจิตตวิเวก
ให้เกิดความสุขชั่วคราว เพราะยังไม่รู้
ตามเป็นจริง, ทางพระพุทธศาสนาต้อง
การให้รู้ตามเป็นจริง. แต่จิตตวิเวกก็เป็น
ปัจจัยที่จะให้ได้รู้ตามเป็นจริง ดังที่พระ-
พุทธเจ้าเคยทรงแสดงไว้ว่า พระองค์ทรง
ทำจิตให้สงบระงับเป็นจิตตวิเวก ทรงน้อม
จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปพิจารณา ก็ได้
ทรงรู้จริงเห็นจริง.
อุปธิวิเวก สงัดจากอุปธิ กิเลสที่เข้า
มาครอบงำจิต, ท่านเรียกว่า อุปธิ แปล
ตามศัพท์ว่า เข้าไปทรง คือ กิเลสที่เข้าไป
ครอบงำจิตให้อยู่ใต้อำนาจของกิเลส. ถ้า
เรียกตามภาษาบาลีก็เรียกว่า กิเลสอุปธิ
หรือ กิเลสูปธิ อุปธิคือกิเลส. โดยตรง
อุปธิน่าจะได้แก่กิเลส เพราะแปลว่าเข้า
ไปทรง, แต่ว่าพระอาจารย์ท่านแสดงอุปธิ
ไว้ ๔ คือ :-
ขันธอุปธิ ขันธ์ก็ได้แก่ขันธ์ ๕ อัน
รวมเข้าเป็นกายอันนี้ เรียกว่าขันธอุปธิ
หรือขันธูปธิ อุปธิคือขันธ์. ถ้าเอาขันธ์
เป็นอุปธิ จะแปลว่าผู้เข้าไปทรง ไม่ได้
จะต้องแปลว่า ขันธ์ที่บุคคลเข้าไปยึดถือ
ด้วยกิเลส, เพราะฉะนั้น ขันธ์จึงเป็นที่ยึด
ถือของอุปธิคือกิเลส นี่อย่างหนึ่ง.
กรรม คือ กิจการที่บุคคลทำ. เมื่อ
บุคคลทำกิจการงาน ทางกาย ทางวาจา
ทางใจ ก็ได้ผล, ผลก็เป็นที่ชอบใจบ้าง
ไม่ชอบใจบ้าง, บุคคลเข้าไปยึดกรรมคือ
การงานที่ทำว่าเป็นของเรา เราเป็นกรรม
กรรมเป็นตัวตนของเราเช่นนี้, กรรมเป็น
อุปธิ คือเป็นที่เข้าไปยึดถืออีกอย่างหนึ่ง
เรียกกัมมอุปธิ หรือกัมมูปธิ.
กาม หมายเอาวัตถุกาม คือ วัตถุที่
สัตว์ใคร่ รวมเข้าก็ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเรียกว่ากามคุณหรือ
กามารมณ์ ( กาม + อารมณ์ ). คนหรือ
สัตว์เข้ายึดกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ( ด้วยกิเลสกาม ), รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกามคุณหรือ
กามารมณ์ ก็เป็นที่ยึดอีกชนิดหนึ่ง จึง
เรียกกามอุปธิ หรือกามูปธิ.
แต่ถ้าโดยตรงแล้วกิเลสนั่นแหละ :
กิเลสเข้าไปยึดขันธ์ ขันธ์ก็เป็นอุปธิ, กิเลส
เข้าไปยึดกรรม กรรมก็เป็นอุปธิ, กิเลส
เข้าไปยึดกาม กามก็เป็นอุปธิ. ถ้ากิเลส
ไม่เข้าไปยึด เพราะหมดกิเลสแล้ว, ขันธ์
ก็คงเป็นขันธ์อยู่ ไม่เป็นที่ยึดของท่านผู้รู้
ผู้ไม่มีกิเลส, กรรมก็คงเป็นกรรมอยู่ แม้
ท่านผู้รู้ก็ยังทำกรรมอยู่ แต่ท่านไม่ยึด
กรรมและผลของกรรม. ส่วน รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มีประจำอยู่ใน
โลก, แต่ท่านผู้รู้เป็นไม่มีกิเลส ก็ไม่เข้า
โลก, แต่ท่านผู้รู้เป็นผู้ไม่มีกิเลส ก็ไม่เข้า
ไปยึด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ,
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ไม่เป็น
กามอุปธิของท่านผู้รู้.
กายวิเวก สงัดกายเป็นปัจจัยแห่งจิตต-
วิเวก, จิตตวิเวกความสงัดจิต เป็นปัจจัย
แห่งอุปวิเวก คือ ความสงัดจากอุปธิ. เมื่อ
จิตไม่มีอุปธิแล้ว จิตก็ปลอดโปร่ง เพราะ
รู้เห็นตามเป็นจริง. ทางพระพุทธศาสนา
ชั้นสูง จึงสอนให้สงัดจากอุปธิ เรียกว่า
อุปธิวิเวก.
๗. หวังให้เพื่อสพรหมจารีหรือ
เพื่อบรรพชิต คือ ภิกษุสามเณรผู้มีศีล
เป็นที่รักซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว
ขอให้อยู่เป็นสุขด้วยกันทั้งหมด. ผู้มีศีล
เป็นที่รัก คือผู้หนักอยู่ในศีลในวินัย, หวัง
ใจว่า ท่านเช่นนั้นที่ยังไม่มาก็ขอให้มา ที่
มาแล้วก็ให้อยู่เป็นสุข. แต่ถ้าภิกษุไม่เป็น
เปสละ คือไม่มีศีลเป็นที่รัก ประพฤติ
ล่วงศีล หรือเรียกว่าทุศีล เรียกว่าอลัชชี
ไม่มีความอายเช่นนี้, ถ้าเข้ามาอยู่ก็ทำให้
หมู่ยุ่งเหยิงเดือดร้อน ไม่อยู่ในข้อที่หวัง;
เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ ท่านจงให้ตั้งใจ
หวังว่าภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก คือผู้มีศีล
อันดียังไม่มาก็ขอให้มา ที่มาแล้วก็ขอ
ให้อยู่ด้วยกันเป็นสุข, นี่เป็นอปริหา-
นิยธรรม ธรรมที่เป็นที่ตั้งของความไม่
เสื่อม หรือธรรมไม่เป็นที่ตั้งของความ
เสื่อม, เห็นได้ง่าย ๆ เข้าใจได้ง่าย ๆ.
รวมเป็นอปริหานิยธรรม ๗ ข้อ.
ธรรม ๗ ข้อเหล่านี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุ
ทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักตั้งอยู่ใน
ธรรม ๗ ข้อเหล่านี้เพียงใด ก็หวังได้
ว่ามีความเจริญฝ่ายเดียว ไม่มีความ
เสื่อมเลยเพียงนั้น. :b8: "ครูพระ"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร