วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 11:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
ความสุขของคฤหัสถ์ จะเกิดขึ้นได้ ๔ ประการ

๑.ความสุขเกิดจากการมีทรัพย์
เมื่อคนเรามีความขยันหมั่นเพียร
มีความตั้งใจที่จะทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า
และมีผลงานในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ก็จะทำให้มีหน้าที่การงานและรายได้สูงขึ้น
มีทรัพย์สินเงินทองสะสมไว้เป็นประโยชน์ต่อชีวิต
เพื่อวันข้างหน้าต่อไปเถิดท่านจะประเสริฐที่สุด

๒.ความสุขจากการใช้ทรัพย์
เงินทองนั้น ไม่ได้หามาได้ง่ายเลย
หามาด้วยความเหนื่อยยากด้วยกันทุกคน
จะเกิดความภูมิใจอิ่มเอิบว่า ตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมนั้น
นำไปใช้ทำประโยชน์ ทำกุศลผลบุญต่าง ๆ
และนำไปซื้อของใช้ที่จำเป็นต่อชีวิต
หรือสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้เป็นหลักฐานที่มั่นคงแก่ชีวิตยิ่งขึ้นต่อไปเถิด

๓.ความสุขจากการไม่เป็นหนี้
การที่เราหาทรัพย์สิน หามาด้วยความเหนื่อยยากลำบาก
จะต้องระมัดระวังรักษาทรัพย์มิให้สูญหายไป
จะกระทำสิ่งใดก็ต้องรู้จักแบ่งทรัพย์ให้ถูกต้องเป็น ๔ ประการ
คือ เพื่อตนเองและครอบครัว ทำบุญทำกุศลและส่วนรวมหนึ่ง
เพื่อธุรกิจการงาน สองส่วน
เพื่อสะสมไว้เป็นทุนสำหรับชีวิตในอนาคตอีกหนึ่งส่วน
ฉะนั้นเมื่อจะนำเงินนั้นมาลงทุนหรือดำเนินกิจการใด ๆ
ก็ต้องคำนึงถึงหลัก ๔ ประการนี้
ถึงแม้ว่าจะเพลี่ยงพล้ำก็ไม่เกิดเป็นทุกข์
การที่ทำธุรกิจเกินตัวหรือการใช้จ่ายเกินตัว จะทำให้เกิดเป็นหนี้ขึ้น
การเป็นหนี้นั้นนอกจากจะทำให้ชีวิตตัวเองไม่มีความสุขแล้ว
ยังทำให้ครอบครัวไม่มีความสุขด้วย

๔.ความสุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ
ถ้าเรามีความประพฤติสุจริตไม่บกพร่องเสียหาย
ทำมาหากินในทางสุจริต ใคร ๆ ติเตียนไม่ได้
ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ เราก็เกิดความสุขความภาคภูมิใจ

ผู้ที่มีความประสงค์จะมีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า ความสงบเป็นเป็น สุขอย่างยิ่ง


คนที่มีจิตใจสงบ ไม่วุ่นวายกับสิ่งใด ๆ
มีความตั้งใจและสมาธิแน่วแน่ดีในพระกรรมฐาน จะทำแต่สิ่งที่ดี ๆ ทั้งนั้น
และมีความตั้งใจที่จะทำงานของตนให้ดียิ่งขึ้น
ไม่ทำความชั่ว ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำร้ายผู้อื่น และไม่อยากได้ของผู้อื่น
เลี้ยงชีวิตโดยชอบ ก็จะทำให้ชีวิตนั้นมีความสุขและความสงบเกิดขึ้น
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน สติปัญญาก็จะเกิดขึ้นจากความสงบนั้น
และบรรลุถึงการปฏิบัติธรรมในที่สุด
อย่างที่มาเจริญกรรมฐานด้วยความถูกต้อง
ความสุขใดเสมอด้วยความสงบไม่มีแล้ว

ท่านทั้งหลาย สิ่งใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้น
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติ
บุคคลที่มีจิตใจเป็นปกติย่อมมีความสุขและความสงบ
มีความเจริญก้าวหน้าของชีวิต
ส่วนผู้ที่มีจิตใจที่ผิดปกติ
ก็จะเกิดโทษทุกข์ทรมาน และเกิดความเดือดร้อนต่อตัวเองและผู้อื่นนานัปการ
ความปกติจึงทำให้คนพบกับความสันติสุขและไม่มีโทษ

ความเป็นปกตินี้ พระพุทธศาสนาบัญญัติว่า เป็นศีล
ที่โยมนั่งกรรมฐาน ถือศีลก็คือ ความเป็นปกตินั่นเอง
บางท่านที่ไม่รู้จักคำว่า ศีล อีกนัยหนึ่งไม่รู้จักคำว่า ศีลคืออะไร
เลยสิ้นกำลังใจที่จะรักษาศีล แต่ความจริงแล้ว ศีล แปลว่า ปกติ

ก็มีเรื่องอยู่ว่าก่อนพุทธกาลสมัยนั้น ศาสนามีมาก เขามีอยู่ก่อน
สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาทรงอุบัติขึ้นมาทีหลัง
จะไปที่ไหนก็ดีเวลานั้นในเขตประเทศอินเดีย
ต้องพูดกันถึงศาสนา ถือว่า เป็นสมัยที่คลั่งศาสนาและเวลานี้ก็ยังคลั่งอยู่
คนที่นับถือศาสนาต่างศาสนากันก็เป็นชาวอินเดียเหมือนกัน
รบกันในเรื่องศาสนานี้เป็นปีที่แล้ว
ในสมัยก่อนก็ยังมียกทัพมารบกันก็เรื่องการนับถือศาสนา
เป็นอันว่า คนสมัยนั้นเป็นคนคลั่งศาสนามาก
ถ้าใครถือศาสนาของศาสดาใดก็นับถือศาสดานั้นเป็นสรณะที่พึ่ง
ถือว่าของตนดีกว่า

ในสมัยต่อมาสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
องค์สมเด็จพระประทีปแก้วเสด็จไปที่ใด
ทรงสอนบรรดาพุทธบริษัทใหม่ ๆ แล้ว

เขาจะถามกันว่า ทำอย่างไรจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรคนเราจะมีทรัพย์สมบูรณ์ใช้ได้ไม่ขาด
ทำอย่างไรจิตใจของคนจึงจะสบาย จิตใจจะสงบ


องค์สมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงแสดงเรื่องศีลว่า
ตามธรรมดาของคนนั้นต้องการอยู่เป็นสุข
คือ ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกายเรา
ไม่มีใครต้องการให้ใครมาเข่นฆ่าเรา
ทรัพย์ของเรามีอยู่ก็ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่ง
มาลักขโมยบังคับขู่เข็ญเอาทรัพย์สินไป
คนที่มีคนรักมีสามีภรรยาและคนที่รักบุตรธิดาลูกหลานเหลนก็ตาม
ก็ไม่ต้องการให้ใครมาข่มเหงน้ำใจ
วาจาทุกอย่างที่เราได้ฟัง ต้องการให้คนที่มาพูดกับเราพูดแต่ความเป็นจริง
เพราะเราต้องการอย่างนั้น
ทรงกล่าวว่า ทั้งชายและหญิงเหมือนกันหมด คือไม่มีใครต้องการเป็นคนชั่ว


องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงกล่าวว่า
ดูกรท่านผู้เจริญ ถ้าทุกคนต้องการมีความสุข ให้ปฏิบัติตามดังนี้


๑.ปาณาติปาตา เวรมณี
ขอให้ทุกคนงดเว้นเบียดเบียนทางร่างการซึ่งกันและกัน
อย่าประหัตประหาร อย่าเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน
นอกจากนั้นให้เอาจิตตั้งอยู่ในความเมตตากรุณาทั้งสองประการนั้นจึงจะส่งผล
องค์สมเด็จพระทศพลทรงกล่าวว่า จงอย่าฆ่ากัน จงอย่าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน
แต่ว่าการที่จะไม่ทำอย่างนั้น ต้องเอาจิตใจประกอบไปด้วยเมตตา คือ ความรัก
คิดเสียว่า เราเกิดมาเรารักตัวเราเพียงใด คนทั้งหลายก็มีความรักตัวของเขาเพียงนั้น
เราไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกายของเรา เขาก็ไม่ต้องการให้เข่นฆ่าเขา
ทั้งนี้องค์สามเด็จพระศาสดาจึงกล่าวว่า
ทั้งคนและสัตว์ต่างเว้นการทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน
เว้นการเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน ต่างรักกัน ต่างสงสารกัน
ทุกคนก็จะมีความสุขทั่วหน้า

๒.อทินนาทานา เวรมณี
องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า ทรัพย์ของเรา เราไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่ง
มาลักขโมยทรัพย์สินของคนอื่นเขาก็เช่นเดียวกัน
เขาหามาได้เขาก็ต้องการกินต้องการใช้ของเขาเอง
ถ้าเราไปยื้อแย่งเขา เขาก็โกรธเขาก็ไม่พอใจ
ฉะนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจึงกล่าวว่า
เราควรจะระมัดระวังเรื่องการที่ไม่ยื้อแย่ง
อยากได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาเป็นทรัพย์สมบัติของตนเอง
คือ มีความยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่เราหามาได้โดยชอบธรรมเรียกว่า สันโดษ
ไม่ใช่ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว
ให้ยินดีในทรัพย์สินที่เราหามาได้โดยชอบธรรม
ด้วยไม่ไปคิดโกง ไปลักขโมยใคร และไม่เบียดเบียนทรัพย์ของคนอื่น
ทรัพย์ส่วนนั้นราพอใจ แต่ทว่าเรามีสันโดษโดยอยู่เฉย ๆ ในข้อนี้ก็ไม่ไหว

องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า
ต้องแก้การอยากได้ทรัพย์ของคนอื่นด้วยการให้กัน
การอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น เป็นการอยากดึงเข้ามา
การให้เป็นการผลักดันออก
การให้ทานนั้นประกอบด้วยเมตตา ความรักกรุณาความสงสารเหมือนกัน
แต่ทว่ามาถึงข้อนี้เราก็เพิ่มสันโดษ เข้ามาด้วย เพิ่มทานบารมีเข้ามาด้วย

รวมความว่า ถ้ารักษาศีลข้อนี้เป็นปกติทุกวัน
ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็ต้องคิดไว้เสมอว่า ถ้าไม่เกินวิสัยที่จะให้ได้นี้

เราจะช่วยได้ ไม่ว่าใครทั้งหมด คนก็ดี สัตว์ก็ดี
ถ้าหันหน้าเข้ามาหาเราและมีความทุกข์ยาก
เราจะสละทรัพย์ที่มีอยู่ตามสมควรให้ทันที จะคิดไว้อย่างนี้
ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องให้ ถ้ามีก็ให้ไป เราก็ไม่มีเหลือกินเราก็ไม่ต้องให้
หากใจมันเกิดอยากจะให้จะต้องไม่เกินวิสัยที่เราจะให้ได้
ถ้ากำลังใจของพุทธบริษัททรงอยู่อย่างนี้ได้ชื่อว่า เป็นผู้เจริญ
จาคานุสติกรรมฐาน ประจำใจศีลข้อนี้ก็บริสุทธิ์

ถ้าเราไม่ลักขโมยใคร ไม่ทำร้ายร่างกายใคร
ไปไหนก็มีแต่คนรักเรา เขาไว้วางใจเราของที่เขาฝากไว้
เราก็ไม่โกงของเรา เผลอเราก็ไม่ลัก
เป็นอันว่าไปที่ไหนก็ตามก็ไม่มีใครสะดุ้งหวาดหวั่นว่า
เราจะต้องทำร้ายเขา เราจะลักขโมยเขา
ไปที่ไหน มีแต่ความสุขความเจริญ

๓.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
องค์สมเด็จพระรามาธิบดีทรงกล่าวว่า คนที่รักไม่ใช่เฉพาะสามีภรรยา
หรือบุตรก็ดี ธิดาก็ดี คนในปรกครองก็ดี
ทุกคนเขาก็หวงแหนทุกคนเขาก็มีความพอใจ
อย่าไปละเมิดสิทธิ ให้สู่ขอกันตามประเพณี
ถ้าผู้ปกครองอนุญาตก็ใช้ได้ เป็นที่ถูกใจสร้างความรักซึ่งกันและกัน
อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า เป็นปัจจัยของการมีความสุข
ถ้าในระหว่างสามีภรรยา บุคคลอื่นเราก็ต้องถือสันโดษอยู่ข้อหนึ่งว่า
สามีของเขาก็ดี ภรรยาของเขาก็ดี เป็นที่พอใจของเขา
เราจะไม่ละเมิดสิทธิของสามีภรรยาของบุคคลอื่น เพราะเป็นที่รักของเรา
ถ้าทำได้อย่างนี้ก็มีความสุขในปัจจุบันเช่นเดียวกัน

๔.มุสาวาทา เวรมณี
องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า วาจาที่รับฟังเราต้องการความจริง
คนไหนพูดจริงกับเราเราก็รัก เราก็นับถือคนนั้น
ถ้าเราไปพูดไม่จริงกับคนอื่นเขาก็เกลียด ถ้าเราพูดแต่ความจริงเขาก็ชอบ

ฉะนั้นองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า
ต้องมีสัจจะความจริงใจด้วยและต้องมีเมตตา
คือ ความรัก มีความสงสารซึ่งกันและกัน
สองประการเข้ามาควบคุมจิต ตั้งใจว่า เราจะพูดแต่ความจริง
ถ้าไปไหนเราพูดแต่ความจริง ทุกอย่างก็เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป
การที่เรามีแต่ความสุขก็เป็นที่รักของบุคคลอื่นทั่วไป

๕.สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี
พระชินสีห์บรมศาสดาตรัสสอนว่า
คนที่ไม่ต้องการเป็นโรคประสาทไม่ต้องการมึนเมาสติฟั่นเฟือน
ถ้าไม่ต้องการอย่างนี้ละก็
ขอจงพากันรักษาศีลเจริญกุศลภาวนาตั้งสติเอาลง คือ ตัวเราอย่าดื่มสุราเมรัย
เพราะสุราเมรัยดื่มเมื่อไรก็ชั่วเมื่อนั้น
ดื่มมากก็ชั่วมาก ดื่มน้อยก็ชั่วน้อย
ที่เขาบอกสุราแปลว่า กล้า คือ ทำทุกอย่างในด้านความชั่ว
บางอย่างเราไม่เมาเราก็ไม่พูด ในบางกรณีเราไม่เมาเราก็ไม่ทำ
เพราะทำแล้วมันอายชาวบ้านเขา ไม่น่าจะทำ ไม่น่าจะพูด
แต่พอดื่มสุราเข้าไปหน่อยมันก็พูดได้ทำได้ทุกอย่าง
รวมความว่า สิ่งที่เรารังเกียจเมื่อเราไม่เมาเราก็ไม่ทำ เพราะมันเลว
พอดื่มสุราเข้าไปแล้วเรากล้าทำกล้าเลว และความกล้านี้เป็นความกล้าชั้นต่ำ

ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า
นี่เป็นเรื่องของศีลที่พระบรมศาสดาตรัสว่า สีเลนะ สุคะ ติงยันติ
ถ้ามีศีลในใจก็มีความสุข ไม่มีความเดือดร้อน
การทะเลาะวิวาทซึ่งกันและกันก็ไม่มี
มีแต่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าหากัน

อีกข้อหนึ่ง สีเลนะ โภคะ สัมปะทา
ถ้าเราไม่รุกรานชาวบ้านเขา ไม่ไปลักขโมย ไม่แย่งคนรักเขา
ไม่โกหกมดเท็จเขา ไม่ดื่มสุรายาเมา เรื่องร้ายมันก็ไม่เกิด
เพราะเรื่องร้ายมันเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ มันก็ต้องจ่ายทรัพย์พิเศษเมื่อนั้น
เมื่อเรื่องร้ายไม่เกิด ทรัพย์ก็ไม่ต้องจ่าย ไม่ต้องสิ้นเปลือง
ทรัพย์มีอยู่เท่าใดก็พอ มันมีน้อยก็พอใช้
มีมากก็พอใช้ เพราะความทะเยอทะยานไม่มี


ก็ว่ามาถึงข้อที่สามอีกว่า กาเมสุมิจฉาจาร
การไปรุกรานความรักคนอื่นเขามีโทษมาก
เขาตามเข่นฆ่า เขาเป็นศัตรู
ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็เดือดร้อนต้องหนีหัวซุกหัวซุน
หรือมิฉะนั้นก็ถูกจับลงโทษทัณฑ์ มันก็เสียสตางค์
ถ้าไม่ทำอย่างนี้เราก็ไม่ต้องหนีชาวบ้านเขา
เราประกอบการงานปกติ ทรัพย์มันก็มีมาก หาได้ตามปกติ
ถ้าต้องหลบต้องหนีเขา หาทรัพย์ไม่ได้ก็ต้องกินของเก่าไป
ถ้าไม่มีการถูกจับหรือพิพากษาลงโทษใด ๆ
ทรัพย์สินทั้งหลายมันก็ไม่เปลือง
รวมความแค่นี้ทรัพย์มันก็สมบูรณ์ทุกประการ อยู่เย็นเป็นสุขตลอดกัลปาวสาน

ที่ท่านทั้งหลายได้มาบำเพ็ญกุศล บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
คล้ายวาระที่จะขึ้นปีใหม่ต่อไปนั้น
ท่านสาธุชนก็อุตส่าห์ตั้งใจบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
ในข้อสี่เราพูดจริงทำจริงไม่โกหกมดเท็จ ไปพูกับใครเขาก็เชื่อ
ถ้าเป็นการบังเอิญอย่างหนึ่งทรัพย์ของเราไม่พอจะไปหยิบยืมใคร
ใครเขาก็เชื่อใจเราอยู่แล้ว เชื่อความสามารถ
เชื่อความมั่นคงของเรา เราก็ขอยืมเขาได้ไม่เดือดร้อนในการหาทรัพย์

สำหรับข้อห้า สุราเมรัย กัญชา ยาฝิ่น เฮโรอีน
ถ้าเรายังกันไม่อิ่ม ในเมื่อเรากินไม่อิ่มแล้ว
เอาเงินที่หามาได้ไปใช้ในเรื่องนั้นมันก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย
ไม่ได้ทำให้ครอบครัวของเราร่ำรวยขึ้นมาเลย
ถ้าเราจะงดกินเหล้าวันละสิบบาท ปีหนึ่งก็ ๓,๖๕๐ บาท
เห็นง่าย ๆ เราจะได้เอาเงินจำนวนนี้มาใช้จ่ายภายในครอบครัว

พระบรมศาสดาตรัสย่อ ๆ ว่า สีเลนะ โภคะ สัมปะทา ก็เป็นอย่างนี้
ถ้ามีศีล ทรัพย์ของเราก็ไม่เดือดร้อน
ตัวเรา ร่างกายของเราก็ไม่เดือดร้อน
พระบรมศาสดาตรัสว่า สีเลนะ นิพพุติง ยินติ แปลว่า สงบ
มีอารมณ์สงบในเมื่อเรามีทรัพย์สินใช้สบายใจเราก็สงบ


กล่าวถึงอานิสงส์องค์ศีลในปัจจุบันชาตินี้
ชาติหน้าไม่ต้องพูดกัน ชาตินี้ดีชาติหน้ามันก็ต้องดี
ชาตินี้เลวชาติหน้าก็ต้องเลว เราจะเลือกเอาทางไหน


คัดลอกจาก...http://jarun.org

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


"ศีลเป็นเลิศในโลก"

โมทนาสาธุคร้าบ.. คุณลูกโป่ง

:b20: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร