วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 05:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1341


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

๔. สุขะ ความสุข

มีความสุขกาย มีความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีความสุขใดในโลกเสมอเหมือน ชีวิตที่เกิดมาพึ่งได้พบเห็นอยู่ในขณะนี้เอง ความติดใจ ความสุขใจ ความดีใจ อยากจะร้องตะโกนให้คนทั้งโลกได้ยินว่า ข้าพเจ้าได้พบความสุขอย่างแท้จริงแล้ว จะเดินก็เป็นสุข จะนั่งก็เป็นสุข จะยืนก็เป็นสุข จะนอนก็เป็นสุข จะอยู่ในที่ไหนก็มีแต่ความสุข ทั้งวัน ทั้งคืน

อยากจะให้ความสุขอย่างนี้มีอยู่กับเราตลอดไป ดังภาษิตว่า ความสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี ความสุขนี้ไม่เหมือนกับความสุขในทางโลกแต่อย่างใด ฉะนั้นนักปฏิบัติจึงมีความพอใจในความสุขนี้เป็นอย่างมาก อยากให้มีความสุขอย่างนี้มีอยู่กับใจตลอดไปไม่เสื่อมคลาย

เมื่อนักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ก็อย่าให้เกิดความหลงอยู่กับความสุขนี้เลย อีกไม่นานความสุขนี้ ก็เสื่อมจากใจไปเท่านั้นเอง เพราะความสุขนี้เจือด้วยสังขารอีกไม่นานก็เสื่อมไป


๕. ญาณะ ความรู้

มีญาณรู้เกิดขึ้นที่ใจ บางครั้งก็เป็นความรู้เกี่ยวกับทางโลก บางครั้งก็เป็นความรู้ในทางธรรมในหมวดต่างๆ บางครั้งก็เข้าใจในธรรมหมวดนั้นๆ บางครั้งไม่รู้เลยต้องไปหาถามคนนั้น ถามคนนี้จึงรู้ได้ ถ้าธรรมะที่ตรงกับตำราที่เคยศึกษามาหรือธรรมะที่ได้ยินจากครูอาจารย์เคยสอนมาแล้วเมื่อเกิดความรู้ตรงตามนี้ก็จะเกิดความมั่นใจว่าธรรมะที่เกิดขึ้นกับเราเป็นหลักความจริงตรงตามที่ได้ศึกษามา

บางครั้งก็เป็นความรู้เกิดขึ้นในทางโลกเช่นรู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ จะเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อไม่นานนักก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามที่รู้มาอย่างนี้จริงๆ สิ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเองสูงมากจึงเกิดความมั่นใจว่า คุณธรรม ปัญญาธรรมได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว

เมื่ออยากรู้ในสิ่งใดก็กำหนดถามใจตัวเองแล้วก็มีความรู้ตอบขึ้นมาที่ใจ ญาณรู้นี้ ถ้าเร่งความเพียรมากขึ้นเท่าไรก็จะเกิดญาณรู้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อญาณรู้เกิดขึ้น ใครผู้นั้นจะชอบพูดชอบถามในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตัวเองอยู่เสมอ

คำพูดคำถามนั้นเป็นลักษณะข่มผู้อื่นไปในตัวและพูดด้วยความจริงจังมาก
แต่ก็มีความเย่อหยิ่งอวดดีไปในตัว
อยากลองภูมิจากผู้อื่นว่าจะรู้ธรรมอย่างนี้เหมือนเราหรือไม่
ถ้าผู้อื่นไม่รู้ ก็จะพูดอวดธรรมะนั้นๆ ให้ฟัง
พูดในลักษณะให้เขาสยบยอมรับความรู้ของตัวเอง


ญาณรู้นี้ถ้าเกิดขึ้นกับนักเทศน์นักคุยแล้ว จะมีความโดดเด่นในการแสดงธรรมอาจหาญมาก ในขณะที่แสดงธรรมอยู่ก็จะมีความรู้นี้ผุดขึ้นๆ เป็นระยะๆ แทบจะพูดออกมาเป็นเสียงไม่ทัน ลีลาการแสดงธรรมนั้นน่าเชื่อถือ และพูดไม่รู้จักจบด้วย

ถ้าผู้เป็นในลักษณะญาณรู้นี้เหมือนกัน จะคุยกันกี่วันกี่คืนก็ไม่จบบางคนจึงพยากรณ์ตัวเองว่าได้บรรลุธรรมไปแล้วก็มี นี้ก็ขอฝากกับนักปฏิบัติทั้งหลายเอาไว้ เมื่อเกิดญาณรู้ในลักษณะอย่างนี้ขึ้น ก็อย่าลืมตัว นี้เป็นเพียงสังขารเป็นญาณรู้เกิดขึ้นเท่านั้นเอง


:: หนังสือ สัมมาทิฏฐิ เล่ม ๑
: หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ วัดป่าบ้านค้อ ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


:b8: :b12:

>>> อ่านวิปัสสนูกิเลสอีก ๙ ข้อ ได้ที่นี่
• วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง (หลวงพ่อทูล ขิปฺปปฺญโญ)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40223

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร