วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 13:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาเครื่องขัดเกลา

อุปมาว่ามีคนติดการพนันคนหนึ่ง ชื่อนาย ก. แต่ภายหลังมาเลิกเพราะหมดตัว สิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งพ่อแม่บุคคลอันเป็นที่รัก เมื่อหมดตัวแล้วเกิดได้คิด (เกิดเนกขัมมธรรม) จึงมาสอนบอกต่อๆ กับคนที่ติดการพนันรุ่นหลัง มีนักเลงการพนันคนหนึ่งชื่อนาย ข. เมื่อได้ฟัง (สดับรับฟังแต่บุคคลอื่น) ก็เกิดปัญญาเห็นด้วย (สัมมาทิฏฐิ) แต่จะทำอย่างไรให้เลิกนิสัยติดพนันได้ เมื่อรู้โทษแล้ว (ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ)

พอนาย ข. คิดจะเล่นการพนัน ก็นึกถึงคำพูดของนาย ก. (สัมมาสติ) เห็นด้วยตามนั้น (สัมมาทิฏฐิ) ทำให้เลิกคิด (สัมมาสังกัปปะ) ไม่เข้าบ่อนได้ครั้งหนึ่ง (สัมมาวายามะ) พอเผลอปล่อยตัวปล่อยใจ ก็กลับไปคิดถึงการพนันอีก บางครั้งก็ยังแอบไปเล่น นิดๆ หน่อยๆ แค่พอคิดถึง ต่อมาก็เกิดปริตรกในใจว่า เราจะทำอย่างไรหนอ จึงจะเลิกนิสัยติดการพนันได้ (เนกขัมมะวิตก) จึงหาอุบายสอนตัวเอง พอดี นาย ข. มีความรักพ่อรักแม่มาก ก็เลยใช้การนึกถึงพ่อถึงแม่ ไม่อยากเสียคนอันเป็นที่รัก (อนุสติ) ไม่อยากทำให้คนอันเป็นที่รักเสียใจ ทุกครั้ง เมื่อเกิดคิดอยากจะเล่นการพนัน ก็คิดถึงพ่อแม่ (โยนิโสมนสิการ) คิดถึงโทษของการพนัน (ธัมวิจย) ทำต่อเนื่องไม่หยุด (ภาวนา) เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี นาย ข. ไม่ได้เข้าบ่อนเลย นาย ข. จนสามารถเลิกนิสัยติดพนันได้ในที่สุด (ปหานปริญญา)


อะไรที่ทำให้คนมีกิเลส พระพุทธองค์บอกว่า เป็นนิสัยที่สะสมมาหลายชาติหลายภพ (นิสยปัจจัย) สิ่งที่สะสมไว้ คือเมื่อ การที่เราได้เห็นรูป ได้ยินเสียง รับรส รับกลิ่น รับสัมมผัส และคิดนึกไปต่างๆ นาๆ (อรัมปัจจัย) เมื่อสภาวะเหล่านี้เกิด เราก็จะเริ่มกระบวนความแปลหรือตีความตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบ ผลที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นอะไร ก็จะถูกสะสมเก็บไว้ในจิต ที่เราเรียกกันว่าความรู้และประสบการณ์ ประมาณการว่าหากเทียบความสามารถในการเก็บข้อมูลของจิตกับหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ เราจะได้ฮาร์ดดีสก์ที่มีขนาดเท่าโลกทั้งใบเลยทีเดียว

ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ จะถูกนำกลับมาใช้สำหรับการตีความครั้งต่อไปเสมอ (อุปนิสยปัจจัย) สิ่งนี้ เป็นเหตุที่ทำให้คนเรามีความเห็นเหมือนๆ เดิม คิดเหมือนๆ เดิม ทำเหมือนๆ เดิม ที่เราเรียกว่า ลักษณะเฉพาะของบุคคล (personality) เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนนิสัย จึงต้องเริ่มจากความคิดเห็นใหม่ และค่อยๆ สะสมไปจนกว่าข้อมูลชุดใหม่นี้จะส่งอิทธิพลต่อการคิดมากกว่าข้อมูลชุดเดิมๆ ที่เรารียกว่า ความรู้เปลี่ยน พฤติกรรมคนก็เปลี่ยน

การดับทุกข์เป็นเรื่องที่ละเอียด การรู้วิธีดับทุกข์ด้วยตัวเองเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น นอกนั้นไม่มีใครสามารถรู้วิธีดับทุกข์ได้ด้วยตัวเอง ผู้ที่พยายามเดินตามรอยการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถือเป็นผู้หลงทาง ไม่มีหากทางออกได้ พวกเราในฐานะสาวก ต้องรู้ได้จากการเรียนหรือการฟังธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมจึงไม่มีโอกาสดับทุกข์ได้ เมื่อทราบวิธีการหรือความรู้ที่จะสามารถดับทุกข์ได้ จากนั้นจึงเริ่มฝึกตนเอง เพราะกิเลสถูกสะสมมานาน หากไม่เอาจริงเอาจังกับการดับทุกข์แล้ว ไม่มีทางสำเร็จได้โดยง่าย

การที่จะละลดเลิกกิเลสได้นั้น จึงต้องฝึกอย่างเอาจริงเอาจัง ผู้ที่มีปัญญาไว จะสามารถละกิเลสได้เลยหลังจากฟังธรรมจบ นอกจากนั้นถือว่าเป็นผู้มีปัญญาช้า ต้องฝึก ฝึก และฝึกเท่านั้น

การเจริญสติปัญญา
viewtopic.php?f=7&t=25301

ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค)
viewtopic.php?f=7&t=25849

บุญกริยาวัตถุ
viewtopic.php?f=7&t=26441

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 25 ต.ค. 2009, 14:15, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มีเท่าไร?

ธรรม ๒ ประการ คือความได้สดับแต่บุคคลอื่น ๑ ความทำในใจโดยแยบคาย ๑ เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นปัจจัยเมื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ.

สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรมเท่าไรอนุเคราะห์แล้ว?

สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสากัจฉาอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว ๑ สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการนี้แล อนุเคราะห์แล้ว.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ สมาธิ ปัญญา

สมบัติล้ำค่านะครับ

:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร