วันเวลาปัจจุบัน 16 มิ.ย. 2025, 15:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2025, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว




Y11825247-6.jpg
Y11825247-6.jpg [ 154.88 KiB | เปิดดู 1324 ครั้ง ]
จิตที่มีเหตุอย่างเดียวคือ โมหะ เป็นธรรมชาติหลงอย่างยิ่ง เพราะเว้นจากมูลอย่าง
อื่น และเป็นธรรมชาติหวั่นไหว เพราะประกอบด้วยวิจิกิจฉาและะอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น
จึงเป็นธรรมชาติสหรคตด้วยอุเบกขาอย่างเดียว. ความที่จิตอันมีเหตุอย่างเดียวคือโมหะ
นั้น เป็นธรรมชาติกล้าแข็งเอง แม้ในกาลไหน ๆ จะมีอยู่ก็หามิได้.

จริงอยู่ จิต ๒ ดวง ชื่อเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจความกระสับกระส่าย และด้วยอำนาจ
ความฟุ้งซ่านในอารมณ์ จะพึงมีความกล้าแข็งเอง และความเป็นจิตที่จะพึงให้อุตสาหะใน
กิจเช่นไรเล่า เพระฉะนั้น ความต่างแห่งสังขารจึงไม่มีอยู่ในจิต ๒ ดวงนั้น อุทธัจจะ
แม้ได้อยู่ในอกุศลจิตดวงอื่น ๆ จึงมีกำลังในจิตนี้เท่านั้นโดยพิเศษ เพราะฉะนั้นเหละ
จิตนี้จึงเป็นประธานเป็นไปในสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น โมหะจิตนี้แหละ ท่าน
จึงกล่าวใช้ให้พิเศษด้วยอุทธัจจะว่า อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ. จริงอย่างนั้น
อัทธัจจะมาแล้วโดยรูปในที่นี่พระบาลี. โมหมูล พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ ๒ อย่าง คือ
วิจิกิจฉาสัมปยุต ๑ อุทธัจจสัมปยุต ๑ ด้วยอำนาจธรรมอันเป็นประธานที่ไม่ทั่วไป ด้วย
ประการฉะนี้. ความตกลงไม่ได้ (ลังเล) ได้แก่ ความสงสัย. ความฟุ้งซ่าน ได้แก่ ความ
ไม่เข้าไปสงบ อธิบายว่า ความเป็นจิตพลุกพล่าน.

อกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนี้นั้น พึงทราบว่า หน่วงเอาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ใน
บรรดาอารมณ์ทั้ง ๖ เกิดขึ้นด้วยอำนาจกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น และด้วยอำนาจ
กรรมตามสมควร โดยเป็นกายกรรมเป็นต้น ทางทวารทั้ง ๓ มีกายทวารเป็นต้น ในลำดับ
แห่งมโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกกิริยาสหรคตด้วยอุเบกขา.

ในบรรดาอกุศลจิต ๑๒ ดวงนั้น เว้นอกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อกุศลจิต
ทั้ง ๑๑ ดวงที่เหลือ ให้ปฏิสนธิในอบายทั้ง ๔ ให้วิบากในปวัตติกาล แม้ในสุคติภูมิ. ส่วน
อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ให้วิบากในปวัตติกาลอย่างเดียวแล.

ก็ในอธิการนี้ มีผู้สงสัยถามว่า อกุสลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาซึ่งอ่อนกำลังกว่า
อกุศลจิตทุกดวง ย่อมให้ปฏิสนธิ อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะแม้มีกำลังกว่าอกุศลจิต
ที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉานั้น เพราะมีอธิโมกขเจตสิกอยู่ด้วย ไม่ให้เพราะหตุไร ?

ตอบว่า เพราะพระผู้มีพระภาคนีได้ตรัสไว้ในจำพวกธรรมอันโสตปัตติมรรคพึงละ
จริงอยู่ อกุศลจิตอันสหรคตด้วยอุทธัจจะนี้ เมื่อจะให้ปฏิสนธิ ก็จะพึงในอบายทั้งหลาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2025, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว


และกรรมที่จะยังสัตว์ให้ไปสู่ภพ ก็เป็นธรรมชาติที่โสดาปัตติมรรคจะพึงละ เพราะฉะนั้น
ควรจะตรัสไว้ในจำพวกธรรมทีโสดาปัตติมรรคจะพึงละ แต่ก็หาตรัสไว้ไม่ เพราะเหตุนั้น จึง
ไม่ให้ปฏิสนธิ. แต่ใคร ๆ ไม่อาจจะปฏิเสธการให้วิบากในปวัตติกาลของอกุศลจิตที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะนั้น เพราะในวิภังค์แห่งปฏิสัมภิทา ก็ได้ตรัสไว้ว่า ญาณในธรรมอันสหรคต
ด้วยอุทธัจจะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ญาณในผลของธรรมนั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอันเกิดขึ้นอยู่แก่
ปุถุขน ย่อมให้แม้ซึ่งวิบากทั้งสองอย่าง เพราะมีความเป็นธรรมอันเป็นสหายของธรรมที่
โสดาปัตติมรรคจะพึงละ ที่เกิดขึ้นแก่พระเสขะ มิได้ให้วิบากทั้งสองฝ้าย เพราะไม่มีธรรม
อันเป็นสหายของธรรมที่โสดาปัตติมรรคจะพึงละนั้น. มีข้อที่ควรพิจารณาในอธิการนี้ ดังนี้.

ถามว่า ท่านกล่าวการให้วิบากของอกุศลไว้ อกุศลนั้นนั้นอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะต้อง
ละหรือ หรือไม่ต้องละ ?

ตอบว่า ในยังนี้มีข้อที่ควรจะกล่าวอยู่ คือ เบื้องต้นถ้าอันมรรคเบื้องบน ๓ จะต้อง
ละ ในคัมภีร์ปัฏฐานก็ขอบที่จะพึงตรัสถึงความที่อกุศลอันมรรคเบื้องบน ๓ จะพึงละว่า
มีกรรมอันเป็นไปในขณะต่างกันเป็นปัจจัย. ถ้าไม่ใช่อันมรรคเบื้องบน ๓ จะพึงละไซร้ ใน
ทัสสเนนปหาตัพพติกะ ก็ชอบที่จะพึงตรัสไว้ในวิภังค์แห่งบทนี้ว่า เนวทสฺสเนน นภานาย
ปหาตพฺพํ ไม่ใช่โสดาปัตติมรรคหรือมรรคเบื้องบน ๓ จะพึงละ

ถามว่า ถ้าไม่ควรจะตรัสไว้ในทัสสเนนปหาตัพพติกะนั้น เพราะความเป็นธรรมมี
สภาพผิดไปจากนั้นไซร้ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ธรรมนั้นก็ต้องเป็นธรรมที่ไม่สมควรจะกล่าว
ไว้ในติกะนั้น ?
ตอบว่า ไม่ต้อง.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสความที่ธรรมทั้งหลายมือดีตธรรมเป็นตัน ว่าเป็น
ธรรมที่ไม่ควรจะกล่าวไว้ในอุปปันนติกะ ฉันใด ก็มิได้ตรัสความที่จิตตุปบาทแม้นี้ ว่าเป็น
ธรรมที่ควรจะกล่าวเหมือนฉันนั้น เพราะไม่มีจิตตุปบาทอะไร ๆ โดยประกอบจิตตุปบาท
ที่จะพึงจำแนกแสดงไว้ เพราะเหตุว่า จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ ดวง อันมาแล้ว ใน
จิตตุปปาทกันฑ์ พระองค์ได้ทรงสงเคราะที่ไว้ด้วยบททั้ง ๒. อีกนัยหนึ่ง อกุศลนั้นซึ่งเป็น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2025, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8571


 ข้อมูลส่วนตัว


ไปอยู่ในปุถุชน แม้อันมรรคเบื้องบนสูง ๓ ไม่พึงสามารถเพื่อจะละ ก็เป็นธรรมชาติที่เสมอ
กันกับควใเป็นธรรมชาติที่อันมรรคเบื้องบนสูง ๓ จะพึงละ และความเป็นชาติที่
ประกอบด้วยโทษ ดังนั้น จึงมีคำอันเป็นปริยายว่า เป็นธรรมอันมรรคเบื้องบนสูง ๓ จะ
พึงจะอยู่ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีข้อเสียมทำการเกี่ยวข้อง ด้วยควานเป็นธรรมที่ให้ควรจะ
กล่าวถึง. อนึ่ง ว่าโดยนิปปริยาย ก็มีใช่เป็นธรรมชาติที่อันมรรคเบื้องบนสูง ๓ จะพึงละ
เพราะหตุนั้น ท่านจึงมีกล่าวแม้ความเป็นธรรมชาติ ที่มีกรรมอันอื่นเป็นไปในขณะต่างกัน
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอกุศลนั้น.

โสตาปัตติมรรค ได้กระทำหน้าที่เพียงแต่ความบกพร่องของธรรมอันเป็นสหายแห่ง
อกุศลจิตอันสหรคตด้วยอุทธัจจะ แม้เป็นธรรมที่มีความเป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคจะ
พึงละเป็นปัจจัยเท่านั้น ภาวะแม้ไร ๆ ที่จะทำให้ถึงความที่อกุศลจิตอันสหรคตด้วยอุทธัจจะ
นั้น มีความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรม โสดาปัตติมรรคหาได้กระทำไม่. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว
ความที่อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะนั้น อันมรรคเบื้องบนสูง ๓ จะพึงละโดยส่วนเดียว.
อีกประการหนึ่ง การกล่าวถึงธรรมที่โสดาปัตติมรรคจะพึงละ ก็เล็งถึงความที่เป็นกรรม
อันจะทำให้สัตว์ไปสู่อบาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวจำแนกอกุศลนั้นไว้โดยไม่มีอกุศลจิต
ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะนั้นแล.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร