วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2023, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1168337761.macroceli_zebra100-removebg-preview (1).png
1168337761.macroceli_zebra100-removebg-preview (1).png [ 235.76 KiB | เปิดดู 649 ครั้ง ]
วิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอย่างง่ายๆ

หลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอย่างง่ายๆ สำหรับผู้ปฏิบัติ
ทุกวัย ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดรู้สภาวะพองและยุบของท้องเป็น
ลำดับแรก เมื่อหายใจเข้าท้องจะพองออกมาและเมื่อหายใจออก
ท้องจะยุบลง ท่านจะรู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหวของท้องที่มีลักษณะ
หย่อนบ้างตึงบ้าง ซึ่งเป็นลักษณะของวาโยธาตุ ให้กำหนดรู้สภาวะ
ตึงหย่อนนั้น คือเพ่งความสนใจไปที่สภาวะพองและยุบที่ท้องพ
กับกำหนดรู้ถึงสภาวลักษณะของความพองและความยุบนั้น จะต้อง
ไม่ให้มีช่องว่างระหว่างสภาวะพองและอาการยุบ พึงตั้งใจจดจ่อที่
สภาวะพองตั้งแต่เกิดขึ้นจนกระทั่งสิ้นสุด แล้วเปลี่ยนมาดูสภาวะยุบ
ตั้งแต่เกิดขึ้นจนสิ้นสุดเช่นกัน หากว่าในขณะที่กำหนดรู้สภาวะพอง
และยุบอยู่นั้น ถ้าสังเกตว่าเกิดช่องว่างหลังจากที่หายใจเข้าหรือหลัง
หายใจออก ก็ควรมากำหนดรู้สภาวะนั่ง (เมื่ออยู่ในอิริยาบถนั่ง)
ในบางครั้งมีความคิดผุดขึ้นในใจหรือว่าอาจนึกอยากจะทำอะไร ให้
กำหนดรู้ความคิดนั้น เมื่อไรก็ตามที่จิตล่องลอยออกไปจากอารมณ์
ที่กำหนดอยู่ อย่าปล่อยให้จิตหลุดลอยไปโดยไม่กำหนดรู้ให้กำหนด
สภาวธรรมการคิดนั้น จากนั้นจึงกลับมากำหนดรู้ดวามเคลื่อนไหว
ของท้องต่อไป หรือบางครั้งท่านอาจเกิดความรู้สึกไม่สบาย เพราะ
อาจเมื่อย ปวด หรือร้อนในขณะนั่งกรรมฐาน ก็ให้กำหนดรู้ความ
รู้สึกไม่สบายเหล่านั้น และเมื่อดวามรู้สึกนั้นๆ หายไปก็ให้กลับมา
ก่หนดรู้สภาวะพองยุบที่ท้องอีก กล่าวโดยย่อ คือ ให้ท่านกำหนดรู้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2023, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1264003380.hyhlion_stripesonthebeach-removebg-preview.png
1264003380.hyhlion_stripesonthebeach-removebg-preview.png [ 226.67 KiB | เปิดดู 646 ครั้ง ]
สภาวะทั้งที่เป็นความรู้สึกทางกายและเป็นประสบการณ์ทางใจอย่าง
ต่อเนื่องโดยไม่ให้เกิดช่องว่างที่จิตอยู่เฉยๆ โดยไม่มีการกำหนดรู้
ถ้าไม่มีอารมณ์พิเศษใดต้องกำหนด กีพึงกำหนดสภาวะพองและยุบ
ที่ท้องเป็นอารมณ์หลักโดยให้กำหนดรู้สภาวะตึงในขณะท้องพอง
และสภาวะหย่อนในขณะท้องยุบ

เมื่อพลังสมาธิเพิ่มพูนขึ้นจะสังเกตเห็นว่าความเคลื่อนไหว
ของสภาะพองยุบในแต่ละครั้งประกอบด้วยความเคลื่อนไหวย่อยๆ
เกิดดับติดต่อกันไป นอกจากนั้น จิตที่กำหนดรู้และอารมณ์ที่กำหนดรู้
ก็มีสภาพคล้ายคลึงกัน คือมีการเกิดขึ้นและดับไปติดต่อกันอย่าง
รวดเร็ว เมื่อการสังเกตมีดวามคมชัดยิ่งขึ้นทุกๆ ขณะ จึงจะรับรู้ได้
ว่าสภาวธรรมแต่ละอย่างแยกออกเป็นส่วนย่อยในที่ขณะเหยียด คู้
ยก ย่าง เหยียบ เป็นต้น แต่ละส่วนเกิดดับต่อกันอย่างรวดเร็วและ
ต่อเนื่องกัน แม้จิตที่กำหนดรู้และอารมณ์ที่ถูกรู้ก็เกิดขึ้นและดับไป
อย่างรวดเร็ว เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติย่อมรู้สึกได้ถึงความไม่จิรังยั่งยืนของ
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีความแปรเปลี่ยนอยู่เป็นนิตย์ เพราะมีการ
เกิดดับเป็นลักษณะประจำ ความไม่ยั่งยืนนั้นไม่น่าปรารถนาอย่างยิ่ง
และสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาคือความทุกข์ เมื่อถึงขั้นนี้จัดว่าได้บรรลุ
ปัญญาที่หยั่งรู้ทุกขสัจ ความหยั่งรู้เช่นนี้กำจัดความโง่เขลา ได้แก่
อวิชชา ดังนั้น ตัณหาที่เป็นความทะยานอยากจึงไม่สามารถแทรก
เข้ามาในอารมณ์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2023, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1684794957790-removebg-preview-removebg-preview.png
FB_IMG_1684794957790-removebg-preview-removebg-preview.png [ 293.45 KiB | เปิดดู 644 ครั้ง ]
และเมื่อปราศจากตัณหา อุปาทานหรือความยึดมั่นก็เข้ามา
สนับสนุนไม่ได้

เมื่อไม่เกิดอุปาทานก็จะไม่เกิดความพยายามกระทำกรรม
เพื่อสนองความต้องการ

เมื่อไม่พยายามกระทำกรรม ก็จะไม่มีการทำกรรม
เมื่อไม่กระทำกรรม ปฏิสนธิจิตในภพใหม่ก็ไม่อาจเกิดขึ้นไห้
ส่งผลให้ไม่มีการเกิดในภพใหม่ การดับของอวิชชา ตัณหา
กรรม และวิญญาณเหล่านี้ ชื่อว่า ตทังคนิโรธ คือ ความดับชั่วขณะ
ซี่งอาจมีระยะเวลาเพียงชั่วขณะเดียว แต่ก็เป็นชั่วขณะที่มีค่าที่สุด
นอกจากนั้น ปัญญาคือสัมมาทิฏฐิเป็นต้นที่ประกอบด้วยสติในขณะ
กำหนดรู้ก็จัดเป็นมรรคสัจ และด้วยเหตุดังกล่าวนี้ อริยสัจ ๔ จึง
ปรากฏอยู่ในกายของผู้ปฏิบัติธรรมนั่นเอง แม้ในคัมภีร์อรรถกถา
ของโรหิตัสสสูตรก็กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

"คำว่า โลกํ (โลก) คือ ทุกขสัจ
คำว่า โลกสมุทยํ (เหตุเกิดของโลก) คือ สมุทยสัจ
คำว่า โลกนิโรธํ (ความดับของโลก) คือ นิโรธสัจ
คำว่า ปฏิปทํ (ปฏิปทา) คือ มรรคสัจ
โดยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
ตถาคตมิได้บัญญัติสัจจะ ๔ เหล่านี้ไว้ในอารมณ์ภายนอก
มีหญ้าและฟืนเป็นตัน แต่บัญญัติไว้ในอัตภาพที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
มหาภูตรูป ๔ เท่านั้น

คนเราอาจเห็นทุกขสัจได้ทั่วๆไป แต่สมุทยสัจนั้นพบได้
ในธรรมชาติของสัตว์โลกที่ไม่สามารถกำจัดกิเลสจากกระแสจิตได้
ส่วนมรรคสัจปรากฏแก่บุคคลที่กำลังบรรลุมรรคญาณ ๔ และกล่าว
ได้ว่าย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้บรรลุผลญาณ ๔ เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่
เดิมแล้ว ส่วนนิโรธสัจอันเป็นความดับกิเลสและขันธ์มีอยู่โดยอ้อม
ตามสมควรในพระอริยบุคคลถึงแม้ว่าท่านจะยังมีกิเลส และเบญจ
ขันธ์เหลืออยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีได้โดยตรงในพระอรหันต์ที่กำจัด
กิเลสได้หมดแล้ว และบรรลุความดับขันธ์ในขณะปรินิพพาน ดังนี้จึ
สรุปได้ว่า นิพพานสุขจะบรรลุได้เมื่อรูปนามดับไปทั้งหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร