วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2023, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1684985137015-removebg-preview (1).png
1684985137015-removebg-preview (1).png [ 458.13 KiB | เปิดดู 966 ครั้ง ]
ความหมายของนิพพาน
คำว่า นิพฺพาน ประกอบรูปศัพท์มาจาก
นิ บทหน้า + วา ธาตุ หมายถึง การดับทุกข์ในวัฎฎสงสาร
เทียบคำนี้กับคำว่า นิพฺพนฺติ (ย่อมดับไป) ที่ปรากฏใน
รัตนตรัย และคำอื่นในพระไตรปิฎกว่า
- ปรินิพฺพายติ ㆍ (ย่อมปรินิพพาน)
- ปรินิพฺพายิสฺสติ " (จักปรินิพพาน)
- ปรินิพฺพายิสฺสามิ " (จักปรินิพพาน)
- นิพฺพายติ * (ย่อมดับไป)
- ปรินิพฺพุโต" (ดับไปแล้ว)
- นิพฺพุโต" (ดับไปแล้ว)
คำนี้มีคำจำกัดความ (รูปวิเคราะห์) ตามหลักภาษาว่า
นิพฺพาติ วฎฺฎทุกขํ เอตฺถาติ นิพฺพาน แปลความว่า วัฏฎ-
ทุกข์ดับลงอย่างสิ้นเชิงในนิพพานนี้

ดังนั้น นิพพานจึงหมายถึงสภาวะอันเป็นที่ดับไปของทุกข์
กล่าวคือ
เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาจนบรรลุมรรคผล ได้รู้เห็น
นิพพานแล้ว กิเลสมีตัณหาและอวิชชาเป็นตันจะถูกกำจัดไป ทำให้
กรรมหมดความสามารถเป็นปัจจัยให้เกิดผลได้ ดังนั้น วิบากซึ่งก็

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2023, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1684985137015-removebg-preview.png
1684985137015-removebg-preview.png [ 234.92 KiB | เปิดดู 964 ครั้ง ]
คือรูปนาม ได้แก่ วิญญาณ นาม รูปสฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา
เป็นนต้นในภพใหม่จึงเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นการดับไปของกิเลสวัฏ กรรม
วัฏ และวิปากวัฏ คำว่า นิพพาน ในความหมายนี้ เป็นการอุปมาว่า
เป็นสถานที่ที่ความทุกข์จากกิเลสถูกดับลงไป แต่ในความจริงนั้น
นิพพานเป็นเพียงสภาวะ มิได้เป็นสถานที่จริงๆ

มีคำจำกัดความอีกอย่างหนึ่งว่า
นิพฺพาติ วฎฺฎทุกขํ เอตสฺมึ อธิคเตติ นิพฺพาน แปลความ
เมื่อบรรลุนิพพานด้วยอรหัตตมรรคแล้ว วัฏฎทุกข์ก็ดับไป

ดังนั้น นิพพานจึงหมายถึงสภาวะอันเป็นเหตุดับทุกข์ ใน
ความหมายนี้ ได้กล่าวเปรียบนิพพานว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้ดับ
ทุกข์ เหมือนมีดและเลื่อยที่เป็นเครื่องมือในการตัดไม้ ถ้าหากไม่มี
เครื่องมือเหล่านั้น การตัดไม้ก็สำเร็จไม่ได้ ในกรณีเดียวกันนี้ ถ้า
บุคคลยังมิได้บรรลุนิพพาน วัฏฏทุกข์ก็ยังคงอยู่ตลอดไป นิพพาน
จึงเปรียบได้กับเครื่องมือดับทุกข์

อนึ่ง คำจำกัดความทั้งสองอย่างนั้นกล่าวไว้โดยอ้อม ตาม
หลักภาษามีคำจำกัดความโดยตรงว่า นิพฺพายเต นิพฺพานํ (ความ
ดับทุกข์ ชื่อว่า นิพพาน) เพราะว่านิพพานนั้นเป็นสภาวธรรมทาง
ใจโดยตรง ไม่ใช่เป็นที่ตั้งหรือเครื่องมือดังที่กล่าวไว้ในรูปวิเคราะห์
สองอย่างแรก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร