วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2023, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-519760506-612x612-removebg-preview.png
istockphoto-519760506-612x612-removebg-preview.png [ 127.84 KiB | เปิดดู 814 ครั้ง ]
การดับของตัณหา

ในความหมายของนิพพานที่กล่าวมาแล้ว คำว่า นิพพาน
แปลว่า การดับทุกข์ในวัฏฏสงสาร แต่ก็ยังมีอีกความหมายหนึ่งว่า
การพันไปจากตัณหา คือ การดับของตัณหานั่นเอง โดยมาจากคำว่า
วาน แปลว่า ตัณหา คือ ความทะยานอยากที่ต้องการกามภพ (ภพ
ที่เกี่ยวข้องกับกามคุณ) รูปภพ (รูปพรหม ๑๖) หรืออรูปภพ
พรหม ๔) ตัณหามีความยินดีโดยเริ่มตั้งแต่รูปารมณ์เรื่อยไปจนถึง
ธรรมารมณ์ และเริ่มตั้งแต่ธรรมารมณ์แล้วย้อนกลับมายังรูปารมณ์
หรืออารมณ์ในท่ามกลางรูปารมณ์กับธรรมารมณ์ บางครั้งอาจยินดี
เริ่มตั้งแต่กามอารมณ์ไปหาอารมณ์ที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร หรือ
ยินดีเริ่มตั้งแต่อารมณ์ที่เป็นอรูปาวจรไปหาอารมณ์ที่เป็นรูปาวจร
และกามอารมณ์ ตัณหาสามารถกระโดดจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่อง
หนึ่งอย่างไม่ต้องมีเหตุผล ทั้งตามลำดับและทวนลำดับคล้ายกับ
กระสวยของช่างหูก ความจริงแล้วคำนี้มีรากศัพท์เกี่ยวเนื่องกับก
ทอผ้า โดย วา ธาตุ (ใน วาน) ใช้ในความหมายว่าผูกเข้าไว้ใน
ธรรมที่เป็นกามอารมณ์เป็นตันหรือมีความหมายว่าการผูกภพก่อน
เข้ากับภพหลัง คือ การนำเอาภพในอดีตและอนาคตมาถักทอสาน
ต่อเข้าด้วยกันให้ต่อเนื่องไม่ขาดช่วง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2023, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




โปร่งใส__12_-removebg-preview.png
โปร่งใส__12_-removebg-preview.png [ 435.92 KiB | เปิดดู 793 ครั้ง ]
นิพพานมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลดปล่อยมนุษย์ ให้เป็นอิสระ
จากอิทธิพลของตัณหา ในพระบาลีมีคำจำกัดความหรือรูปวิเคราะห์
ว่า
วานโต นิกฺขนฺตนฺติ นิพฺพานํ = นิพพาน คือ การพ้นไป
จากตัณหา
และคำจำกัดความอีกอย่างหนึ่งคือ
นตฺถิ วานํ เอตฺถาติ นิพฺพานํ. = นิพพาน คือ ที่ดับตัณหา
หรือมีอีกอย่างหนึ่งว่า

เมื่อบรรลุนิพพาน ตัณหาย่อมดับไป ดังนั้น นิพพาน คือ
เหตุทำให้ตัณหาดับไป = นตฺถิ วานํ เอตสฺมื อธิคเตติ นิพพาน.
อันที่จริงแล้ว การที่นิพพานข้ามพ้นไปจากตัณหาคือภาวะ
ที่ตัณหาไม่รับเอานิพพานมาเป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อบุคคลรู้เห็น
นิพพานด้วยมรรคญาณแล้ว ตัณหาย่อมดับไปไม่สามารถเกิดขึ้นได้
จึงเป็นการพ้นไปจากตัณหานั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2023, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-1366351980-612x612-removebg-preview.png
istockphoto-1366351980-612x612-removebg-preview.png [ 264.13 KiB | เปิดดู 791 ครั้ง ]
ราคะหรือกามตัณหาพอใจในเพศที่ต่างกัน ตัณหาใครใน
กามคุณที่เกิดทางทวารทั้ง ๕ เช่น ตา หู จมูก เป็นตัน และจะรู้สึก
เบื่อหน่ายถ้าปราศจากกามคุณทั้ง ๕ นอกจากนั้น ตัณหายังพอใจใน
รูปภพและอรูปภพ ผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในตัณหาจะไม่สามารถเห็นภัยใน
ภพและไม่เห็นคุณค่าของนิพพานที่ไม่มีการเกิดอีก คนทั้งหลายที่
สวดมนต์ขอให้ได้ไปนิพพาน ครั้นพอได้ยินว่าจะได้ไปนิพพานทันที
โดยที่ไม่มีโอกาสกลับมายังโลกนี้อีก ก็มักจะลังเลคล้ายกับชายผู้มี
ศรัทธาในนิทานต่อไปนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร