วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 10:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2023, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ย้ายประเภทกันเถอะ-removebg-preview (1).png
ย้ายประเภทกันเถอะ-removebg-preview (1).png [ 385.14 KiB | เปิดดู 924 ครั้ง ]
แม้ก่อนที่จะพบนายช่างปลูกเรือนพระพุทธองค์เองยังต้องเวียนว่าย
ตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนับชาติไม่ถ้วน

ใจความของคาถาทั้งสองบทนี้ คือนิพพานอันเป็นนิโรธสัจ
ไม่มีที่ตั้ง การตรัสถึงนิพพานว่ามีอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่งนี้ เป็น
แค่เพียงการกล่าวโดยอ้อม ทุกขสัจและสมุทยสัจนั้นมีอยู่ในกระแส
รูปนามของทุกคน ซึ่งปรากฏอยู่ในทุกขณะที่มีสภาวะเห็นเป็นต้น
มรรคสัจแฝงอยู่ในผู้ปฏิบัติธรรมที่กำลังบรรลุมรรคผล ส่วนนิโรธสัจ
จึงได้แก่นิพพานนั้นมีอยู่โดยอ้อมในกระแสจิตของพระอริยบุคคล
ที่น้อมไปในมรรคผล และกล่าวได้ว่านิโรธสัจมีอยู่โดยตรงในกระแส
จิตของพระอรหันต์ตลอดเวลา เพราะในจิตของพระอรหันต์นั้นกิเลส
ได้ดับสิ้นแล้ว

แม้ว่าสัจจะ ๓ คือ ทุกขสัจ สมุทยสัจ และมรรคสัจ จะมี
ได้แก่บุถุชนในเวลาทั่วไปและในเวลาที่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่
นิโรธสัจเป็นสิ่งที่ไม่มีโดยตรงในร่างกายของปุถุชน การที่พระพุทธ
องค์ตรัสว่าอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนาคืบกว้างศอกของคนทั่วไป ก็
เพราะหมายถึงการดับกิเลสและขันธ์ของพระอรหันต์ที่ตอนแรกก็ยัง
เป็นปุถุชนอยู่ การกล่าวถึงสถานที่ไว้โดยปริยายเช่นนี้มีประโยชน์
เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังข้อความในคัมภีร์ฎีกาของวิสุทธิมรรคว่า
เอเทสมฺปิ หิ ตํ เยสํ นิโรโธ, เตสํ วเสน อุปจารโต เทสโตปิ
นิทฺทิสียติ ยถา จกฺขํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ, เอตฺเถสา ตณฺหา
ปหียมานา ปหึยติ, เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌตีติ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2023, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Sky-PNG-Images-HD.png
Sky-PNG-Images-HD.png [ 582.46 KiB | เปิดดู 854 ครั้ง ]
โดยแท้จริงแล้ว แม้นิพพานนั้นไม่มีที่ตั้ง พระพุทธองค์ก็
ทรงแสดงสถานที่ไว้บ้างโดยอ้อม โดยเนื่องด้วยการดับกิเลสและขันธ์
ดังประโยค[ในมหาสติปัฏฐานสูตร]ว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูป๊ สาตรูปํ.
เอตฺเถสา ตณฺหา ปหียมานา ปหียติ, เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ
(ตาในโลก[แห่งรูปนาม] เป็นสภาพน่ายินดีพอใจ ตัณหาถูกละได้และ
ดับอยู่ ในสภาพคือตานี้)"

นิพพานอันเป็นสภาระตับกิเลสและขันธ์นั้น โดยตรงแล้ว
ไม่มีที่ตั้งอยู่ในที่ใดๆ เพราะเป็นสภาวะไม่เกิดขึ้นของกิเลสและขันธ์
แต่กิเลสและขันธ์ที่ดับไปนั้นมีอยู่โดยอ้อมในพระอริยบุคคล ดังนั้น
จึงยกร่างกายของพระอริยบุคคลขึ้นกล่าวว่า เป็นที่ตั้งของนิพพาน
ตัวอย่างเช่น ตาเป็นสิ่งน่าชอบใจ และตัณหาอันเกิดที่ตาดับไปด้วย
อรหันตมรรค เราไม่อาจต้นหาได้ว่าความดับนั้นเกิดขึ้นที่ใดกันแน่
เหตุนั้น พระพุทธองค์จึงใด้ตรัสโดยอ้อมว่า ตัณหาดับไปที่ตาอันน่า
ชอบใจอันนั้น โดยตรัสถึงสถานที่เกิดของตัณหาว่าเป็นที่ดับของ
ตัณหา จัดเป็นการกล่าวถึงสถานที่ตั้งของนิพพานโดยอุปมาเท่านั้น

คัมภีร์อภิธรรมกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า นิพพานไม่ได้มี
ในร่างกาย แต่สำเร็จนอกร่างกาย ตามศัพท์บาลีว่า พหิทฺธา ธมฺมา
(สภาวธรรมที่เป็นภายนอก มีอยู่) แต่ความเป็นภายนอกของ
นิพพานไม่มีอยู่ในสถานที่แห่งใดทั้งสิ้น เหตุนั้นจึงกล่าวว่า นิพพาน
ไม่มีที่ตั้ง หากพิจารณาถึงเหตุผลแล้วอาจอนุมานได้ว่า กิเลสและ
ขันธ์ที่มีได้ก็ต่อเมื่อมีปัจจัยอยู่พร้อมมูล แต่เมื่อดับไปไม่เกิดอีกด้วย
อรหัตตมรรคแล้ว ย่อมไม่อาจกล่าวว่ามีอยู่ในทีใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร