วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2023, 04:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ย้ายประเภทกันเถอะ-removebg-preview (1).png
ย้ายประเภทกันเถอะ-removebg-preview (1).png [ 427.49 KiB | เปิดดู 791 ครั้ง ]
ปัญญารู้เห็นความเกิดดับเป็นต้น
อผู้ปฏิบัติธรรมได้กำหนดรู้ และพิจารณาการเกิดดับของ
ขันธ์ ๕ ทางทวารทั้ง ๖ ต่อไปอีก ก็จะรู้เห็นความเกิดดับที่เป็นไป
อย่างรวดเร็วของรูปนาม ปัญญาที่หยั่งเห็นความเกิดดับของรูปนาม
เรียกว่า อุทยัพพยญาณ คือ ปัญญารู้เห็นความเกิดดับของรูปนาม
ในขณะนั้นอาจเกิดสติที่ว่องไวสามารถกำหนดรู้อารมณ์ได้ในทันที
มีอารมณ์มากระทบ เกิดปัสสัทธิที่เป็นลักษณะสงบ และเกิดปิติที่มี
ลักษณะแช่มชื่นใจจนรู้สึกขนลุก น้ำตาไหล เป็นตัน

จนเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาต่อไป ก็จะหยั่งเห็นสภาพที่
ปราศจากแก่นสารของสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เพราะได้เห็นความ
ดับไปอย่างรวดเร็วของจิตที่รู้อารมณ์และอารมณ์ที่ถูกรู้ ปัญญาทีรู้
เห็นความดับของรูปนามนี้เรียกว่า ภังคญาณ คือ ปัญญาที่รู้เห็น
ความดับไปของรูปนาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2023, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ย้ายประเภทกันเถอะ-removebg-preview.png
ย้ายประเภทกันเถอะ-removebg-preview.png [ 233.95 KiB | เปิดดู 717 ครั้ง ]
พระโสดาบันและพระอริยบุคคลอื่นๆ
ภังคญาณเป็นเหตุให้เกิด ภยญาณ คือ ปัญญาที่รู้เห็นว่ารูป
นามเป็นสิ่งน่ากลัว ด้วยภยญาณนี้จะสามารถพิจารณาเห็นสังขารที่
แตกสลายไปทั้งหมดว่าเป็นของน่ากลัว และต่อมาภยญาณจะเป็น
เหตุให้เกิดวิปัสสนาญาณขั้นต่าง ๆ จนมาถึง สังขารุเปกขาญาณ คือ
ญาณวางเฉยสังขารที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่งไม่เห็นว่าสังขารทั้งหลาย
เป็นของน่ารังเกียจหรือน่ายินดีพอใจ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติต่อไป
จนญาณพัฒนาแก่กล้าขึ้นอีก จิตจะตั้งมั่นอยู่กับการละรูปนามและ
สังขาร (เจตนาในการทำกรรม) การบรรลุปัญญาในขั้นนี้หมายถึง
การบรรลุมรรคญาณและผลญาณ ในขณะที่บรรลุมรรคญาณและผล
ญาณนี้ หากเป็นการบรรลุเพียงครั้งเดียว ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติธรรม
เป็นพระโสดาบัน (ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน) สามารถจะตัดกรรม
ชั่วในอดีตที่จะทำให้ไปตกในอบายภูมิ และกรรมใหม่ที่จะฉุดรั้งให้
ตกลงไปอยู่ในอบายภูมิก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกเลย นอกจากนั้น
พระโสดาบันจะเกิดอีกเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างมากเท่านั้น"

ถ้าพระโสดาบันปฏิบัติธรรมต่อไป โดยเริ่มที่อุทยัพพยญาณ
เป็นตันอีก ก็จะสามารถบรรลุมรรคผลเป็นพระสกทาคามี (ผู้กลับมา
เกิดในกามภูมิคือมนุษย์โลกและเทวโลกอีกเพียงครั้งเดียว)"

หากพระสกทาคามีเจริญวิปัสสนาต่อไป จะได้เลื่อนลำดับ
ขึ้นไปเป็นพระอนาคามี (ผู้ไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีก) โดยจะไป
เกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส" กรรมในอดีตทั้งหมดที่จะฉุดรั้งเขา
ให้มาเกิดในกามภูมิก็จะจบสิ้นลงในภพนี้ และกรรมใหม่ที่จะนำพา
ไปสู่อบายภูมิในภพต่อไปก็ไม่อาจเกิดได้อีก

อาจมีคำถามว่า กุศลกรรม หรือ กรรมดีที่เป็นกามาวจร
กุศลจะเกิดขึ้นได้หรือไม่

ตอบได้ว่า พระอนาคามียังกระทำกรรมดีอยู่ แต่เนื่องจาก
ไม่ประกอบด้วยกามตัณหา คือความยินดีในกามภพ จึงไม่ส่งผลให้
มีการเกิดใหม่ในกามภพอีกได้
แต่ก็ยังอาจมีคำถามเกิดขึ้นได้อีกว่า กามาวจรกุศลจะให้ผล
หรือไม่ เนื่องจากกรรมทุกชนิดย่อมมีอำนาจในการให้ผล ดังนั้น
กรรมดีที่พระอนาคามีกระทำย่อมเป็นปัจจัยให้บรรลุมรรคผลในขั้น
สูงขึ้นต่อไป ดังตัวอย่างในเรื่องของอุคคคฤหบดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร