วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2023, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




iStock-179246062_(1).jpg
iStock-179246062_(1).jpg [ 45.33 KiB | เปิดดู 860 ครั้ง ]
เมื่อเห็นจงเพียงแต่เห็น
ในพาหิยสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่า
ตสฺมาติห พาหิย เอวํ สิกฺขิตพฺพํ. ทิฏฺเฐ ทิฏฐมฺตตํ ภาวิสฺสติ
สุตฺมตตํ ภวิสฺสติ, มุเต มุตมตฺตํ ภวิสสติ, วิญฺญาเต วิญฺญต
มตฺตํ ภวิสฺสติ. เอวญฺหิ เต พาหิย สิกฺขิตพฺพํ."
พาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมือเห็น
จงเพียงแต่เห็น เมื่อได้ยินจงเพียงแต่ได้ยิน เมื่อรู้จงเพียงแต่รู้
คิดจงเพียงแต่คิด

พาหิยะ เธอพึงปฏิบัติอย่างนี้(ด้วยการกำหนดรู้สภาวธรรม
ในขณะที่เกิดขึ้น"
นี้คือการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานที่เรียกว่า ทิฏเฐ ทิฏฺฐ-
มตฺตํ (เมื่อเห็นจงเพียงแต่เห็น) โดยทั่วๆ ไปอายตนะภายใน ๖ รับรู้
อาตนะภายนอก ๖ โดยผ่านมาทางทวารทั้ง ๖ ตัวอย่างเช่น เมื่อ
บุคคลเห็นรูปทางตา เขาไม่เพียงแต่เห็นและไม่หยุดแค่เห็นเท่านั้น
เขายังคิดพิจารณาต่อไปอีก และยังติดใจอยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการ
เห็นนั้น ดังเช่น รับรู้รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่เห็น ปรุงแต่งว่าสิ่งนั้น
น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ และตอบสนองกับความรู้สึกสุขหรือทุกข์ที่
เกิดขึ้น เมื่อมีความสุขก็ย่อมมีความพอใจ แต่ถ้าสิ่งที่เห็นนั้นรู้สึกว่า
ไม่น่าดู เขาย่อมไม่เพียงไม่พอใจเท่านั้น ยังอาจรู้สึกขยะแขยงหรือ
โกรธเกลียดอีกด้วย แม้บางครั้งเขาจะรู้สึกเฉยๆ กับสิ่งที่เห็น แต่
อัตตาตัวตนของเขาก็ได้เกิดขึ้นแล้ว โดยคิดว่า "ฉันเห็น" และความ
เป็น "ฉัน" นี้เป็นสิ่งเที่ยงแท้ เขาไม่เพียงสักแต่ว่าเห็นและกำหนดรู้
การห็นทางตาโดยไม่พิจารณาต่อไปถึงลักษณะหรือเรื่องราวของสิ่ง
ที่เห็น แต่การหยุดอยู่เพียงแค่การเห็นนั้นทำได้ไม่ง่ายเลย ถ้าไม่
สามารถหยุดอยู่เพียงแค่การเห็น เขาก็จะรับรู้ต่อไปถึงคนที่เห็นหรือ
ที่เห็นนั้นแล้วนึกชอบหรือไม่ชอบ ถ้าเขาชอบสิ่งที่เห็นความรักก็
จะขอกงามขึ้นในใจ ตรงข้ามถ้าเขาไม่ชอบสิ่งที่เห็นความเกลียดก็
จะกัดกินใจของเขา แม้ในบางครั้งนั้นรู้สึกเฉยๆ กับคนหรือสิ่งที่เห็น
เขาก็ยังคิดว่า "สิ่งที่เห็นนั้นมีตัวตนที่เที่ยงแท้" เป็นการยากมากที่
คนราจะสลัดทิ้งความยึดมั่นกับอัตตาตัวตนได้หากขาดการเจริญ
วิปัสสนา เพราะวิปัสสนาเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เราสามารถสักแต่ว่า
เห็นโดยไม่แต่งเติมเสริมต่อ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2023, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




thaihealth_c_ehquvwxy1358.jpg
thaihealth_c_ehquvwxy1358.jpg [ 39.97 KiB | เปิดดู 855 ครั้ง ]
ผู้ที่ไม่ได้เจริญวิปัสสนา
-เมื่อเห็น ก็จะไม่สามารถหยุดอยู่แค่ เห็น
- เมื่อได้ยิน ก็ไม่หยุดแค่ ได้ยิน
- เมื่อรู้กลิ่น ก็ไม่หยุดแค่ รู้กลิ่น
- เมื่อรู้รส ก็ไม่หยุดแค่ รู้รส
- เมื่อรู้สัมผัส ก็ไม่หยุดแค่ รู้สัมผัส

และที่ยากที่สุดก็คือเมื่อคิดก็ไม่สามารถหยุดอยู่เพียงแค่คิค
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดรู้สภาวธรรมให้ทันปัจจุบันขณะอย่าง
ต่อเนื่องตลอดเวลา ในเบื้องแรกของการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติไหม่จะไม่
สามารถกำหนดรู้สภาวธรรมทั้งหมดในขณะที่เขาเห็น ขณะได้ยิน
เป็นตัน เพราะฉะนั้น เขาจึงควรที่จะเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ด้วยการกำหนดสภาวธรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้นก่อน ในการสอน
วิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน ควรให้ผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้การเดิน
ในขณะเดินก่อน เป็นการตามรู้สภาวธรรมการเคลื่อนไหว คือการ
ทำงานของวาโยธาตุ ได้แก่ ธาตุที่มีลักษณะเคลื่อนไหว เมื่อยืนให้
กำหนดรู้ว่ากำลังยืน เมื่อนั่งให้กำหนดรู้ว่ากำลังนั่ง ในขณะที่ทำ
อิริยาบถต่างๆ นี้ อาจรู้สึกได้ถึงสภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกาย ก็พึง
กำหนดรู้สภาวะนั้นๆ เช่น กำหนดรู้การพองยุบของท้องในขณะนั้น
ในขณะที่นั่ง กรรมฐาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2023, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1683252624649-removebg-preview.png
FB_IMG_1683252624649-removebg-preview.png [ 477.33 KiB | เปิดดู 854 ครั้ง ]
ในขณะที่กำลังตามรู้สภาวะพองขึ้นและยุบลงของท้องอยู่นั้น
จิตอาจล่องลอยไปคิดถึงเรื่องราวต่างๆ พึงกำหนดรู้ว่ากำลังคิด
งครั้งอาจรู้กเมื่อย ร้อน อืดอัด หรือปวด ก็พืงกำหนดความ
รู้สึกเหล่านั้นด้วย หรือถ้ารู้สึกเมื่อยก็อาจเปลี่ยนท่านั่งให้สบายขึ้น
โดยต้องกำหนดรู้ทุกการเคลื่อนไหวในขณะที่ขยับร่างกาย ขณะนั่ง
กรรมฐานหากได้ยินเสียงดังชัดเจนจนรบกวนการปฏิบัติพึงกำหนดรู้
เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นใดที่ควรกำหนดรู้ที่อาการเป็นพิเศษก็ให้กำนดรู้ที่
อาการพองยุบของท้องตามปกติ

เมื่อพลังสมาธิแก่กล้าขึ้นจะพบว่า สภาวะเห็นตั้งอยู่เพียง
ชั่วขณะแล้วก็ดับไป สภาวะได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และการ
คิดทั้งหลายก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ ในขณะที่กำหนดรู้สภาวะได้ยินอยู่
ทั้งเสียงและจิตที่ได้ยินได้ดับไป ขณะที่รู้สึกปวด ทั้งความบีบคั้นที่
ทำให้ปวดและความรู้สึกปวดได้ดับไป เมื่อตั้งใจตามรู้สภาวะเห็น
ด้วยการกำหนดในใจว่ากำลังเห็นอยู่นั้น สภาวะเห็น การกำหนดรู้
และจิตที่รู้ได้ดับไป ต่อมาปัญญาจะเกิดขึ้นในจิตทำให้รับรู้ว่า สิ่งที่
เกิดขึ้นย่อมดับไป และสภาวะเห็นนั้นไม่คงทน ปัญญาที่รู้สภาพที่
ผันแปรไม่คงทนถาวรของสรรพสิ่งนี้เรียกว่า อนิจจานุปัสสนาญาณ
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วต้องดับไบนั้นไม่น่าพอใจ ดังนั้นสภาวธรรมนี้จึงเป็น
ทุกข์ ปัญญาที่หยั่งรู้ความจริงของทุกข์นี้เรียกว่า ทุกขานุปัสสนา-
ญาณ ต่อมา อนัตตานุปัสสนาญาณ คือ ปัญญาที่หยั่งรู้ความไม่ใช่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2023, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1683252624649.jpg
FB_IMG_1683252624649.jpg [ 110.31 KiB | เปิดดู 764 ครั้ง ]
ตัวตนของสิ่งทั้งปวงก็จะพัฒนาขึ้นเมื่อหยั่งเห็นได้ว่าสิ่งทั้งหลาย
แปรเปลี่ยนเป็นไปตามธรรมชาติ บังคับบัญชาไม่ได้

เนื่องจากท่านพาหิยะมีบารมีที่บำเพ็ญมาจนเต็มเปี่ยมแล้ว
เมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เพียงเท่านี้ก็เกิดปัญญาณ
เมื่อเห็นรูปท่านจึงกำหนดรู้เพียงการเห็น ไม่เกินเลยไปกว่านั้น เมื่อ
ท่านเฝ้าดูสภาวะเห็นในปัจจุบันขณะนั้นๆ จิตไม่รับรู้อย่างอื่นนอกไป
จากสภาวะเห็นเท่านั้น ใจไม่ได้คิดว่า "เราเห็น อัตตาของเราเป็นผู้รู้
เห็น" เมื่อจิตของท่านหลุดพันจากความยึดมั่นถือมั่น มาน และ
ทิฏฐิ รวมทั้งอัตตสัญญาก็เป็นอันถูกละไปทั้งหมด

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า
ตโต ตวํ พาหิย เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเรน. เอเสวนฺโต

"พาหิยะ ในเวลาไม่ยึดติดอยู่ในสภาวะเห็นเป็นต้นนั้น เธอ
จะไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุด
แห่งทุกข์"
เมื่อไม่มีอุปาทาน มานะ และทิฏฐิแล้ว กิเลสทั้งหลายก็
ดับไปหมด เมื่อหมดกิเลสแล้วภพทั้งหลายไม่ว่าภพนี้หรือภพหนำก็
ย่อมไม่มี การไม่เกิดอีกจึงหมายถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์ซึ่งเรียกว่า
อนุปาทิเสสนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2023, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




2013-12-28_225332-removebg-preview.png
2013-12-28_225332-removebg-preview.png [ 109.04 KiB | เปิดดู 760 ครั้ง ]
ในอรรถกถาของคัมภีร์อุทานได้แสดงไว้โดยละเอียดดังนี้
๑. อายตนะภายใน ๖ ได้แก่
- จักขายตนะ (ตา) - โสตายตนะ (หู)
- ฆานายตนะ (จมูก) - ชิวหายตนะ (ลิ้น)
- กายายตนะ (กาย) - มนายตนะ (ใจ)

๒. อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่
- รูปายตนะ (รูป) - สัททายตนะ (เสียง)
- คันธายตนะ (กลิ่น) - รสายตนะ (รส)
. โผฎฐัพพายตนะ (โผฎฐัพพะ)
- ธัมมายตนะ (ธรรมารมณ์, มโนสัมผัส)

เมื่อบุคคลหลุดพันจากกิเลสด้วยการเจริญวิปัสสนาปัญญา
เราก็จะหลุดพันจากอายตนะภายในและภายนอก ไม่มีอัตตาตัวตน
อยู่ในทวาร อยู่ในอารมณ์ และอยู่ในจิตที่รู้อารมณ์ การหยุดทำงาน
รอเอายตนะต่างๆ เหล่านี้ คือ นิพพาน

คำอธิบายที่กล่าวมาในข้างต้นนี้ ตรงกับประสบการณ์ใน
การปฏิบัติวิปัสสนา เบื้องตันผู้ปฏิบัติธรรมต้องพยายามน้อมใจไป
ในทวาร อารมณ์ และวิญญาณเพื่อกำหนดรู้การเกิดขึ้นและดับไป
ของรูปนาม เมื่อพยายามกำหนดรู้รูปนามที่เกิดตับอย่างต่อเนื่อง
ตลอดเวลาจนวิปัสนาญาณพัฒนาแก่กล้าขึ้น กระแสจิตย่อมไหลไป
สู่ความดับของสภาวธรรมการเห็น การได้ยิน การรู้กลิ่น การลิ้มรส
การสัมผัส และการธรรมารมณ์ และเมื่อนั้นจึงกล่าวได้ว่าเขาได้รู้
เห็นนิพพานแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 72 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร