วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 08:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2022, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




rowboat-sinking.gif
rowboat-sinking.gif [ 1.18 MiB | เปิดดู 1424 ครั้ง ]
คำอธิบาย มนสานาวิโล

"มนสานาวิโล สิยา"ติ ปริยุฏฺฐานวิฆาตํ อาห, ตถา หิ เสโข อภิคิชฺฌนฺโต
อสมุปฺปนฺนญฺจ กิเลสํ อุปฺปาเทติ, อุปฺปนุนญฺจ กิเลสํ ผาตึ กโรติ. โย ปน อนาวิลสงฺกปฺโป
อนภิคิชฺฌนฺนโต วายมติ, โส อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺมาน อนุปฺปาทาย ฉนฺทํติ
วายมติ วีวิยํ อารภติ จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ. โส อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ
ปหานาย ฉนฺทํ ชเนติ วายมติ วีริยํ อารภติ จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ. โส อนุปฺปนฺนานํ
กุสลานํ ธมฺมานํ อุปฺปาทาย ฉนฺทํ ชเนติ วายมติ วีริยํ อารภติ จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ. โส
อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมมานํ ฐิติยา อสมฺโมสาย ภิยฺโยภาวาย เวปุลฺลาย ภาวนาย ปาริปูริยา
ฉนฺทํ ชเนติ วายมติ วีริยํ อารภติ จิตฺตํ ปคุคณฺหาติ ปทหติ.


"คำว่า มนสานาวิโล สิยา (มีใจไม่ขุ่นมัว) กล่าวถึงการละกิเลสที่กลุ้มรุมจิต (ปริยุฏ-
ฐานกิเลส) โดยแท้จริงแล้ว เมื่อพระเสกขะยินดีอยู่ ย่อมยังกิเลสที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และ
เพิ่มพูนกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว

ส่วนพระเสกขะใดมีความดำริไม่ขุ่นมัว ไม่กำหนัดยินดี ย่อมพากเพียร เขาย่อม
ยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งความ
เพียร เพื่อดวามไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันทรามที่ยังไม่เกิดขึ้น เขาย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น
ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งความเพียร เพื่อความกำจัด
อกุศลธรรมอันทรามที่เกิดขึ้นแล้ว เขาย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความ
เพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งความเพียร เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
เขาย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้ง
ความเพียร เพื่อดวามดำรงอยู่ เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความภิญโญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

(คำว่า มนสานาวิโล สิยา (มีใจไม่ขุ่นมัว) คือ มีใจไม่ขุ่นมัวด้วยปริยุฏฐานกิเลสอันได้แก่กาม-
สังกับปะ คือ ความดำริในกาม พยาบาทสังกัปปะ คือ ความดำริในการปองร้าย และวิหิงสาสังกัปปะ
คือ ความดำริในการเบียดเบียน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2022, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




mythbusters-duct-tape-canoe.gif
mythbusters-duct-tape-canoe.gif [ 1.19 MiB | เปิดดู 1424 ครั้ง ]
พระเสกขะยังเป็นผู้มีกิเลสบางส่วนอยู่ ถ้าท่านยินดีพอใจอิฏฐารมณ์ที่น่าเพลิดเพลิน ก็จะ
บรรลุอหัตตผลไม่ได้ พระมหากัจจายนะจึงแสดงปฏิปทาของพระเสกขะเพื่อการบรรลุอรหัตตผลโดย
เนันสัมมับปธาน ๔ คือ การไม่ทำอกุศลใหม่ การละอกุศลเก่า การบำเพีญกุศลใหม่ และการเพิ่มพูน
กุศลเก่า

คำว่า ฉนฺทํ ชเนติ (ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น) หมายความว่า ประกอบด้วยกุศลฉันทะซึ่งมี
กุศลจิตและกุศลเจตสิก (โสภณเจตสิก) ประกอบร่วม
คำว่า วายมติ (ย่อมพยายาม) หมายความว่า ย่อมกระทำความบากบั่นไม่ย่อท้อ ความเพียร
ประเภทนี้เป็นการเริ่มเสพกุศลธรรม

คำว่า วีริยํ อารภติ (ย่อมปรารภความเพียร) หมายความว่า มีความเพียรทางกายและใจ
ความจริงแล้วความเพียรทางกายที่เรียกว่า กายิกวีริยะ และความเพียรทางใจที่เรียกว่า เจตสิกวีริยะ
เป็นองค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติธรรม เหมือนล้อรถาสองล้อที่นำรถมัาให้แล่นไปได้ ดังพระพุทธ-
ดำรัสว่า จกุกวีริโย"' (มีความเพียรเหมือนล้อรถ ความเพียรประเภทนี้เป็นการกระทำกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้นในจิตของตน

คำว่า จิตฺตํ ปคุคณหาติ (ย่อมประคองจิตไว้ หมายความว่า ย่อมยกจิตขึ้นไว้ในการปฏิบัติ
ธรรมด้วยความเพียรที่เกิดร่วมกับจิตของตน ความเพียรประเภทนี้เป็นการกระทำกุศลธรรมที่เกิดมี
แล้วให้มากยิ่งขึ้น

คำว่า ปทหติ (ย่อมตั้งความเพียร) หมายความว่า กระทำความเพียรที่เรียกว่า ปธานะ คือ
ความเพียรที่ถึงพร้อมด้วยองค์ ๔ ดังข้อความในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก็ว่า
กามํ ตโจ จ นฺหารุ จ อฎฺฐิ จ อวสิสฺสตุ. สรีเร อุปสฺสสตุ มํสโลหิต. ยํ ตํ ปุริสถาเมน ปุริส-
วีริเยน ปุริสปรกฺกเมน ปตฺตพฺพํ, น ตํ อปาปุณิตฺวา วีริยสฺส สณฺฐานํ ภวิสฺสติ.

"ร่างกายนี้จงเหลือเพียงหนัง เอ็น และกระดูกโดยแท้ เลือดเนื้อในกายนี้จงเหือดแห้ง เมื่อ
เรายังมิได้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุด้วยความบากบั่นพากเพียรของบุรุษ การหยุดยั้งความเพียรจักไม่มี"
โบราณาจารย์ได้ประพันธ์ข้อความนี้เป็นคาถาว่า

กามํ ตโจ จ นฺหารุ จ อฎฺฐิ จ อวสิสุสตุ
อุปสุสฺสตู นิสฺเสสํ สรีเสสํ มํสโลหิตํ

"หนัง เอ็น และกระดูก จงเหลืออยู่โดยแท้ เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้ง
ไป (ก็จะไม่ละความเพียรเมื่อยังมิได้บรรลุธรรม]
ความเพียรประเภทนี้เป็นการทำกุศลธรรมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งบรรลุเป็นพระอรหันต์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2022, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




5f09e8e0b82c760cc11d6c45.jpg
5f09e8e0b82c760cc11d6c45.jpg [ 52.33 KiB | เปิดดู 1338 ครั้ง ]
กตเม อนุปฺปนฺนา ปาปกา อกุสลา ธมฺมา. กามวิตกฺโก พฺยาปาทวิตกโก
วิหึสาวิตกโก. อิเม อนุปฺปนฺนา ปาปกา อกุสลา ธมฺมา กตเม อุปฺปนฺนา ปาปก อกุสลา
ธมฺมา อนุสยา อกุสลมูลานิ อิเม อุปฺปนฺนา ปาปกา อกุสลา ธมฺมา. กตเม อนุปฺปนฺนา
กุสลา ธมฺมา. ยานิ โสตาปนฺนสฺส อินทฺริยานิ อิเม อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา. กตเม อุปฺปนฺ
นา กุสลา ธมฺมา. ยานิ อฏฺฐมกสฺส อินฺทฺริยานิ, อิเม อุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา

"ถามว่า : อกุศลธรรมอันทรามที่ยังไม่เกิดขึ้น คืออะไร
ตอบว่า : กามวิตก (ความดำริในกาม) พยาบาทวิตก (ความดำริในการปองร้าย)
และวิหิงสาวิตก (ความดำริในเบียดเบียน) เหล่านี้ชื่อว่า อกุศลธรรมอันทรามที่ยังไม่เกิดขึ้น

ถามว่า : อกุศลธรรมอันทรามที่เกิดขึ้นแล้ว คืออะไร
ตอบว่า : อนุสัยทั้งหลายเป็นมูลแห่งอกุศล ชื่อว่า อกุศลธรรมอันทรามที่เกิดขึ้นแล้ว

ถามว่า : กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น คืออะไร
ตอบว่า : อินทรีย์ทั้งหลาย(มีศรัทธินทรีย์เป็นต้นของพระโสดาบัน เหล่านี้ชื่อว่า
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น

ถามว่า : กุคลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว คืออะไร
ตอบว่า : อินทรีย์ทั้งหลายของพระอริยบุคคลที่ ๘ (พระโสดาบัน) เหล่านี้ชื่อว่า
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว"

(ข้อความเหล่านี้กล่าวถึงอกุศลธรรมและกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นและเกิดขึ้นแล้ว จำแนกเป็น
๑. อกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น คือ มิจฉาวิตก ๓ อย่างมีกามวิตกเป็นดัน ที่ยังไม่เกิดขึ้นโดยการ
ปรากฏในจิต หรือโดยความเป็นอารมณ์ที่ยังมิได้เสวยมาก่อน

๒. อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อกุศลมูลอันได้แก่อนุสัยกิเลส ซึ่งเกิดขึ้นแล้วนอนเนื่องใน
กระแสจิตของเหล่าสัตว์ตลอดกาลอันยาวนานในสังสารวัฏที่ไม่ปรากฏเบื้องตัน

๓. กุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น คือ อินทรีย์ ๕ ของพระโสดาบันที่อบรมขึ้นเพื่อการบรรลุโสดา-
ปัตติผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2022, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




03.jpg
03.jpg [ 166.75 KiB | เปิดดู 1278 ครั้ง ]
๔. กุศลที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อินทรีย์ ๔ ในโสดาปัตติมรรดที่เกิดขึ้นแล้วแก่พระไสดาบัน
เพื่อการบรรตุโสดาปัดติผล]

เยน กามวิตกฺกํ วาเรติ, อิทํ สตินทริยํ. เยน พยาปาทวิตกฺกํ วาเรติ, อิทํ สมาธินฺ
ทริยํ. เยน วิหึสาวิตกฺก๋ วาเรติ, อิทํ วีริยินฺทริยํ. เยน อุปฺปนฺนุปปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม
ปชหติ วิโนเทติ พยนฺตึกโรติ อนภาวํ คเมติ นาธิวาเสติ, อิทํ ปญฺญินทริยํ. ยา อิเมสุ จตุสุ
อินฺทริเยสุ สทฺทหนา โอกปฺปนา, อิทํ สทฺธินทริยํ

บุคคลย่อมห้ามกามวิตกด้วยอินทรีย์ใด อินทรีย์นี้ชื่อว่า สตินทรีย์
บุคคลย่อมห้ามพยาบาทวิตกด้วยอินทรีย์ใด อินทรีย์นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์
บุดคลย่อมห้ามวิหิงสาวิตกด้วยอินทรีย์ใด อินทรีย์นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์
บุคคลย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่
อดกลั้นอกุศลธรรมอันทรามที่เกิดขึ้นแล้ว (คือ ไม่ยอมให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น) ด้วยอินทรีย์ใด
อินทรีย์นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์
ศรัทธาที่มันคงในอินทรีย์ ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ศรัทธินทรีย์"

(ท่านกล่าวอินทรีย์ ๕ ไว้ดังนี้ คือ
ศรัทธินทรีย์ คือ ความเชื่อมันในอินทรีย์ ๔
กล่าวคือ ศรัทธาก่อให้เกิดวิริยะ วิริยะ
ก่อให้เกิดสติ สติก่อให้เกิดสมาธิ สมาธิก่อให้เกิดปัญญา และปัญญาย่อมก่อให้เกิดศรัทธา อินทรีย์ ๕
เหล่านี้เป็นเหตุเป็นผลของกันและกันอย่างนี้

๒. วิริยินทรีย์ ห้ามวิหิงสาวิตก เพราะวิหิงสาวิตกย่อมถูกข่มไว้ด้วยวิริยะ เนื่องจากผู้
ที่ปรารภความเพียรในกุศลธรรมย่อมอดกลั้นโทษของผู้อื่นได้ง่าย

๓. สตินทรีย์ ห้ามกามวิตก เพราะวิหิงสาวิตกย่อมถูกข่มไว้ด้วยสติปัฏฐานภาวนาที่
เป็นการเพ่งอสุภกรรมฐาน

๔ สมาธินทรีย์ ห้ามพยาบาทวิตก เพราะพยาบาทวิตกที่เป็นปัจจัยแก่ความฟุ้งซ่าน
และมีความทุกข์ใจเป็นที่ตั้งย่อมถูกข่มไว้ด้วยสมาธิที่ไม่ฟุ้งซ่านและมีสุขเป็นเหตุใกล้
ปัญญินทรีย์ ห้ามอกุศลธรรมทั้งหมด เพราะการละปฏิปักษ์ของสมาธิเป็นต้นย่อม
สำเร็จแก่ผู้มีปัญญาเท่านั้น]

๕. ปัญญินทรีย์. ห้ามอกุศลทั้งหมด เพราะการละปฏิปักษ์ของสมาธิเป็นต้นย่อม
สำเร็จแก่ผู้มีปัญญาเท่านั้น ]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2022, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




40-stunning-photos-of-beautiful-clouds_18.jpg
40-stunning-photos-of-beautiful-clouds_18.jpg [ 40.45 KiB | เปิดดู 1278 ครั้ง ]
ตตฺถ สทฺธินฺทฺริยํ กตฺถ ทฎฺฐพฺพํ จตูสุ โสตาปตฺติยงฺเคสุ วีริยินฺทฺริยํ กตฺถ ทฎฺฐพฺพ่
จตูสุ สม มปฺปธาเนสุ สตินฺทฺริยํ กตฺถ ทฏฺฐพฺพํ จตูสุ สติปฏฺฐาเนสุ สมาธินฺทฺริยํ กตฺถ
ทฏฺฐพฺฟ่ จตูสุ ฌาเนสุ ปญฺญินฺทฺริยํ กตฺถ ทฎฺฐพฺพํ จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวํ เสโข สพเพหิ
กุสเลหิ ธมฺเมหิ อปฺปมตฺโต วุตฺโต ภควตา อนาวิลตาย มนสา. เตนาห ภควา "มนสานาวิโลสียา ติ

"ถามว่า : ในอินทรีย์เหล่านั้น สัทธินทรีย์พึงทราบ(ว่าเป็นใหญ่ในวิสัยของตน]ได้)
ตอบว่า : ในขณะบรรลุกระแสอริยมรรคทั้ง ๔ [มรรด ๔]
ถามว่า : วิริยินทรีย์พึงทราบได้ในที่ไหน
ตอบว่า : ในสัมมัปปธาน ๔ (วิริยะเป็นสัมมัปปธานทั้ง ๔]
ถามว่า : สตินทรีย์พึงทราบได้ในที่ไหน
ตอบว่า : ในสติปัฏฐาน ๔ (ลติเป็นสติปัฏฐาน ๔]
ถามว่า : สมาธินทรีย์พึงทราบได้ในที่ไหน
ตอบว่า : ใน(รูป]ฌาน ๔ [เอกัดคตาเป็นองค์ฌาน]
ถามว่า : ปัญญินทรีย์พึงทราบได้ในที่ไหน
ตอบว่า : ในอริยสัจ ๔ (สัมมาทิฏฐิเป็นอริยมรรค]

โดยประการดังนี้ พระเสกชะผู้ไม่ประมาทแล้วในกุศลธรรมทั้งปวง พระผู้มีพระภาค
ตรัสสรรเสริญว่าเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว สมจริงดังพระพุทธดำรัสว่า
'มีใจไม่ขุ่นมัว"

(พระอริยบุคคลผู้บรรลุมรรคนั้นต้องมีอินทรีย์ ๕ สมดุลกัน กล่าวคือ ศรัทธาเสมอกับปัญญา
และวิริยะเสมอกับสมาธิ ส่วนสติเป็นธรรมที่ปรับวิริยะกับสมาธิให้สมดุลกัน เพื่อมิให้เกิดความฟุ้งซ่าน
เพราะวิริยะมากกว่าสมาธิ หรือเกิดความง่วงเหงาซึมเซาเพราะสมาธิมากกว่าวิริยะ อย่างไรก็ตาม
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้มีกำลังมากในวิสัยของตนในแต่ละขณะ กล่าวคือ

๑. ศรัทธินทรีย์
มีกำลังมากในขณะบรรลุมรรดทั้ง ๔ กล่าวคือ ผู้ที่บรรลุธรรม
เป็นพระอริยบุคคลในแต่ละมรรดนั้น เป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างแท้จริง เหมือนเสาเขื่อนที่
ปักลงดินอย่างมั่นคง พระอริยบุคคลเหล่านั้นมีพระพุทธเจ้าผู้แนะนำตนเป็นศาสดา มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2022, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




06.jpg
06.jpg [ 125.87 KiB | เปิดดู 1189 ครั้ง ]
และมีพระอริยสงฆ์เป็นเพื่อนผู้ประพฤติธรรม แม้ท่านจะไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหม ก็รู้ตัวว่า
ตนเป็นพระอริยบุคคล และไม่นับถือบุคคลอื่นเป็นศาสดา
๒. วิริยินทรีย์ มีกำลังมากในสัมมัปปธาน ๔ เพราะเป็นความเพียรที่มุ่งมั่นเพื่อ
ละอกุศลและสั่งสมกุศลในกระแสจิตของตน
๓. สตินทรีย์ มีกำลังมากในสติปัฏฐาน ๔ เพราะทำให้จิตรับรู้สภาวธรรม
ปัจจุบัน โดยไม่มีสมมุติบัญญัติ ตัวเรา ของเรา บุรุษ หรือสตรี
๔. สมาธินทรีย์ มีกำลังมากในรูปฌาน ๔ เพราะบรรลุอัปปนาสมาธิ ความจริงแล้ว
รูปฌาน ๔ ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จัดเป็นสมาธินทรีย์และสัมมาสมาธิ ส่วนอรูปฌาน ๔ ที่ไม่เป็นบาท
ของวิปัสสนา ไม่นับเข้าในเรื่องนี้ นอกจากนั้น แม้มรรคจิตของบุคคลผู้ออกจากปาทกฌาน คือ ฌานที่
เป็นบาทของวิปัสสนา ก็มืองค์ฌานในรูปฌานนั้นๆ ประกอบร่วมกับมรรคจิต ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สมาธินทรีย์มีกำลังมากในรูปฌาน ๔

อย่างไรก็ตาม ข้อความนี้กล่าวไร้โดยอุกกัฏฐนัย คือ นัยที่แสดงความสูงสุด แม้อุปจารสมาธิ
ที่เป็นบาทของวิปัสสนา และวิปัสสนาขณิกสมาธิที่มีกำลังเสมอกับอุปจารสมาธิ ซึ่งเรียกโดยอ้อมว่าเป็น
อุปจารสมาธิ โดยสทิสูปจาระ คือ สำนวนที่กล่าวถึงสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ก็นับว่าเป็นสมาธินทรีย์และสัมมา-
สมาธิ เพราะทำให้จิตหมดจดปราศจากนิวรณ์และอยู่ใกล้อัปปนาคือมรรคผล

อนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสรูปฌาน ๔ ไว้ในที่นี้ เพราะในพระสูตรต่างๆ มักแสดงรูปฌาน ๔
เพราะรูปฌานที่ ๔ เป็นบาทของอภิญญาที่มักกล่าวไว้ต่อจากรูปฌาน ๔ ดังนั้น พระมหากัจจายนะจึง
กล่าวถึงรูปฌาน ๔ ไว้ตามนิเทศของสัมมาสมาธิในมหาสติปัฏฐานสูตร อย่างไรก็ตาม อรูปฌานก็เป็น
บาทของวิปัสสนาได้เช่นเดียวกัน
๕. ปัญญินทรีย์ มีกำลังมากในอริยสัจ ๔ เพราะอริยสัจ ๔ เป็นปรมัตถธรรม
อย่างสูงสุด ผู้ที่บรรลุธรรมในพระศาสนานี้ก็คือผู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ นั่นเอง ดังพระพุทธวจนะว่า

สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ. สมาหิโต ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ. กิญฺจ ยถาภูตํ ปชานาติ
อิทํ ทุกขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยญํ ทุกขนิโรโธติ ยถาตํ
ปชานาติ. อยำ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ.
ㆍ.ㆍ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้แจ้งตามความเป็น
เธอย่อมรู้แจ้งอะไรตามความเป็นจริง เธอย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริงว่า อุปาทานขันธ์ห้านี้คือทุกข์
ตัณหานี้คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ นิพพานนี้คือความดับทุกข์ อริยมรรคนี้คือทางแห่งความดับทุกข์"

เย อริยสจจานิ วิภาวยนติ
คมฺกีรปญฺเญน สุเทลิตานิ
กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสํ ปมตฺตา
น เต ภวํ อฏฺฐมมาทิยนฺติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ "."

"บุคคลเหล่าใดเจริญอริยสัจสี่ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระปัญญาอันลึกซึ้ง
ตรัสไว้ดีแล้ว แม้ว่าท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้หลงเพลินอย่างมากอยู่ แต่ท่านก็จะ
ไม่เกิด ในชาติที่แปดอีก ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วย
สัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร