วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2022, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220911_053456.gif
20220911_053456.gif [ 1.19 MiB | เปิดดู 888 ครั้ง ]
กิเลสอันมีกำลังน้อยย่อมครอบงำ นรชนนั้น อันตรายย่อมย่ำยีเขา
ทุกข์ย่อมติดตามเขาเพราะถูกอันตรายย่ำยี เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือแตก ฉะนั้น"

(อุทาหรณ์ของโทษที่กล่าวไว้ในคาถาก่อน เป็นทุกขเวทนาทางใจ แต่โทษที่กล่าวถึงในคาถานี้
คือ ทุกข์ในวัฏฏะมีชาติทุกข์เป็นตันที่เป็นทุกขเวทนาทางกายและใจ
คนทั่วไปมักถูกกิเลสครอบงำจิต จึงกระทำกายทุจริตเป็นตัน เพราะมิได้อบรมจิตเพื่อพัฒนา
สมาธิและปัญญา ความจริงแล้วกิเลสที่เป็นอกุคลนั้นมีกำลังน้อยกว่ากุศล เพราะถูกละได้ด้วยกุศล
กุศลเหมือนเรือสำเภาที่บรรทุกของหนักอันเหมือนกับอกุศลได้ ดังนั้น เหล่าสัตว์จึงสามารถละกิเลสแล้ว
บรรลุที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าอกุศลมีกำลังมากกว่ากุศลแล้ว เหล่าสัตว์ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฎสงสาร
โดยไม่อาจจะพันจากทุกข์ในวัฏฎฏฎะโดยแท้

คำว่า พลียนฺติ (ย่อมครอบงำ) สำเร็จรูปมาจาก พล ศัพท์ + ณย ปัจจัย + อนฺติ วิภัตติ (ลง
อี อักษรเป็นอาคม) มีความหมายตามศัพท์ว่า "ทำซึ่งกำลัง" โดยลง ณย ปัจจัยในความหมายว่า "ทำ"
ดังคำว่า ทฬฺหยติ วีริยํ(ย่อมทำความเพียรให้มั่น)

เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ งดเว้นกามทั้งหลายเสีย
เขาละกามนั้นได้แล้วพึงข้ามห้วงน้ำได้เหมือนบุรุษวิดน้ำออกจากเรือแล้วพึงไปถึงฝั่ง
ฉะนั้น ""
(คาถาก่อนแสดงตัวอย่างของนิสสรณะ คือ อริยมรรค ส่วนคาถานี้แสดงนิสสรณะ คือ
พระนิพพานด้วยคำว่า ตเร โอฆํ (พืงข้ามห้วงน้ำได้) กล่าวคือ ผู้ที่ข่มความรักใคร่ในวัตถุกามด้วย
อำนาจของสมถะและวิปัสสนา พร้อมทั้งละได้ด้วยอริยมรรคแล้ว ย่อมข้ามห้วงน้ำทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ
(ห้วงน้ำคือกาม) ภโวมะ (ห้วงน้ำคือภพ) ทิฏโฐมะ (ห้วงน้ำคือทิฏฐิ) และอวิชโชฆะ (ห้วงน้ำคืออวิชชา
ย่อมบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานซึ่งดับรูปนามทั้งหมดได้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว

คำว่า สทา สโต (มีสติทุกเมื่อ) หมายความว่า เจริญสติอย่างต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืน
คำว่า กามานิ ปริวชฺชเย (งดเว้นกามทั้งหลายเสีย) หมายความว่า ไม่ก่อให้เกิดกิเลสที่พอใจ
วัตถุกามโดยข่มไว้ด้วยสมถะและละอย่างเด็ดขาดด้วยวิปัสสนา
คำว่า เต ปหาย (ละกามนั้นได้แล้ว) ระบุถึงอริยมรรค ซึ่งละกิเลสโดยเด็ดขาดตามสมควร
แก่มรรคนั้นๆ]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron