วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2022, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




พระธรรมโมลี.png
พระธรรมโมลี.png [ 494.95 KiB | เปิดดู 1114 ครั้ง ]
วิธีการที่โยคีควรถือเป็นแนวทาง

วิธีการที่โยคีควรถือเป็นแนวทาง
ต่อไปนี้จะได้นำเอาวิธีการปฏิบัติที่ควรถือเป็นแบบอย่างจากสมถยานิกะทั้งหลาย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โยคีได้อิงอาศัยหรือยึดเป็นแนวทาง ซึ่งแม้ว่าหลักการ
ปฏิบัติวิปัสสนาในหนังสือเล่มนี้จะเป็นแนวทางหรือวิธีการที่พระพุทธองค์ทรงแสดง
ไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรโดยตรง รวมทั้งยังสอดคล้องกับพระสูตรอื่นๆด้วยก็ตาม
แต่ถ้าโยคียังมองภาพของวิธีการปฏิบัติไม่ออก ก็อาจทำให้เกิดความสงสัยในหลัก
การปฏิบัติได้ ด้วยเหตุนี้ โยคีทั้งหลายจึงควรที่จะได้อาศัยตัวอย่างการสาธิตหลักการ
ปฏิบัติขจัดความสงสัยแล้วเกิดธัมมววัตถานญาณต่อไป

อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ
สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชญฺช วิทรติ. โส "ยเทว ตตฺถ โหติ
รูปคตํ เวทนาคตํ สญฺญาคตํ สงฺขารคตํ วิญฺญาณคติ" เต ธมฺเม อนิจฺจโต
ทุกฺขโต โรคโต คณฺฑโต สลฺลโต อฆโต อาพาธโต ปรโต ปโลกโต สุญฺญโต
อนตฺตโต สมนุปสฺสติ.
(อง.นวก. ๒๒๐)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ สงัดแล้วจากกามคุณ สงัดแล้วจาก
อกุศลกรรม บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขที่เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอย่อม
หยั่งเห็นธรรมเหล่านั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในขณะเกิด
ปฐมฌานนั้น ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เหมือนโรค เหมือนฝี เหมือนหนาม ไม่ดีงาม
เหมือนโรค เป็นสภาพอื่นจากตัวตน แตกสลาย ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน

พระบาลีข้างตันนี้แสดงให้ทราบว่า ภิกษุผู้ที่ได้ฌานนั้น ในเบื้องตัน ก่อนที่จะ
เจริญวิปัสสนาท่านได้เข้าปฐมฌานโดยเอาปฐมฌานนั้นเป็นบาทก่อน และทันทีที่
ออกจากฌาน ท่านก็ได้ทำการเจริญวิปัสสนาโดยเอาชันธ์ทั้งหลายที่ได้ปรากฎในฌาน
ที่เข้าปฐมฌานนั่นเองมาพิจารณาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น

นอกจากเข้าปฐมฌานแล้ว แม้ในฌานอื่นๆที่เหลือคือรวมทั้งรูปฌานและ
อรูปฌาน ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล แม้ในพระสูตรอื่นๆก็พึงทราบว่ามี
การแสดงวิธีการและขั้นตอนการเจริญวิปัสสนาของสมถยานิกบุคคล โดยทำนอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2022, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_ozvo9vHXup1wtg8hyo1_500.png
tumblr_ozvo9vHXup1wtg8hyo1_500.png [ 256.58 KiB | เปิดดู 1016 ครั้ง ]
เดียวกันนี้ ในพระบาลีนั้น จะบอกไร้อย่างชัดเจนว่า "ภายหลังจากที่ภิกษุเข้าฌาน
ใดฌานหนึ่งแล้ว เมือออกจากฌานนั้น ก็จะรับเอารูปนามทีมาปรากฏที่เข้า
ฌานมาพิจารณาเป็นอารมณ์ของวิปิสสนา"

แต่ไม่มีพระบาลีใดบอกว่า "มีการนำเอารูปนามตามที่คบเคยได้ยินได้ฟังหรือ
ศึกษาเล่าเรียนมาพิจารณาโดยอาศัยอนุมานญาณ" ดังนั้น จึงขอให้โยคีทั้งหลาย
จงใส่ใจประเด็นนี้ให้จงหนัก

ด้วยข้อความว่า อนิจฺจโต เป็นต้น ในพระสูตรที่ยกมาข้างตันนั้น ไม่ควรที่จะ
เข้าใจว่า "พระพุทธองค์ทรงมีพระประลงค์ให้พิจาวณาเช่นนั้นเฉพาะในขึ้นของ
อนิจจาทิวิปัสสนา[วิปัสสนามีอนิจจานุปัสสนา ทุกซานุปิสสนาและ อนัตตานุปัลสนา]
เท่านั้น แต่สำหรับในชั้นของนามรูปปริเฉทญาณและปัจจยปริดคหญาณแล้ว โยคี
ย่อมสามารถที่นำเอานามรูปมาพิจารณาเปรียบเทียบเป็นวิปัสสนาได้

ก็สาเหตุที่ไม่ควรเข้าใจเช่นนั้น เป็นเพราะว่าในที่นี้ เป็นการกล่าวโดยยกเอา
อนิจจาทิวิปัสสนาเป็นประธานหรือเป็นประ เด็นหลัก ส่วนญาณทั้ง ๒ กล่าวคือ นาม
รูปปริเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณ แม้จะไม่ได้เอ่ยไว้โดยตรง แต่ก็พึงทวาบ ว่า
ทรงแสดงไว้โดยนัยซึงเรียกว่าปถานนัย(สำนวนโวหารที่ยกเอาเพียงธรรมที่เป็น
ใหญ่หรือประธานขึ้นมากล่าว ส่วนธรรมอื่นๆทีไมใช่ประธานถือว่าไห้สงเคราะห์
เข้าได้]นั้นเอง ซึ่งได้เคยกล่าวไปตรั้งหนึ่งแล้ว ในปริเทที่ ๒ ตอนว่าด้วยเรื่องของ
การจำแนกหลักการเจริญมรรดภาวนา ๒ วิธี

เกี่ยวกับประเด็นนี้ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรต(๒/๒๒๒) ท่านได้กล่าวอธิบายไว้โดย
อาศัยพระบาลีที่ได้ยกมาข้างต้นนั้นเอง ดังนี้ว่า

นามรูปานํ ยาถาวทสุสนํ ทิฏฐิวิสุทธิ นาม. ต้ สมฺปาเทตุกาเมน สมถ
ยานิเกน ตาว ฐเปตฺวา เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ อวเสสรูปารูปาวจรชฺฌานานํ
อญฺญตรโต วุฎฺฐาย วิตกฺกาทีนิ ฌานงฺคานิ ตํสมฺปยุตฺตกา จ ธมฺมา ลกฺขณรสา
ทิวเสน ปริคฺคเทตพฺพา
การหยั่งเห็นรูปนามตามความเป็นจริง ชื่อว่า พิฏฐิวิสุทธิ(ความหมดมจดแห่ง
ความเห็น)โยคีผู้เป็นฝ่ายสมถยานิกต้องการเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธินั้นเมื่อออกจากรูปฌาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2022, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1661293189369.jpg
FB_IMG_1661293189369.jpg [ 73.32 KiB | เปิดดู 1010 ครั้ง ]
หรืออรูปฌานอย่างใดอย่างหนึ่งยกเว้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วพึงกำหนด
องค์ฌาน มีวิตกเป็นต้น และส้มปยุตธรรมมีผัสสะ สัญญา เจตนา จิตเป็นดัน ที่ป/ระกอบ
ก็บองค์ฌานนั้น โดยลักษณะและหน้าทีเป็นต้น

ในข้อความวิสุทธิมรรคข้างต้นนี้ พึงทราบว่า ทิฏฐิวิสุทธิ ก็คือญาณที่หยังรู้
รูปนามตามความเป็นจริง สมถยานิกบุคคลผู้ที่ประสงค์จะทำให้พิฏฐิวิสุทธิตังกล่าว
สำเร็จ ในเบื้องตันพึงเข้าฌานไม่ว่าจะเป็นรูปฌานหรืออรูปฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก่อนแล้วออกจากฌานนั้น จากนั้น ให้นำเอาองค์ฌานกล่าวคือวิตก วิจาร ปีติ สุข
อุเบกขาและเอกัคคตา ซึ่งเป็นธรรมที่ปรากฏอยู่ในฌานจิตตุปบาทนั้นนั่นเองมา
พิจารณาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา รวมไปถึงให้นำเอาสภาวธรรมอื่นๆเช่น ผัสสะ
สัญญา เจตนา จิต ฉันทะ เป็นต้น โดยมุ่งกำหนดให้เห็นสภาวลักษณะ รสะ
ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานของธรรมนั้นๆตามความเป็นจริง

คำว่า "ลกขณรสาทิวเสน" ในพระบาลีข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า ข้อที่ว่า
ให้กำหนดองค์ฌาน, สัมปยุตตจิตและเจตสิกเป็นวิปัสสนานั้น เป็นการเพ่งพิจารณา
ควบคุม และรู้เห็นสภาวลักษณะและรสะเป็นต้นของธรรมทั้งหลายนั่นเอง มิได้เป็น
การมุ่งให้โยคีกำหนดรู้รายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวกับสภาวธรรมนั้น เช่น ชื่อ รูปทรง
สัณฐานและจำนวนของสภาวธรรมเป็นต้นแต่อย่างใด อุปมาดุจในการกล่าวว่า
อภิชมมํ ชานามิ "ข้าพเจ้ารู้พระอภิธรรม" นั้น พึงทราบว่า มิได้เป็นการรู้พระอภิธรรม
หมดทุกแง่ทุกมุมแต่อย่างใด เพียงแค่ต้องการที่จะสื่อให้ทราบว่า อภิธมฺมํ เอกเทส-
วเสน ชานามิ "ข้าพเจ้ารู้พระอภิธรรมเพียงบางส่วน" เท่านั้นเอง

แม้ในการกล่าวว่า จนฺทํ ปสฺสามิ "ข้าพเจ้าเห็นดวงจันทร์" ก็ไม่ได้หมายถึง
การเห็นทุกส่วนของดวงจันทร์ เป็นแค่การเห็นส่วนที่เป็นพื้นด้านล่างของดวงจันทร์
เท่านั้น การกล่าวว่า จนฺทํ ปสฺสามิ จึงมีความหมายเท่ากับคำว่า จนฺทํ เหฎฐิมคล-
วเสน ปสฺสามิ "ข้าพเจ้าเห็นพื้นส่วนที่เป็นด้านล่างของดวงจันทร์" อุปมานี้ ฉันใด
อุปไมยก็ฉันนั้น นั่นก็คือว่า การที่กล่าวว่า "โยคีจะต้องกำหนดรู้ลักษณะและรสะ
เป็นต้น" นั้น หมายความว่า โยคีจะต้องตามกำหนดรู้เฉพาะลักษณะและรสะเป็นต้น
ของธรรมที่เป็นองค์ฌานและจิตเจตสิกที่เป็นสัมปยุตตธรรมทั้งหลายเท่านั้น จึงจะได้
ชื่อว่า เป็นการรู้ปรมัตถ์อย่างแท้จริง ด้วยว่า สภาวลักษณะและรสะเป็นตั้นนั่นแหละ
ได้ชื่อว่าเป็นสภาวปรมัตล์อย่างแท้จริง สิ่งอื่นหาได้เป็นปรมัตอย่างแท้จริงไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2022, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




59cb564489d9015ec248fbd5 (1).png
59cb564489d9015ec248fbd5 (1).png [ 388.1 KiB | เปิดดู 1008 ครั้ง ]
จะอย่างใงก็ตาม แมีในการรู้สกาวลักษณะเป็นต้นของปรมัตถธรรมเหล่านั้น
มิได้เป็นการรู้เพียงบางส่วน แต่เป็นการู้ทั้งสภาวะปรมัตถ์นั่นเทียว ตัวอย่างเช่น
ในกรณีการรู้ผุสนลักษณะกล่าวคือการกระทบกันระทว่างจิตกับอารมณ์นั้น มิใช่
เป็นการรู้เพียงบางส่วนซองผัสสเจดสิก แต่เป็นการรู้ผัสสะทุกแง่มุมอย่างสมบูรณ์
แบบนั้นเทียว ดังนั้น พึงทราบว่า การใช้คำว่า วเสน ต่อท้ายคำนามชื่นๆจึงมีสิกษณะ
ของการอธิบายโดยทำนองเดียวกันนี้แล

ในคัมภีวิฎีการะบุไว้ว่า ในกรณีของโยคีผู้เริ่มต้นปฏิบัตินั้นให้ยกเว้นการกำหนด
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทั้งนี้เพราะไม่มีสักยภาพพอที่จะตามกำหนดพิจารณา
เนวสัญญานาสัญญายตนผานนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ โยคีทั้งหลายจะได้เข้าใจในตอน
ยกเอาอนุปทสูตรมาแสดงในช่วงถัดไป

นอกจากนี้แล้ว สาเหตุที่ไม่แสดงรูปไว้เป็นธรรมที่โยคีควรตามกำหนดพิจารณา
ไว้เหมือนในพระไตรปิฎกนั้น เป็นเพราะว่า สำหรับสมถยานิกบุคคลนั้น โดยส่วน
มากแล้ว นามธรรมที่เป็นฌานจิตตุปบาทจะปรากฎก่อน ดังนั้น บุคคลเหล่านั้นก็
จะทำการกำหนดพิจารณาโดยเร็มต้นที่นามธรรมนั้นเป็นส่วนใหญ่ ส่วนรูปนั้นเป็น
ธรรมที่ไม่ค่อยจะปรากฏก่อน จึงไม่ค่อยถูกนำมาพิจารณาเป็นสำดับแรกเหมือนกับนาม
ซึ่งวิธีการกำหนดพิจารณาที่ไม่ค่อยจะถูกนำมาพิจารณาตังกล่าวนี้ ผู้เขียนจะได้นำ
มาแสดงรวมไว้กับวิธีการกำหนดพิจารณาของวิปัสสนายานิกบุคคล

สรุปว่า พระอรรถกถาจารย์ท่านประสงค์จะแสดงหลักการกำหนดนามธรรม
ไว้โดยตรง ส่วนการกำหนดรูปธรรมนั้น โยคีจะต้องตีความเอาโดยเยภุมนัย[สำนวน
โวหารที่ยกเอาสิ่งที่มีมากขึ้นมาพูด แต่ก็ครอบคลุมไปถึงสิ่งยืนๆที่ไม่ได้กล่าวไว้ด้วย]
อีกนัยหนึ่ง เพราะประสงค์จะแสดงการกำหนดนามธรรมไว้โดยปธานนัย จึงได้ละ
หรือข้ามการกำหนดนามธรรมไป(คำว่า ปธานนัย หมายถึง วิธีการแสดงโดยระบุ
เฉพาะสิ่งที่เป็นประธานหรือหัวหน้าเท่านั้น ส่วนสิ่งที่เป็นรองหรือลูกน้อง แม้จะ
ไม่ระบุก็พึงทราบว่า มีการนับเอาด้วยเช่นกัน]

นอกจากนี้ เนื่องจากว่านามกับรูปนั้นเป็นสภาวธรรมที่ไม่สามารถจะนำ
มากำหนดรู้ในขณะ เตียวกันได้ ท่านจึงได้แสดงเฉพาะนาม โดยยังไม่ได้แสดง
รูปธรรมร่วม แต่จะเห็นว่า ท่านได้แยกวิธีการกำหนดหทยรูปอันเป็นที่อาศัยของ
นามธรรมที่เป็นฌานนั้นเป็นเอกเทส ไว้ในตอนถัดไป ดังนั้น ข้อความในคัมภีรั
วิสุทธิมรรคจึงสอดคล้องเป็นเนื้อหาสาระเดียวกันกับข้อความในพระไตรปิฎก
อังคุตตรนิกายนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ควรที่จะเข้าใจผิดคิดว่าข้อความในคัมภีรั
วิสุทธิมรรคนั้นขาดวิธีการกำหนดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกับวิธีการกำหนด
รูปธรรมไม่สมบูรณ์เหมือนกับข้อความในพระไตรปิฎก เกี่ยวกับประเด็นนี้ มีช้อความ
ยืนยันจากคัมภีร์ฎีกาถึง ๓ แห่ง ดังต่อไปนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2022, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




58ef74c8bfa1e15b67603051.png
58ef74c8bfa1e15b67603051.png [ 586.76 KiB | เปิดดู 979 ครั้ง ]
ข้อความที่เป็นหลักฐานยืนยันที่ ๑

อรูเป วิปสฺสนาภินิเวโส เยภุยฺเยน สมถยานิกสฺส โหติ.
(วิสุทธิ,ฎี. ๒/๔๗๐)

การเริ่มต้นเอาใจใส่กล่าวคือการเริ่มต้นกำหนดพิจารณาวิปัสสนาโดยนำเอา
นามธรรมเป็นอารมณ์นั้น โดยส่วนมากแล้ว พึงทราบว่า เป็นวิธีของสมถยานิกบุคคล
[หมายความว่า การนำเอารูปธรรมมาพิจารณาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาเป็นอันดับ
แรกนั้น ไม่ใช่จะมีไม่ได้ แต่มีน้อยมาก]

จะอย่างไรก็ตาม ในกรณีที่โยคีนั้นเป็นวิปัสสนายานิกบุคคล พึงทราบว่า
โดยส่วนมากแล้วมีการนำเอารูปธรรมมาพิจารณาก่อน ดังนั้น ในคัมภีรัวิสุทธิมรรค
มหาฎีกา นั่นเอง ท่านจึงได้กล่าวข้อความสำหรับวิปัสสนายานิกบุคคลไว้ว่า

รูเป วิปสฺสนาภินิเวโส เยภุยฺเยน วิปสฺสนายานิกสฺส โหติ.

การเริ่มต้นเอาใจใส่กล่าวคือการเริ่มต้นกำหนดพิจารณาวิปัสสนาโดยนำ
รูปธรรมเป็นอารมณ์นั้น โดยส่วนมากแล้ว พึงทราบว่า เป็นวิธีของวิปัสสนายานิก
บุคคล
สำหรับในหนังสือเล่มนี้ จะได้นำเอาวิธีการเริ่มต้นพิจารณาที่รูปธรรมมา
ไว้ในปริเฉท ๕ ต่อไป

ข้อความที่เป็นหลักฐานยืนยันที่ ๒

ฌานงฺคานิ ปริคฺคณฺหาติ อรูปมุเขน วิปสฺสนํ อภินิวิสนฺโต.
(มหาวรรคฎีกา ๓๐๐)

โยคีผู้เริ่มพิจารณากำหนดองค์ฌานนั้น ก็คือผู้ที่เริ่มกำหนดวิปัสสนาโดยอาศัย
นามธรรมเป็นอารมณ์หลักนั่นเอง

คำว่า อรูปมุเขน ที่มาในคัมภีร์ฎีกานี้ แสดงให้ทราบว่า ในีนามรูปที
เกิดขึ้นพร้อมกันนั้น โยคีจะต้องกำหนดเอาเฉพาะนามที่ปรากฎชัดเท่านั้น ส่วนรูป
ไม่จำเป็นต้องแยกมากำหนดเป็นเอกเทศ ซึ่งข้อความนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า แม้จะ
ไม่ต้องกำหนดรูปเป็นเอกเทศ แต่โยคีผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ยังกิจ "การกำหนด"
ทั้ง ๒ คือ การกำหนดรูปและการกำหนดนาม ให้สำเร็จนั่นเอง โดยทำนองเดียวกัน
หากโยคีนำเอารูปมากำหนดเป็นประธานหลัก โยคีนั้นก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดนาม
เป็นเอกเทศเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ ในคัมภีร์ฎีกาดังกล่าวท่านจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

อสฺสาสปสฺสาเส ปริคฺคณฺหาติ รูปมุเขน วิปสฺสนํ อภินิวิสนฺโต.

โยคีผู้เจริญวิปัสสนาโดยวิธีการกำหนดรูปเป็นประธานนั้น ย่อมกำหนดลม
หายใจเข้าหายใจออก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2022, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




troll-3328570_960_720.png
troll-3328570_960_720.png [ 371.66 KiB | เปิดดู 857 ครั้ง ]
ข้อความที่เป็นหลักฐานยืนยันที่ ๓

รูปารูปธมฺมานํ อจฺจนฺตวิรุธตาย เอกชฺหํ อสมฺมผิตพฺพตฺตา
(วิสุทฺธิ.ฎี.๒/๓๙๙)
เนื่องจากรูปธรรมกับนามธรรมมีสภาพที่ตรงข้ามกัน จึงเป็นธรรมที่ไม่ควร
พิจารณาพร้อมๆกัน

ความตรงกันข้ามกันระหว่างรูปกับนาม ในที่นี้หมายความว่า รูปเป็นธรรมที่
ไม่รู้อารมณ์ ส่วนนามเป็นธรรมที่รู้อารมณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถนำมาเป็นอารมณ์
แก่ปัจจักขวิปัสสนาญาณพร้อมๆกันได้

เพียงข้อความที่ยกมานี้ ก็สามารถทำให้มองเห็นความสอดคล้องต้องกัน
ระหว่างพระบาลือังคุตตรนิกายกับพระบาลีวิสุทธิมรรคที่ว่า "สมถยานิกบุคคลย่อม
กำหนดเอาธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฏชัดเท่านั้นเป็นประธานหลักไม่ว่าจะเป็น
นามธรรมที่เป็นฌานจิตตุปบาทที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆก็ตาม หรือรูปธรรมอันเป็นที่
อาศัยของนามธรรมเหล่านั้น ก็ตาม"

เมื่อโยคีทั้งทลายได้นำการปฏิบัติจากวีถีกาจของสมลยานิกบุคคลอย่างนี้แล้ว
ก็ฟังเทียบเสียงสำหรับวิปัสสนายานิกบุคคลด้วยว่ามีลักษณะของกาวกำหนครูปนาม
อย่างใดอย่างหนึ่งเฉพระที่กำลังเกิดขึ้นเป็นครรมณีนลักเหวีอนกับสมตยา
งนเอง แตกต่างกันกีตวงทีสมถยานิกบุคคลนั้นเป็นผู้เข้าถึงณานและเกาณานนั้นมา
กำหนดเป็นอาวมณ์วิปัตสนาส่วนวิยัสสนายานิกบุคคลนั้นเนื่องจากเป็นผู้ไม่ใด้ณาน
จึงได้แค่นำเอาเฉพาะอารมณ์ที่เป็นกามาวจรธรรมมีจักซุวิญญาณจิตเป็นต้นที่เกิดขึ้น
ในชันธสันดานของตนมากำหนดเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนานี้แลคือความแตกต่างกัน
ส่วนวิถีการกำหนดนั้น พึงทราบว่าไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด

ในกรณีของปัจจักชวิปัสสนาญาณนี้ พึงทราบว่า นอกจากโยคีจะไม่สามารถ
นำเอานามกับรูปมาพิจารณาพร้อมๆกันแล้ว แม้แต่ธรรมที่เป็นฝ่ายเดียวกันเช่นรูป
กับรูปหรือนามกับนาม ก็ไม่สามารถขมวดเอารูปธรรมสองสามอย่างหรือนามธรรม
สองสามอย่างมาพิจารณาพร้อมๆกันได้

สาเหตุเป็นเพราะว่า รูปหนึ่งกับรูปหนึ่ง เช่น ปถวี กับ อาโป หรือนามหนึ่ง
กับอีกนามหนึ่ง เช่น ผัสสะกับเวทนา เป็นต้นนั้น ล้วนแล้วแต่มีสภาวลักษณะ
แตกต่างกันดังนั้น ปัจจักขญาณ จึงไม่สามารถที่จะรับเอาสภาวะที่แตกต่างกันมา
พิจารณาให้เห็นโดยประจักษ์ได้ แต่ว่า เมื่อได้รู้สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งโดย
ประจักษ์แจ้งแล้ว กิจการกำหนดรู้ทั้งรูปและนามที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ก็ได้ชื่อ
สำเร็จแล้วด้วยกันทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ วิปัสสนายานิกบุคคลนั้น จึงควรทำการกำหนดนามธรรมไม่ว่าจะ
เป็นจิต เจตลิกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ เข่น ในขณะทีเห็น ได้ยิน ลิ้มรส และสมผัส
ก็ดีหรือควรกำหนดรูรูปธรรมอันเป็นที่อาศัยหรือเป็นที่ตั้งของนามธรรมเหล่านั้น ที่ตี
กำหนดรู้รูปารมณ์เป็นต้นอันเป็นอารมณ์ของจิดเหล่านั้น ก็ดี

ส่วนในขณะที่กำลังตรึกนึกคิดอยู่ ก็ให้นำเอาจิตเจตสิกที่กำลังตรีกนึกคิดหรือ
จิดที่กำลังกำหนดอยู่ ก็ดี รูปอันเป็นที่อาศัยแก่นามเหล่านั้น ก็ดี หรือนามและรูป
อันเป็นอารมณ์ของนามเหล่านั้น ก็ดี หรือเอารูปที่เกิดขึ้นโดยมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มาพิจารณากำหนดรู้เป็นอารมณ์สำหรับวิปัสสนาได้

อนึ่ง ในการกำหนดรู้รูปนั้น มิใช่เป็นการเที่ยวขวนขวายเสาะหาอารมณ์ที่มีอยู่
ทั้งหมดในคัมภีร์พระอภิธรรมมากำหนด แต่เป็นการคัดเลือกเอาเฉพาะอารมณ์ที่
ปรากฏชัดอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นมากำหนดเป็นอารมณ์หลักหรือที่เรียกว่าเป็น
ประธาน ข้อนี้ พึงตระหนักตามข้อความจากคัมภีร์ฎีกาทั้งหลายว่า

อตฺตโน อภินีหารสมุทาคตญาณพลานุรูปํ เอกเทสเมว ปริคฺคเทตฺว
สมฺมสนฺโต รูปมุเขน อรูปมุเขน วิปสฺสนํ อภินิวิสนฺโต.

"โยคีสามารถพิจารณารู้อารมณ์เพียงบางส่วน ตามพลังความสามารถแห่ง
ปัญญาบารมีที่ตนสั่งสมมา โดยอาจจะเจริญวิปัสสนาโดยมีการพิจารณารูปธรรม
เป็นหลักหรือไม่ก็นามธรรมเป็นหลักก็ได้"

ซึ่งข้อความนี้ ได้อธิบายวิธีการเจริญวิปัสสนาโดยนำรูปนามหรือนามธรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์หลักของปัจจักขวิปัสสนาญาณ

ในกรณีของปัจจักชวิปัสสนาญาณนี้ พึงทราบว่า นอกจากโยคีจะไม่สามารถ
นำเอานามกับรูปมาพิจารณาพร้อมๆกันแล้ว แม้แต่ธรรมที่เป็นฝ่ายเดียวกันเช่นรูป
กับรูปหรือนามกับนาม ก็ไม่สามารถขมวดเอารูปธรรมสองสามอย่างหรือนามธรรม
สองสามอย่างมาพิจารณาพร้อมๆกันได้

สาเหตุเป็นเพราะว่า รูปหนึ่งกับรูปหนึ่ง เช่น ปถวี กับ อาโป หรือนามหนึ่ง
กับอีกนามหนึ่ง เช่น ผัสสะกับเวทนา เป็นต้นนั้น ล้วนแล้วแต่มีสภาวลักษณะ
แตกต่างกันดังนั้น ปัจจักขญาณ จึงไม่สามารถที่จะรับเอาสภาวะที่แตกต่างกันมา
พิจารณาให้เห็นโดยประจักษ์ได้ แต่ว่า เมื่อได้รู้สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งโดย
ประจักษ์แจ้งแล้ว กิจการกำหนดรู้ทั้งรูปและนามที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ก็ได้ชื่อ
สำเร็จแล้วด้วยกันทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร