วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 14:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2022, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Meditation-PNG-Image.png
Gautama-Buddha-Meditation-PNG-Image.png [ 409.16 KiB | เปิดดู 1045 ครั้ง ]
บุคคลผู้หลุดพันจากสังขารทุกข์

ผู้ที่จะหลุดพันจากสังขารทุกข์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อนุปาทิเสส
นิพพานเท่านั้น ก็บุคคลผู้พันจากสังขารทุกข์นั่นเองแหละ ท่านจึงจะเรียกว่าพ้น
จากทุกข์ทั้งปวงได้ คำว่า 'สังขารทุกข์' นี้หมายถึง ทุกข์ทั้งปวง ไม่มีอะไรที่เหลือ
อยู่ ทุกข์ทั้งหมดนี้จัดอยู่ในสังขารทุกข์ ฉะนั้น พระอรหันต์ที่บรรลุนิพพานและ
ปรินิพพานพร้อมทั้งขันธ์ ๕ ไปหมดแล้ว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากสังขาร
ทุกข์โดยประการทั้งปวง แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วแต่ยังไม่ปรินิพพานก็ถือว่ายัง
ไม่หลุดพ้นจากสังขารทุกข์ เพราะแม้จะเป็นพระอรหันต์แล้วแต่ก็ยังรับวิบาก
เสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ายังไม่หลุดพันจากสังขารทุกข์

หมายเหตุ - เกี่ยวกับอนุปาทิเสสนิพพานนี้ ขอพูดนิดหนึ่ง เพราะว่าเคยมี
คำถามเกี่ยวกับเรื่องนิพพานระหว่างสอุปาทิเสสะกับอนุปาทิเสสะ จริง ๆ แล้ว
นิพพานทั้งสองนี้มีกล่าวไว้ในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ อย่างชัดเจนว่า อนุปาทิเสสะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2022, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha-png-wallpaper-hd.png
buddha-png-wallpaper-hd.png [ 371.6 KiB | เปิดดู 1045 ครั้ง ]
นี้หมายถึง "ไม่มีขันธ์ ๕ เหลืออยู่" ฉะนั้น นิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕ เหลืออยู่ก็จะ
ต้องได้แก่นิพพานของพระรหันต์แต่ผู้เดียว ไม่เกี่ยวกับบุคคลอื่น แต่อาจจะมี
คำแย้งว่าในพระสูตรอื่นก็มีคำว่า 'อนุปาทิเสส' และ "สอุปาทิเสส" เหมือนกัน
เกี่ยวกับเรื่องของนิพพานนี้ อาจจะทำให้ผู้อ่านสับสน ด้วยคำว่า "สอุปาทิเสส" นี้
อาจหมายถึง นิพพานของบุคคลที่นอกจากพระอรหันต์ก็ได้ จึงต้องทำความเข้าใจ
ให้ดี เพราะว่า อนุปาทิเตสในที่ โน้นกับในที่นี้มีความหมายต่างกัน เท่าที่รู้มาน่าจะ
เป็นอังคุดตรนิกาย ซึ่งมีคำว่า อนุปาทิเสโส ปุคฺคโล บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะ หรือ
สอุปาทิเสสะในที่นั้น อุปาทิ หมายถึง กิเลส แต่ในที่นี้อุปาทิหมายถึงขันธ์ เพราะ
ฉะนั้น ความหมายจึงต่างกัน จะเอามาปะปนกันไม่ได้ อุปาทิ ในอังคุตตรนิกาย
หมาขถึงว่า 'กิเลส' ฉะนั้น สอุปาทิเสโสในที่นั้น จึงแปลว่า 'ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล
แต่ยังมีกิเลสหลงเหลืออยู่' สำหรับในเรื่องของนิพพานนี้ พึงทราบว่า อุปาทิ
หมายถึง ขันธ์ ๕" ถ้าเราสามารถแยกแยะแบบนี้ได้ ก็จะทำให้ไม่ปะปนกัน
เพราะตามที่แบ่งว่านิพพานมี ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน
(อนุปาทิเสสนิพฺพาน หมายถึง นิพพานของพระอรหันต์ผู้นิพพานไปแล้ว อย่างนี้
ก็ถูกไม่ใช่ผิด)

ตสฺมา สงฺขารทุกฺขตา ทุกฺขํ โลกสฺสาติ กตฺวา ทุกฺขมสุส มหพฺภยนฺติ.

ตสฺมา เพราะเหตุนั้น สงฺขารทุกฺขตา ทุกฺขํ โลกสฺสาติ
กตฺวา เพราะเหตุที่สังขารทุกข์ ชื่อว่าเป็นทุกข์ของชาวโลก
ทุกฺขมสฺส มหพฺภยนฺติ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ทุกฺขมสฺส
มหพฺภยํ ข้อนี้ขอให้ช้อนไปในคาถาที่เป็นคำตอบที่ผ่านมา
หน้า ๑๓) ทุกฺขํ ทุกข์ มหพฺภยํ เป็นมหันตภัย อสฺส ของชาว
โลกนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2022, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-PNG-Free-HQ-Download.png
Gautama-Buddha-PNG-Free-HQ-Download.png [ 440.88 KiB | เปิดดู 1008 ครั้ง ]
ในบรรคาทุกข์ ๓ ประเภท (ทุกฺขทุกข, สงฺขารทุกฺข, วิปริณามทุกฺข) นั้น
สังขารทุกข์ได้ชื่อว่าเป็นทุกข์ของชาวโลก เพราะว่าเป็นทุกข์ที่รวมเอาทุกสิ่งทุกอย่าง

ดังนั้น คำว่า "ทุกขํ ในคำว่า 'ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ จึงหมายเอาสังขารทุกข์
ไม่ได้หมายเอาทุกขทุกข์ และไม่ได้หมายเอาวิปริณามทุกข์ สังขารทุกข์นี้
ในอรรถกถาท่านอธิบายว่าเป็นทุกข์ที่แผ่ไปในที่ทั้งปวง (สพฺพสงฺคาหินี และ
สกลโลกพฺยาปินี)

สงฺขารทุกฺขตา นี้แผ่ไปในโลกทั้งปวง สพฺพสงฺคาหินี -ถือเอาขันธ์ทั้งปวง
ฉะนั้น คำว่า ทุกฺข โดยรวมแล้ว หมายถึงสังขารทุกข์ หากเก็บองค์ธรรมเป็น
สังขารทุกข์เท่านั้นจึงจะได้ทุกข์ทั้งหมด

เตน จ จตุตฺถสฺส ปทสฺส วิสุสชฺชนา ยุตฺตา.

ตน จ เพราะเหตุนั้น วิสฺสชฺชนา คำตอบ จตุตฺถสฺส
ปทสฺส ของคำถามบทที่ ๔ ยุตฺตา จึงเหมาะ

หมายความว่า คำถามกับคำตอบนั้นจะต้องเหมาะสมกัน คำถามในคาถา
ก่อนที่ผ่านมา(เนตติ หน้า ๑๓) ที่ว่า "กึสุ ตสฺส มหพฺภยํ" อะไรเป็นมหันตภัยของ
โลก" นั้น ผู้ตอบจะต้องตอบว่า "สังขารทุกข์เป็นมหันตภัย" ไม่ใช่ตอบว่าทุกข
ทุกข์หรือวิปริณามทุกข์ เพราะถ้าตอบโดยถือเอาทุกข์อย่างนั้น ท่านบอกว่าจะทำ
ให้ไม่สมดุลข์กันระหว่างคำถามกับคำตอบ เพราะคำถามหมายถึง มหพฺภยํ ซึ่ง
ถามถึงมหันตภัยของโลก เพราะฉะนั้น ก็ควรจะเอาคำตอบที่เหมาะ อันนี้เป็นการ
วิจัยลักษณะพระบาฬีที่ทรงกล่าวไว้โดยสามัญ พระบาฬีกล่าวว่า'ทุกฺขํ' แต่เนตติ
อรรถกถามาแยกแยะว่า 'ทุกฺข'ในพระบาฬีนั้นควรหมายเอาอะไร นี่เป็นคำถามที่
ยิ่งใหญ่ เป็นคำถามที่ถามถึงมหันตภัย ฉะนั้น คำตอบก็ควรเป็นทุกข์ที่ยิ่งใหญ่
เหมือนกัน จึงจะสมเหตุสมผล ท่านก็ให้หลักว่า จะต้องดูคำถามและคำตอบให้
เหมาะสมกันด้วย และในคำตอบบาทที่หนึ่งที่ท่านตอบว่า อวิชฺชาย นิวุโต โลโก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2022, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




31072f2b95f8a341e7c8ff36f13a9ef3.gif
31072f2b95f8a341e7c8ff36f13a9ef3.gif [ 462.27 KiB | เปิดดู 969 ครั้ง ]
ในที่นั้นพูดถึงอวิชชา ซึ่งเป็นหนึ่งในกิเลส อวิซชาเป็นรากเหร้าของกิเลส เพราะ
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงเลือกเอาอวิซชามาตอบ แทนที่จะเอากิเลสทั้ง ๑๐ แต่กลับ
ไม่เอา ซึ่งเมื่อตอบอวิชชา ก็แสดงว่ากิเลสอื่น ๆ ก็ติคร่างแหมาด้วยทั้งหมด วิธี
การนี้ทำนเรียกว่าเป็นอุปลักขณะ (พูดเฉพาะสิ่งที่สำคัญ) วิธีการยกธรรมมาแสคง
พอเป็นตัวอย่าง ลักษณะนี้มีมากในพระบาฬี ถ้าเราไปถือความโดยตรงว่า อวิชชา
ปกปิดโลก ส่วนกิเลสอย่างอื่นไม่ปกปิดโลกบ้างดอกหรือ หากมีการถามเช่นนี้
ขึ้นมา ก็ต้องตอบว่าปิดกันเหมือนกันแต่เนื่องจากว่า อวิชชาเป็นรากเง้าของ
กิเลสต่าง ๆ ฉะนั้น เมื่อตอบอวิชชาแล้วธรรมอย่างอื่นก็เป็นอันตอบแล้วด้วย ก็
เหมือนกับ คำว่า ทุกฺข ที่ผ่านมาหมายถึง สังขารทุกข์ (รวมทุกข์ทั้งหมด) คำว่า
"สงขาร' นี้ต้องดูปริบท บางทีในสำนวนอภิธรรม คำว่า สั่งขารหมายถึงอีกอย่าง
หนึ่งในพระสูตรหมายถึงอีกอย่างหนึ่ง

ฉะนั้นเวลาจะทำความเข้าใจความหมายของสังขารจึงจำเป็นต้องใช้หลัก
การปทวิจัยคือพยายามศึกษาวิเคราะห์แยกแยะความหมายสังขารศัพท์นี้ออกให้
หมด แล้วก็เลือกเอาเฉพาะอรรถที่เห็นว่าเหมาะสมกับเนื้อเรื่องหรือเหตุการณ์
สำหรับขั้นการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานแน่น ไม่เช่นนั้น ก็ไม่
สามารถมาแยกแยะว่าสังขารมีกี่อย่าง ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าสังขารในที่นี้หมาย
ถึงอะไร ถ้าไม่มีพหูสูตรในสาขาวิชาอื่นด้วย ย่อมเป็นการยากที่จะวิฉัยได้ โดย
เฉพาะเรื่องอภิธรรมถ้าไม่เรียนก็ยากที่จะตรัสรู้เอง

อนึ่ง การเรียนหลักการแห่งหาระในคัมภีร์เนตตินี้ก็เพื่อที่จะให้เข้าใจนัย
ของพระพุทธเจ้าที่แสดงไว้ในพระสูตร แต่ถ้าหากเราจะอ่านแบบไม่หวังหรือ
แบบที่เรียกว่า อ่านอย่างไร้จุดหมาย เราก็ไม่ต้องมาเสียเวลาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
เรื่องของนัย อ่านได้แต่ก็ไม่ลึกซึ้ง อ่านพระสูตรได้ทุกพระสูตรนั่นแหละ แต่ว่าถ้า
ถามทีละบททีละตอน หรือให้แผกแยะก็จะตอบไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ถ้กเราสามารถแยก
แยะได้ ก็เท่ากับว่าเราได้เข้าใจความหมายของพระพุทธพจน์นั้นดีแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร