วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2022, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




zheng.png
zheng.png [ 575.63 KiB | เปิดดู 609 ครั้ง ]
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
คือ ปัญญาเจตสิกที่รู้รูปนามว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา จนแก่กล้า เป็น วิมังสิทธิบาท ๑ เป็นปัญญินทรีย์ ๑ เป็นปัญญาพละ ๑ เป็นสัมมาทิฏฐิ ๑
ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายโมหะเสียได้ ปัญญาอย่างนี้แหละที่เรียกว่า
ธัมวิจยส้มโพชฌงด์ มีความสามารถทำให้เกิดมรรคญาณได้ การที่ปัญญาจะเป็นถึง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ได้นั้น ก็ด้วยมีปัจจัยธรรม คือสิ่งที่อุปการะเกื้อกูล ๗ ประการ คือ
ก. การศึกษาวิบัสสนาภูมิ ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรืออย่างน้อยก็ให้รู้รูปรู้นาม
ข. รักษาความสะอาดแห่งร่างกาย ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคและที่อยู่อาศัย
ค. กระทำอินทรีย์ คือ สัทธากับปัญญา และวิจยะกับสมาธิ ให้เสมอกัน เพราะว่า
สัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหา หากว่าสัทธาอ่อนย่อมทำให้ความเลือมใสน้อยเกินควร
ปัญญากล้า ทำให้กิดวิจิกิจฉาคือคิดออกนอกสู่นอกทางไป ปัญญาอ่อน
ไม่เข้าถึงเหตุผลตามความเป็นจริง
วิริยะกล้า ทำให้เกิดอุทธัจจะ คือ ฟุ้งซ่านไป วิริยะอ่อน ก็ทำให้เกิดโกสัชชะ คือเกียจคร้าน
สมาธิกล้า ทำให้ติดในความสงบสุขนั้นเสีย สมาธิอ่อน ก็ทำให้ความตั้งใจมั่นใน
อารมณ์นั้นหย่อนไป

ส่วนสตินั้น ไม่มีเกิน มีแต่จะขาดอยู่เสมอ
ที่ว่า สัทธากล้า กลับทำให้เกิดตัณหานั้น เช่นเลื่อมใสเชื่อถืออย่างแรงกล้าในข้อ
ที่ว่า เมื่อเกิดฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็กำหนดให้ความฟุ้งนั้น จะสามารถเห็นไตรลักษณ์ได้ จึง
เลยนั่งจ้องด้วยดวามอยากที่จะให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมา จะได้ดูให้สมอยาก ดังนี้เป็นต้น
การเชื่อโดยไม่คิดถึงเหตุถึงผล เช่นนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดมีปัญญาขึ้นมาเลย

ในการเจริญสมถภาวนา สมาธิจะมากไปหน่อย ก็พอทำเนาเพราะสมถะนั้น
สมาธิต้องเป็นหัวหน้า ส่วนทางวิปัสสนาภาวนา แม้ปัญญาจะมากไปสักเล็กน้อย ก็ไม่สู้
กระไรนัก เพราะวิปัสสนาภาวนานั้น ปัญญาจะต้องเป็นหัวหน้าผู้นำ
ง. ต้องเวันจากผู้ไม่มีปัญญา เพราะไม่เคยรู้จักธ้มมวิจยสัมโพชฌงค์หรือไม่เคยเจริญ
วิปัสสนาภาวนา
จ. ต้องสมาคมกับผู้มีปัญญาที่เคยเจริญวิปัสสนา รอบรู้รูปนามดีแล้ว
ฉ. ต้องหมั่นเจริญภาวนาอยู่เนือง ๆ โดยอารมณ์ที่เป็นภูมิของวิปัสสนา
ช. ต้องกำหนดพิจารณารูปนามอยู่ทุกอิริยาบถและทุกอารมณ์

เมื่อบริบูรณ์ด้วยปัจจัยธรรมเหล่านี้แล้ว ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมจะกิดขึ้น
องค์ธรรมของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร