วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 10:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2022, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




112002892-ilustración-del-viejo-cartel-destartalado-con-un-montón-de-hierba-verde-aislado-sobre-fondo-blanco-e.jpg
112002892-ilustración-del-viejo-cartel-destartalado-con-un-montón-de-hierba-verde-aislado-sobre-fondo-blanco-e.jpg [ 45.55 KiB | เปิดดู 609 ครั้ง ]
กามเป็นปทัฏฐานแก่กาม

ปญจ กามคุณา กามราคสฺส ปทฎฺธานํ, กามคุณา -กามคุณทั้งหลาย
ปญฺจ -๕ (กามคุณ ๕) ปทฎฺธานํ เป็นเหตุปทัฏฐาน กามราคสฺส แก่กามราคะ
(กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ, กามราคะ คือตัณหา)
อนึ่ง การที่เรียกว่า 'กามคุณ' เพราะว่าอารมณ์เหล่านี้เป็นเสมือนเครื่องผูก
ให้ติดอยู่ในห้วงแห่งกาม คุณ ในที่นี้ท่านอธิบายว่ามีความหมายเท่ากับพนฺธน
(เครื่องผูก) หมายถึงกามนั้นเป็นเครื่องผูกทำให้คนเห็นผิดว่าเป็นสิ่งที่ดี มีรสชาติ
ก็เลยเรียกอารมณ์มีรูปเป็นต้นว่า 'กามคุณ' "เครื่องผูก ๕ อย่าง" เป็นปทัฏฐานแก่
กามราคะ
เหตุปทัฏฐานนี้ต้องเป็นชนกเหตุ หรือเหตุ ๓ อย่าง (บางครั้งเหตุก็ทำหน้า
ที่ต่างกัน)

เหตุ ๓ ประเภท

๑, ชนกเหตุ คือ เหตุที่ทำให้เกิดวิบาก เรียกว่า 'ชนกเหตุ',

๒. ญาปกเหตุ คือ เพตุที่แสดงให้รู้ว่า "มีเทตุนี้ มีลักษณะเป็นเครื่องหมาย
เป็นลาง เป็นสัญญาณบ่งบอก อย่างเช่นเมื่อเรา เห็นตวันพวยพุ่งขึ้นในที่ไกล ๆ ก็
ทำให้เราสันนิษฐานได้ว่า ณ ที่ตรงนั้นจะต้องมีการจุดไฟเกิดขึ้น เหมือนกับเวลา
ที่คนหลงป่าเขาจะ จุดไฟเพื่อให้ควันปรากฏ แสดงว่ามีคนอยู่จึงมีการจุดไฟขึ้น
ควันอันนั้นเราเรียกว่า 'ญาปกเหตุ' "เหตุที่แสดงให้ทราบ" เหตุที่บ่งบอกถึงบาง
สิ่งบางอย่าง" หรืออีกตัวอย่างหนึ่งก็คือเหมือนกับมีน้ำท่วมที่แม่น้ำ ทางใด้ของ
ประเทศก็แสดงว่าทางเหนือของประเทศมีฝนตกหนัก จึงมีน้ำท่วมทางใด้ การที่
น้ำท่วมทางใต้ก็เป็นการแสดง ญาปกเหตุ ให้รู้ว่าทางเหนือมีฝนตก

มรรคเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพานอย่างไร

๓. สมุปาปกเหตุ สัมปาปกเหตุ แปลว่า 'เหตุให้ถึง' เปรียบเหมือนนาวา
เช่น ในข้อความว่า มคุโค นิโรธสุส ปทฏฺฐานํ. อริยมรรคเป็นปทัฏฐานแก่นิโรธ
หรือนิพพาน มรรคนี้เป็นปทัฏฐานแก่นิพพาน หมายความว่ามรรคนี้เป็นเหตุให้
ถึงนิพพาน แต่ไม่ใช่มรรคเป็นเหตุให้นิพพานเกิด เพราะฉะนั้น มรรคในที่นี้ จึง
หมายเอาเหตุประเภทสัมปาปกเหตุ มรรดจึงสามารถเป็นปทัฏฐานของนิโรธหรือ
นิพพานได้ ข้อนี้ ห้ามเอาซนกเหตุหรือบาปกเหตุเป็นอันขาค อันนี้เราก็ต้องแยก
แยะ ต้องดูด้วยว่ามันเข้ากันกับเหตุประเภทไหนได้บ้าง จะอย่างไรก็ตาม ส่วน
มากจะเป็นชนกเหตุ (เหตุที่เป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งนั้น) ถ้าสมมุติว่าเราเอามรรคเป็น
ชนกเหตุแล้วมรรดจะไปทำให้นิพพานเกิดได้อย่างไร เพราะว่านิพพานก็เป็น
สภาพที่มีอยู่แล้วเป็นอสังขตธรรม มรรคจึงเป็นเพียงสำเภานำบุคคลผู้เป็น
อริยมรรคนั้นให้ถุถึงพระนิพพานเหตุลักษณะนี้แล เรียกว่า 'สัมปาปกเหตุ' [คำว่า
'สัมปาปกเหตุ' โดยทั่ว ๆ ไป หมายเอาอะไรก็ได้ที่เป็นเหตุให้ถึง อย่างเช่น เรา
ข้ามฟากโดยเรือ เรือเป็นสัมปาปกเหตุ ที่ให้เราสามารถไปถึงฝั่งโน้นได้] กามคุณ
เป็นเหตุปทัฏฐานแก่กามราคะ อันนี้จัดเป็นชนกเหตุ หมายความว่า หากอยู่เฉย ๆ
กามราคะมันจะไม่เกิดเพราะมันเป็นอนุสัยนอนเนื่องอยู่ที่ไหนไม่มีใครรู้ พอได้
กามคุณอารมณ์มากระทบหน่อยก็เกิดฟุ้งขึนมา ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า กามคุณเป็น
ชนกเหตุให้กามราคะเกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2022, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




yinglong.png
yinglong.png [ 592.33 KiB | เปิดดู 462 ครั้ง ]
รูปราคะตามแนวเนตติ

ปญฺจินทฺริยานิ รูปีนิ รูปรากสฺส ปทฎฺฐานํ ; ปญฺจินฺทฺริยานิ -อินทรีย์ ๕
รูปีนิ ที่เป็นอัชมัตติกรูป กล่าวคือ จักขุนทรีย์และโสดินทรีย์ รูปราคสฺส ปทฎฺฐานํ
-เป็นปทัฏฐานแก่รูปราคะ

รูปราคะ ในที่นี้ ไม่เหมือนในเรื่องของสังโยชน์ .. เพราะท่านบอกว่า
กาโย หิ อิธ รูปนฺติ อธิปฺเปโต. ดังนั้น คำว่า รูป ในคำว่า รูปราคะ นี้จึงหมายถึง
"กาย' กล่าวคือร่างกายคน ฉะนั้นคำว่า รูป ในรูปราคะ หมายถึง กายอินทรีย์ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดรูปราคะอย่างไร ตอบว่า จักขุเป็นเหตุให้เกิด ดังนี้ : เมื่อมีการ
เห็นรูป (ถ้าไม่มีสติพิจารณา) ความยินดีในร่างกายย่อมมี เพราะฉะนั้น จักขุย่อม
เป็นเหตุให้เกิดรูปราคะ อันนี้แม้จะเป็นการบอกไม่ปะติดปะต่อกัน แต่เราก็
สามารถดึงออกมาบอกเป็นเหตุได้ เช่น กามคุณเป็นปทัฏฐานแก่กามราคะ กาม
ราคะเป็นปทัฏฐานแก่อะไร อย่างนี้ ค่อย ๆ เจาะลงลึกไปจนสุดทาง

กามคุณนี้เป็นอารมณ์ภายนอก กามคุณเป็นปทัฏฐานแก่กามราคะ กามราคะ
เป็นปทัฏฐานแก่ตัณหา กามราคะในที่นี้ไม่ใช่ตัณหาขอให้เอาหลักปฎิจจสมุปบาท
มาเทียบดู ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นเหตุให้เกิด ... ในที่สุด ก็
มาจบลงในปฏิจจสมฺปบาทนั้นแหละ

อายตนะที่ ๖ เป็นปทัฏฐานให้ภวราคะ

ฉฎฺฐายดนํ ภวราคสฺส ปทฎฺฐานํ. ฉฎชายตนํ -อายตนะที่ ๖ คือ มนายตนะ
(ใจ) ปทฎชานำ -เป็นปทัฏฐาน ภวราคสุส แก่ภวราคะ หมายความว่า อายตนะที่ ๖
เป็นปทัฏฐานแก่ภวราคะ มนายตนะ ก็คือใจ ใจก่อให้เกิดความยินดีในภพ บางที
เราก็ต้องกล้าคิดให้มันมีความลึกซึ้ง คือหมายความว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่อง
ฌาน มนายตนะ ถือว่า เป็นเครื่องรองรับฌาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเข้าฌานจนได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2022, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




fenghuang.png
fenghuang.png [ 497.47 KiB | เปิดดู 462 ครั้ง ]
ภพโน้นภพนี้ (คือไม่มีกามราคะ ไม่มีรูปราคะ แต่ว่ายังมีภวราคะอยู่) ก็ผู้ที่ได้ฌาน
นั้นยังมีใจอยู่ ใจนี้เมื่อต้องการได้ฌานก็แอบยินดีอยู่ในใจ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้
ปรารถนาฌานนั้นยังยินดีในใจอยู่ ภวราคะก็ยังมีความยินดีในภพ คือ ถ้ามีใจก็ยัง
มีภพอยู่ ดังนั้นใจในฐานะที่เรียกว่าเป็นที่อาศัยของการเข้าฌาน จึงเป็นปทัฏฐาน
ของภวราคะ

นิพฺพตฺตภวานุปสฺสิตา ปญฺจนฺนํ อุปาทานกฺขนฺฐานํ ปทฎชาน, นิพฺพตฺต
แปลว่า -บังเกิดขึ้น ภว -ภพ อนุปสฺสิตา-การตามเห็น ความจริงแล้ว คำว่า อนุปสฺสิตา
ในที่นี้ พระอรรถกถาจารย์ ท่านแก้ว่า 'อภินนฺทนา' "ความยินดี" เช่น ความยินดี
ในรูปเป็นต้น (รูปาทิอภินนฺทนา) ที่เกิดขึ้น (นิพฺพตฺต) อย่างเช่น เราอ้อนวอน
ปรารถนาขอให้รูปของเราจงเป็นอย่างโน้น ขอรูปของเราอย่าเป็นอย่างนี้เลย ขอ
ให้รูปจงเป็นอย่างนี้ ขออย่าให้เวทนาเป็นอย่างนี้เลย ขอให้เวทนาจงเป็นอย่างที่
เราปรารถนาเถิด" อันนี้ก็เรียกว่า นิพฺพตฺตภวานุปสฺสิตา "ความหลงยินดีในรูป
เป็นต้นที่เกิดขึ้น" (รูปเวทนาสัญญา เรียกว่า 'ภพ) ปทฎฺฐานํ -เป็นปทัฏฐาน
ปญฺจนฺนํ อุปาทานกฺขนฺฐานํ แก่อุปาทานขันธ์ ๕

ความยินดีก็คือราคะ ตัณหา ความยินดี ในรูปเป็นต้น เป็นปทัฏฐานให้
อุปาทานขันธ์ ๕ เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ กับ ขันธ์ ๕ นั้นต่างกัน อุปาทานขันธ์ ๕
หมายถึงขันธ์ที่เป็นฝ่ายโลกียะที่ตัณหาทิฏฐิขีค เพราะฉะนั้น ความยินดีจึงทำให้
อุปาทานขันธ์เกิด กิเลสตัณหาเป็นปัจจัยแรกที่ทำให้อุปาทานขันธ์เกิด

ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ ญาณทสฺสนสฺส ปทฎฺฐานํ : ปุพฺเพนิวาสานุสุสดิ
การระลึกชาติ ปทฎฺฐานํ -เป็นปทัฏฐาน ฌานทสฺสนสฺส แก่ญาณทัสสนะ

คำว่า ญาณทสฺสนสฺสในที่นี้ ถ้าแปลตามศัพท์ ฌาณ ก็คือ ความรู้ ทสฺสน ก็
คือการเห็นรวมทั้งสองคำได้คำแปลว่า ญาณที่เห็น ญาณที่รู้ แปลแล้วก็ไม่รู้ว่าคือ
อะไร พระอรรถกถาจารย์ท่านบอกว่า กมฺมสฺสกตญฺฌาณ ญาณทสฺสนสฺส ในที่นี้
หมายเอา กมฺมสฺสกตาณาณ (ปัญญาหยั่งรู้ว่าตนมีกรรมเป็นของตน) กมฺมสฺสกตาณาณ
อาศัย ปุพฺเพนิวาสานุสุสดิ เกิด หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ปุพฺเพนิวาสานุสุสดิ เป็น
ปทัฏฐานแก่ กมฺมสฺสกตาณาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร