วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2022, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




11-111218_meditation-download-png-meditation-png-transparent-png.png
11-111218_meditation-download-png-meditation-png-transparent-png.png [ 44.33 KiB | เปิดดู 640 ครั้ง ]
วิชฺชา. .ธรรมชาติที่ รู้แจ้งสภาวธรรมตามความเป็นจริง่

วิชฺชา -วิชชา สพฺพธมฺมสมฺปฏิเวธลกฺขณา มีการรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเป็น
ลักษณะ วิชชา -คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้งสภาวธรรมตามที่เป็นจริง ได้แก่ ปัญญา
ตสฺสา สพฺ เนยฺยํ ปทฎฺฐานํ.
สพฺพํ เนยฺยํ -เนยยธรรมทั้งปวง ปทฎฺฐานํ -เป็นปทัฏฐาน ตสฺส วิชฺชาย แก่
วิชชานั้น (แก่ปัญญานั้น) เนยยธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ หมายถึง อริบสัจ ๔ ได้แก่
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพราะไม่มีอะไรที่จะไม่จัดอยู่ในอริยสัจ ๔ ธรรมทั้งหมดที่
เป็นเนยยธรรมนี้ล้วนจัดอยู่ในอริยสัจ ๔ ทั้งนั้น ฉะนั้น เนยยธรรมในที่นี้จึงหมาย
เอาอริยสัจ ๔ ก็เนยยธรรม ทั้งหมดนี้แหละเป็นปทัฏฐานให้วิชชาเกิด

จิตฺตวิกฺเขปปฏิสํหรณลกฺขโณ สมโถ,

สมโถ -สมถะ (สมาธิ) จิตฺตวิกฺเขปปฏิสํหรณลกุขโณ -มีการขจัด (ปฎิสหรณ)
ความฟุ้งซ่านของจิต เป็นลักษณะ หมายความว่าถ้าจิตตั้งมั่นแสดงว่าไม่มีความ
ฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านกับสมถะนั้นเป็นปฏิปักษ์กัน เพราะฉะนั้น ลักษณะของ
สบถะ ก็คือ เราสามารถสังเกตได้จากอากัปกิริยาของคนที่มีจิตตั้งมั่น จิตมีสมาธิ
เรียกว่า'สมถะ' (มีจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียว)

ตสฺส อสุภา ปทฎฺฐานํ. อสุภา -อสุกะที่เป็นปฏิภาคนั้น ปทฎฺฐานํ -เป็น
ปทัฏฐาน ตสฺส สมถสฺส ของสมถะนั้น อสุภะเป็นปทัฏฐานของสมถะ เพราะ
อสุภะนี้ก็เป็นปฏิปักษ์กับตัณหา

อิจฺฉาวจรปฏิสํหรณลกฺขโณ อโลโภ, อโลโภ อโลภะ(ความไม่โลภ) อิจฺฉาว-
จรปฏิสํหรณลกฺขโณ
-มีการขจัดความอยากได้ออกจากจิตใจเป็นลักษณะ

ตสฺส อทินฺนาทานา เวรมณี ปทฎฺฐานํ,

เวรมณี -การงดเว้น อทินฺนาทานา -จากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้
(การลักขโมย ปทฎฺฐานํ -เป็นปทัฏฐาน ตสฺส อโลภสฺส แก่อโลภะนั้น

เวรมณี องค์ธรรมได้แก่เจตนาที่งคเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นปทัฏฐาน
แก่ อโลภะ แสดงว่า อโลภเจตสิกที่เกิดได้ก็ต้องอาศัยเจตนาที่ไม่ลักสิ่งของของคน
อื่นเป็นปทัฏฐาน

อพฺยาปชฺชลกฺขโณ อโทโส, อโทโส -อโทสะ อพฺยาปชฺชลกฺขโณ -มีการ ไม่
โกรธเป็นลักษณะ ตสฺส ปาณาติปาตา เวรมณี ปทฎฺฐานํ. ปาณาติปาตา เวรมณี .
เจตนางคเว้นจากการทำปาฌาติบาต หรือจากการฆ่าสัตว์ ปทฏฺฐานํ -เป็น
ปทัฏฐาน ตสฺส อโทสสฺส แก่อโทสะนั้น

ถ้าเรามีเจตนาที่จะไม่ฆ่าสัตว์ก็จะทำให้อโทสเจตสิกเกิด ฉะนั้น หากว่าเรา
มีเจตนาฆ่าสัตว์ โทสะก็จะเกิด อโทสะก็หายไป แต่ถ้ามีเจตนางคเว้น อโทสะซึ่ง
เป็นฝ่ายกุศลก็เกิด

วตฺถุวิปฺปฏิปตฺติลกฺขโณ อโมโห, อโมโห -อโมหะ วตฺถุอวิปฺปฏิปตุติลกฺขโณ
มีลักษณะการปฏิบัติไม่ผิดแผกจากความเป็นจริงของอารมณ์

การรู้ตามความเป็นจริง เรียกว่า อโมหะ แต่ถ้าไม่รู้ เรียกว่า โมหะ ก็
อโมหะ นี้สามารถรู้ตามความเป็นจริง "การปฏิบัติไม่ผิด" ในที่นี้หมายถึงว่า ถ้ารู้
จริงรู้แจ้ง ในอารมณ์นั้นแล้วก็จะทำให้ปฏิบัติถูกได้ (ปฏิบัติในที่นี้ก็คือรู้เข้าใจ)
ตสฺส สมฺมาปฏิปตฺติ ปทฎฺฐานํ. สมฺมาปฏิปตุติ -สัมมาปฏิบัติ (การปฏิบัติถูก)
ปทฎฺฐานํ เป็นปทัฏฐาน ตสฺส แก่อโมทะนั้น การปฏิบัติถูกต้องเป็นปทัฏฐานแก่
อโมหะนั้น อโมหะนี้หมายถึง ความไม่หลง โดยองค์ธรรมจริง ๆ ก็คือ ปัญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร