วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2022, 02:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




megaphone-308846_960_720.png
megaphone-308846_960_720.png [ 272.9 KiB | เปิดดู 614 ครั้ง ]
การหยั่งรู้ลักษณะของสภาวธรรม ทั้งที่ไม่มีสุตะ

ถามว่า : โยคีผู้ไม่มีสุตะหรือภูมิความรู้ในปริยัติ จะสามารถรู้ถึงสภาวะ
ลักษณะของรูปนาม ได้หรือไม่?
ตอบว่า : สามารถรู้ได้ เพราะสามารถกำหนดรู้รูปนามที่เป็นปรากฎอยู่ใน
ขณะปัจจุบันด้วยสติปัญญาได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง หมายความว่า ลักขณะหรือ
สภาวะลักษณะหรือลักษณะที่เป็นธรรมชาติของรูปนามซึ่งก็หมายถึงตัวตนที่เรา
เรียกว่า ทัพพะของรูปนามนั่นเอง อันนี้แลที่เราเรียกว่า สภาวะลักษณะของรูปนาม
คำว่า รสะหรือรส หมายถึง หน้าที่หรือกิจซึ่งเป็นพลังความสามารถของรูปนาม
นั่นเอง คำว่า ปัจจุปัฏฐาน เป็นลักษณะหรืออาการที่ปรากฎของรูปนามทั้งหลายใน
ข่ายแห่งญาณของโยคีผู้กำหนดนั่นเอง ส่วนคำว่า ปทัฏฐาน ก็หมายถึง เหตุสำคัญ
เหตุใกล้ที่สุดของรูปนามเหล่านั้น ดังนั้น รูปนามจริงๆเหล่านั้น ย่อมปรากฎโดย
ธรรมชาติตามความเป็นจริงโดยลักษณะรสะปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐานอย่างใด
อย่างหนึ่งแก่ญาณของโยดีโยคีก็สามารถรู้รูปนามที่แท้จริงนั้นตามความเป็นจริงได้
ซึ่งการรู้นั้น ก็จะรู้เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น รู้เฉพาะลักษณะ หรือรู้เฉพาะรสะ
หรือไม่ก็รู้เฉพาะปัจจุปัฏฐาน หรือไม่ก็รู้เฉพาะปทัฏฐานเท่านั้น แต่ถ้าเกิดว่ารูปนาม
ไปปรากฎโดยลักษณะอย่างอื่น นั่นคือโยคีไม่สามารถมองเห็นโดยลักขณะ รสะ
ปัจจุปัฏฐาน หรือปทัฏฐาน หรือไม่ก็ลักษณะเป็นต้นเหล่านั้นไม่ปรากฎ โยคีก็ไม่
สามารถที่จะรู้ลักษณะเป็นต้นเหล่านั้นได้ ถ้าหากว่า รูปนามปรากฎออกมาในญาณ
ของโยดีโดยลักษณะที่ไม่ใช่ลักขณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน หรือปทัฏฐาน อย่างใด
อย่างหนึ่งไชร้ ธรรมที่ปรากฏออกมาโดยไม่ใช่ลักษณะ รสะเป็นต้นนั้นหรือธรรมที่
รู้ในลักษณะอย่างอื่นจากนั้น ไม่ใช่รูปนามที่แท้จริง แต่เป็นเพียงนามบัญญัติ อาการ
บัญญัติ สังขยาบัญญัติ สัณฐานบัญญัติ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2022, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




7b63ccd01f388f12471c6581afee6ae5.jpg
7b63ccd01f388f12471c6581afee6ae5.jpg [ 108.47 KiB | เปิดดู 421 ครั้ง ]
ในขณะที่รูปนามเกิดขึ้นนั้นผู้ที่เห็นรูปนามที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ไตยประจักษ์ มีไข
เป็นผู้ที่แบบเดาโตยทั้งๆที่รูปนามทีควรรู้ไม่มีอยู่ และก็ไม่ใช่เป็นการรู้แบบนึกคิต
ปริกัปป์ตามที่ตนเคยไม้ยินได้ฟัง หรือได้เรียนมาว่า "สภาพหรือลักษณะเช่นนี้ดีอรูป
สภาพหรีกลัาพณะ เช่นนี้คือนามแต่ความเป็นจริงแล้วไยดีที่เห็นรูปนามในปัจจุบันนั้น
ย่อมเห็นสภาวสรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้นจริงตามที่เกิดขึ้นอย่างนั้นจริงๆ" หากแต่
เป็นการกำหนดวัสภาวถรามที่มือยู่จริงและ เกิดขึ้นจริงในขณะนั้นๆนั่นเอง

เพราะฉะนั้น หากสภาวะหรือสภาวลักษณะของสภาวกรรมปรากฏ ไยคีผู้นั้น
ก็จะรู้สภาวะลักษณะดังกล่าวได้ตามความเป็นจริง หากรสะหรือรสปรากฏ เขาก็
จะรู้รสได้ตามความเป็นจริง หากปังจุปัฏฐานปรากฏ เขาก็จะรู้ปัจจุปัฏฐ านนั้น
ตามความเป็นจริง หากปทัฏฐานปรากฏ เขาก็จะรู้ปทัฏฐ านนั้น ตามความเป็นจริง
เปรียบเสมือนในขณะที่สายฟ้าแลบอยู่ในท้องฟ้านั้น เราจะเห็นแสงของสายฟ้าใน
ขณะที่ฟ้ากำลังแลบอยู่ได้ตามความเป็นจริง นั่นแหละคือสภาวะลักษณะของ
สายฟ้ และหากบุคคลสังเกต ก็จะเห็นสมรรถนะหรือสติที่กำจัดความมืดของ
สายฟ้านั้นตามความเป็นจริง นั่นก็เป็นการรู้ซึ้งถึงรสะ หรือกิจของสายฟ้า สามารถ
รู้รูปพรรณสัณฐ านหรือสถานภาพ รูปร่างมีความคตเคี้ยว ตรง กลม ยาว เป็นต้น
ของสายฟ้านั้นตามความเป็นจริง นั่นเป็นการรู้ปัจจุปัฏฐ านของสายฟ้า และสามารถ
รู้ถึงเมฆอันเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดประกายสายฟ้าแลบได้ตามความเป็นจริง นี่ก็
เป็นการรูปทัฏฐานของสายฟ้านั้น แต่ถ้โยไม่ได้พิจารณาในช่วงที่สายฟ้าแลบ
อยู่นั้น เพียงแต่พิจารณาใคร่ครวญแล้วก็รู้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สาเหตุของการเกิด
สายฟ้าแลบ ตามความเป็นจริงแต่ประการใด

ฉันใดก็ฉันนั้น แม้ในเรื่องของการกำหนดก้มมัฏฐาน ก็พึงทราบโดยทำนอง
นั้นเช่นกัน คือ ทุกๆครั้งที่รูปนามเกิด หากโยคีกำหนดได้ แม้โยคีผู้นั้นจะไม่มีสุตะ
กล่าวคือความรู้เรื่องปริยัติ แต่ก็จะสามารถสภาวะลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน
และปทัฏฐานของรูปนามที่ปรากฎเกิดขึ้นอยู่นั้น ได้ตามความเป็นจริง ทุกๆครั้งที่
รูปนามเกิด หรือทุกๆขณะที่รูปนามเกิด หากไม่มีการกำหนดอย่างจริงจัง เป็นแต่
เพียงการนึกตรึกเอาเอง ก็จะไม่เป็นการสภาวะที่แท้จริงของรูปนามนั้นได้ แม้โยศี
ผู้นั้นจะเป็นผู้คงแก่เรียนมีสุตะมาก ก็ตาม เขาก็จะไม่สามารถรู้รูปนามตามสภาวะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2022, 03:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




web-3038726_960_720.png
web-3038726_960_720.png [ 311.86 KiB | เปิดดู 411 ครั้ง ]
ที่เป็นจริงนั้นได้เลย ลองลงมือปฏิบัติดูจะเห็นว่า หากเราเพ่งพินิจอย่างใจจดใจจ่อ
เราจะเห็นว่า ในขณะที่เราปฏิบัติอยู่นั้น ความอ่อนล้า ความเจ็บปวด ความเมื่อยชบ
เป็นตัน ที่เรียกว่า ทุกขเวทนา ซึ่งปรากฏเกิดขึ้นอยู่ในร่างกายอยู่ตลอดนั้น ก็จะ
ปรากฎในญาณของโยคีผู้นั้น ให้โยคีนั้นลองกำหนดดูตามอาการนั้น ว่า ถ้าเมื่อย
ก็เมื่อยหนอ เหนื่อย ก็เหนื่อยหนอ ปวด ก็ปวดหนอ การเสวยความสัมผัสที่ไม่ดี
ก็จะปรากฏ คือลักษณะหรือสภาวะของเวทนาทีกระทบในทางที่เป็นทุกข์ ก็จะปรากฏ
โยดีก็จะเห็นตามความเป็นจริงนั้น และจะเห็นกิจจสัตติ ที่มีความสามารถทำให้
จิตเกิดความหดหู่ เศร้าหมอง และสามารถมองเห็นปัจจุปัฏฐานกล่าวคืออาการที่
ปรากฏคือความไม่เป็นสุขในร่างกาย อาการที่ปวดเมื่อย ซึ่งเราเรียกว่าปัจจุปัฎฐาน
ของรูปนามนั้น นอกจากนี้ ยังสามารถรูปพัฏฐานคือการเผชิญหรือการประชุมกัน
ระหว่างผัสสะที่ไม่ดีกับจิตได้ด้วย

อนึ่ง อาการทั้ง ๔ อย่างที่ปรากฏนี้ แม้โยศีจะไม่มีความรู้หรือสุตะหรือ
ประสบการณ์หรือไม่เป็นบุคคลผู้คงแก่เรียนก็ตาม แต่ถ้าเป็นผู้ที่เอาใจใส่ในการ
กำหนดอย่างต่อเนื่อง ก็ย่อมจะสามารถเห็นสภาวะเหล่านั้นตามความเป็นจริงด้วย
ปัจจักขญาณของตนได้อย่างแน่นอน

สำหรับปทัฏฐานถือว่าเป็นธรรมที่นอกเหนือไปจากรูปนามที่กำลังกำหนดอยู่
ไม่ใช่ตัวรูปนามเหมือนกับสภาวะ ลักขณะ รสะ แต่เป็นสภาวธรรมอื่นที่มีความ
เกี่ยวข้องกับธรรมที่กำลังปรากฏอยู่เท่านั้น เพราะฉะนั้น ในตอนลงมือปฏิบัติแรกๆ
โยคีจึงไม่จำเป็นต้องรูปทัฏฐานดังกล่าว เพราะความไม่จำเป็นต้งกล่าว ในคัมภีรั
อภิธัมมัตถวิภาวินีซึ่งเป็นฎีกาแห่งพระดัมภีร์อภิชัมมัตถสังคหะ ท่านจึงกล่าวถึง
เฉพาะ ๓ อย่าง คือ ลักขณะ รสะและปัจจุปัฏฐานเท่านั้น โดยไม่มีการระบุให้
กำหนดโดยปทัฏฐาน ดังมีพระบาลีจากอภิฮัมมัตถสังคทะ ว่า ลกุขณรสปจุจุปฎฐาน-
ปทฎจานวเสน นามรูปปริคคโห ทิฏจิวิสุทธิ นาม และในฎีกาได้อธิบายเพิ่มเติม
ไว้ว่า ปทฎซานํ ปเนตฺถ อญฺญธมุมตาย น อุทฺธฏ ซึ่งตรงกับข้อความใน
วิสุทธิมรรคมหาฎีกาที่ว่า ปทฎฺฐานํ ปเนตฺถ อญฺญธมุมตาย น อุทฺฏํ. แปลว่า
"ปทัฏฐานในที่นี้ ท่านไม่ยกขึ้นแสดง เพราะเป็นสภาวธรรมอย่างอื่นที่นอกจาก
ธรรมที่กำหนดอยู่"หมายความว่าในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาที่กำลังกล่าวถึงนี้ เป็นเรื่อง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2022, 04:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย:
41.png
41.png [ 2.67 MiB | เปิดดู 580 ครั้ง ]
ของธาตุววัตถานกัมมัฏฐาน ซึ่งโยดีผู้นี้จำเป็นต้องกำหนดปฐวีธาตุและจำเป็นต้อง
พยายามเพื่อที่จะรู้ปฐวีธาตุดังกล่าวนั้นเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องพยายามเพื่อกำหนดรู้
ธาตุอื่น ๓ อย่างที่เหลือซึ่งเป็นปทัฏฐานของปฐวีธาตุนั้นแต่อย่างใด

แม้ในเรื่องของการกำหนดรู้ธาตุอื่นที่เหลือ ๓ ธาตุ คือ อาโปธาตุ เตโซธาตุ
และวาโยธาตุ ก็มีวิธีการกำหนดรู้โดยนัยนี้เช่นกัน ในกรณีเช่นนี้ โยคีผู้ที่มีความ
ประสงค์จะเพ่งให้รูปฐวีธาตุ เป็นต้น เป็นอย่างๆไปนั้นหากมัวแต่เอาใจใส่ปทัฏฐาน-
ธาตุหรือธาตุที่เป็นปทัฏฐานของธาตุที่ตนกำลังกำหนดอยู่นั้น ก็จะทำให้จิตเข้าไป
เพ่งจดจ่ออยู่แต่ในธาตุอื่นที่ตนไม่ได้กำหนดเท่านั้นนั่นเอง จิตก็จะไม่นำเอาธาตุ
ที่ตนประสงค์จะกำหนดรู้ เข้ามาสู่จิตใจ เพราะฉะนั้น ในเรื่องของการกำหนด
ธาตุววัตถาน พระอัฎฐกถาจารย์ท่านจึงไม่แสดงการเอาใจใส่ธาตุโดยความเป็น
ปทัฏฐานไว้ ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร