วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 14:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2022, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1649461601357.jpg
FB_IMG_1649461601357.jpg [ 14.83 KiB | เปิดดู 1221 ครั้ง ]
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาไว้ถึง 3 ระดับ ซึ่งปัญญาทุกประเภทนั้นต้องสอดคล้อง ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีอะไรสำคัญมากน้อยไปกว่ากัน เนื่องจากการจะข้ามสะพานไปได้ ต้องเดินผ่านตั้งแต่ ต้นสะพาน ผ่านกึ่งกลางสะพาน แล้วจึงจะถึงปลายสะพาน ข้ามฟากได้
ปัญญา 3 ระดับก็เป็นฉันนั้น คือเริ่มจาก เข้าใจว่าอะไรคือ กุศลและอกุศล, เข้าใจกระบวนธรรมชาติ ตั้งแต่กฎแห่งกรรม ถึงไตรลักษณ์, และสุดท้าย จึงตระหนักถึงสภาวะของทุกข์และแนวทางการดับทุกข์

เริ่มมีแนวคิดที่ถูกต้อง ยังต้องตามด้วยปัญญาที่เท่าทันด้วย แม้จะมีแนวคิดที่ถูกต้อง แต่มนุษย์มักหลงกลกิเลส เพราะกิเลสไม่อยากให้มนุษย์ได้ดี เราจึงต้องใช้ปัญญาสอดส่องดูแลและควบคุมตนเองไม่ให้พ่ายแพ้กิเลส ควบคุมความคิดให้ระมัดระวัง แต่ปัญญาจะมีได้นั้น
จะขาดเสียไม่ได้อยู่อย่างหนึ่งคือ การศึกษา เมื่อศึกษาจึงเกิดปัญญา เมื่อมีปัญญาจึงมีความคิด เมื่อมีความคิดจึงตั้งใจเมื่อตั้งใจแล้วจึงปฏิบัติใช่ไหม เราอยู่ในโลก แม้มีเพียงความรัก

แต่ถ้าไม่ศึกษาในความรักให้ดี ก็จะกลายเป็นคนตาบอด แม้มีความเมตตาแต่ถ้าไม่ศึกษาให้ดีแล้วก็จะกลายเป็นคนโง่งม โดนเขาเอาความดีที่เราอยากทำนั้นไปใช้หลอกลวงผู้อื่น แม้เรามีความกล้าหาญ แต่ความกล้าหาญนั้นไม่ได้ศึกษาให้ดี ความกล้านั้นจะกลายเป็นมุทะลุเอาแต่ใจกล้าเบบผิดๆ กล้าแบบเอาชีวิตไปเสี่ยง แม้จะมีใจรับฟัง แต่ถ้าเอาแต่ฟังไม่ศึกษาสิ่งที่ฟัง ไม่ศึกษาสิ่งที่พิจารณา ก็เป็นอันตราย โดนเขาจูงไปไม่รู้ตัว

การศึกษาทำให้เกิดปัญญา เกิดความคิด ทำให้เกิดความตั้งใจว่าจะเป็นสิ่งใด เป็นอะไรจากสิ่งที่ศึกษากัน เป็นคนเหมือนเดิม หรือเป็นพุทธะ วันนี้เรามาศึกษาเพื่อเป็นพุทธะ แต่ก่อนจะเป็นพุทธะต้องเป็นคนให้ดีก่อน เมื่อเป็นคนดีได้จึงก้าวไปสู่การเป็นพุทธะได้ ช่วงที่จะก้าวเป็นคนดี เป็นพุทธะช่วงนั้นต้องรู้จักเอาความดีช่วยคน ทำไมจึงต้องช่วยหากท่านมีทรัพย์ แต่เก็บทรัพย์ไว้ในดิน เรียกว่ามีทรัพย์หรือไร้ทรัพย์ถ้าท่านมีความรู้เก็บความรู้ใว้ ไม่เคยพูดไม่เคยถ่ายทอดให้ใคร เรียกว่ารู้หรือไม่รู้ และถ้ารู้แล้วเอาแต่โอ้อวด แต่ไม่ถ่ายทอดอย่างจริงใจเรียกว่ารู้หรือไม่รู้

ฉะนั้น การถ่ายทอดก็ต้องระมัดระวัง ถ่ายทอดแบบไม่อวด บางคนมีทรัพย์ เก็บทรัพย์ไว้ นี่ถ็ไม่ถูกต้อง บางคนมีทรัพย์ได้แต่อวดทรัพย์ นี่ก็ไม่ถูกทาง ฉะนั้นมีสิ่งดี จงนำสิ่งดีออกใช้ ใช้แบบไม่ยึดติด ใช้แบบเปิดใจกว้าง พร้อมที่จะแก้ไขและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นพร้อมที่จะช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก

สังคมที่เป็นแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ เราจะช่วยให้ดีได้ต้วยตัวเองเป็นผู้เริ่มต้น แผ่นดินที่แห้งแล้งรอน้ำและรอต้นหญ้าที่แกร่งกล้าไปอยู่ในดินแดนนั้นโลกที่สกปรกโสมมรอพุทธะที่องอาจพร้อมจะนำ
คุณธรรมไปเบ่งบาน ชะล้างโลกนี้ให้กลับสะอาดเหมือนเดิม แต่ปัจจุบันตัวท่านไม่อยากทำดีเพราะอะไร หนึ่ง กลัวคำพูดคน สอง ทำแล้วอาย ทำดีไปแล้วกลัวโดนเขาล้อ โดนเขาว่าพอบอกว่าเราเป็นคนดีก็ถูกเพื่อนถากถางทำไมต้องกลัว ถ้าท่านอยากได้ดี อยากให้มีดี อยากให้เพื่อนดีด้วยเราไม่ต้องกลัวไม่เช่นนั้นท่านคงไม่รู้จักพระพุทธองค์ไม่รู้จักสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถ้าท่านกลัวการทำดี เพราะคนไม่อยากได้ดี ถ้ามีแต่คนชั่วร้าย แล้วพุทธะไม่ทำดีแล้วจะมีความดีหลงเหลือในโลกนี้ไหมท่านลองคิดให้ดีๆปัญญาจะเกิดได้ต้องควบคู่กับการศึกษาศึกษาทางโลกก็ได้ปัญญาทางโลก ศึกษาทางธรรมก็ได้ปัญญาทางธรรม ถ้าเกิดว่าเรามีกิเลส มีความโลภ มีตัณหา สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เราต้องทุกข์ แล้วเป็นอุปสรรคทำให้เราไม่สามารถข้ามภพข้ามชาติได้ใช่หรือไม่ แล้วเราจะตัดที่ไหนลองใช้ปัญญาของท่าน (ตัดกิเลส ตัดความอยาก) ถามว่า กิเลสอยู่ที่ไหนความอยากอยู่ที่ไหน ต้องใช้ปัญญาตัดให้ถูกที่ใช่ไหม

เหมือนท่านอยากเห็นนกท่านต้องไปมองที่ไหน(รัง, ฟ้า, ต้นไม้) ถูกทั้งสามคำตอบนะอยากเห็นปลาต้องไปมองที่ (น้ำ) นั่นก็คือ เราอยากหาว่าสิ่งนี้อยู่ที่ไหนเราต้องไปหาให้เจอว่ามาจากตรงไหนใช่หรือไม่ แล้วกิเลส อารมณ์เล่ามาจากที่ใด (ใจ)
ฉะนั้น เราจะตัดก็ต้องตัดที่ใจ แต่ใจนั้นจะตัด ใช่ตัดตอนนั่งท่องมนต์นั่งไหว้พระตัดได้ไหม

ตอนเราสวดมนต์ตอนนั้นเรามีกิเลส มีอารมณ์ มีตัณหาไหม (ไม่มี) บางครั้งก็ยังมีคั่งค้างอยู่ ยังเป็นตะกอนเกาะอยู่ที่ใจ ใครกล้ายอมรับบ้างว่าตอนนี้ใจสะอาดไม่มีความเกลียดอยู่ในใจ ท่านจะสวดมนต์ทุกขณะได้หรือไม่ (ไม่ได้) นั่นก็คือ เราไม่สามารถสวดมนต์แต่เพียงอย่างเดียวได้ แล้วปัญญาท่านจะเอามาจากอะไรถึงจะดับได้ทุกขณะ (สติ) เราจะทำอย่างไรปัญญาเราถึงจะสามารถตัดกิเลสได้ทุกขณะเวลา นั่นก็คือ ต้องมีสติและปัญญาให้เท่าทันทุกขณะจิต ทุกขณะอารมณ์

มนุษย์มักอยู่ได้ด้วยอารมณ์ของตน เดินเคลื่อนไหวไปตามแรงผลักดันของอารมณ์ตน เรามีอารมณ์ก็เพราะเรามีความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อเรายังมีอารมณ์เหล่านี้ใจเราจะไม่สามารถที่จะตัดภพตัดชาติตัดอารมณ์กิเลสได้ เราก็จะต้องว่ายเวียนเกี่ยวกรรมไปเรื่อยๆ น่ากลัวนะ วันนี้เกี่ยวคนนี้ที วันต่อไปเกี่ยวคนนั้นที เราเกี่ยวเขาเราว่าเราปล่อยแล้ว แต่เขาไม่ปล่อย

ฉะนั้นเกี่ยวน้อยๆ สร้างเหตุน้อย ผลจะได้ไม่ส่งกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกเขาจะได้ไม่ต้องกลับมาทำร้ายท่านอีก การศึกษาธรรมนอกจากจะทำให้เรารู้จักตัวตนเองได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเข้าใจ รู้แจ้งชีวิต และนำพาชีวิตไปถูกทางปัญญาย่อมส่งผลแม้ในชาตินี้และชาติหน้าไม่ยอมทอดทิ้งกันเลยในระหว่างทางปัญญาเป็นสิ่งมีค่าทำให้เรารอดพ้นจากความชั่วร้ายทั้งปวง ปัญญาทำให้เราประเสริฐยิ่งกว่าอื่นใด คนปัญญาจะเกิดได้จากการฝึกฝนเหมือนมีดจะคมได้ต้องหมั่นลับกับหิน และควรจะเรียนรู้ได้จากสิ่งใดบ้างจากผู้มีประสบการณ์มาแล้วถ่ายทอดเป็นหนังสือ จากการน้อมยอมรับฟังใฝ่หาผู้รู้ เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่เราดำเนินอยู่และในที่ผ่านมา

เรียนรู้ได้จากการที่เรายอมบอกว่าเราเป็นผู้ไม่รู้เราโง่เขลา และมีใจอยากเรียนรู้พยายามนอบน้อมเข้าหา
จะเรียนรู้ได้อย่างไรถ้าเราไม่สนใจ จะเรียนรู้ได้อย่างไรถ้าเรายังหยิ่งผยองในจิต จะเรียนรู้ได้อย่างไรคิดว่าตัวเองฉลาดแล้ว จะเรียนรู้ได้อย่างไรที่ดูถูกตัวเองว่าปัญญาไม่ดี

จะเรียนรู้ได้อย่างไรในเมื่อคิดว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ทางของเรา และสุดท้ายคิดว่าเราไม่มีเวลา เป็นการปฏิเสธที่นิ่มนวล ฉะนั้นเรียนรู้สิ่งใดก็ตามอย่าลืมว่าต้องอ่อนน้อมถ่อมตน และยอมรับว่าเราไม่รู้และเราอยากเรียน ทุกความรู้ย่อมมีครูมาก่อนจะเป็นบาปไหมที่มองเห็นความรู้อยู่ซึ่งๆหน้าแต่คว้ามาใส่ตนไม่ได้....ปัญญา ทำให้เกิดได้ ๓ วิธี คือ

๑. เกิดขึ้นได้โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
๒. เกิดขึ้นได้โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
๓. เกิดขึ้นได้โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)

ปัญญาทั้ง ๓ นี้จะต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน จะขาดเสียอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้เลย
ปัญญาที่ได้จากศึกษาเล่าเรียนหรืออ่านจากตำราก็ใช่ว่าจะต้องเชื่อทั้งหมด ยังต้องใช้ปัญญาขั้น
จินตามยปัญญา ใคร่ครวญตรึกตรองว่าสมควรจะเป็นไปได้หรือไม่ เมื่อเป็นดังนั้นก็ต้องใช้ปัญญา
ระดับสูงคือภาวนามยปัญญาเข้ามาไถ่ถอนเพื่อความเห็นแจ้งรู้จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2023, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ๓ ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)

สุดมยปัญญา เกิดจากเสียงแนะนำของผู้อื่น
จินตามยปัญญา เกิดจากการใส่ใจโดยแยบคายซึ่งเกิดภายในตน
ภาวนามปัญญา ปัญญาที่เกิดจากเสียงแนะน่าของผู้อื่น และการใส่ใจโคยแยบคาย
ซึ่งเกิดภายในตน"

ข้อความข้างตันเป็นการจำแนกปัญญา - ประเภทอีกนัยหนึ่ง กล่าวคือ ปุถุชนต้องฟัง
คำแนะน่าจากพระศาสดาหรือสาวก จะเข้าใจด้วยตนเองไม่ได้ ปัญญาอย่างนี้เรียกว่า สุตมยปัญญา
นอกจากนี้ เขาต้องมีการใส่ใจโดยแยบคายซึ่งเกิดขึ้นภายในตน เช่น การกำทนดลักษณะพิเศษของรูป
และนามว่า รูปมีลักษณะแปรปรวน นามมีลักษณะน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นต้น ปัญญาอย่างนี้เรียกว่า
จินตามยปัญญา ส่วนปัญญาที่เกิดจากคำแนะนำของผู้อื่นและการใส่ใจโดยแถบคาย ชื่อว่า ภาวนามย
ปัญญา

ในคำว่า โยนิโสมนสิการ (การส่ใจโดยแยบคาย) คำว่า โยนิโส (โดยแยบคาย) คัมภีร็อรถ
กถาอธิบายว่า อุปาเยน (โดยวิธี, นัย หมายถึง การไส่ใจตัวยวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งเข้าใจความต่างกันของ
รูปธรรมและนามธรรม อนึ่ง คำนี้เมื่อเกี่ยวกับจินตามยปัญญา หมายถึง การพิจารณาให้เข้าใจถึง
ลักษณะพิเศษของรูปนาม การรับรู้ในลักษณะนี้มีอารมณ์เป็นสมมุติบัญญัติ แต่ปัญญาระดับภาวนามย
ปัญญาไม่ไช่การพิจารณาอย่างนั้น แต่เป็นการหยั่งเห็นสักษณะพิเศษของรูปนามอย่างชัดเจน โดยไม่มี
สมมุติบัญญัติใด ๆ เพราะวิปัสสนาญาณต้องมีอารมณ์เป็นสภาวธรรมเท่านั้น/

เวไนยชนผู้มีปัญญาแต่ละอย่าง

ปัญญาทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ สุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา มีอยู่แก่บุคคลใด
บุตคลนี้ชื่อว่า อุคฆฏิตัญญู (เพราะรู้แจ้งด้วยอุเทศ
สุตมยปัญญามีอยู่ แต่จินตามยปัญญาไม่มีแก่บุคคลใต บุคคลนี้ชื่อว่า วิปจิตัญญู
(เพราะรู้แจ้งด้วยอุเทศและนิเทศ]
ทั้งสุตมยปัญญาและจินตามปัญญาไม่มีแก่บุคคลใด บุคคลนี้ชื่อว่า เนยยะ [เพราะ
เป็นผู้ควรแนะนำด้วยเทศนาอันพิสดาร"

[อุคฆฏิตัญญูเป็นผู้ที่มีปัญญาแก่กล้า เพราะได้ศึกษาเล่าเรียนและไตร่ครวญธรรมมาแล้วใน
ชาติก่อน จึงบรรลุธรรมได้เร็วด้วยการฟังอุเทศ ส่วนวิปจิตัญญป็นผู้มีปัญญาไม่แก่กล้ามากนัก เพราะ
ได้สังสมสุตมยปัญญาเท่านั้น จึงบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังอุเทศและนิเทส ส่วนเนยยะเป็นผู้ที่มิได้ส่งสม
ปัญญาทั้งสองประการนั้น จึงมีปัญญาน้อย บรรลุได้ด้วยเทสนาอันพิศดาร]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร