วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 05:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2022, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Statue-PNG-Photo.png
Gautama-Buddha-Statue-PNG-Photo.png [ 53.95 KiB | เปิดดู 426 ครั้ง ]
๑๙๘ วิปัสสนาชุนี
อนุปทธัมมวิปัสสนาของพระสารีบุตรเถระ

สาริปุตฺโต ภิกฺขเว อทฺธมาสํ อนุปทธมฺมวิปสฺสนํ วิปสฺสติ. ตตฺริทํ ภิกฺขเว
สาริปุตฺตสฺส อนุปทธมฺมวิปสฺสนาย โหติ. อิธ ภิกฺขเว สาริปุตฺโต วิวิจเจว กาเมหิ
วิวิจุจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปจมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช
วิหรติ. เย จ ปฐเม ฌาเน ธมฺมา วิตกฺโก จ วิจาโร จ ปีติ จ สุขํ จ จิตฺเตกคฺคตา
จ ผสฺโส เวทนา สญฺญา เจตนา จิตฺตํ ฉนฺโท อธิโมกฺโข วีริยํ สติ อุเปกฺชา
มนสิกาโร. ตฺยสฺส ธมฺมา อนุปทววตฺถิตา โหนฺติ. ตฺยสฺส ธมฺมา วิทิตา อุปฺปชฺชนฺติ.
วิทิตา อุปฎฺฐหนฺติ, วิทิตา อพุภตฺถํ คจฺฉนฺติ. โส เอวํ ปชานาติ "เอวํ กิริเม
ธมฺมา อหุตฺวา สมฺโภนฺติ, หุตฺวา ปฏิเวนฺตี"ติ
. (ม.๗/๗๕)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรได้เจริญอนุปทธัมมวิปัสสนา(ญาณรู้แจ้งธรรมตามลำดับ)ตลอดกึ่งเดือน
โดยมีลำดับการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรได้สงัดจากกาม
เข้าปฐมฌานอัน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ
ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา(ตัตรมัชตตตา) และมนสิการ ก็เป็นอันเธอกำหนดได้ตามลำดับ
และรู้แจ้งแล้วทั้งที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่าธรรมที่มีสภาวะจริงแท้อย่างนี้
เหล่านี้ไม่เคยมีมาก่อน ย่อมเกิดขึ้น แล้วดับไป

อนุปทธัมมวิปัสสนาโดยย่อ

พระสารีบุตรเถระนั้นได้เข้า(กำหนดวิปัสสนารู้)อนุปทธัมมวิปัสสนาตลอด ๑๕ วันจึงได้สำเร็จ
เป็นพระอรหันต์ โดยมีวิธีการกำหนดวิปัสสนาดังนี้

ในเบื้องต้น ท่านได้เข้าปฐมฌาน แล้วจึงได้กำหนดเอาธรรม ๑๖ ประการ ซึ่งเป็นธรรมที่นับเนื่อง
อยู่ในปฐมฌานจิตตุปบาทนั้นนั่นเองมาพิจารณาเป็นอย่างๆไป ท่านได้เห็นทั้งเบื้องต้นกล่าวคือ
อุปาทะ "การเกิด" ท่ามกลางคือฐีติ "ตั้งอยู่" และที่สุดกล่าวคือภังคะม"การดับ"

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงรู้ว่า ก่อนที่เราเข้าฌานนั้น สภาวะธรรมทั้งหลายเหล่านี้ยังมิได้มีปรากฏ
เพิ่งจะมีปรากฏก็ตอนนี้เอง ครั้นเมื่อปรากฏแล้วก็ดับหายไปอีก พระสารีบุตรนั้นได้เข้าฌาน
ตามลำดับไปเรื่อยๆทั้งรูปฌานและอรูปฌาน จนถึงอากิญจัญญายตนะฌาน และได้เอา
สภาวะธรรมในฌานนั้นมากำหนดพิจารณารู้เห็นการเกิดดับ โดยข้างต้นทุกประการซึ่งในสภาวะธรรม
ที่ท่านนำมาพิจารณานั้น พึงทราบว่า ส่วนใหญ่แล้วก็มีองค์ธรรมซ้ำๆกันจะเปลี่ยนแปลงบ้างก็ตรงที่
องค์ฌานที่มีวิตกเป็นต้น ลดบ้างเพิ่มบ้าง และมีสภาวะแปลกใหม่ เช่น สัมปสาทธรรม เป็นต้น ขึ้นบ้างเท่านั้น

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=11

https://uttayarndham.org/tripitaka-mp3- ... 5%E0%B8%A3

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2022, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Cloud-PNG-5.png
Cloud-PNG-5.png [ 148.44 KiB | เปิดดู 420 ครั้ง ]
อนุปทธัมมวิปัสสนาโดยพิสดาร

เมื่อโยคีเข้าปฐมฌานและออกจากปฐมฌานนั้นแล้ว ก็จะต้องนำปฐมฌานนั้น นั้นนั่นแหละมากำหนด
พิจารณา จากนั้นเมื่อเข้าทุติยฌานและออกจากทุติยฌานดังกล่าวแล้ว ก็ให้เอาทุติยฌานนั้นมา
กำหนดพิจารณา โดยสามารถเข้าฌานไปตามลำดับแห่งฌานสมาบัติ ๘ แล้วเบนมากำหนดพิจารณา
เป็นวิปัสสนาตามลำดับแห่งฌานสมาบัตินั้นเอง อนึ่ง วิปัสสนาที่โยคีเข้าฌานและออกจากฌาน
ดังกล่าวมาแล้วทำการกำหนดพิจารณาตามนัยที่กล่าวมานี้ ท่านเรียกว่า อนุปทธัมมวิปัสสนา แปลว่า
"วิปัสสนาที่พิจารณาสภาวธรรมกล่าวคือสมาบัติ ๘ ไปตามลำดับ"

นอกจากนี้ แม้ในการนี้ที่โยคีได้เข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้ว นำเอาฌานังคธรรมกล่าวคือองค์ฌาน
ทั้งหลายตลอดถึงกลุ่มสภาวธรรมที่เรียกว่า ผัสสปัญจมกธรรม เเป็นต้นมาพิจารณาตามลำดับ
ที่แสดงไว้ในพระไตรปิฎก การพิจารณาเช่นนี้ ก็ได้ชื่อว่าเรียกว่า อนุปทธัมมวิปัสสนา เช่นกัน
ซึ่งในกรณีนี้ หมายถึง วิปัสสนาที่โยคีกำหนดพิจารณาสภาวธรรมที่สัมปยุตหรือเป็นองค์ประกอบ
อยู่ในฌานจิตตุปบาทไปตามลำดับที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก ดังคัมภีร์อรรถกถาท่านได้ได้อธิบายไว้ว่า

อนุปทธมฺมวิปสฺสนนฺติ สมาปตฺติวเสน วา ฌานงฺควเสน วา อนุ ปฏิปทาฏิยาธมฺมวิปสฺสนํ วิปสฺสติ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2022, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Clouds-Free-PNG-Image.png
Clouds-Free-PNG-Image.png [ 103.71 KiB | เปิดดู 420 ครั้ง ]
อนุปทธัมมวิปัสสนา หมายความว่า เป็นวิปัสสนาที่โยคีกำหนดวิปัสสนา
สภาวธรรมตามลำดับแห่งฌาน สมาบัติหรือไม่ก็ตามตามลำดับแห่งองค์ฌาน

ในบรรดาลำดับแห่งการพิจารณา ๒ ประการ กล่าวคือ การพิจารณาตามลำดับแห่งฌานสมาบัติ
กับลำดับแห่งองค์ฌานนั้น พึงทราบว่า วิธีการหลังนั้น ดูผิวเผินแล้วคล้ายกับว่าโยคีได้เข้าฌาน
แม้เพียงครั้งเดียว ก็สามารถพิจารณาได้ถึง ๑๖ ครั้งรวด แต่ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคตอนที่ได้
อธิบายภังคญาณนั้น ได้แสดงว่า เมื่อโยคีทำการกำหนดพิจารณาการดับของอารมณ์อย่างใด
อย่างหนึ่งแล้วก็สามารถที่จะวกกลับมาพิจารณา จิตที่เป็นตัวกำหนดพิจารณาในระหว่างนั้นได้
แม้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ตอนว่าด้วยนามสัตตกะ ก็ได้แสดงวิธีการกำหนดพิจารณาไว้ดังนี้คือ
เมื่อโยคีทำการกำหนดปฐมจิตด้วยทุติยจิตแล้ว ก็สามารถจะวกกลับมาพิจารณาทุติยจิตดังกล่าว
ด้วยตติยจิตได้ ซึ่งก็สามารถพิจารณาด้วยวิธีการนี้ดวงละครั้งในจิตแต่ละดวง

ดังนั้น เมื่อโยคีเข้าฌานหนึ่งครั้งแล้ว ก็ย่อมสามารถนำเอาวิตกมากำหนดพิจารณาได้
โดยทำนองเดียวกัน เมื่อโยคีเข้าฌานครั้งที่ ๒ เสร็จแล้ว ก็ย่อมสามารถนำเอาวิจาร มากำหนด
พิจารณาได้ โดยสามารถเข้าฌานถึง ๑๖ ครั้งและสามารถกำหนดพิจารณาโดยทำนองนี้
ไปตามลำดับถึง ๑๖ ครั้ง เช่นเดียวกัน

อนึ่ง พระสารีบุตรเถระนั้น ท่านใช้วิธีการกำหนดพิจารณาซึ่งเรียกว่าอนุปทนัย ทั้ง ๒ วิธี
ตลอดระยะเวลา ๑๕ วัน จนกระทั้งท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระมหาโมคคัลลานเถระ
ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์โดยใช้กำหนด พิจารณาเพียง ๗ วัน

เกี่ยวกับประเด็นของพระอัครสาวกทั้งสองนี้ พึงทราบว่า ความจริงแล้ว พระสารีบุตรเถระนั้น
มีปัญญามากกว่าพระทหาโมคคัลลานเถระเสียอีก แต่สาเหตุที่ท่านใช้เวลาเปลืองกว่า ก็เพราะว่า
ท่านได้นำเอาวิธีการกำหนดพิจารณาที่เรียกว่าอนุปทธัมมวิปัสสนานัย มาใช้พิจารณา
โดยละเอียดพิสดาร จึงทำให้มัวแต่เสียเวลาไปกับการพิจารณาเรียงไปตามลำดับสภาวธรรม
ส่วนพระมหาโมคคัลลานะเถระ ท่านไม่ได้พิจารณากว้างขวางถึงขนาดนั้น จึงสามารถสำเร็จกิจ
ภายใน ๗ วันเท่านั้น ดังในคัมภีร์อรรถกถาแห่งมัชฌิมนิกาย(ม.อัฏ.๔/๕๘)ท่านได้แสดงไว้ว่า

มหาโมคฺคลฺลานตฺเถโร หิ สาวกานํ สมฺมสนจารํ ยฎฺฐิโกฏิยา อุปฺปีเฬนฺโต
วิย เอกเทสเมว สมฺมสนฺโต สตฺตทิวเส วายมิตฺวา อรหตฺตํ ปตฺโต. สาริปุตุตตฺเถโร
ฐเปตฺวา พุทฺธานํ ปจฺเจกพุทฺธานญฺจ สมฺมสนจารํ สาวกานํ สมฺมสนจารํ นิปฺปเทสํ
สมฺมสิ. เอวํ สมฺมสนฺโต อทฺธมาสํ วายมิตฺวา, อรหตฺตญฺจ กิร ปตฺวา อญฺญาสิ
"ฐเปตฺวา พุทฺเธ จ ปจฺเจกพุทฺเธ จ อญฺโญ สาวโก นาม ปญฺญาย มยา ปตฺตพุ
ปตฺตุ๋ สมตฺโถ น ภวิสฺสตี"ติ.


พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ทำการพิจารณาสภาวธรรมบางส่วนที่พระสาวกทั้งหลาย นิยมมา
ใช้พิจารณา ราวกับเอาปลายไม้เท้าเคาะดูตลอด ๗ วัน จึงบรรลุอรหัตตผล ส่วนพระสารีบุตรเถระนั้น
ท่าได้นำเอาสภาวธรรมทั้งกมดเท่าที่วิสัยขอบเขตของพระสาวกจะสามารถเอื้อมพิจารณาได้มาพิจารณา
ทั้งหมดทุกแง่ทุกมุม ยกเว้นสภาวธรรมที่เป็นขอบเขตการพิจารณาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ท่านไม่สามารถพิจารณาได้ ซึ่งเมื่อท่านได้พิจารณาอยํอย่างนี้
จึงเป็นเหตุให้เนิ่นช้าใช้เวลาถึง ๑๕ วัน จึงได้บรรลุอรหัตผล ครั้นเมื่ได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านจึงได้ทราบว่า
ฎไม่มีสาวกท่านใดที่สามารถบรรลัอรหัตผลด้วยวิธีการแห่งปัญญา อย่างเราได้เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร