วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 18:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2022, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Clouds-Aesthetic-Transparent-Image.png
Clouds-Aesthetic-Transparent-Image.png [ 88.91 KiB | เปิดดู 308 ครั้ง ]
๒๑๒
"สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺส อุปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทาปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนนฺ ติ.

พะผู้มีพระภาคตรัสว่า
"ไม่ควรทำชั่วทุกชนิด ทำแต่ความดี ทำใจให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ความชั่ว คือ ความชั่วทุกอย่างที่กระทำทำทางทวารทั้ง ๓ คือ ทางกาย วาจา และใจ
การไม่ทำความชั่ว คือ การสำรวมรักษาศีล
ความดี คือ กุศลที่เกิดในภูมิ ๔ อันได้แก่ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล
และโลกุตตรกุศล การทำดี คือ การเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา
การทำใจของตนให้ผ่องใส คือ อรหัตตผล

คำว่า ความชั่วทุกชนิด คือ ทุจริต ๓ ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
ทุจริตดังกล่าว คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ อันได้แก่ การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมบ พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ

อกุศลกรรมบถนั้นจัดเป็นกรรม ๒ เจตนากรรม (กรรมคือเจตนา) และเจตสิกกรรม (กรรมคือเจตสิก)
การฆ่าสัตว์ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ทั้ง ๓ อย่างนี้มีโทสะเป็นสมุฏฐาน
การลักทรัพย์ ประพฤติในกาม พูดเท็จ ทั้ง ๓ อย่างนี้มีโลภะเป็นสมุฏฐาน
การพูดเพ้อเจ้อ มีโมหะเป็นสมุฏฐาน

เหตุ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นเจตนากรรม
เหตุ ๓ ประการเหล่านี้อันได้แก่ อกุศลมูลคือโลภะที่เป็นความละโมบ โทสะที่เกิดเป็นความพยาท
และมิจฉาทิฏฐิมรรคที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ จัดเป็นเจตสิกกรรม ดังนั้น จึงกล่าวว่า
"เจตนากรรม และเจตสิกกรรม"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2022, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. เจตนากรรม คือ เจตนาเจตสิก
๒. เจตสิกกรรม คือ อภิชฌา ะยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ

ความจริงกรรมก็คือเจตนาที่เป็นหนึ่งในเจตสิก ๕๒ ดวง ดังนั้น แม้เจตสิกกรรมควรจะหมายถึงเจตนา
แต่ในที่นี้หมายถึงธรรม ๓ อย่างขัางต้นนอกจากเจตนา การใช้กรรมใช้คำในลักษณะนี้เป็นสำนวน
ทางภาษาอย่างหนึ่งที่หมายเอาสิ่งอื่นจากที่กล่าวมาแล้วหรือจะกล่าวต่อไป ตามหลักภาษา
เรียกว่า โคพลีพัททนัย คือ นัยที่เหมือนวัว และวัวหนุ่ม หมายความว่า ตามปกติคำว่า โค
เป็นคำกลางๆ ที่หมายถึง ลูกวัว (วจฺฉ) วัวรุ่น (ทมฺม) วัวหนุ่ม (พลีพทฺท) และวัวแก่ (ชรคฺคว)
แต่เมื่อมีคำว่า พลีพทฺท(วัวหนุ่ม)ประกอบเข้ากับ โค คำว่า โค จึงหมายถึงวัว ๓ ประเภทยกเว้นวัวหนุ่ม

การพูดเพ้อเจ้อ หรือสัมผัปปลาปะ เกิดจากโมหะเป็นสมุฏฐาน เช่น การเล่าเรื่องการลักพานางสีดา
ในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น โดยให้ผู้ฟังหลงเชื่อว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง จัดเป็นศีลขาดล่วงกรรมบถ
แต่ถ้าเล่านิททานที่ผู้ฟังไม่เชื่อว่ามีจริง หรือพูดคุยหยอกล้อ หรือเล่าเรื่องโจรและพระราชา เป็นต้น
ถ้าผู้ฟังไม่หลงเชื่อก็ไม่จัดว่าศีลขาดล่วงกรรมบถ แต่เป็นศีลด่างพร้อย

อกุศลมูล[โลภะ โทสะ และโมหะ] เมื่อก่อให้เกิดการกระทำ[ ทางกาย ทางวาจา ]
ย่อมถึงอคติ ๔ อย่าง คือ
ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ

อคติที่บุคคลถึงด้วยฉันทะ มีโลภะเป็นสมุฏฐาน
อคติที่บุคคลถึงด้วยโทสะ มีโทสะเป็นสมุฏฐาน
อคติที่บุคคลถึงด้วยโมหะและความกลัว มีโมหะเป็นสมฏฐาน
โลภะย่อมถูกละด้วยอุเบกขา โทสะย่อมถูกละด้วยเมตตา
โมหะย่อมถึงการละตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยปัญญา

อนึ่ง โลภะย่อมถูกละด้วยอุเบกขา โทสะย่อมถูกละด้วยเมตตาและกรุณา โมหะย่อมถึงการละตั้งอยู่
ไม่ได้ด้วยมุฑิตา[เพราะมุฑิตายังความริษยาให้สงบย่อมละโมหะซึ่งเป็นมูลเหตุของความริษยา ]

สมจริงดังพระพุทธเจ้าตรัสว่า

ไม่ควรทำชั่วทุกชนิด

[พระมหากัจจายนะแสดงการเวียนไปสู่ธรรมที่เสมอกัน โดยกล่าวว่าความชั่วทุกชนิด คือ
ทุจริต ๓ แล้วจำแนกทุจริต ๓ เป็นกรรมบท ๑๐ และอคติ ๔ หลังจากนั้น ได้แสดงการเวียน
ไปสู่ธรรมที่ไม่เสมอกัน คือ โลภะย่อมถูกละด้วย อสุภภาวนา เป็นต้น ]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2022, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความชั่วทุกชนิด คือ มิจฉัตตะ (ความชั่ว) ๘ อย่าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ความดำหริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (การกล่าวผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (การกระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพผิด) ๖.มิจฉาวายามะ (ความเพียรผิด)
๗. มิจฉาสติ (การระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ความตั้งมั่นผิด)

ทั้งนี้นี้เรียกว่า ความชั่วทุกชนิด กิริยาที่ไม่กระทำ การไม่กระทำ การไม่ล่วงละเมิด
มิจฉัตตะ ๘ อย่างเหล่านี้ เรียกว่า การไม่กระทำความชั่วทุกชนิด
[ข้อความนี้แสดงองค์ธรรมของความชั่ว อีกนัยหนึ่งว่าคือความผิดพลาด ๘ อย่าง
มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ส่วนไม่กระทำความชั่วดังกล่าวจัดเป็นการไม่ทำชั่วทุกชนิด]

เมื่อมิจฉัตตะ ๘ ถูกละได้แล้ว สัมมัตตะ(ความดี)๘ ย่อมปรากฏ กิริยาที่กระทำการกระทำ
การประพฤติสัมมัตตะ ๘ เหล่านี้ เรียกว่า การทำความดี

[ข้อความนี้แสดงองค์ธรรมของความดีอีกนัยหนึ่งว่าคือความดี ๘ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น
ส่วนการทำความดี ๘ อย่างนั้นจัดเป็นการทำความดี]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2022, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า สจิตฺตปริโยทาปนํ (การทำใจของตนให้ผ่องใส) แสดงถึงการสั่งสม(อริย)มรรคซึ่งเป็นหนทางเดิม
เมื่อจิตผ่องใสแล้ว ขันธ์ ๕ ย่อมผ่องใสเช่นเดียวกัน สมจริง ดังพระพุทธเจ้าตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนจักประพฤติพรหมจรรย์ในอนาคต เพื่อยังจิตให้หมดจด
โดยแท้จริงแล้ว การทำใจให้ผ่องใส มี ๒ ประการ คือ การละนิวรณ์ และการเพิกถอนอนุสัย
ธรรมที่ทำใจให้ผ่องใส มี ๒ ประการ คือ ทัสสนภูมิ(โสดาปัตติมรรค)และภาวนาภูมิ(มรรคเบื้องบน ๓)

ในเรื่องนั้น บุคคลย่อมทำใจให้ผ่องใสด้วยการกำหนดรู้ขันธ์ใด ขันธ์นั้นเป็นทุกข์ ย่อมทำใจ
ให้ผ่องใสจากตัณหาใด ตัณหานี้เป็นสมุทัย ย่อมทำใจให้ผ่องใสด้วยอริยมรรคใดอริยมรรคนั้นเป็นมรรค
อสังขตธาตุใดย่อมถูกทำให้ผ่องใส อสังขตธาตุนั้นเป็นนิโรธ เหล่านี้เป็นสัจจะ ๔ สมจริง
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ไม่ควรทำชั่วทุกชนิด" เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร