วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 18:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2022, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑) มานะ คือ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต หนึ่งใน อุปกิเลส ๑๖

(๒) มานะคือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ความถือตัวว่า เราเสมอเขา ความถือตัวว่า
เราเลวกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทะนงตัว
ความยกตัว ความที่จิตใฝ่สูงดุจธง

(๓) ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น มานะดังว่าธงไชย มานะอันประคองจิตไว้
ความที่จิตใคร่ดังว่าธงยอดเห็นปานนี้

(๔) ความถือตัว กิริยาที่ถือตัวความเป็นผู้ถือตัว ความพองจิต ความมีมานะดังว่าไม้อ้อสูง
มานะดังธงไชย มานะ อันเป็นเหตุให้ยกย่อง ความที่มีจิตใคร่ดังธงนำหน้า นี้ท่านกล่าวว่า ความถือตัว

(๓) พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

ญาตปริญญาเป็นไฉน
- นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง นี้เป็นมานะ ๑๐ อย่าง

ตีรณปริญญาเป็นไฉน
- นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยอุบายเป็นเครื่องสลัดทุกข์

ปหานปริญญาเป็นไฉน
- นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมานะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2022, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) มานะแต่ละอย่าง

มานะอย่างหนึ่ง ได้แก่
ความฟูขึ้นแห่งจิต ๑

มานะ ๒ อย่าง ได้แก่
- มานะในความยกตน ๑
- มานะในความข่มผู้อื่น ๑

มานะ ๓ อย่าง ได้แก่
- มานะว่าเราดีกว่าเขา ๑
- มานะว่าเราเสมอเขา ๑
- มานะว่า เราเลวกว่าเขา ๑.

มานะ ๔ อย่าง ได้แก่
- บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑
- เพราะยศ ๑
- เพราะสรรเสริญ ๑
- เพราะสุข ๑

มานะ ๕ อย่าง ได้แก่
- บุคคลให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑
- เราได้เสียงที่ชอบใจ ๑
- ได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑
- ได้รสที่ชอบใจ ๑
- ได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑

มานะ ๖ อย่าง ได้แก่
- บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑
- ถึงพร้อมแห่งหู ๑
- ถึงพร้อมแห่งจมูก ๑
- ถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑
- ถึงพร้อมแห่งกาย ๑
- ให้ถึงพร้อมแห่งใจ ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2022, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มานะ ๗ อย่าง
- ได้แก่ความถือตัว ๑
- ความดูหมิ่น ๑
- ความถือตัวและความดูหมิ่น ๑
- ความถือตัวต่ำ ๑
- ความถือตัวสูง ๑
- ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑
- ความถือตัวผิด ๑

มานะ ๘ อย่าง ได้แก่
- บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑
- ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑
- ให้ความถือตัวเกิดเพราะยศ ๑
- ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑
- ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑
- ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความนินทา ๑
- ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑
- ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะทุกข์ ๑

มานะ ๙ อย่าง ได้แก่ มานะว่า
- เราดีกว่าคนที่ดี ๑
- เราเสมอกับคนที่ดี ๑
- เราเลวกว่าคนที่ดี ๑
- เราดีกว่าผู้เสมอกัน ๑
- เราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑
- เราเสมอกับผู้เลว ๑
- เราดีกว่าผู้เลว ๑
- เราเสมอกับผู้เลว ๑
- เราเลวกว่าผู้เลว ๑

(๔) มานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่
- บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ความถือตัวเกิดขึ้นเพราะกำเนิดบ้าง
เพราะโคตรบ้าง เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง
- เพราะความเป็นผู้มีผิวพรรณงามบ้าง
- เพราะทรัพย์บ้าง
- เพราะความเชื้อเชิญบ้าง
- เพราะบ่อเกิดแห่งการงานบ้าง
- เพราะบ่อเกิดแห่งศิลปะบ้าง
- เพราะฐานแห่งวิชชาบ้าง
- เพราะการศึกษาเล่าเรียนบ้าง
- เพราะปฏิภาณบ้าง
- เพราะวัตถุอื่นบ้าง



อ้างอิง:
(๑) วัตถูปมสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๙๓ หน้า ๔๘
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php? ... 136&Z=1236
(๒) มหานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ ข้อที่ ๘๐๙ หน้า ๓๙๓
https://84000.org/tipitaka/read/byitem. ... agebreak=0
(๓) โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ ข้อที่ ๕๗๘ หน้า ๒๒๒
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B ... agebreak=0

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2022, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความแข่งดีนั้นแยกออกได้ ๒ ประเภท คือ
ฝ่ายอกุศล และกุศล.
ก็ในบรรดาความแข่งดี ๒ ประเภทนั้น สำหรับคฤหัสถ์ ความแข่งดีเกิดขึ้นเพราะได้เห็น
เครื่องประดับเป็นต้นที่คนอื่นทำแล้ว แล้วทำให้ทวีคูณๆ ขึ้นไปกว่านั้นๆ จัดเป็นอกุศล และ
สำหรับบรรพชิต (ขณะที่) บรรพชิตอื่นเล่าเรียนหรือกล่าวธรรมะมีประมาณเท่าใดๆ
ความแข่งดีที่เกิดขึ้นด้วยการกระทำให้ทวีคูณๆ ไปกว่านั้นๆ ด้วยอำนาจแห่งมานะจัดเป็นอกุศล.

ส่วนคฤหัสถ์ ความแข่งดีที่เกิดขึ้นเพราะได้เห็นคนอื่นถวายสลากภัตร ๑ ที่แล้วตนเองประสงค์
จะถวาย ๒ หรือ ๓ ที่ จัดเป็นกุศล. และสำหรับบรรพชิต เมื่อ (ได้ทราบว่า) ภิกษุอื่นเรียนได้ ๑
นิกายแล้ว ความแข่งดีเกิดขึ้นโดยไม่อาศัยมานะ (แต่) เพราะได้เห็นภิกษุอื่นนั้น (เรียนได้แล้ว ๑
นิกาย) แล้วประสงค์จะครอบงำความเกียจคร้านของตนอย่างเดียว เรียนเอาให้ได้ ๒ นิกาย
จัดเป็นกุศล.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาความแข่งดีที่เป็นอกุศล เพราะว่า ความแข่งดีที่เป็นอกุศลนี้ย่อมเกิดขึ้น
ทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องเศร้า
หมองแห่งจิต.

อนึ่ง ความแข่งดีนี้เป็นฉันใด ความถือตัวก็ฉันนั้น เป็นไปด้วยอำนาจความพองตัวแห่งจิต เพราะ
อาศัยชาติ (กำเนิด) เป็นต้น มานะที่เป็นไปด้วยอำนาจความพองตัวยิ่งแห่งจิต ชื่อว่าอติมานะ
อาการที่รับเอาด้วยความมัวเมา ชื่อว่ามทะ มทะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปล่อยจิตไปในกามคุณ
ทั้งหลาย ชื่อว่าปมาทะ ปมาทะย่อมเกิดขึ้นทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2022, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อรหัตตสูตร
[๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้
ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ มานะ ความ
ถือตัว ๑ โอมานะ ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑ อติมานะ ความเย่อหยิ่ง ๑
อธิมานะ ความเข้าใจผิด ๑ ถัมภะความหัวดื้อ ๑ อตินิปาตะ ความดูหมิ่น
ตนเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำ
ให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความถือตัว ๑ ความสำคัญ
ว่าเลวกว่าเขา ๑ ความเย่อหยิ่ง ๑ ความเข้าใจผิด ๑ ความหัวดื้อ ๑ ความดูหมิ่น
ตัวเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อม
เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ฯ
จบสูตรที่ ๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร