วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 16:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2021, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1633594351888.jpg
FB_IMG_1633594351888.jpg [ 13.87 KiB | เปิดดู 957 ครั้ง ]
นิพพานที่บุคคลพึงตรัสรู้ได้ด้วยอริยมรรค เป็นสภาวะที่มองเห็นไม่ได้ ไม่มึขอบเขตแต่มีทางที่จะเข้าไปถึงไดัทุกด้าน ปรากฏอยู่ในทุกทิศ สว่างไสวโดยรอบ(คือมีความหมายว่า ถ้าปฏิบัติถูกแล้ว ย่อมสามารถตรัสรู้นิพพานได้ไม่ว่าจะอบู่ ณ ทิศทางใดก็ตาม) ในนิพพานนี้เอง ไม่มีอาโปธาตุ ปถวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ(อันเป็นส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วยอินทรีย์) ตั้งอยู่ และในนิพพานนี้ไม่มีทั้งอุปาทายรูปกล่าวคือความยาว ความสั้น ความบาง ความหนา ความงาม และความไม่งามตั้งอยู่ (หมายความว่ารูปที่กล่าวมานี้ได้ดับลงแล้วในนิพพานนี้) นามรูปทั้งปวงย่อมดับโดยเด็ดขาดได้ ในนิพพานนี้ (ข้อความตั้งแต่ต้นมาถึงตรงนี้เป็นการแสดงว่านิพพานเป็นที่ดับของนามรูป) เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ (อันได้แก่ปรินิพพานจิต และอภิสังขารวิญญาณ) นามรูปทั้งปวงจึงดับโดยสิ้นเชิง

ที่ว่าสว่างไสวโดยรอบหรือผุดผ่องนั้น หมายความว่า ไม่มีอุปกิเลสเครื่องมัวหมองใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนกับที่กล่าวว่า ปญฺญาอาโลโก, ปญฺญาโอภาโส ปญฺญาโชโต ปัญญาดังแสงสว่าง ปัญญาดั่งโอภาส ปัญญาดั่งประทีปส่องแสงสว่างไสวนอกจากนี้พึงเปรียบเทียบกับความสว่างไสวของจิตที่ปราศจากอุปกิเลสดังที่ตรัสไว้ว่า ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ...ภิกษุทั้งหลาย จิตดวงนี้สว่างไสวผุดผ่อง ก็ที่ว่า จิตสว่างไสวนั้น ท่านอธิบายไว้ในสีลักขันธวัคคฎีกาว่า เป็นเพราะจิตไม่มีอุปกิเลสมารบกวนจึงบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ แต่ถ้าจะเอานิพพานเปรียบเทียบกับจิตแลัวปัญญานั้นดูยังไม่สนิทนักเพราะทั้งจิตและปัญญาต่างก็ยังมีวันที่จะมัวหมองด้วยอุปกิเลสได้ ส่วนพระนิพพานเนื่องจากเป็นสภาวะอันที่ดับกิเลสและสังขารทั้งมวล จึงไม่มีโอกาสที่จะถูกอุปกิเลสทำให้มัวหมองได้ เหมือนกับเอาสีไปป้ายทากลางอากาศเท่าไหร่ก็มิอาจสำเร็จได้ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่านิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผุดผ่องสว่างไสวโดยรอบ เป็นความผุดผ่องที่ปราศจาดอุปกิเลสเครื่องมัวหมองแต่มิได้หมายความว่า นิพพานนั้นมีแสงสว่างเหมือนดวงดาวเดือน หรือแสงสว่างของพระอาทิตย์ เพราะถ้าขืนหมายความเช่นนั้น ก็จะไปขัดกับบทที่ว่า อนิทสฺสนํ= นิพพานเป็นสภาวะที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และยังขัดกับบทที่แสดงลักษณะเฉพาะของนิพพานเองว่า อนิมิตฺปจฺจุปฏฺฐานํ=นิพพานไม่มีอะไรปรากฏเป็นนิมิตหมาย นอกจากนี้แล้วยังจะขัดกับ บาลีมิลินทปัญหา ซึ่งได้นำมากล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้ และขัดกับพระบาลีอรรถกถาอื่นๆอีกหลายแห่ง

อนึ่ง เมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานแล้ว นามรูปที่อยู่ทั้งหมดก็ดับลง ดังนั้นจึงไม่มีอภิสังขารวิญญาณที่เป็นฝ่ายกรรม ซึ่งสามารถจะให้ผลในภพต่อๆไป เมื่อไม่มีวิญญาณชนิดนี้แล้ว นามรูปอันใหม่ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นอันว่า ความสืบต่อแห่งสังสารวัฏของพระอรหันต์นั้นได้ขาดสะบั้นอย่างสิ้นเชิงดุจประทีปหมดเชื้อแล้วดับวูบฉะนั้น นี้เป็นคำอธิบายตามมติของท่านอรรถกถาจารย์ที่ว่า เอตฺถาปิสงฺขารปฏิกฺเขเปเนว นิพฺพานํ ทสฺสิตํ = แม้ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงนิพพานด้วยการปฏิเสธความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
(ม. อฏฺ ๔/๑๘)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร